วัชรพล ประสารราชกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัชรพล ประสารราชกิจ
ประธานกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ก่อนหน้าปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558
(1 ปี 61 วัน)
รักษาราชการแทน
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557
(0 ปี 129 วัน)
ก่อนหน้าพล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว
ถัดไปพล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กันยายน พ.ศ. 2497 (69 ปี)
เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสรศ.ปิยานันต์ ประสารราชกิจ
บุตรปัณฑพล ประสารราชกิจ
วลัลนา ประสารราชกิจ
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประจำการพ.ศ. 2528 - 2557
ชั้นยศ พลตำรวจเอก

พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ[1]กรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 159/2557 อดีต[2]รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[3] อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[4]อดีตราชองครักษ์พิเศษ [5] และอดีตรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ชีวิตและครอบครัว[แก้]

พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ หรือ พลตำรวจเอก ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ เกิดเมื่อวันที่เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2497 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า "กุ้ย" (สื่อมวลชนเรียกว่า "บิ๊กกุ้ย") เป็นบุตรชายของ ร.ต.ต.แดง กับนางเอี่ยมจิตต์ ประสารราชกิจ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายจากโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร, ปริญญาตรีรัฐประศาสนศาสตร์จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่นที่ 29, ปริญญาโทด้านการบริหารงานกระบวนการยุติธรรมจากมหาวิทยาลัยแอละแบมา และปริญญาเอกด้านอาชญาวิทยาจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต สหรัฐอเมริกา สมรสกับ รศ.ปิยานันต์ ประสารราชกิจ (บุตรสาวของ ศ.อนันต์ กรุแก้ว) มีบุตร 2 คน เป็นชาย 1 คน คือ นาย ปัณฑพล ประสารราชกิจ (นักร้องนำวงค็อกเทล) และหญิง 1 คน คือ นางสาว มณฑน์กร ประสารราชกิจ[6]

การรับราชการตำรวจ[แก้]

พล.ต.อ. ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้ช่วยนายเวรรองอธิบดีกรมตำรวจ ฝ่ายกิจการพิเศษ ติดยศว่าที่ร้อยตำรวจตรี (ร.ต.ต.) เป็นรองสารวัตรปราบปราม (รอง สวป.) สถานีตำรวจนครบาลพญาไท เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 จากนั้นก็ได้เลื่อนตำแหน่งและได้ใกล้ชิดกับการเมืองมากขึ้น ด้วยการเป็นนายเวรอธิบดีกรมตำรวจ (พล.ต.อ.เภา สารสิน) และผู้ช่วยนายเวรอธิบดีกรมตำรวจ จากนั้นได้เปลี่ยนเป็นทำหน้าที่ดูแลด้านปราบปรามยาเสพติด และกลับเข้ามาสู่การเมืองอีกครั้งด้วยการเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง สมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เมื่อปี พ.ศ. 2534 จากนั้นก็ได้กลับไปสู่หน้าที่ปราบปรามยาเสพติดและกิจการต่างประเทศอีกครั้ง จนกระทั่งได้ขึ้นเป็นถึงผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546

หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติด้านกิจการพิเศษ

จากนั้นในต้นปี พ.ศ. 2552 ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แทนที่ พล.ต.ท. พงศพัศ พงษ์เจริญ ตามคำสั่งของ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติด้วยเหตุผลว่ามีความเป็นนักวิชาการมากกว่า[7]

ในต้นปี พ.ศ. 2552 ได้รับเลื่อนยศเป็นพลตำรวจเอก (พล.ต.อ.) และดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ในกลางปี พ.ศ. 2552 หลังจากที่ พล.ต.อ. พัชรวาท เกษียณอายุราชการไป ที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ไม่สามารถสรรหาผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้ถึง 2 ครั้ง 2 ครา ทำให้มีข่าวว่า พล.ต.อ. ดร.วัชรพล อาจจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นคนต่อไป แต่เจ้าตัวได้ปฏิเสธและให้เหตุผลว่าในบรรดาผู้ที่มีคุณสมบัตินั้นตนมีอาวุโสน้อยที่สุด[8]

หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้ง พล.ต.อ. ปทีป ตันประเสริฐ เป็นรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในวันที่ 29 กันยายน แล้ว พล.ต.อ. ดร.วัชรพล ก็ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ด้วย โดยให้เหตุผลว่าเป็นมารยาทที่เป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งโดย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนเก่า (พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) ที่เมื่อ ผบ.ตร. คนเก่าเกษียณออกไปแล้วก็สมควรลาออกเพื่อให้ ผบ.ตร. ที่เข้ามาใหม่ได้พิจารณาแต่งตั้งใหม่[9]

ในกลางปี พ.ศ. 2553 ชื่อของ พล.ต.อ. ดร.วัชรพลก็กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง เมื่อมีชื่อคาดหมายว่าอาจจะเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ หลังจาก พล.ต.อ. ปทีป รักษาราชการฯ ได้เกษียณอายุไป โดยตกเป็นชื่อคู่กับ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รอง ผบ.ตร. อีกคน แล้วในที่สุดตำแหน่งนี้ก็ตกเป็นของ พล.ต.อ. วิเชียรไป[10]

และในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว) ที่ถูกสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี [11]

งานการเมือง[แก้]

พล.ต.อ.วัชรพล ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[12] ต่อมาได้ขอลาออกจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558[13] เพื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหาเป็นกรรมการ ปปช.

การรับราชการประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ[แก้]

พลตำรวจเอกวัชรพล ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2558

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, วันที่สืบค้น 1 มกราคม 2559
  2. กรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
  3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง[ลิงก์เสีย]
  4. อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ
  5. อดีตราชองครักษ์พิเศษ
  6. พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ
  7. ปลด พงศพัศ พ้นโฆษกตำรวจ วัชรพล ประสารราชกิจ เสียบ
  8. "'วัชรพล'ปัดข่าวนั่งแท่นผบ.ตร.คนใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-26. สืบค้นเมื่อ 2009-09-27.
  9. วัชรพลลาออกเลขากตช.-โฆษกสตช.[ลิงก์เสีย]
  10. ผบ.ตร.พบอภิสิทธิ์โชว์วิสัยทัศน์.html[ลิงก์เสีย]จากคมชัดลึก
  11. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่และให้รักษาราชการแทน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑ ตอน ๘๘ ง พิเศษ หน้า ๑ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗
  12. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง[ลิงก์เสีย]
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ)
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๒
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๔, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔
ก่อนหน้า วัชรพล ประสารราชกิจ ถัดไป
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
รักษาราชการแทน
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

(24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง