ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มภาษามอแกลน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มภาษามอแกลน
มอแกน–มอแกลน
กลุ่มเชื้อชาติ:ชาวมอแกน, ชาวมอแกลน
ภูมิภาค:กลุ่มเกาะมะริด; พม่า; ภาคใต้ของไทย
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
ออสโตรนีเซียน
ภาษาดั้งเดิม:ภาษามอแกลนดั้งเดิม (ภาษามอแกน-มอแกลนดั้งเดิม)
กลุ่มย่อย:
กลอตโตลอก:moke1241[1]

กลุ่มภาษามอแกลน หรือ กลุ่มภาษามอแกน–มอแกลน ประกอบด้วยภาษาสองภาษาที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดแต่แยกจากกัน คือ ภาษามอแกนและภาษามอแกลน Larish (1999) จักให้สองภาษานี้เป็นกลุ่มย่อยเฉพาะในสาขามอแกน–มอแกลน จากนั้น Larish (2005)[2] เสนอแนะให้ กลุ่มภาษามอแกลน เป็นอีกชื่อหนึ่งของ กลุ่มภาษามอแกน–มอแกลน โดยชื่อหลังเคยใช้งานใน Larish (1999)

ภาษา

[แก้]

กลุ่มภาษามอแกลนมีสองภาษา[2]

ภาษามอแกนและมอแกลนมีความสัมพันธ์ทางภาษาและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องแต่แตกต่างกัน โดยผู้พูดภาษามอแกนส่วนใหญ่ล่าสัตว์และเก็บของป่าตามท้องทะเล ในขณะที่ผู้พูดภาษามอแกลนอาศัยอยู่บนบกและในหมู่บ้านและเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทย (Larish 2005) การศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบระหว่างชาวมอเกนและชาวมอแกลน ได้แก่ การศึกษาวิจัยของ Leerabhandh (1984),[3] Makboon (1981),[4] และ Larish (1999)

กลุ่มภาษามอแกลนมีผู้พูดในขอบเขตตามแนวชายฝั่งตะวันตกในภาคใต้ของประเทศพม่าและภาคใต้ของประเทศไทยที่ีมีความยาว 650 กิโลเมตร จากเกาะทวาย ประเทศพม่า ถึงเกาะพีพี ประเทศไทย (Larish 2005) ภาษามอแกนมีการกระจายตัวอย่างกว้างขวาง ส่วนภาษามอแกลนพูดกันเฉพาะบริเวณชายฝั่งตะวันตกในภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น ภาษามอแกลนได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยถิ่นใต้อย่างหนักและมีความเสี่ยงต่อการสูญหายมากกว่าภาษามอแกน[2]

อูรักลาโวยจเป็นภาษาที่ชาวเลอีกกลุ่มใช้พูดในภาคใต้ของไทย ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มภาษามาเลย์อิก ไม่ใช่ภาษากลุ่มมอแกลน บนเกาะภูเก็ต ชาวอูรักลาโวยจมีการติดต่อกับชาวมอแกน

ความสัมพันธ์ภายนอก

[แก้]

Larish (1999, 2005)

[แก้]

Larish (1999, 2005) พิจารณาให้กลุ่มภาษามอแกลนเป็นกลุ่มพี่น้องของกลุ่มภาษาจามและมาเลย์อิกมากกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาเหล่านั้น กลุ่มภาษามอแกลนได้รับอิทธิพลอย่างมากจากตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก โดยมีคำยืมจากภาษาออสโตรเอเชียติกหลายคำ เช่น 'นก' ที่พบในกลุ่มภาษาจามด้วย[5]

Larish (1999)[5] จัดให้ภาษามอแกนและมอแกลนอยู่ในกลุ่มย่อยมอแกลน–อาเจะฮ์-จาม-มาเลย์อิก (Moklenic–Acehnese-Chamic-Malayic, "MACM")

มอแกลน–อาเจะฮ์-จาม-มาเลย์อิก

ในขณะที่กลุ่มภาษาอาเจะฮ์-จาม-มาเลย์อิกแสดงการเปลี่ยนแปลงเสียงภาษามลายู-พอลินีเชียดั้งเดิมจาก *q > *h กลุ่มภาษามอแกลนแสดงการเปลี่ยนเสียงภาษามลายู-พอลินีเชียดั้งเดิมจาก *q > *k แทน ดังปรากฏในภาษาดัวโนที่บางครั้งเปลี่ยนเสียงจาก *q ไปเป็น *k แทนที่จะเป็น *h ในแบบทั่วไป (*qulu → ดัวโน kulu แต่ในมาเลย์อิกดั้งเดิมออกเป็น *hulu) แม้ว่าภาษานี้อยู่ในสาขามาเลย์อิกก็ตาม[6] ดังที่พบในกลุ่มภาษามอแกลน

Larish (1999) ยังคาดการณ์ถึงภาษา (หริอกลุ่มภาษา) สูญหายที่ไม่ทราบแน่ชัดจากจักรวรรดิฟูนานในเวียดนามใต้ที่อาจเป็นจุดแยกตอนต้นจากภาษามอแกลน–อาเจะฮ์-จาม-มาเลย์อิกดั้งเดิม

Smith (2017)

[แก้]

ในการจัดประเภทกลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียตะวันตกล่าสุด Smith (2017: 459)[7] โต้แย้งตามหลักฐานทางสัทวิทยาว่ากลุ่มภาษามอแกลนเป็นสาขาหลักจากภาษามลายู-พอลินีเชียดั้งเดิม

การสร้างใหม่

[แก้]

ภาษามอแกน-มอแกลนดั้งเดิมได้รับการสร้างขึ้นใหม่โดย Larish (1999)[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Moken–Moklen". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. 2.0 2.1 2.2 Larish, Michael. 2005. "Moken and Moklen." in Alexander Adelaar and Nikolaus P. Himmelmann (eds.), The Austronesian languages of Asia and Madagascar, 513-533. London: Routledge. ISBN 0-7007-1286-0.
  3. Leerabhandh, S. (1984) Phonological reconstruction of Proto Orang-Laut, MA Thesis at Mahidol University, Nakhon Pathom: Institute of Language and Culture for Rural Development, Salaya Campus.
  4. Makboon, S. (1981) Survey of Sea People’s dialects along the West Coast of Thailand, MA Thesis at Mahidol University, Nakhon Pathom: Institute of Language and Culture for Rural Development.
  5. 5.0 5.1 5.2 Larish, Michael David. 1999. The Position of Moken and Moklen Within the Austronesian Language Family. Doctoral dissertation, University of Hawai'i at Mānoa.
  6. Anderbeck, Karl (2012). "The Malayic speaking Orang Laut: Dialects and directions for research". Wacana: Journal of the Humanities of Indonesia. 14 (2): 265–312. สืบค้นเมื่อ 26 May 2019.
  7. Smith, Alexander D. (2017). "The Western Malayo-Polynesian Problem". Oceanic Linguistics. 56 (2): 435–490. doi:10.1353/ol.2017.0021.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Larish, Michael David (1991). ‘The special relationship between Moken, Acehnese, Chamic and Mon-Khmer: Areal influence or genetic affinity?’ Unpublished paper presented at the Sixth International Conference on Austronesian Linguistics, Honolulu University of Hawai'i.
  • Larish, Michael David (1993) ‘Who are the Moken and Moklen on the Islands and Coasts of the Andaman Sea?’ in Pan-Asiatic Linguistics: Proceedings of the Third International Symposium on Language and Linguistics, Chulalongkorn University, January 8–10, 1992, volume III:1305–19, Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.
  • Larish, Michael David (1997) ‘Moklen-Moken phonology: Mainland or insular Southeast Asian typology?’, in C. Odé and W. Stokhof (eds), Proceedings of the Seventh International Conference on Austronesian Linguistics, 125–50, Amsterdam: Rodopi.
  • Naw Say Bay. 1995. "The phonology of the Dung dialect of Moken", in Papers in Southeast Asian Linguistics No. 13, Studies in Burmese Languages, ed. D. Bradley, vol. 13, pp. 193–205. Pacific Linguistics, the Australian National University.