สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2495 |
สำนักงานใหญ่ | ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 13°46′21″N 100°30′20″E / 13.772422°N 100.505594°E |
ต้นสังกัดหน่วยงาน | กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม |
เว็บไซต์ | nat.go.th |
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (อังกฤษ: National Archives of Thailand) เป็นหน่วยงานสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2495 มีพันธกิจอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ (Archives) ไว้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรม พัฒนางานจดหมายเหตุทุกกระบวนงานให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเอกสารจดหมายเหตุ[1]
ของที่เก็บรักษา
[แก้]สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุและบันทึกต่าง ๆ ของรัฐบาลและของสาธารณะมากกว่าหนึ่งล้านรายการ เช่น เอกสารกระดาษ ใบตาล ภาพถ่าย รูปภาพ โปสเตอร์ วิดีโอเทป และการบันทึกเสียงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงปัจจุบัน [2]
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติมีปริมาณเอกสารในคลังเก็บเอกสาร ดังนี้[1]
|
|
หอจดหมายเหตุฯ มีเอกสารที่อ้างอิงถึงต่างประเทศจำนวนไม่มาก โดยนักวิจัยวัฒนธรรมชาวไทย ภูธร ภูมะธน กล่าวว่าเมื่อเขาต้องการค้นหาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา เขาต้องเดินทางไปที่หอจดหมายเหตุของประเทศฝรั่งเศส [3]
ทั้งนี้ หอจดหมายเหตุฯ เป็นสถานที่เก็บรักษา "บันทึกการประชุมของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์" และ "ฟิล์มกระจกหลวงและภาพต้นฉบับ" ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นความทรงจำแห่งโลก โดยองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาค
[แก้]- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปทุมธานี สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี รัฐบาลได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก จึงได้จัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายในโอกาสดังกล่าว
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ราชพัสดุ จำนวน 75 ไร่ ณ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ออกแบบอาคารโดย เกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร อาคารมีลักษณะเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์สมัยรัชกาลที่ 9 และอารักษ์ สังหิตกุล วิศวกร อดีตอธิบดีกรมศิลปากร และตำแหน่งผู้บริหารในกระทรวงวัฒนธรรมอีกหลายตำแหน่ง เป็นวิศวกรผู้ออกแบบโครงสร้าง
อาคารประกอบด้วยกลุ่มอาคาร 4 ส่วน มีทางเชื่อมและลานอเนกประสงค์ รวมพื้นที่ใช้สอยประมาณ 23,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย
- ส่วนที่ 1 อาคารเก็บเอกสารจดหมายเหตุ เป็นอาคาร 9 ชั้น พื้นที่ 6,000 ตารางเมตร
- ส่วนที่ 2 อาคารให้บริการค้นคว้า พื้นที่ 4,500 ตารางเมตร
- ส่วนที่ 3 อาคารจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเกี่ยวกับพระราชประวัติ พื้นที่ 4,500 ตารางเมตร
- ส่วนที่ 4 อาคารจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ พื้นที่ 4,500 ตารางเมตร
- ส่วนที่ 5 ลานเอนกประสงค์ ส่วนจัดกิจกรรม และทางเชื่อมระหว่างอาคารทั้ง 4 ส่วน พื้นที่ 3,500 ตารางเมตร
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เชียงใหม่ พื้นที่รับผิดชอบ : เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก และนครสวรรค์
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตรัง พื้นที่รับผิดชอบ : ตรัง กระบี่ ภูเก็ต พังงา และระนอง
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ยะลา พื้นที่รับผิดชอบ : ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสตูล
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สงขลา พื้นที่รับผิดชอบ : สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา พื้นที่รับผิดชอบ : พะเยา เชียงราย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร และเพชรบูรณ์
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี พื้นที่รับผิดชอบ : อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่รับผิดชอบ : สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี พื้นที่รับผิดชอบ : จันทบุรี ตราด ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
- หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทำหน้าที่รวบรวมเก็บรักษาเอกสารและสิ่งของที่เนื่องในภารกิจของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
- หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ทำหน้าที่รวบรวมเก็บรักษาเอกสารรวมทั้งการจัดนิทรรศการประวัติผลงานและสิ่งของที่เนื่องในภารกิจของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งอยู่ที่บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี (ดอนย่างแย้)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประวัติหอจดหมายเหตุแห่งชาติ". หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 2019-03-29.
- ↑ "History". National Archives of Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-17. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ Svasti, Pichaya (2015-08-31). "Going digital". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.