อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ปราสาทสด๊กก๊อกธม | |
---|---|
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
จังหวัด | สระแก้ว |
เทพ | พระศิวะ |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | บ้านหนองหญ้าแก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว |
ประเทศ | ประเทศไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 13°50′37.29″N 102°44′14.84″E / 13.8436917°N 102.7374556°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | ขอม |
ผู้สร้าง | พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 |
เสร็จสมบูรณ์ | ราวพุทธศตวรรษที่ 16 |
ปราสาทสด๊กก๊อกธม หรือ ปราสาทสด็อกก็อกธม (เขมร: ស្តុកកក់ធំ, Sdŏk Kák Thum) เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศไทยภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นปราสาทขอมและโบราณสถานที่ใหญ่และสำคัญของจังหวัดสระแก้ว ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านหนองหญ้าแก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว อยู่ห่างจากอำเภออรัญประเทศไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 35 กิโลเมตร อยู่ห่างจากอำเภอตาพระยามาทางทิศใต้ประมาณ 15 กิโลเมตร จัดเป็นปราสาทหินขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกของประเทศไทย
ระหว่าง พ.ศ. 2539–2553 กรมศิลปากรได้สำรวจโบราณสถาน และอนุรักษ์พัฒนาปราสาทสด๊กก๊อกธม และ พ.ศ. 2560 กรมศิลปากรประกาศจัดตั้งปราสาทสด๊กก๊อกธมขึ้นเป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งที่ 11[1] ซึ่ง ปราสาทสด๊กก๊อกธมสร้างขึ้นด้วยหินศิลาแลง ตามลักษณะศิลปะขอมแบบคลัง-บาปวน สร้างเสร็จในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (Udayadityavarman II) ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท มีคำจารึกเป็นภาษาสันสกฤต ความยาว 340 บรรทัด ระบุความเป็นมาของการก่อสร้างปราสาทแห่งนี้
มีการพบหลักศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม (หลักที่ 2) ซึ่งจดบันทึกเรื่องราว ประวัติศาสตร์ของชนชาติขอมเป็นช่วงระยะเวลานานถึง 200 ปี นับจากรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1345-1393) กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรเมืองพระนคร (Angkor) และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบเทวราช ในจารึกได้กล่าวถึงกษัตริย์อีกหลายพระองค์ จนถึงสมัยพระเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ 2
คำว่า "สด๊กก๊อกธม" แปลได้สองความหมาย ความหมายที่หนึ่ง แปลว่า "ปราสาทขนาดใหญ่ที่มีต้นกกขึ้นรกรุงรัง" ความหมายที่สอง แปลว่า "เมืองที่มีต้นกกขึ้นรกในหนองน้ำใหญ่" เพราะมีหนองน้ำเป็นบารายเก่าขนาดใหญ่อยู่ติดกับปราสาททางทิศตะวันออก[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/prasatsadokkokthom/index.php/th/
- ↑ กำพล จำปาพันธ์. "ร่องรอยอารยธรรมเขมรโบราณและสยามอโยธยาในเขตจังหวัดสระแก้ว". วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ.
บรรณานุกรม
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Prasat Sdok Kok Thom
- Bhattacharya, Kamaleswar. A Selection of Sanskrit Inscriptions from Cambodia. In collab. with Karl-Heinz Golzion. Siem Reap, The Centre for Khmer Studies 2009.
- Briggs, Lawrence Palmer. The Ancient Khmer Empire. Transactions of the American Philosophical Society 1951.
- Burgess, John. Stories in Stone - The Sdok Kok Thom Inscription & the Enigma of Khmer History. Riverbooks 2010.
- Freeman, Michael. A Guide to the Khmer Temples of Thailand and Laos. Weatherhill 1998
- Higham, Charles. The Civilization of Angkor. University of California Press 2001
- Sak-Humphry, Chhany and Jenner, Philip N. The Sdok Kak Thom Inscription With A Grammatical Analysis of the Old Khmer Text.. Phnom Penh, The Buddhist Institute 2005.
- Burgess, John. Stories in Stone - The Sdok Kok Thom Inscription & the Enigma of Khmer History. เก็บถาวร 2010-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Riverbooks 2010.
- Sak-Humphry, Chhany and Jenner, Philip N. The Sdok Kak Thom Inscription With A Grammatical Analysis of the Old Khmer Text.. Phnom Penh, The Buddhist Institute 2005.