อำเภอวารินชำราบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอวารินชำราบ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Warin Chamrap
ภาพถ่ายทางอากาศของอำเภอวารินชำราบใน พ.ศ. 2553
ภาพถ่ายทางอากาศของอำเภอวารินชำราบใน พ.ศ. 2553
คำขวัญ: 
นมัสการหลวงปู่ชา มีปลาแซ่บหลาย
มากพันธุ์ไม้ดอก บ่งบอกวัฒนธรรม
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอวารินชำราบ
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอวารินชำราบ
พิกัด: 15°12′9″N 104°52′3″E / 15.20250°N 104.86750°E / 15.20250; 104.86750
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุบลราชธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด619 ตร.กม. (239 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด160,350 คน
 • ความหนาแน่น259.05 คน/ตร.กม. (670.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 34190, 34310 (เฉพาะตำบลท่าลาด บุ่งหวาย และห้วยขะยุง)
รหัสภูมิศาสตร์3415
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอวารินชำราบ ถนนทหาร ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

วารินชำราบ เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองอุบลราชธานี มีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเพียง 2 กิโลเมตร โดยอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำมูล เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟอุบลราชธานี และสถาบันการศึกษาที่สำคัญของจังหวัดอย่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ประวัติศาสตร์[แก้]

อำเภอวารินชำราบ เดิมเรียกว่า บ้านน้ำคำเอือกก่อนจอ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ยกขึ้นเป็น เมืองวารินชำราบ ขึ้นกับเจ้านครจำปาศักดิ์ มีพระกำจรจัตุรงค์เป็นเจ้าเมือง ต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของเขตการปกครองเมืองอุบลราชธานี ที่ว่าการอำเภอหลังแรกสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2451 ใช้ชื่อว่า อำเภอทักษิณูปนิคม ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรกคือ ท้าวธรรมกิติกา (เป้ย สุวรรณกูฏ) ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2456 สมัยของขุนภูมิพิพัฒน์เขตร์ (แท่ง เหมะนัค) ซึ่งเป็นนายอำเภอคนที่ 2 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากฝั่งอำเภอเมืองอุบลราชธานี ข้ามแม่น้ำมูลมาตั้งอยู่ที่บ้านคำน้ำแซบ ตำบลธาตุ แล้วเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอวารินชำราบ

ปี พ.ศ. 2423 รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านนากอนจอ ขึ้นเป็น เมืองวารินทร์ชำราบ แต่งตั้งให้ พระกำจรจตุรงค์ เจ้าเมือง ขึ้นกับเมืองนครจำปาศักดิ อยู่ต่อมาได้ 6 ปีเจ้าเมืองวารินทร์ชำราบไม่พอใจจะทำราชการกับเมืองนครจำปาศักดิ์ จึงขอมาสังกัดเมืองเขมราษฎร์ธานีพร้อมกับเมืองเสมี๊ยะ ในปี พ.ศ. 2440 กระทรวมหาดไทยได้ลดฐานะเมืองวารินทร์ชำราบลงเป็นอำเภอวารินทร์ชำราบ โดยมี ราชวงศ์บุญ รักษาราชการนายอำเภอ ครั้นถึงปี พ.ศ. 2454 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย รับพระราชโองการยุบอำเภอวารินทร์ชำราบ โดยให้ไปรวมกับ อ.บูรพาอุบลและ อ.พิมูลมังษาหาร

อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2451 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แบ่งเมือง อุบลราชธานีตั้งเป็นเมืองอีก 4 อำเภอ คือ อ.บูรพูปลนิคม(อ.บูรพาอุบล) อ.อุตรูปลนิคม(อ.อุดรอุบล) อ.ปจิมูปลนิคม(อ.ปจิมอุบล) และ อ.ทักษิณูปลนิคม(อ.ทักษิณอุบล) โดยตั้งที่ว่าการอยู่บริเวณศาลาว่าการมณฑลอุบล

อำเภอทักษิณูปลนิคมหรืออำเภอทักษิณอุบล มีท้าวธรรมกิติกา(เป้ย สุวรรณกูฏ) ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรก ในสมัยขุนภูมิพัฒน์เขตร์(แท่ง เหมะนัค) นายอำเภอคนที่ 2 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บ้านคำน้ำแซบ ตำบลธาตุ ปี พ.ศ. 2456 อำเภอทักษิณอุบลได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อำเภอวารินทร์ชำราบ(โดยนำเอาชื่อเมืองวารินชำราบที่ถูกยุบไปมาตั้งแทนชื่อ อ.ทักษิณอุบล ในต่อๆมาชื่ออำเภอวารินชำราบ

เมืองวารินทร์ชำราบ(ปัจจุบัน: ตำบลวาริน อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี) ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2423 มีพระกำจรจตุรงค์ เป็นเจ้าเมือง กำหนดให้ขึ้นตรงต่อเมืองนครฯจำปาศักดิ์ ต่อมาไม่พอใจจะทำราชการกับเมืองนครฯจำปาศักดิ์ จึงได้มาขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ ปี พ.ศ. 2440 ถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอวารินทร์ชำราบ โดยมีราชวงศ์บุญ รักษาการตำแหน่งนายอำเภอ ในปี พ.ศ. 2454 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ยุบเลิกอำเภอวารินทร์ชำราบ แล้วให้รวมอยู่กับอำเภอบูรพาอุบล(ปัจจุบัน : อ.เมืองอุบลฯ)และอำเภอพิมูลมังษาหาร(ปัจจุบัน : อ.พิบูลมังสาหาร)

อำเภอวารินชำราบ (ปัจจุบัน : อ.วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เดิมชื่อ อ.ทักษิณูปลนิคม หรือ อ.ทักษิณอุบล ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2451 ในสมัยรัชกาลมี่ 5 มีท้าวธรรมกิติกา(เป้ย สุวรรณกูฏ) เป็นนายอำเภอคนแรก โดยตั้งที่ว่าการอยู่ในบริเวณศาลามณฑลอุบล ปีพ.ศ. 2456 ได้เปลี่ยนชื่อ อ.ทักษิณอุบล มาเป็น อ.วารินทร์ชำราบ โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้นำชื่ออำเภอวารินที่ถูกยุบเลิกไปนั้นมาแทน

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอวารินชำราบตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอวารินชำราบแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 ตำบล 190 หมู่บ้าน ได้แก่

1. วารินชำราบ (Warin Chamrap) - 9. คำขวาง (Kham Khwang) 10 หมู่บ้าน
2. ธาตุ (That) 10 หมู่บ้าน 10. โพธิ์ใหญ่ (Pho Yai) 13 หมู่บ้าน
3. ท่าลาด (Tha Lat) 12 หมู่บ้าน 11. แสนสุข (Saen Suk) 20 หมู่บ้าน
4. โนนโหนน (Non Non) 12 หมู่บ้าน 12. หนองกินเพล (Nong Kin Phen) 9 หมู่บ้าน
5. คูเมือง (Khu Mueang) 12 หมู่บ้าน 13. โนนผึ้ง (Non Phueng) 11 หมู่บ้าน
6. สระสมิง (Sa Saming) 16 หมู่บ้าน 14. เมืองศรีไค (Mueang Si Khai) 11 หมู่บ้าน
7. คำน้ำแซบ (Kham Nam Saep) 10 หมู่บ้าน 15. ห้วยขะยุง (Huai Khayung) 13 หมู่บ้าน
8. บุ่งหวาย (Bung Wai) 20 หมู่บ้าน 16. บุ่งไหม (Bung Mai) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอวารินชำราบประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองวารินชำราบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวารินชำราบทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลห้วยขะยุง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลห้วยขะยุง
  • เทศบาลตำบลแสนสุข ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสนสุขทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำน้ำแซบทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลคำขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำขวางทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเมืองศรีไค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองศรีไคทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธาตุทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบุ่งไหม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุ่งไหมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าลาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนโหนน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนโหนนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูเมืองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระสมิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระสมิงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งหวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุ่งหวายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกินเพล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกินเพลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนผึ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขะยุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยขะยุง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลห้วยขะยุง)

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

การศึกษา[แก้]

โรงเรียนประถม
  • โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ
  • โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ
  • โรงเรียนเทศมบาลบ้านหนองตาโผ่น
  • โรงเรียนบ้านเด็กวารินชำราบ
  • โรงเรียนอนุบาลงามจิตเด็กเล็กเท่านั้น
  • โรงเรียนเทพพิทักษ์
โรงเรียนมัธยม
  • โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ
  • โรงเรียนวารินชำราบ
  • โรงเรียนวิจิตราพิทยา
  • โรงเรียนห้วยขะยุงวิทยา
โรงเรียนสาธิต
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
โรงแรมในวารินชำราบ
มหาวิทยาลัย
วิทยาลัย

สาธารณสุข[แก้]

  • โรงพยาบาลวารินชำราบ
  • โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์
  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สถานที่สำคัญ[แก้]

วัฒนธรรม[แก้]

อำเภอวารินชำราบมีเทศกาลสำคัญคือ เทศกาลงานไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งจัดในบริเวณพื้นที่ทุ่งคำน้ำแซบของทุกปี

อ้างอิง[แก้]