สถาปัตยกรรมฮินดู
สถาปัตยกรรมฮินดู หมายถึงระบบดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมในศาสนสถาน, สุสาน และอาคารอื่น ๆ ที่ใช้งานในเชิงศาสนาฮินดู วิทยาศาสร์และหลักการของสถาปัตยกรรมฮินดูนั้นมีอธิบายไว้ในวาสตุศาสตร์และศิลปศาสตร์ ซึ่งรวมไปถึงการสร้างรูปเคารพ ภาพแกะสลักหินและจิตรกรรม[1][2] โบสถ์พราหมณ์ส่วนใหญ่ถูกทำลายไปในช่วงยุคกลางของอินเดีย ซึ่งปกครองโดยจักรวรรดิของชาวมุสลิม[3]
โบสถ์พราหมณ์ (มณเทียร)[แก้]
สถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์ มีรูปแบบที่หลากหลาย กระนั้นธรรมชาติของโบสถ์พราหมณ์ทุกแห่งจะเหมือนกัน อันประกอบด้วยโถงในสุดเรียกว่า "ครรภคฤห์" เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพคือมูรติ จากนั้นจึงมีโครงสร้างอื่น ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อรายล้อมห้องครรภคฤห์นี้ องค์ประกอบสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ศิขร (อินเดียเหนือ) หรือ วิมาน (อินเดียใต้) คือส่วนโครงสร้างหอที่ครอบห้องครรภคฤห์นี้ไว้ ตัวอาคารศาลมักเว้นพื้นที่ไว้สำหรับการ "ปริกรม" (parikrama; circumambulation ), มณฑป คือโถงรวมตัวสำหรับศาสนิกชนประกอบพิธีกรรม บางครั้งยังพบ อันตราล เชื่อมระหว่างมณฑปและห้องครรภคฤห์ มณฑปนั้นอาจพบมากกว่าหนึ่งมณฑปก็ได้ แตกต่างกันไปตามขนาดของมณเทียร[4] บางครั้งยังพบศาลาพิเศษสำหรับการร่ายรำโดยเฉพาะ เรียกว่า "นาฏมณเทียร" เช่นที่Koranak Sun Temple และบ่อน้ำที่เรียกว่า "Kunda" สำหรับการสรงน้ำ[5]
โคปุรัม[แก้]
โคปุรัม เป็นโครงสร้างสำคัญที่ขาดไม่ได้ของโบสถ์ โคปุรัมคือหอทางเข้า มักสร้างอย่างวิจิตรงดงาม และนิยมสร้างให้มีขนาดยิ่งใหญ่โดยเฉพาะในอินเดียใต้ (สถาปัตยกรรมดราวิเดียน)[6]
อาราม (มัธ)[แก้]
อารามในศาสนาฮินดู เช่น มัธ (Matha) และ อาศรม ประกอบด้วยคอมเพล็กซ์ของโบสถ์ กุฏิของสาธุ ฯลฯ[7] ในศาสนาฮินดูบางกระแสจะพบพาชนะ กุติร (Bhajana Kutir) ซึ่งเป็นที่ทำสมาธิของสาธุ
สุสาน (สมาธิ)[แก้]
สมาธิ (สถานที่) คือสุสานที่อาจบรรจุศพหรือไม่บรรจุศพ เป้าหมายหลักของสมาธิคือสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงบุคคลนั้น ๆ มากกว่า[8]
ราชรถ (รัถ)[แก้]

ในสถานที่ของฮินดูบางแห่งจะพบอาคารหนึ่งที่เรียกว่า "รัถ" คืออาคารที่สร้างเป็นรูปราชรถขนาดใหญ่[9]
ซุ้มทางเข้า (โตรณะ)[แก้]
โตรณะ (Torana) คือซุ้มทางเข้าศาสนสถาน[10][11] เทียบได้กับโทริอิของจินจะในญี่ปุ่น
เสา (สถัมพา)[แก้]
สถัมพา คือเสา[12]ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกหรือแสดงการเคารพต่อเทพหรือบุคคล ส่วนเสาที่พบตรงทางเข้านั้นจะเรียกว่า ธวัช บางครั้งใช้เป็นเสาธงหรือประดับด้วยศิวลึงค์และสัตว์ศักดิ์สิทธิ์
ฉัตรี[แก้]
ฉัตรีคือโครงสร้างศาลาทรงโดม มีรากฐานมาจากสถาปัตยกรรมราชสถาน
ฆัต[แก้]
ฆัตคือบันไดทางลงแม่น้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำหรือทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์
โคศาลา[แก้]
โคศาลาคือที่อยู่ของวัว ในฐานะเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของฮินดู จึงมีการสร้างโคศาลาขึ้นเพื่อไว้เป็นที่อยู่ของสัตว์จำพวกวัว กระทิง[13]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Acharya 1927.
- ↑ Shukla 1993.
- ↑ Goel 1991.
- ↑ Michell 1988.
- ↑ Acharya 2010, p. 74.
- ↑ "Gopura". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ Sears 2014, pp. 4—9.
- ↑ Glushkova 2014, p. 116.
- ↑ Harle 1994, p. 153.
- ↑ "Toraṇa | Grove Art". doi:10.1093/gao/9781884446054.001.0001/oao-9781884446054-e-7000085631. สืบค้นเมื่อ 2018-08-08.
- ↑ Dhar 2010.
- ↑ Acharya 2010, p. 533.
- ↑ "300 cattle head for goshala everyday". Times Of India. 2011-08-17. สืบค้นเมื่อ 2013-02-06.
- Acharya, P. K. (2010). An encyclopaedia of Hindu architecture. New Delhi: Oxford University Press (Republished by Motilal Banarsidass). ISBN 81-85990-03-4.
- Acharya, P. K. (1927). Indian Architecture according to the Manasara Shilpa Shastra. London: Oxford University Press (Republished by Motilal Banarsidass). ISBN 0300062176.
- Dhar, P. D. (2010). The Torana in Indian and Southeast Asian Architecture. New Delhi: D K Printworld. ISBN 978-8124605349.
- Glushkova, I. (2014). Objects of Worship in South Asian Religions: Forms, Practices and Meanings. Routledge. ISBN 978-1-317-67595-2.
- Goel, S. R. (1991). Hindu Temples – What Happened to Them. 2. New Delhi: Voice of India. ISBN 81-85990-03-4.
- Harle, J. C. (1994). The Art and Architecture of the Indian Subcontinent (2nd ed.). Yale University Press Pelican History of Art. ISBN 0300062176.
- Juneja, M. (2001). Architecture in Medieval India: Forms, Contexts, Histories (2nd ed.). Orient Blackswan. ISBN 978-8178242286.
- Michell, G. (1988). The Hindu Temple: An Introduction to its Meaning and Forms (2nd ed.). Chicago/London: University of Chicago Press. ISBN 0-226-53230-5.
- Shukla, D. N. (1993). Vastu-Sastra: Hindu Science of Architecture. Munshiram Manoharial Publishers. ISBN 978-81-215-0611-3.
- Sears, T. (2014). Worldly Gurus and Spiritual Kings: Architecture and Asceticism in Medieval India. Yale University Press. ISBN 978-0-300-19844-7.
- Thapar, B. (2004). Introduction to Indian Architecture. Singapore: Periplus Editions. ISBN 0-7946-0011-5.