ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองทัพไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 116: บรรทัด 116:


== ข้อวิพากษ์วิจารณ์ ==
== ข้อวิพากษ์วิจารณ์ ==

=== การแทรกแซงการเมืองไทยและความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ ===
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554 กลุ่ม[[นิติราษฎร์]]จัดการเสวนาวิพากษ์บทบาทกองทัพต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งพันเอก [[อภิวันท์ วิริยะชัย]] ผู้ร่วมเสวนาคนหนึ่ง ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ทุกครั้งที่มีรัฐประหาร หัวหน้าคณะจะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหัวหน้าคณะ จะเห็นว่าเป็นการเกื้อกูลกันระหว่างกองทัพกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่ปี 2490 คณะใดที่ไม่ได้รับการโปรดเกล้า คณะนั้นก็จะเป็นกบฏ<ref>{{cite news| url=http://www.prachatai.com/journal/2011/02/32979 | work= ประชาไท | title=รายงานเสวนา: กองทัพ การเมือง ประชาธิปไตย | date=6 ก.พ. 2554 | accessdate=9 ต.ค. 2557 }}</ref>

กองทัพไทย[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐประหาร]]รัฐบาลรักษาการพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549<ref>[http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/5361512.stm Thai PM deposed in military coup] จากเว็บไซต์ [[บีบีซีนิวส์]], 20 กันยายน พ.ศ. 2549</ref> นอกจากนี้ ยังมีข้อสงสัยว่า ผู้บัญชาการกองทัพไทย อยู่เบื้องหลังการจัดตั้ง[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59|รัฐบาล]][[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551<ref>[http://www.telegraph.co.uk/news/worldnews/asia/thailand/3831672/Thai-army-to-help-voters-love-the-government.html Thai army to 'help voters love' the government] จากเว็บไซต์ [[เดอะเทเลกราฟ]], 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551</ref> และปรากฏเป็นข่าวว่า รัฐบาลและกองทัพไทยร่วมกันออกคำสั่งให้ทหารใช้อาวุธสงครามเข้าสลาย[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553|การชุมนุมทางการเมือง]]ของ[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]]สามครั้ง คือ เมื่อวันที่ 13-14 เมษายน พ.ศ. 2552<ref>[http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7997507.stm Army pressure ends Thai protest] จากเว็บไซต์ บีบีซีนิวส์, 14 เมษายน พ.ศ. 2552</ref>, 10 เมษายน<ref>[http://www.theaustralian.com.au/news/world/bullets- killed-thai-red-shirt-protesters/story-e6frg6so-1225852976016 Bullets killed Thai Red-Shirt protesters] จากเว็บไซต์ ดิออสเตรเลียน, 13 เมษายน พ.ศ. 2553</ref> และ 13-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553<ref>[http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/8681833.stm Deadly clashes as police besiege Bangkok protesters] จากเว็บไซต์ บีบีซีนิวส์, 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553</ref> เป็นผลให้มีผู้ชุมนุมและประชาชน ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เสียชีวิตเกือบ 100 คน บาดเจ็บกว่า 2,000 คน<ref>[http://www.ems.bangkok.go.th/radmob.html รายงานเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช.] จากเว็บไซต์ [[ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน]] [[สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร|สำนักการแพทย์]] [[กรุงเทพมหานคร]]</ref> และยังมีผู้สูญหายอีกไม่ต่ำกว่า 50 คน<ref>[http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=8&contentId=68259 ญาติแจ้งเสื้อแดงหายช่วงการชุมนุม25ราย] จากเว็บไซต์ เดลินิวส์ออนไลน์, 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553</ref> โดยมีเจ้าหน้าที่และทหารได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุการณ์การชุมนุมด้วยเช่นกัน<ref>[http://www.ems.bangkok.go.th/radmob.html รายงานเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช.] จากเว็บไซต์ [[ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน]] [[สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร|สำนักการแพทย์]] [[กรุงเทพมหานคร]]</ref> เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ผู้บัญชาการเหล่าทัพประกาศ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557|รัฐประหาร]]รัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์''เดอะนิวซีแลนด์เฮรัลด์'' วันที่ 12 มกราคม 2558 ว่า "คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยเพิ่มการฟ้องคดีอาญาความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องสงสัยว่า คณะทหารฯ จะอ้างว่าเป็นการสนองต่อชาวไทยส่วนใหญ่ซึ่งยังเคารพราชวงศ์ ทว่า ส่วนใหญ่มันชี้ไปยังพันธะซึ่งมาจากการสนับสนุนของพระมหากษัตริย์"<ref>[http://www.nzherald.co.nz/nz/news/article.cfm?c_id=1&objectid=11384953 Editorial: Thai refugee right to push for democracy]</ref>
{{โครงส่วน}}


=== การทุจริต ===
=== การทุจริต ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:24, 22 มกราคม 2558

กองทัพไทย
เครื่องหมายราชการของกองบัญชาการกองทัพไทย
ก่อตั้ง2395
เหล่า กองทัพบก
กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ
ผู้บังคับบัญชา
จอมทัพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร
กำลังพล
อายุเริ่มบรรจุ21
ประชากร
วัยบรรจุ
14,903,855[ต้องการอ้างอิง] ชาย, อายุ 21–49 (ประเมิน 2548),
15,265,854[ต้องการอ้างอิง] หญิง, อายุ 21–49 (ประเมิน 2548)
ประชากร
ฉกรรจ์
10,396,032[ต้องการอ้างอิง] ชาย, อายุ 21–49 (ประเมิน 2548),
11,487,690[ต้องการอ้างอิง] หญิง, อายุ 21–49 (ประเมิน 2548)
ประชากรวัยถึงขั้น
ประจำการทุกปี
526,276[ต้องการอ้างอิง] ชาย (ประเมิน 2548),
514,396[ต้องการอ้างอิง] หญิง (ประเมิน 2548)
ยอดประจำการ305,860
ยอดสำรอง245,000
รายจ่าย
งบประมาณ13,574.394 ล้านบาท (2554)[1]
ร้อยละต่อจีดีพี1.8% (ประเมิน 2548)
อุตสาหกรรม
แหล่งผลิตในประเทศอุตสาหกรรมการบินไทย
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประวัติประวัติศาสตร์การทหารของไทย
ยศยศทหารของกองทัพไทย

กองทัพไทย (อังกฤษ: Royal Thai Armed Forces) เป็นกองทัพของราชอาณาจักรไทย แบ่งเป็นสามเหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ

ประวัติ

วิวัฒนาการจนเป็นกองทัพไทยในปัจจุบันเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงเล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญของกองทัพ จึงทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในด้านต่างๆ เน้นด้านการทหารเป็นสำคัญ ทรงสนับสนุนกิจการทหารด้วยการส่งพระราชโอรสหลายพระองค์ไปทรงศึกษาวิชาทหารในทวีปยุโรป ซึ่งทรงนำวิทยาการทหารสมัยใหม่มาปรับปรุงทางทหารของไทยจนเจริญทัดเทียมชาติตะวันตก นอกจากนี้ยังทรงตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ให้ชายอายุครบ 18 ปี รับราชการทหาร 2 ปีแล้วปลดเป็นกองหนุน ทั้งนี้ การยกเลิกระบบไพร่ก่อนหน้านี้ ได้ทำให้เกิดระบบทหารอาชีพขึ้นในประเทศไทย

ในรัชสมัยนี้ เริ่มมีนายทหารประจำการเป็นครั้งแรก จัดตั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ ซึ่งแยกการบริหารออกจากกันโดยเด็ดขาด จัดแบ่งกำลังรบออกเป็น 10 กองพล[ต้องการอ้างอิง] จัดกำลังไปประจำในท้องถิ่นหัวเมืองสำคัญ จัดโรงเรียนคะเด็ตทหารมหาดเล็ก (ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) และโรงเรียนนายเรือ เพื่อผลิตทหารประจำการในกองทัพ

ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 การจัดกองทัพได้ขยายเต็มรูปแบบ เริ่มกิจการการบินและก้าวหน้าจนสามารถสร้างเครื่องบินเองได้ จวบจนถึงสมัยปัจจุบัน (ร.8-9) กองทัพไทยได้พัฒนาเพิ่มขึ้นอีกมาก ประกอบด้วยกำลังครบทั้งสามเหล่า คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนมีศักยภาพสูง และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก สามารถส่งกำลังทหารไปช่วยมิตรประเทศในการสงครามต่าง ๆ หลายครั้ง อาทิเช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 ในยุโรป สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม การรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก เป็นต้น

ใน พ.ศ. 2557 เว็บไซต์โกลบอลไฟเออร์พาวเวอร์ (GlobalFirepower) จัดอันดับความแข็งแกร่งของกองทัพไทยอยู่อันดับที่ 24 ของโลก (จาก 106 ประเทศ)[2]

หน่วยงานของกองทัพไทย

ความขัดแย้ง

กองทัพไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้มีความขัดแย้งมาตลอด ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค

เกิดขึ้นเมื่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามยุคล่าอาณานิคมได้ขยายอิทธิพลเข้ามาในอินโดจีนและต้องการครอบครองดินแดนลาวซึ่งในตอนนั้นเป็นของสยามจึงเกิดความขัดแย้งระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามกับสยาม และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามได้บุกเข้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ทำให้ไทยต้องยกดินแดนลาวให้ฝรั่งเศส

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินใจประกาศสงครามเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 1917 กับอำนาจกลางและเข้าร่วม กับฝ่ายสัมพันธมิตร ในการต่อสู้ในแนวรบด้านตะวันตก ได้ส่งทหารของกองทัพสยามเดินทางมีทหารทั้งหมด 1,233 คน และยุทธโนปกรณ์ที่ทันสมัยและได้รับการฝึกอบรมได้รับคำสั่งจากจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และทางอากาศ สยามเป็นประเทศอิสระเพียงรายเดียวในเอเชียประเทศที่มีกองกำลังในยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 และได้สงผลให้มีการแก้ไขหรือการยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกันกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา,ฝรั่งเศสและจักรวรรดิอังกฤษ และกองทัพสยามยังได้รับเกียรติเดินขบวนในขบวนแห่งชัยชนะในปารีส

ทหารไทยที่เดินขบวนแห่งชัยชนะในกรุงปารีส

สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคม 1940 เมื่อประเทศที่อยู่ภายใต้ลัทธิฟาสซิสต์กฎของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ตัดสินใจที่จะบุกฝรั่งเศสภายใต้ระบอบการปกครองของวิชี (หลังจากนาซีครอบครองกรุงปารีส) เพื่อนำดินแดนที่ถูกฝรั่งเศสเอาไปกลับคืนมา

เกิดขึ้นเมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นต้องการผ่านดินแดนไทยเพื่อที่จะโจมตีบริติชอินเดียและแหลมมลายูและต้องการใช้กำลังทหารของไทยได้เกิดการปะทะขึ้นระหว่างทหารของจักรวรรดิญี่ปุ่นกับไทยและสิ้นสุดเมื่อชั่วโมงแรกในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยไทยยอมให้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่านดินแดนไทยได้ ต่อมาหลังจากถูกเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดใส่กรุงเทพ รัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 25 มกราคม 1942 โดยไทยได้ส่งทหารบุกพม่า

เกิดขึ้นในช่วงที่ความขัดแย้งของสหประชาชาติในคาบสมุทรเกาหลี กองทัพไทยให้กรมทหารราบที่ 21 ประมาณ 1,294 คน

ทหารไทยที่เข้ารบรบในเวียดนาม

เกิดขึ้นเมื่อมีเวียดนามเหนือมีความคิดที่ว่าจะรวมเวียดนามเป็นหนึ่งเดียว ไทยได้ส่งทหารไทยเข้ารบรบกับประเทศที่เป็นพันธมิตร เพื่อป้องกันภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยสงครามจบลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือ และทหารไทยเสียชีวิต 1,351 นาย

เกิดเมื่อกลุ่มนักศึกษาและประชาชนภายใน บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกำลังชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ให้จอมพลถนอม กิตติขจรออกนอกประเทศ ในเหตุการณ์นี้ ตำรวจตระเวนชายแดนนำโดยค่ายนเรศวรจากหัวหิน, กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ตำรวจ และกลุ่มคนที่ตั้งโดยงบ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) คือ กลุ่มนวพล และ กลุ่มกระทิงแดง ได้ใช้กำลังอย่างรุนแรง ทำให้มีผู้ที่บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายเป็นจำนวนมาก

เกิดขึ้นเมื่อเวียดนามยึดเขมรได้สำเร็จ(สงครามกัมพูชา–เวียดนาม) เวียดนามจึงได้มีแผนที่บุกไทยโดยมีจุดประสงค์อยู่ 2 อย่าง คือ ปราบเขมรแดงที่หนีมาไทยและยึดภาคอีสานของไทย

เกิดขึ้นเมื่อลาวได้ยกกำลังเข้ายึดพื้นที่บ้านร่มเกล้า ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และเกิดปะทะกับกองกำลังทหารพราน 3405 ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 และยึดเนิน 1428 เป็นที่มั่น และสิ้นสุดลงเมื่อ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 หลังจากฝ่ายไทยได้ใช้กองทัพอากาศโจมตีเข้าไปในดินแดนลาว 30-40 กิโลเมตร และฝ่ายลาวโดยนายไกสอน พมวิหาร นายกรัฐมนตรี ได้เจรจาขอหยุดยิงเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 และเสนอให้ถอนกำลังของทั้งสองฝ่ายออกจากกันเป็นระยะ 3 กิโลเมตร

เกิดเมื่อมีวิกฤตในติมอร์ตะวันออก ไทยร่วมกับประเทศอื่น ๆ 28 ประเทศ ให้มีกองทัพระหว่างประเทศในติมอร์ตะวันออกหรือ INTERFET เริ่มเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1999 ถึง 20 พฤษภาคม 2002

ทหารไทยและทหารอเมริกันในการฝึกคอบร้าโกลด์ในปี 2001

เกิดขึ้นเมื่อกองทัพสหรัฐบุกประเทศอิรัก และประเทศไทยได้ส่งกำลังสนับสนุนกองกำลัง 423 ในเดือนสิงหาคม 2003 ซึ่งหลังจากที่ประจำการณ์แล้ว กองกำลังของกองทัพบกไทยได้ถูกโจมตีในเหตุการณ์ระเบิดที่เมืองคาบาลาในวันที่ 27 ธันวาคม 2003 ซึ่งแรงระเบิดได้ฆ่า 2 ทหารไทย และบาดเจ็บ 5 คนอื่น ๆ ภารกิจของไทยในอิรักได้รับการพิจารณาที่ประสบความสำเร็จและถอนกองกำลังออกในเดือนสิงหาคม 2004 ภารกิจนี้ถือเป็นเหตุผลหลักที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตัดสินใจที่จะกำหนดให้ประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโตในปี 2003

เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อสู้โดยเชื้อชาติมาเลย์และกลุ่มกบฏอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากยะลา ปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส เหตุการณ์เริ่มรุนแรงในปี 2004 เมื่อการโจมตีของผู้ก่อการร้ายพลเรือนไทยเชื้อชาติก่อความไม่สงบเพิ่มขึ้น กองทัพไทยในการเปิดการต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายโดยใช้อาวุธหนัก

การเกณฑ์ทหาร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติไว้ว่าการป้องกันประเทศเป็นหน้าที่ของพลเมืองไทยทุกคน[3] ชายไทยทุกคนมีหน้าที่รับราชการทหาร โดยชายสัญชาติไทยต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในปีที่อายุย่างเข้าสิบแปดปี และจักมีสภาพเป็นทหารกองเกิน[4] กองทัพจะเรียกเกณฑ์ทหารกองเกินชายซึ่งมีอายุย่างเข้า 21 ปี[5] โดยจะถูกเรียกมาตรวจเลือกหรือรับเข้ากองประจำการ (ส่วนทหารกองเกินที่เป็นนักศึกษาวิชาทหารจะได้รับการยกเว้นการเรียกเข้ามาตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการในยามปกติ[6])

โดยระยะเวลาทำการฝึกอยู่ระหว่าง 6 เดือนถึง 2 ปี ขึ้นอยู่กับระดับคุณวุฒิการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองคุณวุฒิ) การศึกษาวิชาทหาร และการสมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการ หากผู้รับการตรวจเลือกสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี จับได้สลากแดง (ใบแดง) ต้องรับราชการทหารกองประจำการ 1 ปี หรือหากร้องขอสมัครใจโดยไม่จับสลากจะรับราชการทหารกองประจำการ 6 เดือน เป็นต้น ส่วนผู้ที่จับได้สลากดำ (ใบดำ) จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ หรือถ้าทหารกองเกินสมัครเข้าเป็นนักศึกษาวิชาทหารและสำเร็จการศึกษาวิชาทหารในชั้นปีที่ 1 มีสิทธิเข้ารับราชการทหารกองประจำการ 1 ปี 6 เดือน แต่ถ้าเป็นผู้ร้องขอเข้ารับราชในกองประจำการ ก็ให้รับราชการทหารกองประจำการเพียง 1 ปี ถ้าสำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 2 มีสิทธิเข้ารับราชการทหารกองประจำการ 1 ปี แต่ถ้าเป็นผู้ร้องขอเข้ารับราชในกองประจำการ ก็ให้รับราชการทหารกองประจำการเพียง 6 เดือน และถ้าสำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 3 ขึ้นไปให้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน โดยมิต้องเข้ารับราชการในกองประจำการ[7] และมีหน้าที่ถูกเรียกระดมพลเข้าฝึกวิชาทหารหรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อม ในฐานะทหารกองหนุน[8]

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

การทุจริต

เอเชียเซนตินัล เขียนว่า กองทัพไทยทุจริตลึกที่สุดกองทัพหนึ่งในทวีปเอเชีย ในคริสต์ทศวรรษ 1980 กองทัพซื้อพาหะบุคคลหุ้มเกราะหลายร้อยคันจากจีนโดยแสงส่องผ่านรอยเชื่อมที่ยึดแผ่นเกราะไว้จนเห็นทหารที่อยู่ภายใน ภรรยาของนายพลระดับสูงคนหนึ่งขณะนั้นเป็นนายหน้าของผู้ค้าอาวุธจีน และกองทัพอากาศไทยเคยซื้อเครื่องบินเจ็ตจีนซึ่งเครื่องยนต์ต่ำกว่ามาตรฐานจนต้องลากไปยังแนวบินเพื่อทะยานขึ้นและลากกลับเมื่อลงจอด เพราะเครื่องยนต์มีอายุเป็นชั่วโมง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ช่วย ลงนามซื้อเรือเหาะมูลค่า 350 ล้านบาทเพื่อใช้เป็นสถานีตรวจการบนท้องฟ้าจากบริษัทอเมริกัน ชื่อ บริษัทแอเรียลอินเตอร์เนชันแนล ซึ่งดูเหมือนว่าลมรั่วออกจากรอยตะเข็บ ทีแรกใช้เงิน 2.8 พันล้านบาทเพื่อสูบลม และ 280,000 บาทต่อเดือนเพื่อรักษาลมไว้ ปัจจุบัน เรือเหาะเหล่านี้ยังอยู่ในอู่ เมื่อ พ.ศ. 2553 กองทัพซื้อเครื่องมือตรวจจับวัตถุระเบิดมูลค่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเจ้าของบริษัทผู้ขายถูกจำคุกในประเทศอังกฤษ แม้สถานทูตสหรัฐเตือนว่าเป็น "ของเด็กเล่น" ไม่มีการปลดหรือฟ้องคดีอาญาต่อนายทหารที่เกี่ยวข้อง[9]

เมื่อเดือนเมษายน 2557 ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ เจสัน เซป และแอนดรูว์ มาร์แชล ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์สำหรับชุดเรื่องผู้ลี้ภัยโรฮิงยา ซึ่งกล่าวถึงกำลังพลกองทัพเรือไทยลักลอบนำเข้าผู้ลี้ภัยเพื่อกำไร[9]

กองทัพไทยมีนายพลกว่า 1,400 นาย ซึ่งมากกว่าสหรัฐอเมริกา 400 นาย แต่กองทัพสหรัฐอเมริกาใหญ่เป็น 3 เท่า[9]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น