ขุนสุคนธวิทศึกษากร (สำอางค์ สุคนธวิท)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขุนสุคนธวิทศึกษากร (สำอางค์ สุคนธวิท) เดิมชื่อ สำอางค์ ชุติกุล เป็นผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดสมุทรสาคร[1][2] เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 และคณะที่ 7 ซึ่ง ทั้ง 2 สมัย มีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม

ประวัติ[แก้]

  • พ.ศ. 2445 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2460 สอบได้ครูมูล
  • พ.ศ. 2461 เป็นครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
    • ได้รับยศลูกเสือเป็น รองผู้กำกับตรี
    • ได้รับพระราชทานนามสกุล "สุคนธวิท" ในคราวตามเสด็จประลองยุทธเสือป่าที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
    • ได้รับประกาศนียบัตร ประโยคครูมูลสามัญ ป.
    • ได้รับพระราชทานเข็มศิลปวิทยา ร.6
  • พ.ศ. 2462 เป็นครูผู้ช่วยโรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรสาคร
    • ได้รับยศลูกเสือเป็น รองผู้กำกับโท
  • พ.ศ. 2463 สอบได้ประโยคครูประถมสามัญ ป.ป
  • พ.ศ. 2467 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนสุคนธวิทศึกษากร"
  • พ.ศ. 2471 สอบได้วิชาทนายความ ที่มณฑลนครชัยศรี
  • พ.ศ. 2472 ลาออกจากราชการ ไปประกอบอาชีพทนายความ
  • พ.ศ. 2476 ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรสาคร
  • พ.ศ. 2477 ทรางพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรี ช่วยราชการกระทรวงเศรษฐการ
  • พ.ศ. 2478 เป็นผู้รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ และเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงธรรมการ
  • พ.ศ. 2480 ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรสาคร ( สมัยที่ 2 )
    • ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
    • ได้รับพระทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก และเหรียญพิทักษืรัฐธรรมนูญ
  • พ.ศ. 2484 ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรสาคร (สมัยที่ 3)
  • พ.ศ. 2486 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ตำบลกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร และได้รับเลือกต่อเนื่องตลอดมาจนถึงแก่กรรม
  • พ.ศ. 2488 เป็นนายกเทศมนตรี เทศบาล ตำบลกระทุ่มแบน ตั้งแต่วันที่12 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2501

อ้างอิง[แก้]