อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก เมืองนครศรีธรรมราช)
อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Nakhon Si Thammarat |
คำขวัญ: นครแห่งการเรียนรู้ เป็นเมืองน่าอยู่ สู่สังคมพัฒนาที่ยั่งยืน | |
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช | |
พิกัด: 8°25′12″N 99°57′48″E / 8.42000°N 99.96333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 597.33 ตร.กม. (230.63 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 270,514 คน |
• ความหนาแน่น | 452.87 คน/ตร.กม. (1,172.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 80000, 80280 (เฉพาะตำบลกำแพงเซา ท่างิ้ว และนาทราย), 80290 (เฉพาะหมู่ที่ 2-6, 8, 14-17 ตำบลท่าเรือ), 80330 (เฉพาะตำบลบางจาก) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8001 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เลขที่ 1 ถนนอ้อมค่าย ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เมืองนครศรีธรรมราช เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประวัติ
[แก้]อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชมีประวัติความเป็นมา ดังต่อไปนี้
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 จัดตั้งตำบลไชยมนตรี โดยแยกจากตำบลกำแพงเซา จัดตั้งตำบลนาพรุ โดยแยกจากตำบลช้างซ้าย จัดตั้งตำบลท่าไร่ โดยแยกจากตำบลบางจาก จัดตั้งตำบลท่าซัก โดยแยกจากตำบลปากพูน และตำบลปากนคร จัดตั้งตำบลนา โดยแยกจากตำบลศาลามีชัย จัดตั้งตำบลนาทราย โดยแยกจากตำบลนาเคียน จัดตั้งตำบลพรหมโลก โดยแยกจากตำบลท่างิ้ว จัดตั้งตำบลบ้านเกาะ โดยแยกจากตำบลอินคีรี จัดตั้งตำบลมะม่วงสองต้น โดยแยกจากตำบลนาสาร จัดตั้งตำบลเขาแก้ว โดยแยกจากตำบลลานสกา และจัดตั้งตำบลกำโลน โดยแยกจากตำบลท่าดี[1]
- พ.ศ. 2454 แบ่งท้องที่ตำบลลานสกา ตำบลเขาแก้ว ตำบลท่าดี ตำบลกำโลน และตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งเป็นกิ่งอำเภอลานสกา
- วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลลานสกา ในท้องที่บางส่วนของตำบลลานสกาและตำบลเขาแก้ว[2]
- วันที่ 23 กรกฎาคม 2501 จัดตั้งกิ่งอำเภอลานสกา อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นอำเภอลานสกา[3]
- วันที่ 17 สิงหาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลบางจาก ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางจาก[4]
- วันที่ 30 พฤศจิกายน 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าแพ ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากพูน[5]
- วันที่ 25 มกราคม 2509 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช[6]
- วันที่ 16 มีนาคม 2514 จัดตั้งสุขาภิบาลปากนคร ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากนครและตำบลท่าไร่[7]
- วันที่ 26 สิงหาคม 2517 แบ่งท้องที่ตำบลพรหมโลก ตำบลบ้านเกาะ และตำบลอินคีรี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพรหมคีรี[8]
- วันที่ 25 กันยายน 2518 โอนพื้นที่หมู่ที่ 5 (บ้านในเขียว) ตำบลดอนตะโก หมู่ที่ 7 (บ้านดอนคา) ตำบลโมคลาน และหมู่ที่ 7 (บ้านห้วยผักหนาม) ตำบลหัวตะพาน อำเภอท่าศาลา ไปขึ้นกับตำบลอินคีรี กิ่งอำเภอพรหมคีรี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช[9]
- วันที่ 1 สิงหาคม 2521 จัดตั้งตำบลทอนหงส์ โดยโอนหมู่บ้านจากตำบลอินคีรี กิ่งอำเภอพรหมคีรี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช[10]
- วันที่ 14 กรกฎาคม 2524 จัดตั้งกิ่งอำเภอพรหมคีรี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นอำเภอพรหมคีรี[11]
- วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2537 แบ่งท้องที่ตำบลนาพรุ ตำบลนาสาร ตำบลท้ายสำเภา และตำบลช้างซ้าย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพระพรหม[12]
- วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 จัดตั้งกิ่งอำเภอพระพรหม อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นอำเภอพระพรหม[13]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพรหมคีรี อำเภอท่าศาลา และอ่าวไทย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอปากพนัง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอพระพรหม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอลานสกา
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 ตำบล 115 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[14] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | ในเมือง | Nai Mueang | –
|
41,075
|
|
2. | ท่าวัง | Tha Wang | –
|
16,165
| |
3. | คลัง | Khlang | –
|
15,288
| |
6. | ท่าไร่ | Tha Rai | 6
|
8,421
| |
7. | ปากนคร | Pak Nakhon | 6
|
15,897
| |
8. | นาทราย | Na Sai | 6
|
6,756
| |
12. | กำแพงเซา | Kamphaeng Sao | 9
|
9,692
| |
13. | ไชยมนตรี | Chai Montri | 5
|
6,670
| |
14. | มะม่วงสองต้น | Mamuang Song Ton | 6
|
5,787
| |
15. | นาเคียน | Na Khian | 9
|
15,046
| |
16. | ท่างิ้ว | Tha Ngio | 9
|
10,830
| |
18. | โพธิ์เสด็จ | Pho Sadet | 9
|
34,323
| |
19. | บางจาก | Bang Chak | 11
|
10,690
| |
20. | ปากพูน | Pak Phun | 12
|
38,336
| |
21. | ท่าซัก | Tha Sak | 9
|
13,207
| |
22. | ท่าเรือ | Tha Ruea | 19
|
22,002
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือตำบลในอำเภอพรหมคีรีและอำเภอพระพรหม
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมือง ตำบลท่าวัง และตำบลคลังทั้งตำบล และครอบคลุมพี้นที่บางส่วนของตำบลนาเคียนและตำบลโพธิ์เสด็จ
- เทศบาลเมืองปากพูน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปากพูน (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าแพ)
- เทศบาลตำบลท่าแพ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปากพูน (สุขาภิบาลท่าแพเดิม)
- เทศบาลตำบลบางจาก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางจาก
- เทศบาลตำบลปากนคร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าไร่และตำบลปากนคร
- เทศบาลตำบลท่างิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่างิ้วทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์เสด็จ (นอกเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช)
- องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำแพงเซาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไชยมนตรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไชยมนตรีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าซัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าซักทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเรือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าไร่ (นอกเขตเทศบาลตำบลปากนคร)
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเคียน (นอกเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช)
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาทรายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางจาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางจาก (นอกเขตเทศบาลตำบลบางจาก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากนคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากนคร (นอกเขตเทศบาลตำบลปากนคร)
- องค์การบริหารส่วนตำบลมะม่วงสองต้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะม่วงสองต้นทั้งตำบล
การสาธารณสุข
[แก้]- โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช (โรงพยาบาลศูนย์แห่งแรกและมีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้)
- โรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ
- โรงพยาบาลนครินทร์
- โรงพยาบาลนครคริสเตียน
- โรงพยาบาลนครพัฒน์
- โรงพยาบาลแม่และเด็ก เขต 11
- โรงพยาบาลเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
- โรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 นครศรีธรรมราช
สถานีตำรวจ
[แก้]- สถานีตำรวจภูธรเมืองนครศรีธรรมราช
- สถานีตำรวจภูธรชะเมา
- สถานีตำรวจภูธรเมืองนครศรีธรรมราช สาขาปากพูน
- สถานีตำรวจภูธรเมืองนครศรีธรรมราช สาขาบางจาก
- สถานีตำรวจภูธรเมืองนครศรีธรรมราช สาขามหาชัย
- สถานีตำรวจภูธรเมืองนครศรีธรรมราช สาขาปากนคร
ไปรษณีย์
[แก้]- ไปรษณีย์นครศรีธรรมราช
- ไปรษณีย์รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช
- ไปรษณีย์ศาลามีชัย
- ไปรษณีย์บางจาก
- ไปรษณีย์เขามหาชัย
- ไปรษณีย์ปากนคร
- ไปรษณีย์ท่าวัง
- ไปรษณีย์ตลาดหัวอิฐ
- ไปรษณีย์นาวง
- ไปรษณีย์ชะเมา
โรงเรียนมัธยมศึกษา
[แก้]- โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
- โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
- โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช
- โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา
- โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
- โรงเรียนโยธินบำรุง
- โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก
- โรงเรียนปากพูน
- โรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ
- โรงเรียนตรีนิมิตรวิทยา
- โรงเรียนจรัสพิชากร
- โรงเรียนอำมาตย์พิทยานุสรณ์
- โรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ
- โรงเรียนประทีปศาสน์ (ปอเนาะบ้านตาล)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลลานสกา กิ่งอำเภอลานสกา อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-12-26.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางจาก อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าแพ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาล สุขาภิบาลปากนคร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพรหมคีรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
- ↑ พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอท่าศาลา กับกิ่งอำเภอพรหมคีรี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๑๘
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอพรหมคีรี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ อำเภอพรหมคีรี อำเภอนาบอน อำเภอบางสะพานน้อย อำเภอนาดี อำเภอกงหรา อำเภอวังทรายพูน อำเภอธารโต อำเภอคำตากล้า อำเภอศรีนคร อำเภอด่านช้าง อำเภอพรเจริญ อำเภอวังสามหมอ และอำเภอลานสัก พ.ศ. ๒๕๒๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-12-26.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพระพรหม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2021-12-26.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองปรือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอปางศิลาทอง อำเภอเนินสง่า อำเภอนาทม อำเภอพระพรหม อำเภอแม่วงก์ อำเภอสองแคว อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอไทยเจริญ อำเภอกาบัง อำเภอพยุห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอภูพาน อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอนาวัง อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอทุ่งศรีอุดม พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-12-26.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.