อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์
อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ المستنصر بالله | |
---|---|
เหรียญทองของอัลมุสตันศิร, อียิปต์, ค.ศ. 1055 | |
อิมาม–เคาะลีฟะฮ์รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์องค์ที่ 8 | |
ครองราชย์ | 13 มิถุนายน ค.ศ. 1036 (15 ชะอ์บาน ฮ.ศ. 427)[a] – 29 ธันวาคม ค.ศ. 1094 (18 ษุลฮิจญ์ญะฮ์ ฮ.ศ. 487)[b] |
ก่อนหน้า | อัซซอฮิร |
ถัดไป | อัลมุสตะอ์ลี |
ประสูติ | 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1029 (16 ญุมาดัษษานี ฮ.ศ. 420)[3][4] ไคโร ประเทศอียิปต์ |
สวรรคต | 29 ธันวาคม ค.ศ. 1094 (18 ษุลฮิจญ์ญะฮ์ ฮ.ศ. 487)[b] (65 พรรษา) ประเทศอียิปต์ |
พระราชบุตร |
|
ราชวงศ์ | ฟาฏิมียะฮ์ |
พระราชบิดา | อัซซอฮิร |
พระราชมารดา | เราะศ็อด[9] |
ศาสนา | ชีอะฮ์อิสมาอีลียะฮ์ |
อะบู ตะมีม มะอัด อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ (อาหรับ: أبو تميم معد المستنصر بالله; 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1029 – 29 ธันวาคม ค.ศ. 1094)[b] เป็นเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์องค์ที่ 8 ใน ค.ศ. 1036 ถึง 1094 พระองค์เป็นหนึ่งในผู้ปกครองมุสลิมที่ปกครองนานที่สุด[10] รัชสมัยของพระองค์คือช่วงเริ่มต้นรัฐฟาฏิมียะฮ์ ในช่วงต้นของรัชสมัยมีความต่อเนื่องของผู้บริหารที่มีความสามารถฝยการบริหารรัฐฟาฏิมียะฮ์ (อะนูชตะกีน, อัลญัรญะรออี และอัลยาซูรีในภายหลัง) ควบคุมความเจริญรุ่งเรืองของรัฐในช่วงสองทศวรรษแรกของรัชสมัยอัลมุสตันศิร อย่างไรก็ตาม การแตกหักของราชสำนักระหว่างกลุ่มราชสำนักเติร์กกับเบอร์เบอร์/ซูดานหลังจากการลอบสังหารอัลยาซูรีที่เกิดขึ้นพร้อมกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในอียิปต์ และการสูญเสียการควบคุมบริหารเหนือดินแดนนอกอียิปต์ของฟาฏิมียะฮ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป เกือบส่งผลให้รัฐฟาฏิมียะฮ์ล่มสลายจนสิ้นในคริสต์ทศวรรษ 1060 การแต่งตั้งบัดร์ อัลญะมาลี นายพลชาวอาร์เมเนีย ผู้ขึ้นมามีอำนาจเป็นวิเซียรใน ค.ศ. 1073 และกลายเป็นเผด็จการของประเทศโดยพฤตินัยภายใต้การครองราชย์เพียงในนามของอัลมุสตันศิร[2][1][4]
เคาะลีฟะฮ์อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์เป็นอิมามคนสุดท้ายก่อนที่จะเกิดการแตกแยกในขบวนการอิสมาอีลียะฮ์ออกเป็น 2 กลุ่ม เนื่องจากการต่อสู้กันอย่างต่อเนื่องระหว่างนิซาร พระราชโอรสองค์โต กับอัลมุสตะอ์ลี พระอนุชาของนิซารผู้ได้รับการเลี้ยงดูให้ขึ้นครองราชย์โดยอัลอัฟฎ็อล ชาฮันชาฮ์ บุตรและผู้สืบทอดของบัดร์ อัลญะมาลี ผู้ที่ติดตามนิซารกลายมาเป็นอิสมาอีลียะฮ์สายนิซารีที่พบเป็นหลักในอิหร่านและซีเรีย ส่วนผู้ที่ตามอัลมุสตะอ์ลีกลายเป็นสายมุสตะอ์ลี
พระราชประวัติ
[แก้]อัลมุสตันศิรเสด็จพระราชสมภพที่ไคโรในวันที่ 16 ญุมาดัษษานี ฮ.ศ. 420/2 กรกฎาคม ค.ศ. 1029[4] จากอะลี อัซซอฮิรกับเราะศ็อด ทาสผิวดำจากนูเบีย[11] เมื่อพระชนมพรรษา 8 เดือน พระราชบิดาประกาศให้พระองค์เป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ พระองค์มีพระนามว่า อะบู ตะมีม มะอัด นามสกุล อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ ("ผู้ถามถึงชัยชนะจากพระผู้เป็นเจ้า") พระองค์ขึ้นครองราชย์รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ในวันที่ 15 ชะอ์บาน ฮ.ศ. 427/13 มิถุนายน ค.ศ. 1036 ตอนพระชนมพรรษา 7 พรรษา ในช่วงปีแรกของการเป็นเคาะลีฟะฮ์ พระราชมารดาเป็นผู้บริหารกิจการของรัฐ พระองค์ครองราชย์เป็นเวลา 60 ปี ซึ่งยาวนานที่สุดในบรรดาเคาะลีฟะฮ์ทั้งหมดทั้งในอียิปต์หรือรัฐอิสลามอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม อำนาจของฟาฏิมียะฮ์ถูกจำกัดอยู่ที่อียิปต์ เนื่องจากการพิชิตลิแวนต์ของพวกเซลจุค นอร์มันในซิซิลีกับมอลตา และชนเผ่าอาหรับสร้างความสั่นคลอนต่อฝ่ายฟาฏิมียะฮ์เหนือตูนิเซียและตริโปลี[1] อัลมุสตันศิรถือว่าเป็นผู้ไร้ความสามารถ[ต้องการอ้างอิง] และนั่นทำให้ราชสำนักของพระองค์จึงถูกครอบงำโดยทหารแข็งแกร่งและเจ้าหน้าที่คนโปรดของพระราชมารดา ในขณะที่คลังสมบัติก็หมดลงด้วยการต่อสู้แบบประจัญบานจากฝ่ายต่าง ๆ[12]
พระองค์สร้างเมียะห์รอบพิเศษที่เสาหนึ่งในมัสยิดอิบน์ ฏูลูน เหนือเมียะห์รอบมีพระนามของพระองค์สลักร่วมกับชะฮาดะฮ์ที่มีการอ่านกันตามสาธารณะในสมัยฟาฏิมียะฮ์ ซึ่งลงท้ายด้วยวลี 'อะลีวะลียุลลอฮ์' หมายถึง "อะลีเป็นพระสหายของอัลลอฮ์"
ราชสำนัก
[แก้]ดาอี/วิเซียรที่มีเชื่อเสียงในรัชสมัยของพระองค์ มีดังนี้:
- อะลี อิบน์ อะห์มัด อัลญัรญะรออี, วิเซียร (เสียชีวิต ค.ศ. 1045)
- บัดร์ อัลญะมาลี, วิเซียร (เสียชีวิต ค.ศ. 1094)
- อัลมุอัยยัด ฟีดดีน อัชชีรอซี, หัวหน้าผู้สอนศาสนา (dā‘i al-dū‘at) ใน ค.ศ. 1059 ถึง 1078[13]
มูลัย อับดุลลอฮ์กับSyedi Nuruddin เป็นชาวอินเดียสองคนที่เดินทางพบอัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ที่อียิปต์ ทั้งคู่หันมานับถือความเชื่อแบบอิสมาอีลียะฮ์ตามอัลมุอัยยัด ฟีดดีน อัชชีรอซี ดาอีฟาฏิมียะฮ์ และกลับไปอินเดียเพื่อเผยแพร่ความเชื่อนี้[14]
ภาพ
[แก้]-
เมียะห์รอบของอัลมุสตันศิรที่มัสยิดอิยน์ ฏูลูน ไคโร
-
จารึกหินจากสมัยอัลมุสตันศิรใกล้เมียะห์รอบของอัลมุสตันศิร
-
รายละเอียดเมียะห์รอบของอัลมุสตันศิร
-
พระนามของอัลมุศตันศิรสลักบนเมียะห์รอบ
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนจัดให้ ค.ศ. 1035 เป็นปีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์[1][2] ปีที่มีการอ้างถึงมากกว่าคือ ค.ศ. 1036 โดยเฉพาะในบรรดานักวิชาการมุสลิม[3][4]
- ↑ 2.0 2.1 2.2 เมื่อแปลงไปเป็นปฏิทินกริกอเรียน วันสวรรคตอยู่ในช่วง 6 มกราคม ค.ศ. 1095[4] แต่วันที่ 29 ธันวาคมเป็นวันที่ที่มีการใช้กันทั่วไป[3][5][6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Hitti, Philip K. (2002). A Short History of the Arabs: From the Earliest Times to the Present (Revised 10 ed.). ISBN 0333631420.
- ↑ 2.0 2.1 O'Leary, De Lacy (1923). A Short History of the Fatimid Caliphate. p. 193.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "MÜSTA'LÎ-BİLLÂH el-FÂTIMÎ - TDV İslâm Ansiklopedisi". TDV İslam Ansiklopedisi (ภาษาตุรกี).
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "MUSTANSIR BILLAH I (427-487/1036-1095), 18TH IMAM". ismaili.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 February 2022.
- ↑ Cohen, Mark R. (2014). Jewish Self-Government in Medieval Egypt. Princeton University Press. p. 218. ISBN 9781400853588.
- ↑ Ayman Fu'ad Sayyid (2002). The Fatimids and Their Successors in Yaman. I.B. Tauris. p. 5. ISBN 9781860646904.
- ↑ Hodgson, Natasha R. (2019). Crusading and Masculinities. Routledge. p. 72. ISBN 9781351680141.
- ↑ Daftary 2007, p. 246.
- ↑ al-Maqrizi, Ette'aaz al-honafa be Akhbaar al-A'emma Al Fatemeyyeen Al Kholafaa, part 2, p. 45. Qairo. 1973
- ↑ "al-Mustanṣir" Encyclopædia Britannica Retrieved 31 January 2015
- ↑ Holt, P. M., and M. W. Daly. "A History of the Sudan: From the Coming of Islam to the Present Day." Taylor & Francis Group, 2014. 16
- ↑ Daftary, Farhad (1990). The Isma'ilis: Their History and Doctrines. pp. 193-194. ISBN 978-0-521-37019-6.
- ↑ Klemm, Verena (2004). "MOʾAYYAD FI'L-DIN ŠIRĀZI". Encyclopaedia Iranica.
- ↑ [1] 12.0 The Fatimid Da'i Al-Mu'ayyad: His Life, by: Dr. Abbas Hamdani, University of Wisconsin, Milwaukee (U.S.A.): ..In this village there were two .men who acquired knowledge, then proceeded from India, in the time of al-Mustansir, to Egypt and joined the lsma'ili faith at the bidding of Sayyidna al-Mu'ayyad from whom they acquired much knowledge. Their names were (Ba)Lam Nath(known as Moulai Abadullah) and Rup Nath (later called Mawla'i Nurad-Din). Both of them returned from Egypt to their native village...."
ข้อมูล
[แก้]- Bianquis, Thierry (1989). Damas et la Syrie sous la domination fatimide (359-468/969-1076): essai d'interprétation de chroniques arabes médiévales. Deuxième tome (ภาษาฝรั่งเศส). Damascus: Institut français de Damas. ISBN 978-2-35159131-4.
- Brett, Michael (2017). The Fatimid Empire. The Edinburgh History of the Islamic Empires. Edinburgh: Edinburgh University Press. ISBN 978-0-7486-4076-8.
- Daftary, Farhad (2007). The Ismāʿı̄lı̄s: Their History and Doctrines (Second ed.). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-61636-2.
- Halm, Heinz (2003). Die Kalifen von Kairo: Die Fatimiden in Ägypten, 973–1074 [The Caliphs of Cairo: The Fatimids in Egypt, 973–1074] (ภาษาเยอรมัน). Munich: C. H. Beck. ISBN 3-406-48654-1.
- Halm, Heinz (2014). Kalifen und Assassinen: Ägypten und der vordere Orient zur Zeit der ersten Kreuzzüge, 1074–1171 [Caliphs and Assassins: Egypt and the Near East at the Time of the First Crusades, 1074–1171] (ภาษาเยอรมัน). Munich: C. H. Beck. doi:10.17104/9783406661648-1. ISBN 978-3-406-66163-1.
- Walker, Paul E. (1995). "Succession to Rule in the Shiite Caliphate". Journal of the American Research Center in Egypt. 32: 239–264. doi:10.2307/40000841. JSTOR 40000841.