ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาอาหรับคลาสสิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาอาหรับคลาสสิก
โองการจากอัลกุรอานที่เป็นลายมือเขียนของภาษาอาหรับคลาสสิก ถูกเขียนด้วยตัวเขียนภาษาอาหรับ.
ประเทศที่มีการพูดเป็นภาษาที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของตะวันออกกลาง ภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลาม
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาอาหรับเก่า
  • ภาษาอาหรับคลาสสิก
รหัสภาษา
ISO 639-3
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาอาหรับคลาสสิก (อังกฤษ: Classical Arabic; CA; อาหรับ: ٱلعَرَبِيَّة ٱلْفُصْحَىٰ, al-ʿarabīyah al-fuṣḥā) หรือภาษาอาหรับโกหร่าน (Koranic Arabic) เป็นรูปแบบของภาษาอาหรับที่ใช้ในวรรณคดีจากสมัยอุมัยยัดและอับบาสิด (ประมาณพุทธศตวรรษ 12 – 14) มีพื้นฐานมาจากสำเนียงในยุคกลางของเผ่าอาหรับ ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ จะเป็นภาษาลูกหลานของภาษานี้ แม้ว่ารากศัพท์ และรูปแบบของภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่จะต่างจากภาษาอาหรับคลาสสิก แต่โครงสร้างประโยคยังไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่สำเนียงที่ใช้พูดได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ในโลกของชาวอาหรับ มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่างภาษาอาหรับคลาสสิกและภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ และทั้งคู่ถูกเรียกว่าอัล-ฟุศฮาในภาษาอาหรับซึ่งหมายถึงภาษาพูดที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์อัลกุรอ่าน จึงถือเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของมุสลิม และใช้ในพิธีทางศาสนา[1]

ประวัติ

[แก้]

ภาษาอาหรับคลาสสิกมีจุดกำเนิดทางตอนกลางและตอนเหนือของคาบสมุทรอาระเบีย และต่างจากภาษาอาระเบียใต้โบราณ ที่ใช้พูดทางใต้ของคาบสมุทร ซึ่งในปัจจุบันคือเยเมน[2] ภาษาอาหรับคลาสสิกเป็นภาษาลูกหลานที่เหลืออยู่เพียงภาษาเดียวของกลุ่มภาษาอาระเบียเหนือโบราณ จารึกที่เก่าที่สุดของภาษาอาหรับคลาสสิกมีอายุราว พ.ศ. 871 เรียกว่าจารึกนมาเราะห์ เขียนด้วยอักษรนาทาบาเอียน และตั้งชื่อตามสถานที่ที่พบในซีเรียทางใต้เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2444[3] เมื่อศาสนาอิสลามแพร่หลายออกไป ภาษานี้กลายเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางวิชาการและศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาอาหรับคลาสสิกกับสำเนียงสมัยใหม่ เทียบได้กับความสัมพันธ์ระหว่างภาษาละตินกัลกลุ่มภาษาโรมานซ์ หรือภาษาจีนยุคกลางกับภาษาจีนในปัจจุบัน

ลักษณะ

[แก้]

ภาษาอาหรับคลาสสิกเป็นภาษาในกลุ่มภาษาเซมิติกที่มีความคล้ายคลึงทั้งด้านการเชื่อมต่อและการออกเสียงกับภาษาฮีบรู ภาษาอัคคาเดียน ภาษาอราเมอิก และภาษาอัมฮาริก โดยมีรากศัพท์ประกอบด้วยพยัญชนะสามตัว ซึ่งบรรจุความหมายพื้นฐาน จากนั้นจะผันแปรไปตามกรรมหรือการกระทำที่เกี่ยวข้อง เช่น

  • kataba, เขาเขียน (อดีต)
  • yaktubu, เขาเขียน (ปัจจุบัน)
  • maktūbun, คำที่ถูกเขียน
  • kitābun, หนังสือ
  • kutubun, หนังสือ (พหูพจน์)
  • kitābatun, การเขียน
  • kitābātun, การเขียน (พหูพจน์เพศหญิง)
  • maktabun, โต๊ะ
  • maktabatun, ห้องสมุด
  • kātibun, นักเขียน
  • kātibūna,นักเขียน (พหูพจน์เพศชาย)
  • kuttābun, นักเขียน (พหูพจน์)
  • miktābun, เครื่องจักรสำหรับเขียน

ไวยากรณ์

[แก้]

ไวยากรณ์ภาษาอาหรับ (قواعد‎, หมายถึงกฏ) พัฒนาขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12[4][5] หนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาอาหรับเรียก ʻAbd Allāh ibn Abī Isḥāq ในปัจจุบันจะเรียกไวยากรณ์ของภาษานี้ว่าไวยากรณ์สำหรับภาษาโกหร่าน และใช้รูปประโยคแบบดั้งเดิม

Dependency syntax tree for verse (67:1)

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "Arabic Language," เก็บถาวร 2009-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนMicrosoft Encarta Online Encyclopedia 2009. "Classical Arabic, which has many archaic words, is the sacred language of Islam...". 2009-10-31.
  2. "The Collapse of the Marib Dam and the Origin of the Arabs". Arabia Felix. March 30, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-09. สืบค้นเมื่อ 2013-08-06.
  3. James A. Bellamy (1985). "A New Reading of the Namārah Inscription". Journal of the American Oriental Society. American Oriental Society. 105 (1): 31–51. doi:10.2307/601538. JSTOR 601538.
  4. Goodchild, Philip. Difference in Philosophy of Religion (2003), p. 153.
  5. Sayce, Archibald Henry. Introduction to the Science of Language (1880), p. 28.

อ้างอิง

[แก้]
  • Bin-Muqbil, Musaed (2006). "Phonetic and Phonological Aspects of Arabic Emphatics and Gutturals". University of Wisconsin–Madison. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  • Holes, Clive (2004) Modern Arabic: Structures, Functions, and Varieties Georgetown University Press. ISBN 1-58901-022-1
  • Versteegh, Kees (2001) The Arabic Language Edinburgh University Press ISBN 0-7486-1436-2 (Ch.5 available in link below)
  • Watson, Janet (2002). "The Phonology and Morphology of Arabic". New York: Oxford University Press. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  • Bin Radhan, Neil. "Die Wissenschaft des Tadschwīd". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]