โซลิดาริตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์ของโซลิดาริตี

โซลิดาริตี (โปแลนด์: Solidarność; [sɔlʲiˈdarnɔɕtɕ], อังกฤษ: Solidarity; ชื่อเต็ม: Independent Self-governing Trade Union "Solidarity"—Niezależny Samorządny Związek Zawodowy „Solidarność [ɲezaˈlɛʐnɨ samɔˈʐɔndnɨ ˈzvjɔ̃zɛk zavɔˈdɔvɨ sɔliˈdarnɔɕt͡ɕ]) เป็นสหภาพแรงงานโปแลนด์ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2523 ที่อู่ต่อเรือเลนิน (ปัจจุบันคืออู่ต่อเรือกดัญสก์) ภายใต้การนำของแลค วาแวนซา เป็นสหภาพแรงงานแรกของประเทศในสนธิสัญญาวอร์ซอที่ไม่ได้ควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดถึง 9.5 ล้านคน (อาจถึง 10 ล้านคน) ในช่วงก่อนเดือนกันยายน พ.ศ. 2524[1][2] ซึ่งสมาชิกเป็นหนึ่งในสามของประชาชนวัยทำงานทั้งหมดของโปแลนด์[3]

ในช่วงปี พ.ศ. 2523 ขบวนการได้เคลื่อนไหวทางสังคมในวงกว้างในการต่อต้านรัฐ โดยใช้วิธีดื้อแพ่งเพื่อแสดงสิทธิของชนชั้นแรงงานและความต้องการเปลี่ยนแปลงทางสังคม[4] รัฐบาลพยายามที่จะทำลายสหภาพโดยการออกกฎอัยการศึกในโปแลนด์ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ธันวาคม พ.ศ. 2524 ถึงเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2526 และตามมาด้วยหลายปีของการปราบปรามทางการเมืองตั้งแต่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2525 แต่สหภาพยังคงอยู่รอดและในที่สุดรัฐบาลก็ถูกบังคับให้ต้องเจรจาต่อรองกับโซลิดาริตี ในช่วงเวลานั้นสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2และสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างลับ ๆ แก่สหภาพ คาดว่าอาจมากถึง 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]

การเจรจาโต๊ะกลมระหว่างรัฐบาลและสหภาพนำไปสู่การเลือกตั้งกึ่งเสรีในปี พ.ศ. 2532 ในเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2533 วาแวนซาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ตั้งแต่นั้นมาโซลิดาริตีได้กลายเป็นสหภาพแรงงานเสรีนิยมแบบดั้งเดิมมากขึ้น สมาชิกได้ลดลงถึง 680,000 ในปี พ.ศ. 2553[2]และ 400,000 ในปี พ.ศ. 2554[1]

ประวัติ[แก้]

เลค วาเลซา ระหว่างการนัดหยุดงานที่อู่ต่อเรือเลนินสิงหาคม พ.ศ. 2523

ในช่วงปี พ.ศ. 2513 รัฐบาลของโปแลนด์ขึ้นราคาสินค้าในขณะที่ค่าจ้างคงที่ (และความขัดแย้งต่าง ๆ ) นำไปสู่การประท้วงและการปราบปรามของรัฐบาลในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2519 ต่อมาในความขัดแย้ง กลุ่ม KOR และ ROPCIO เริ่มได้มีกลุ่มเครือข่ายใต้ดินเพื่อตรวจสอบและต่อต้านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของรัฐบาล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเกิดขึ้นของสหภาพแรงงาน[6]

ในปี พ.ศ. 2522 เศรษฐกิจโปแลนด์หดตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองร้อยละ 2 เป็นหนี้ต่างประเทศถึงประมาณ 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2523[7]

ในตอนนั้นการมีส่วนร่วมในสหภาพแรงงานเป็นสิ่งผิดกฎหมาย อันนา วาแลนตือนอวิตช์ถูกไล่ออกจากการทำงานที่อู่ต่อเรือกดัญสก์ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2523 ในวันที่ 14 สิงหาคม คนงานของอู่ต่อเรือเรียกร้องให้เธอกลับมา อันนา วาแลนตือนอวิตช์ และ อาลีนา ปีแยนกอฟสกา ร่วมกับคนงานได้ร่วมใจประท้วงนัดหยุดงานกันและได้ก่อตั้งกลุ่มโซลิดาริตี

โซลิดาริตี ได้กำเนิดขึ้น ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2523 ในกดัญสก์ ที่อู่ต่อเลนินเมื่อรัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์ลงนามในสัญญายอมรับการดำรงอยู่ของโซลิดาริตี ในวันที่17 กันยายนปี พ.ศ. 2523 กว่า 20 โรงงานได้ร่วมกันก่อตั้งคณะกรรมการของสหภาพแรงงานเสรีรวมเป็นหนึ่งในองค์กรระดับชาติ เอ็นเอสซีซีโซลิดาริตี (NSZZ Solidarity)[3] และจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523[8]

วาแวนซา และคนอื่น ๆ ได้เคลื่อนไหวทางสังคมในการต่อต้านโซเวียต มีผู้ให้ความร่วมมือตั้งแต่คริสตจักรคาทอลิกถึงกลุ่มต่อต้านโซเวียต[9]โซลิดาริตีสนับสนุนการไม่ใช่ความรุนแรงในกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาชิก[10][11]ในกันยายน พ.ศ. 2524 วาแวนซาได้รับการเลือกเป็นประธานของกลุ่มโซลิดาริตีและเริ่มนำการปกครองแบบสาธารณรัฐที่เรียกว่า "สาธารณรัฐปกครองตนเอง"[12]รัฐบาลพยายามที่จะทำลายสหภาพด้วยการออกกฎอัยการศึกปี พ.ศ. 2524 และเป็นเวลาหลายปีของการปราบปราม แต่ในที่สุดก็มีการเริ่มต้นการเจรจาต่อรองกับสหภาพ

ในโปแลนด์ การเจรจาโต๊ะกลมระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้านที่นำโดยโซลิดาริตี นำไปสู่การเลือกตั้งกึ่งเสรีในปี พ.ศ. 2532 โดยปลายเดือนสิงหาคม รัฐบาลผสมซึ่งนำโดยโซลิดาริตีได้ถูกจัดตั้งขึ้นและในเดือนธันวาคม ตาแดอุช มาซอวีแยตสกี (Tadeusz Mazowiecki) ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โซลิดาริตีได้กลายเป็นสหภาพแรงงานแบบดั้งเดิมของโปแลนด์และมีบทบาททางการเมืองลดลงในช่วงทศวรรษหลัง พ.ศ. 2533 Akcja Wyborcza Solidarność (AWS) ฝ่ายทางการเมืองของโซลิดาริตีได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 และเข้าร่วมและชนะการเลือกตั้งรัฐสภาในปี พ.ศ. 2540 แต่พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ปัจจุบันพรรคการเมืองของโซลิดาริตีมีอิทธิพลน้อยในการเมืองโปแลนด์ปัจจุบัน

การสนับสนุนอย่างลับ ๆ ของซีไอเอ[แก้]

นโยบายของประธานาธิบดีเรแกน ซึ่งแตกต่างจากการบริหารงานของคาร์เตอร์ ได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวของโซลิดาริตีในโปแลนด์และอยู่บนพื้นฐานการสนับสนุนของซีไอเอเพื่อยับยั้งสิ่งที่คาร์เตอร์ รู้สึกว่าเป็น "การยกทัพขนานใหญ่ของโซเวียตสู่โปแลนด์"[13]ไมเคิล ไรส์แมน จากวิทยาลัยกฎหมายเยล กล่าวถึงปฏิบัติการในประเทศโปแลนด์ว่า เป็นหนึ่งในการกระทำที่เป็นความลับของซีไอเอในช่วงสงครามเย็น[14] พันเอกรือชาร์ด กูกลิญสกี เจ้าหน้าที่อาวุโสในกองทัพโปแลนด์ได้แอบส่งรายงานให้กับซีไอเอ[15] ซีไอเอได้โอนเงินประมาณ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ให้แก่โซลิดาริตีในเวลา 5 ปี มียอดรวมถึง 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[16] โดยเงินทั้งหมดถูกส่งผ่านบุคคลที่สาม[17]แต่ไม่นานหลังจากการอนุมัติได้มีการเพิ่มวงเงินขึ้นและ พ.ศ. 2528 ซีไอเอก็ประสบความสำเร็จในการแทรกซึมโปแลนด์[18]

ศาสนจักรคาทอลิก[แก้]

"30 ปีโซลิดาริตี"ภาพจิตรกรรมฝาผนังในออสตรอเวียตซ์ชเฟียนตอกชิสกี (บาทหลวงแยชือ ปอปีแยวอุชกอ อยู่เบื้องหน้า)

เอกสารสำคัญของการเรียนการสอนสังคมคาทอลิกของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ระบุแนวคิดของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับคนยากจนและด้อยโอกาส เป็นองค์ประกอบของพระวรสารและการมีส่วนร่วมของมนุษย์ในการร่วมกันที่ดี คริสตจักรโรมันคาทอลิกภายใต้การนำของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนฃองสหภาพและเป็นสว่นสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จของวาแวนซา ที่แสดงตัวต่อสาธารณชนว่านับถือคาทอลิก ยืนยันถึงอิทธิพลของสมเด็จพระสันตะปาปา ซึ่งได้กล่าวว่า: "พระบิดา ผ่านการประชุมของพระองค์แสดงให้เห็นถึงวิธีการต่าง ๆ นานาให้เราอยู่ พระองค์ทรงบอกกับเราว่าไม่ต้องกลัว"[19]

นอกจากนี้บาทหลวงแยชือ ปอปีแยวอุชกอ แสดงพระธรรมเทศนาที่โดดเด่นให้กับคนงานอย่างสม่ำเสมอ[20] ซึ่งเขาได้เสียชีวิตในระหว่างการปราบปรามของรัฐบาลคอมมิวนิสต์จากการมีความเกี่ยวข้องกับโซลิดาริตี แรงงานโปแลนด์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับคริสตจักร ซึ่งสามารถเห็นได้ในภาพที่ถ่ายในระหว่างการนัดหยุดงานในช่วงปี พ.ศ. 2523 บนผนังของโรงงานมีการแสดงหลายภาพของพระแม่มารีหรือพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

อิทธิพลต่อต่างประเทศ[แก้]

โลโก้ของโซลิดาริตีถูกทาบนรถถังโซเวียต ที-55ที่ล้มคว่ำในกรุงปรากในปี พ.ศ. 2533
นักเรียนในสกอตแลนด์เก็บรวบรวมลายเซ็นสำหรับการยื่นคำร้องในการสนับสนุนขอโซลิดาริตี ในปี พ.ศ. 2524
กลุ่มโซลิดาริตีในบูดาเปสต์ พ.ศ. 2554

การอยู่รอดของโซลิดาริตีเป็นเหตุการณ์ประวัติการณ์ไม่เพียง แต่ในประเทศโปแลนด์ซึ่งเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียตและถูกปกครอง (ในทางปฏิบัติ) โดยพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งมันหมายถึงความแข็งแกร่งของพรรคคอมมิวนิสต์โปแลนด์หรือพรรคแรงงานได้สิ้นสุดลง และอำนาจการแทรกแซงสหภาพโซเวียต (หลักการเบรจเนฟ) ก็หมดลงไปด้วย

อิทธิพลของโซลิดาริตีนำไปสู่การแพร่กระจายของอุดมการณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ และการเคลื่อนไหวทั่วประเทศยุโรปตะวันออก รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของพวกเขาอ่อนแอลง อันเป็นผลมาจากข้อตกลงโต๊ะกลมระหว่างรัฐบาลโปแลนด์และฝ่ายค้านโซลิดาริตี ซึ่งนำไปสู่การเลือกตั้งที่ถูกจัดขึ้นในโปแลนด์ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ในการนี้ฝ่ายค้านได้รับอนุญาตให้ผู้สมัครลงสมัครในนามพรรคการเมืองอย่างเสรี นอกเหนือพรรคคอมมิวนิสต์เป็นครั้งแรกในประเทศกลุ่มโซเวียต สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับความสำคัญมากขึ้นถูกเพิ่มจำนวนขึ้นในรัฐสภาโปแลนด์ และทั้งหมด 100 ที่นั่งถูกลงคะแนนในการเลือกตั้งเช่นเดียวกับหนึ่งในสามของที่นั่งในสภาล่าง โซลิดาริตีได้ 99 จาก 100 ที่นั่งวุฒิสภาและทั้งหมด 161 ที่นั่งเป็นของฝ่ายค้าน ชัยชนะยังก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ทั่วทั้งสหภาพโซเวียต ที่นำไปสู่การปฏิวัติต่อต้านคอมมิวนิสต์เกือบทั้งหมด[9] หรือที่รู้จักกันในชื่อการปฏิวัติ พ.ศ. 2532 ซึ่งจบลงด้วยการล้มล้างระบอบการปกครองของแต่ละประเทศในยุโรปตะวันออก และในที่สุดไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในช่วงต้นปี พ.ศ. 2533

โซลิดาริตีได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศตะวันตกหลายแห่ง แต่ความสัมพันธ์กับสหภาพแรงงานในประเทศทุนนิยมอาจจะมีความซับซ้อน ตัวอย่างเช่น ในระหว่างการนัดหยุดงานของคนงานเหมืองในสหราชอาณาจักรในช่วงปี พ.ศ. 2527-2528 วาแวนซากล่าวว่า "พวกคนงานควรจะต่อสู้ แต่ด้วยสามัญสำนึก ไม่ใช่ด้วยการทำลาย" และกล่าวว่าถึงมาร์กาเรต แทตเชอร์ "ด้วยผู้หญิงที่ฉลาดและกล้าหาญ, สหราชอาณาจักรจะได้พบกับ วิธีการแก้ปัญหาการนัดหยุดงาน" อย่างไรก็ตามประธานของโซลิดาริตีของแคว้นซิลีเซียตอนบน ดาวิด ยัสตแชมสกี (David Jastrzębski) กล่าวสนับสนุนคนงานเหมืองผู้ประท้วงว่า "ไม่ว่าทั้งการใช้กำลังตำรวจม้าของรัฐบาลอังกฤษหรือกระบองสั้น หรือมากกว่านั้น รถถังของรัฐบาลทหารโปแลนด์หรือการยิงปืนไรเฟิล ก็ไม่สามารถทำลายความประสงค์ร่วมกันของเราในการต่อสู้เพื่อ อนาคตที่ดีกว่าสำหรับชนชั้นแรงงาน"[21] แม้จะมีความจริงที่ว่า อาร์เธอร์ สคาร์กิลล์ ประธานของสหภาพเหมืองแห่งชาติของอังกฤษที่ได้วิพากษ์วิจารณ์โซลิดาริตีอย่างรุนแรง โดยประณามว่าเป็น "องค์กรต่อต้านสังคมนิยมซึ่งปรารถนาล้มล้างรัฐสังคมนิยม"[22]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 30 lat po Sierpniu'80: "Solidarność zakładnikiem własnej historii" เก็บถาวร 29 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (in Polish), Retrieved on 7 June 2011
  2. 2.0 2.1 Duda za Śniadka? by Maciej Sandecki and Marek Wąs, Gazeta Wyborcza of 24 August 2010. (in Polish)
  3. 3.0 3.1 „Solidarność" a systemowe przekształcenia Europy Środkowo-Wschodniej เก็บถาวร 2013-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 7 June 2011. (in Polish)
  4. Aleksander Smolar, '"Self-limiting Revolution": Poland 1970-89', in Adam Roberts and Timothy Garton Ash (eds.), Civil Resistance and Power Politics: The Experience of Non-violent Action from Gandhi to the Present, Oxford University Press, 2009, ISBN 978-0-19-955201-6, pp. 127-43.
  5. Tony Judt (2005). Postwar: A History of Europe Since 1945. The Penguin Press. p. 589.
  6. KOR: a history of the Workers’ Defense Committee in Poland, 1976-1981. Berkeley: University of California Press. 1985. ISBN 0-520-05243-9.
  7. From Solidarity to Martial Law: The Polish Crisis of 1980-1981 : A Documentary History by Andrzej Paczkowski, Malcolm Byrne. Central European University Press, Budapest 2007. p. xxix
  8. Solidarność, wielopłaszczyznowy ruch na rzecz demokratyzacji i głębokich reform ustrojowych PRL Retrieved on 7 June 2011. (in Polish)
  9. 9.0 9.1 Steger, Manfred B (January 2004). Judging Nonviolence: The Dispute Between Realists and Idealists (ebook). Routledge (UK). p. 114. ISBN 0-415-93397-8. สืบค้นเมื่อ 9 July 2006.
  10. Paul Wehr; Guy Burgess; Heidi Burgess, บ.ก. (February 1993). Justice Without Violence (ebook). Lynne Rienner Publishers. p. 28. ISBN 1-55587-491-6. สืบค้นเมื่อ 6 July 2006.
  11. Cavanaugh-O'Keefe, John (January 2001). Emmanuel, Solidarity: God's Act, Our Response. Xlibris Corporation. p. 68. ISBN 0-7388-3864-0.
  12. Piotr Gliński, The Self-governing Republic in the Third Republic, "Polish Sociological Review", 2006, no.1
  13. Douglas J. MacEachin. "US Intelligence and the Polish Crisis 1980-1981". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-13. สืบค้นเมื่อ 2017-01-17.
  14. Looking to the Future: Essays on International Law in Honor of W. Michael Reisman
  15. Richard T. Davies, "The CIA and the Polish Crisis of 1980–1981." Journal of Cold War Studies (2004) 6#3 pp: 120-123. online
  16. Gideon's Spies: The Secret History of the Mossad17 Mar 2015 by Gordon Thomas page 418
  17. Gregory F. Domber (2008). Supporting the Revolution: America, Democracy, and the End of the Cold War in Poland, 1981--1989. ProQuest. p. 199.[ลิงก์เสีย], revised as Domber 2014, p. 110 [1].
  18. Executive Secrets: Covert Action and the Presidency William J. Daugherty. page 201-203
  19. BBC World, Analysis: Solidarity's legacy
  20. https://www.youtube.com/watch?v=GJ6HeB5qb0I
  21. http://www.workersliberty.org/story/2009/10/08/workers-unite-east-and-west
  22. McKinlay, John (8 September 1983). "Scargill angers unions with Solidarity attack". The Glasgow Herald. สืบค้นเมื่อ 1 September 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]