จักรวรรดิพาลไมรีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Imperium Palmyrenum

ค.ศ. 260ค.ศ. 273
จักรวรรดิพาลไมรีน (สีเหลือง) ภายใต้การปกครองของพระราชินีเซโนเบียในปี ค.ศ. 271
จักรวรรดิพาลไมรีน (สีเหลือง) ภายใต้การปกครองของพระราชินีเซโนเบียในปี ค.ศ. 271
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวงพาลไมรา
ภาษาทั่วไปภาษาลาติน (ราชการ), กรีกโบราณ, อราเมอิก, ภาษาอาหรับ และภาษาท้องถิ่น
ศาสนา
เพกัน (ราชการ)
การปกครองราชาธิปไตย
• ค.ศ. 260-267
เซ็พติมัส โอเดนาธัส
• ค.ศ. 267-271
เซโนเบีย
ยุคประวัติศาสตร์ยุคโบราณตอนปลาย
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 260
• สิ้นสุด
ค.ศ. 273
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิโรมัน
จักรวรรดิโรมัน

จักรวรรดิพาลไมรีน (ละติน: Imperium Palmyrenum อังกฤษ: Palmyrene Empire) เป็นจักรวรรดิที่แยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันระหว่างวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ที่ประกอบด้วยจังหวัดโรมัน ซีเรีย, ซีเรียปาเลสตินา, โรมัน และบริเวณส่วนใหญ่ของอานาโตเลีย โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ พาลไมรา พาลไมรีนรุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 260 จนถึงปี ค.ศ. 273 จักรวรรดิพาลไมรีนมีพระราชินีเซโนเบียเป็นผู้ปกครองในนามของพระราชโอรสวาบาลลาธัส (Vaballathus)

วิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3[แก้]

แม้ว่าจะประสบกับวิกฤติการณ์ต่าง ๆ หลายครั้งแต่จักรวรรดิโรมันที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยของออกัสตัส ซีซาร์ก็สามารถดำรงอยู่ได้ แต่เมื่อจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ เซเวรัสถูกสังหารโดยทหารในปี ค.ศ. 235, กองทหารโรมันได้รับความพ่ายแพ้ในการรณรงค์ทางสงครามต่อซาสซานิยะห์เปอร์เซีย และการล่มสลายของจักรวรรดิ ผู้นำทางการทหารต่างก็เริ่มต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันภายในจักรวรรดิ ซึ่งเป็นผลทำให้พรมแดนโรมันถูกละเลยและกลายเป็นเป้าหมายในการโจมตีโดยชนกลุ่มต่าง ๆ ที่รวมทั้งคาร์เพียน, กอธ, แวนดัล และ อลามานนิ และรวมทั้งการรุกรานโดยตรงของซาสซานิยะห์อย่างรุนแรงทางตะวันออก

ในที่สุดในปี ค.ศ. 258 ความแตกแยกก็เกิดขึ้นจากภายใน เมื่อจักรวรรดิถูกแบ่งเป็นสามส่วน จังหวัดโรมันกอล, บริเตน และ ฮิสปาเนีย แยกตัวไปเป็นจักรวรรดิกอล

ในเมื่อจักรวรรดิโรมันไม่สามารถป้องกันจังหวัดทางตะวันออกจากการรุกรานของซาสซานิยะห์ได้ ข้าหลวงเซ็พติมัส โอเดนาธัส (en:Septimius Odaenathus) จึงก่อตั้งกองทหารของตนเองเป็นกองสิบสอง (Legio XII Fulminata) แทนที่จะเข้าไปร่วมการขัดแย้งแย่งชิงโรม

แต่เซ็พติมัส โอเดนาธัสถูกสังหารโดยลูกชายวาบาลลาธัส (Vabalathus) และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์แห่งจักรวรรดิพาลไมรีน แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ในมือของพระราชินีเซโนเบียพระราชมารดา ผู้ถือโอกาสขณะที่โรมยังมีความขัดแย้งในการขยายอำนาจไปยังอียิปต์ ซีเรีย ปาเลสไตน์ เลบานอน และอานาโตเลีย และในที่สุดก็ถือตำแหน่ง ออกัสตัส สำหรับพระองค์เองและพระราชโอรส

อ้างอิง[แก้]

  • The "Tyranni Triginta", a book of the Augustan History (written in the 4th century) contains an unreliable account of Zenobia's life and triumph.
  • Public Domain บทความนี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติChisholm, Hugh, บ.ก. (1911). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. {{cite encyclopedia}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  • Long, Jacqueline, "Vaballathus and Zenobia", De Imperatoribus Romanis site.

ดูเพิ่ม[แก้]