ประเทศโมซัมบิก
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
18°15′S 35°00′E / 18.250°S 35.000°E
สาธารณรัฐโมซัมบิก República de Moçambique (โปรตุเกส) | |
---|---|
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | มาปูตู 25°57′S 32°35′E / 25.950°S 32.583°E |
ภาษาราชการ | โปรตุเกส |
ภาษาที่ได้รับการรับรอง | |
ศาสนา (ค.ศ. 2019)[1] |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดีระบบพรรคเด่น[2][3][4] |
ฟีลีปึ ญูซี | |
Adriano Maleiane | |
สภานิติบัญญัติ | สมัชชาแห่งชาติ |
ก่อตั้ง | |
25 มิถุนายน ค.ศ. 1975 | |
• ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ | 16 กันยายน ค.ศ. 1975 |
ค.ศ. 1977 – 4 ตุลาคม ค.ศ. 1992 | |
21 ธันวาคม ค.ศ. 2004 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 801,590 ตารางกิโลเมตร (309,500 ตารางไมล์) (35th) |
2.2 | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2020 ประมาณ | 30,066,648 [5] (อันดับที่ 48) |
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2017 | 27,909,798 |
28.7 ต่อตารางกิโลเมตร (74.3 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 178) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 41.473 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
• ต่อหัว | 1,331 ดอลลาร์สหรัฐ[6] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 15.372 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
• ต่อหัว | 493 ดอลลาร์สหรัฐ[6] |
จีนี (ค.ศ. 2008) | 45.7[7] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.456[8] ต่ำ · อันดับที่ 181 |
สกุลเงิน | มึตีกัล (MZN) |
เขตเวลา | UTC+2 (เวลาแอฟริกากลาง) |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | +258 |
โดเมนบนสุด | .mz |
เว็บไซต์ www | |
Estimates for this country explicitly take into account the effects of excess mortality due to AIDS; this can result in lower life expectancy, higher infant mortality and death rates, lower population and growth rates, and changes in the distribution of population by age and sex than would otherwise be expected. |
โมซัมบิก[9] (อังกฤษ: Mozambique) หรือ มูซังบีก[9] (โปรตุเกส: Moçambique) มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐโมซัมบิก (อังกฤษ: Republic of Mozambique) หรือ สาธารณรัฐมูซังบีก (โปรตุเกส: República de Moçambique) เป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา โดยมีมหาสมุทรอินเดียอยู่ทางตะวันออก ประเทศแทนซาเนียอยู่ทางเหนือ ประเทศมาลาวีและแซมเบียอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ประเทศซิมบับเวอยู่ทางตะวันตก และมีประเทศเอสวาตินีและแอฟริกาใต้อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้
ประวัติศาสตร์
[แก้]การอพยพถิ่นฐานของชาวบันตู
[แก้]โมซัมบิกเป็นที่อาศัยอยู่ครั้งแรกของชนเผ่าพรานซาน สืบเชื้อสายมาจากคน Khoisani คนที่พูดภาษาบันตู ย้ายมายัง แม่น้ำ Zambezi น้ำท่วมเริ่มเข้าสู่พื้นที่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 เป็นต้นไป ต่อมาประเทศที่เป็นที่นิยมในการทำการค้ากับอาหรับและได้ตั้งชื่อหลังจากที่มีการปกครองโดย Arab Sheikh ในเวลานั้นว่า “Musa bin Ba’ik”
อาณานิคมโปรตุเกส (ค.ศ. 1498–1975)
[แก้]ในปี 1498 นักสำรวจชาวโปรตุเกส นามว่า “วัชกู ดา กามา” ถึงชายฝั่งของประเทศโมซัมบิกและภูมิภาคนี้ก็ได้กลายเป็นฐานสำหรับการค้าอย่างช้า ๆ สำหรับนักค้าโปรตุเกส โมซัมบิกตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส
สงครามประกาศเอกราช (ค.ศ. 1964–1974)
[แก้]ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) รัฐบาลโปรตุเกสในสมัย อึชตาดูโนวู (สาธารณรัฐที่ 2) ใช้กำลังปราบปรามคนท้องถิ่นที่ทำการลุกฮือต่อต้าน ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ นำไปสู่สงครามและเหตุการณ์การสังหารหมู่มูวดา (Mueda Massacre) ในปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) ต่อมานายเอดูอาร์โด มอนเลน (Eduardo Mondlane) ผู้นำท้องถิ่นที่มีอิทธิพลสูงได้ก่อตั้งแนวร่วมเพื่อการปลดปล่อยโมซัมบิก (Liberation Front of Mozamibique - FRELIMO) จนกระทั่ง นายมอนเลน เสียชีวิตขณะปฏิบัติการรบ จากการทิ้งระเบิดใส่กองบัญชาการเฟรลีมู ที่กรุงดาร์-เอส-ซาลาม แทนซาเนีย เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) และนายซาโมรา มาเชล (Samora Machel) ผู้นำทางทหารของ FRELIMO ได้ขึ้นเป็นผู้นำแนวร่วมแทน และใช้ความรุนแรงในการต่อต้านรัฐบาลโปรตุเกส จนได้รับชัยชนะและประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ในวันที่ 25 มิถุนายน 2518 (ค.ศ. 1975)
ประกาศเอกราช (ค.ศ. 1975)
[แก้]ภายหลังการประกาศเอกราช FRELIMO ได้กลายเป็นพรรครัฐบาล และ ซาโมรา มาเชลเป็นประธานาธิบดีคนแรก ประธานาธิบดีมาเชล ใช้นโยบายการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างรุนแรง (radical social change) ปกครองประเทศแบบสังคมนิยม ยึดทรัพย์สินเอกชนทั้งหมดเป็นของรัฐ และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรป โมซัมบิกกลายเป็นประเทศสัญลักษณ์ที่ประเทศคอมมิวนิตส์ใช้เชิดชูความสำเร็จของการปกครองระบอบสังคมนิยม การเมืองภายในของโมซัมบิกได้รับผลกะทบจากสงครามเย็นอย่างมาก ในทศวรรษที่ 1980 ประเทศเสรีตะวันตกและแอฟริกาใต้เข้าแทรกแซง โดยสนับสนุนกลุ่ม Mozambique National Resistance (Renamo) ก่อสงครามกลางเมือง ทำลายสาธารณูปโภคพื้นฐาน สะพาน ทางรถไฟ โรงเรียน สถานพยาบาล ทำให้การพัฒนาประเทศหยุดชะงัก ปลายทศวรรษที่ 1980 สหภาพโซเวียตล่มสลาย สงครามเย็นสิ้นสุดลง รัฐบาลแอฟริกาใต้ยุติการสนับสนุน Renamo ใน ค.ศ. 1986 ประธานาธิบดี มาเชล เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่แอฟริกาใต้อย่างมีเงื่อนงำ และ นาย โยอาควิม ชิสซาโน ขึ้นเป็นผู้นำประเทศแทน
นาย ชิสซาโน เปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจจากมาร์กซิสเป็นเศรษฐกิจการตลาด และลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพยุติสงครามกลางเมืองกับ Renamo ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1992 และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปและการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรกของโมซัมบิกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1994 ซึ่งนาย ชิสซาโน ชนะการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
การเมืองการปกครอง
[แก้]สาธารณรัฐโมซัมบิกปกครองในระบบสาธารณรัฐ ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล ฝ่ายบริหารประกอบด้วยประธานาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และสามารถดำรงตำแหน่งได้ 2 สมัย
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ประเทศโมซัมบิกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 จังหวัด (province-provincias) และ 1 เมืองหลวง (capital city-cidade capital) โดยแต่ละจังหวัดแบ่งย่อยออกเป็น 129 เขต (district-distritos) ได้แก่
- จังหวัดกาบูแดลกาดู
- จังหวัดกาซา
- จังหวัดอีญังบานึ
- จังหวัดมานีกา
- มาปูตู (เมืองหลวง)
- จังหวัดมาปูตู
- จังหวัดนัมปูลา
- จังหวัดนียาซา
- จังหวัดซูฟาลา
- จังหวัดแตตึ
- จังหวัดซังแบซียา
เศรษฐกิจ
[แก้]ในปี 2555 (ค.ศ. 2012) โมซัมบิกมี GDP มูลค่า 13.6 พันล้าน USD และมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 7.4 อุตสาหกรรมที่สำคัญของโมซัมบิก ได้แก่ การทำเหมืองถ่านหิน การเกษตร ประมง เครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ อะลูมินั่ม ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สิ่งทอ ซีเมนต์ แก้ว และยาสูบ สินค้าหลักที่โมซัมบิกส่งออก ได้แก่ ถ่านหิน อะลูมินั่ม เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ กุ้ง น้ำตาล และฝ้าย โดยประเทศที่โมซัมบิกส่งสินค้าออก เป็นลำดับต้น ๆ ได้แก่เบลเยี่ยม แอฟริกาใต้ สเปน และเนเธอร์แลนด์ ส่วนสินค้าที่โมซัมบิกนำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยานพาหนะ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยนำเข้าจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย จีน และโปรตุเกส สินค้านำเข้าหลักของโมซัมบิก คือ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม โดยภาพรวม ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของโมซัมบิกคือ แอฟริกาใต้ เนเธอร์แลนด์ และโปรตุเกส
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2019 Report on International Religious Freedom: Mozambique". United States Department of State. สืบค้นเมื่อ August 19, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Neto, Octávio Amorim; Lobo, Marina Costa (2010). "Between Constitutional Diffusion and Local Politics: Semi-Presidentialism in Portuguese-Speaking Countries". SSRN 1644026.
- ↑ Shugart, Matthew Søberg (September 2005). "Semi-Presidential Systems: Dual Executive and Mixed Authority Patterns" (PDF). Graduate School of International Relations and Pacific Studies. United States: University of California San Diego. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 August 2008. สืบค้นเมื่อ 20 August 2016.
{{cite journal}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Shugart, Matthew Søberg (December 2005). "Semi-Presidential Systems: Dual Executive And Mixed Authority Patterns". French Politics. 3 (3): 323–351. doi:10.1057/palgrave.fp.8200087. S2CID 73642272.
Of the contemporary cases, only four provide the assembly majority an unrestricted right to vote no confidence, and of these, only two allow the president unrestricted authority to appoint the prime minister. These two, Mozambique and Namibia, as well as the Weimar Republic, thus resemble most closely the structure of authority depicted in the right panel of Figure 3, whereby the dual accountability of the cabinet to both the president and the assembly is maximized.
- ↑ "Projecções da População — Instituto Nacional de Estatistica". www.ine.gov.mz. Archived from the original on 7 March 2020. Retrieved 2020-04-18.
- ↑ 6.0 6.1 "Report for Selected Countries and Subjects". www.imf.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2019. สืบค้นเมื่อ 8 April 2020.
- ↑ "Gini Index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 2 March 2011.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ 9.0 9.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
ข้อมูล
[แก้]- บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก
บรรณานุกรม
[แก้]- Abrahamsson, Hans, Mozambique: The Troubled Transition, from Socialist Construction to Free Market Capitalism London: Zed Books, 1995
- Bowen, Merle L., "The State against the Peasantry: Rural struggles in colonial and postcolonial Mozambique", Charlottesville & London, University Press of Virginia, 2000
- Cahen, Michel, Les bandits: un historien au Mozambique, Paris: Gulbenkian, 1994
- Fialho Feliciano, José, "Antropologia económca dos Thonga do sul de Moçambique", Maputo, Arquivo Histórico de Moçamique, 1998
- Gengenbach, Heidi, "Binding Memories: Women as Makers and Tellers of History in Magude, Mozambique". Columbia University Press, 2004. Entire Text Online เก็บถาวร 26 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Mwakikagile, Godfrey, Africa and America in The Sixties: A Decade That Changed The Nation and The Destiny of A Continent, First Edition, New Africa Press, 2006, ISBN 978-0-9802534-2-9
- Mwakikagile, Godfrey, Nyerere and Africa: End of an Era, Third Edition, New Africa Press, 2006, "Chapter Seven: "The Struggle for Mozambique: The Founding of FRELIMO in Tanzania," pp. 206–225, ISBN 978-0-9802534-1-2
- Morier-Genoud, Eric, Cahen, Michel and do Rosário, Domingos M. (eds), The War Within New Perspectives on the Civil War in Mozambique, 1976–1992 (Oxford: James Currey, 2018)
- Morier-Genoud, Eric, "Mozambique since 1989: Shaping democracy after Socialism" in A.R.Mustapha & L.Whitfield (eds), Turning Points in African Democracy, Oxford: James Currey, 2008, pp. 153–166.
- Newitt, Malyn, A History of Mozambique Indiana University Press. ISBN 1-85065-172-8
- Pitcher, Anne, Transforming Mozambique: The politics of privatisation, 1975–2000 Cambridge, Cambridge University Press, 2002
- Varia, "Religion in Mozambique", LFM: Social sciences & Missions No. 17, December 2005
วรรณกรรม
[แก้]- Mia Couto, Sleepwalking Land, 2006
- Laurent Gaudé, Dans la nuit Mozambique, Actes Sud, 2007, ISBN 9782742767816
- Michèle Manceaux, Les Femmes du Mozambique, Mercure de France, 1975
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รัฐบาล
- Republic of Mozambique เก็บถาวร 2014-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Official Government Portal
- ข้อมูทั่วไป
- Social Atlas from World Bank
- Country Profile from BBC News
- Mozambique. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Mozambique from UCB Libraries GovPubs
- ประเทศโมซัมบิก ที่เว็บไซต์ Curlie
- Wikimedia Atlas of Mozambique
- Key Development Forecasts for Mozambique from International Futures
- การท่องเที่ยว
- Niassa Reserve เก็บถาวร 2011-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Niassa National Reserve official website
- สุขภาพ
The State of the World's Midwifery – Mozambique Country Profile