วัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
รายละเอียดวัคซีน | |
---|---|
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ | SARS-CoV-2 |
ชนิด | ไวรัส |
ข้อมูลทางคลินิก | |
ชื่อทางการค้า | Jcovden[2] |
ชื่ออื่น | |
AHFS/Drugs.com | Multum Consumer Information |
ข้อมูลทะเบียนยา |
|
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | [1][7][8][9]
|
ตัวบ่งชี้ | |
DrugBank | |
UNII | |
KEGG | |
วัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (อังกฤษ: Johnson & Johnson COVID-19 vaccine) เป็นวัคซีนโควิด-19[28] ที่บริษัทแยนส์เซ็นวัคซีน (Janssen Vaccines) ในเมืองไลเดิน เนเธอร์แลนด์[29] และบริษัทแม่คือแยนส์เซ็นฟาร์มาซูทิคอลส์ (Janssen Pharmaceuticals) ในเบลเยียมเป็นผู้พัฒนาขึ้น[30] ทั้งสองเป็นบริษัทสาขาของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (ตัวย่อ J & J)[31][32]
วัคซีนนี้เป็นวัคซีนเวกเตอร์ไวรัสคือใช้ไวรัสเป็นตัวนำพา ไวรัสที่ใช้เป็นอะดีโนไวรัสประจำในมนุษย์ที่ได้ดัดแปลงพันธุกรรมให้มียีนเพื่อสร้างโปรตีนหนาม (spike protein) ของไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2)[6] ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะตอบสนองต่อโปรตีนหนามนี้โดยสร้างสารภูมิต้านทาน (antibodies)[33] วัคซีนต้องฉีดแค่เข็มเดียวและไม่จำเป็นต้องเก็บแช่แข็ง[34][35]
การทดลองทางคลินิกของวัคซีนนี้ได้เริ่มในเดือนมิถุนายน 2020 การทดลองระยะที่ 3 ของวัคซีนมีอาสาสมัครราว ๆ 43,000 คน[22] ในวันที่ 28 มกราคม 2021 แยนส์เซนประกาศผลการทดลองว่า เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 หลังฉีด วัคซีนโดสหนึ่งมีประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อันแสดงอาการที่อัตราร้อยละ 66, ป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงร้อยละ 85[36][37][38] และป้องกันการติดเชื้อที่ต้องเข้า รพ. หรือที่ถึงชีวิตได้เต็มร้อย[21]
องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉิน[23][39] สำนักงานการแพทย์ยุโรป (European Medicines Agency, EMA) ได้อนุมัติให้วางตลาดอย่างมีเงื่อนไข[40][41][42]
คณะกรรมการอาหารและยาไทย (อย.) ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้แล้ว[43] รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการจัดหาให้ได้วัคซีน 5-10 ล้านโดสในปี 2021 เพื่อให้ครบเป้าหมายในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชน 100 ล้านโดส[44][45] โดยกรมควบคุมโรคคาดว่าอาจจะได้จัดสรรเริ่มในเดือนกันยายน[46]
การแพทย์
[แก้]วัคซีนนี้ใช้ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2) เพื่อไม่ให้ติดโรคสำหรับผู้มีอายุ 18 ปีหรือยิ่งกว่า[21][40]
รายละเอียด
[แก้]วัคซีนนี้ใช้เทคโนโลยีคล้าย ๆ กับวัคซีนสปุตนิกวีและวัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตราเซเนกา[47] แต่เพราะเป็นวัคซีนอะดีโนไวรัสของมนุษย์ จึงทำให้วัคซีนนี้คล้ายกับสปุตนิกวียิ่งกว่า วัคซีนมีองค์ประกอบออกฤทธิ์เป็นอะดีโนไวรัสลูกผสม (recombinant) ที่ไม่สามารถถ่ายแบบยีนได้ (replication-incompetent) ชนิดที่ 26 (Ad26) ซึ่งสามารถแสดงออกโปรตีนหนาม (โปรตีนเอส) ของไวรัสโควิด-19 (severe acute respiratory syndrome coronavirus 2, SARS-CoV-2) โดยอยู่ในโครงรูปที่เสถียร (stabilized conformation)[3][48] โปรตีนหนามโครงสรูปเสถียรนี้ ซึ่งมีจุดกลายพันธุ์สองจุดที่กรดอะมิโนธรรมดาได้แทนที่ด้วย proline ได้พัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยที่ศูนย์วิจัยวัคซีนของสถาบันภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐ (National Institute of Allergy and Infectious Diseases, NIAID) โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน[49][50][51] วัคซีนมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ดังต่อไปนี้คือ citric acid monohydrate, trisodium citrate dihydrate, เอทานอล, 2-hydroxypropyl-β-cyclodextrin (HBCD) (hydroxypropyl betadex), polysorbate 80, โซเดียมคลอไรด์, โซดาไฟ และกรดไฮโดรคลอริก[21][48]
ลักษณะต่าง ๆ
[แก้]วัคซีนนี้ฉีดเพียงเข็มเดียว ไม่ต้องฉีดเข็มที่สอง ซึ่งไม่เหมือนกับวัคซีนโควิด-19 อื่น ๆ (เช่น วัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตราเซเนกา ของไฟเซอร์-ไบออนเทค หรือของโมเดอร์นา)[34][52]
ขวดวัคซีนที่ยังไม่เจาะใช้สามารถเก็บในอุณหภูมิระหว่าง 9-25 องศาเซลเซียสได้ 12 ชม.[34][48] และเก็บไว้ในตู้เย็นธรรมดาได้เป็นเดือน ๆ[53][54][55] วัคซีนไม่ต้องส่ง[34][52] หรือเก็บแช่แข็ง[34]
ผลที่ไม่พึงประสงค์
[แก้]ในการทดลอง ผลข้างเคียงของวัคซีนที่พบปกติจะมีอาการเบาจนถึงปานกลาง เกิดในสองวันหลังฉีดวัคซีน และดีขึ้นเองภายใน 1-2 วัน[24][56][57]
การไอ ปวดข้อ มีไข้ หนาวสะท้าน บวมแดงที่จุดฉีดเกิดกับคนน้อยกว่า 1 ใน 10[56] การจาม สั่น เจ็บคอ เป็นผื่น เหงื่ออก กล้ามเนื้ออ่อนแรง เจ็บปวดแขนหรือขา ปวดหลัง เพลีย และรู้สึกไม่สบายเกิดกับคนน้อยกว่า 1 ใน 100[56] ผลข้างเคียงที่มีน้อย (คือเกิดกับคนน้อยกว่า 1 ในพัน) ก็คือการแพ้และผื่นคัน[56] การเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด (thrombosis) พร้อมกับภาวะเกล็ดเลือดน้อยเกิดขึ้นกับคนน้อยกว่า 1 ในหมื่นใน 1-2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน[24][56] อาการแพ้รวมทั้งแอนาฟิแล็กซิสคือการแพ้รุนแรง เกิดขึ้นในกรณีน้อย (rare) ภายไม่กี่นาทีจนถึงหนึ่ง ชม. หลังได้วัคซีน[24][56] ควรฉีดวัคซีนในการดูแลของแพทย์พยาบาลที่สามารถช่วยเหลือได้ทันถ้าเกิดอาการรุนแรง[56]
การพัฒนา
[แก้]ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสันได้ลงทุนเกินกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 31,300 ล้านบาท) เพื่อพัฒนาวัคซีนโดยร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ของรัฐบาลกลางสหรัฐรวมท้งสำนักงานการวิจัยและพัฒนาชีวเวชภัณฑ์ชั้นสูง (Biomedical Advanced Research and Development Authority, BARDA) และกระทรวงสาธารณสุขและบริการประชาชนของสหรัฐอเมริกา (Department of Health and Human Services, HHS)[58][59] บริษัทตั้งใจจะดำเนินการพัฒนาวัคซีนอย่างไม่ได้หวังกำไรเพราะมองว่า เป็นวิธีที่เร็วและดีที่สุดเพื่อให้ได้ความร่วมมือในการผลิตวัคซีนได้เป็นจำนวนมาก ๆ[60]
แยนส์เซนวัคซีนได้ร่วมมือกับศูนย์การเแพทย์อิสราเอล (Beth Israel Deaconess Medical Center, BIDMC) เพื่อพัฒนาวัคซีนแคนดิเดนโดยใช้เทคโนโลยีเดียวกับที่สร้างวัคซีนอีโบลาของบริษัท[32][61][62]
การทดลองพรีคลินิกระบุว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันแฮมสเตอร์และลิงวอกจากเชื้อโควิด-19[63]
ระยะ 1-2
[แก้]ในเดือนมิถุนายน 2020 จอห์นสันแอนด์จอห์นสันกับสถาบันภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID) ได้ยืนยันว่ามีแผนทดลองทางคลินิกสำหรับวัคซีน Ad26.COV2.S โดยอาจเริ่มอย่างเร่งด่วนในปลายเดือนกรกฎาคม[64][65][66]
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 1-2a ได้เริ่มกับอาสาสมัครคนแรก ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2020 ในประเทศเบลเยียมและสหรัฐ[67] ผลงานศึกษาในระหว่างแสดงว่า วัคซีนปลอดภัย มีผลข้างเคียงไม่เกินปกติ และก่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน การฉีดวัคซีนครั้งเดียวทำให้อาสาสมัครเกินร้อยละ 90 เกิดสารภูมิต้านทานพอกำจัดไวรัสหลังจากได้วัคซีน 29 วัน โดยเพิ่มเป็นเต็มร้อยหลัง 57 วัน[68][69]
ระยะ 3
[แก้]การทดลองทางคลินิกระยะ 3 ที่ตั้งชื่อว่า ENSEMBLE ได้เริ่มรับอาสาสมัครเมื่อเดือนกันยายน 2020 และหยุดรับอาสาสามัครเมื่อเดือนธันวาคม 2020 เป็นงานศึกษาแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ ของวัคซีนโดสเดียวเทียบกับยาหลอกในผู้ใหญ่อายุ 18 ปีหรือยิ่งกว่า อาสาสมัครได้รับวัคซีนโดสเดียวที่มีอนุภาคไวรัส (virus particle) 5×1010 อนุภาคในวันแรกโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ[70] การทดลองได้หยุดชั่วคราวในวันที่ 12 ตุลาคม 2020 เพราะอาสาสมัครคนหนึ่งเกิดป่วย[71][63] แต่บริษัทระบุว่า ไม่พบหลักฐานใด ๆ ว่าวัคซีนเป็นเหตุให้ป่วยและประกาศในวันที่ 23 ตุลาคมว่าจะดำเนินการทดลองต่อ[72][73] ในวันที่ 29 มกราคม 2021 แยนส์เซนประกาศข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิศัยก์ที่ได้จากการวิเคราะห์การทดลองในระหว่าง ซึ่งแสดงว่าวัคซีนมีประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการปานกลางจนถึงรุนแรงหลังฉีดวัคซีน 28 วันที่อัตราร้อยละ 66 สำหรับอาสาสมัครทั้งหมด ผลได้จากการวิเคราะห์การติดโรคแบบแสดงอาการ 468 คนจากอาสาสมัครผู้ใหญ่รวม 43,783 คนในประเทศอาร์เจนตินา บราซิล ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก เปรู แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา กลุ่มที่ได้วัคซีนไม่มีใครเสียชีวิตเพราะโควิด แต่กลุ่มยาหลอกมีคนเสียชีวิตเนื่องกับโควิด 5 ราย[74] ในการทดลองนี้ ไม่พบอาการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง (แอนาฟิแล็กซิส)[74]
มีการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 อีกงานซึ่งตั้งชื่อว่า ENSEMBLE 2 และได้เริ่มรับสมัครอาสาสมัครในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2020 โดยต่างกับ ENSEMBLE งานแรกเพราะอาสาสมัครจะได้วัคซีน 2 โดส โดสแรกในวันแรกและโดสที่สองในวันที่ 57[75]
การผลิต
[แก้]ในเดือนเมษายน 2020 จอห์นสันแอนด์จอห์นสันเริ่มทำงานร่วมกับบริษัท Catalent เพื่อผลิตวัคซีนเป็นจำนวนมาก ๆ ที่โรงงานของ Catalent ที่รัฐอินดีแอนา[76] ในเดือนกรกฎาคม 2020 ก็ได้เพิ่มโรงงานของ Catalent อีกแห่งในอิตาลี[77]
ในเดือนกรกฎาคม 2020 จอห์นสันแอนด์จอห์นสันตกลงส่งวัคซีนให้สหรัฐ 100 ล้านโดส มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 31,300 ล้านบาท) โดยเป็นงบประมาณจากจากสำนักงานการวิจัยและการพัฒนาชีวเวชภัณฑ์ชั้นสูงสหรัฐ (BARDA) และกระทรวงสาธารณสุขและบริการประชาชนของสหรัฐอเมริกา (Department of Health and Human Services, HHS)[78][79]
ในเดือนกันยายน 2020 บริษัทตกลงให้บริษัทอเมริกัน Grand River Aseptic Manufacturing ผลิตวัคซีนและบรรจุขวดในโรงงานในรัฐมิชิแกนโดย J & J จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้[80]
ในเดือนธันวาคม 2020 บริษัทตกลงให้บริษัทสเปน Reig Jofre ผลิตวัคซีนที่โรงงานในเมืองบาร์เซโลนา[81] ถ้าสำนักงานการแพทย์ยุโรป (European Medicines Agency, EMA) ให้อนุมัติวัคซีนในเดือนมีนาคม 2021 เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรประบุว่า J & J อาจส่งวัคซีนให้ประเทศสหภาพยุโรปเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2021[82][83] เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 โรงงานจะผลิตวัคซีนโควิด-19 เป็นจำนวน 50 ล้านโดสต่อปี[84]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 J & J ตกลงให้บริษัทซาโนฟี่ผลิตวัคซีนในโรงงานที่ประเทศฝรั่งเศส โดยจะผลิตประมาณ 12 ล้านโดสต่อเดือนเมื่อได้อนุมัติ[85]
ในเดือนมีนาคม 2021 J & J ตกลงให้เมอร์คผลิตวัคซีนที่โรงงานสองแห่งในสหรัฐโดยทำตามกฎหมายการผลิตทางกลาโหมสหรัฐ (Defense Production Act)[86] ในเดือนเดียวกัน ความผิดพลาดของบุคลากรในโรงงานของ Emergent BioSolutions ในเมืองบอลทิมอร์ก็ทำให้วัคซีนของบริษัทเสียไปอาจถึง 15 ล้านโดส ซึ่งพบก่อนส่งวัคซีนออกจากโรงงาน แต่ก็ทำให้แผนการส่งวัคซีนในสหรัฐของบริษัทต้องล่าช้าลง[87] ความผิดพลาดเป็นการผสมองค์ประกอบวัคซีนของ J & J กับของแอสตราเซเนกาเข้าด้วยกัน ต่อมารัฐบาลกลางสหรัฐต่อมาจึงมอบโรงงานนี้ให้แก่ J & J เพื่อจัดการผลิตวัคซีนของบริษัทเท่านั้น และไม่ให้มีเหตุการณ์ผสมวัคซีนกันเช่นนี้อีก[88]
การให้อนุมัติ
[แก้] อนุมัติเป็นการฉุกเฉิน ประเทศที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากโคแวกซ์ |
สหภาพยุโรป
[แก้]เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2020 คณะกรรมการเวชภัณฑ์สำหรับมนุษย์ (Committee for Medicinal Products for Human Use) ของสำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ได้เริ่มตรวจผลการทดลองทางคลินิกของวัคซีนนี้โดยทำอยู่เรื่อย ๆ เพื่อเร่งกระบวนการให้อนุมัติการวางตลาดของวัคซีน[82][104] ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2021 แยนส์เซนก็ได้ยื่นคำขออนุมัติการวางตลาดอย่างมีเงื่อนไข[6][105] ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปก็ได้อนุมัติ (โดยระบุชื่อวัคซีนว่า COVID-19 Vaccine Janssen) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2021[40][42] การส่งวัคซีนจะเริ่มในปลายเดือนเมษายน โดยบริษัทมีข้อผูกมัดว่าจะต้องส่ง 200 ล้านโดสให้แก่สหภาพยุโรปในปี 2021[106]
ต่อมาวันที่ 20 เมษายน การแจกจำหน่ายวัคซีนนี้ในยุโรปก็ถูกชะลอไปเล็กน้อยจนกระทั่งสำนักงานการแพทย์ยุโรปได้ตัดสินว่า การช่วยระงับเหตุการณ์ระบาดทั่วของวัคซีนมีประโยชน์ยิ่งกว่าปัญหาการเกิดลิ่มเลือดเนื่องจากวัคซีนที่มีน้อย[107]
สหรัฐ
[แก้]ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2021 แยนส์เซนได้ยื่นคำขออนุมัติการใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉินแก่องค์การอาหารและยาสหรัฐ โดยองค์การก็ประกาศว่า ผู้เชี่ยวชาญจะประชุมพิจารณาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์[53][52][108][109] และบริษัทก็ระบุว่า จะส่งวัคซีนทันทีที่ได้อนุมัติ[74] ต่อมาวันที่ 24 องค์การได้ตีพิมพ์เอกสารที่แนะนำให้อนุมัติ โดยสรุปว่า ผลของการทดลองทางคลินิกและข้อมูลด้านความปลอดภัยเข้าเกณฑ์ขององค์การและของสำนักงานการแพทย์ยุโรป[48][110][111][112] ในวันที่ 26 คณะผู้เชี่ยวชาญก็ได้แนะนำอย่างเป็นเอกฉันท์ให้อนุมัติวัคซีนเพื่อใช้เป็นการฉุกเฉิน[113] ซึ่งองค์การก็ให้อนุมัติในวันต่อมา[22][23][114] ต่อมาวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐจึงแนกนำให้ใช้วัคซีนกับคนผู้มีอายุ 18 ปีหรือยิ่งกว่า[115][39]
ในวันที่ 13 เมษายน 2021 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคและองค์การอาหารและยาร่วมกันแนะนำให้หยุดใช้วัคซีนชั่วคราว เพราะมีรายงานกรณี cerebral venous sinus thrombosis เป็นการเกิดลิ่มเลือดบวกกับการมีเกล็ดเลือดน้อยซึ่งมีน้อยแต่รุนแรงในหญิงที่ได้วัคซีนอายุระหว่าง 18-48 ปี[116] อาการเกิดใน 6-13 วันหลังได้วัคซีน โดยมีหญิงคนหนึ่งเสียชีวิตและอีกคนหนึ่งมีอาการหนักอยู่ใน รพ.[117][118][119]
ในวันที่ 23 เมษายน องค์กรทั้งสองก็ได้ตัดสินว่า ควรดำเนินฉีดวัคซีนนี้ต่อในสหรัฐ[120][121] โดยมีการระบุเพิ่มในใบอนุมัติให้ใช้วัคซีนว่า มีโอกาสเสี่ยงอาการเช่นนี้ โดยเรียกว่า thrombosis-thrombocytopenia syndrome (TTS)[120]
ที่อื่น ๆ
[แก้]ในเดือนธันวาคม 2020 บริษัทได้ตกลงกับองค์การกาวีเพื่อส่งวัคซีนให้โคแวกซ์ ต่อมาวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2021 บริษัทจึงได้ยื่นคำขอพร้อมข้อมูลอย่างเป็นทางการแก่องค์การอนามัยโลกเพื่อให้วัคซีนเป็นส่วนในรายการเวชภัณฑ์ที่ใช้ได้เป้นการฉุกเฉิน (Emergency Use Listing, EUL) โดย EUL เป็นเกณฑ์ที่ต้องผ่านก่อนจะส่งวัคซีนแก่โคแวกซ์ บริษัทคาดว่า จะส่งวัควีนให้แก่โคแวกซ์ทั้งหมด 500 ล้านโดสตลอดจนถึงปี 2022[54][122][123]
ในปลายเดือนพฤศจิกายน 2020 บริษัทยื่นคำขออนุมัติวัคซีนแก่กระทรวงสาธารณสุขแคนาดา[124] รัฐบาลกลางแคนาดาก็ได้ส่งวัคซีน 10 ล้านโดสโดยมีสิทธิเลือกซื้ออีก 28 ล้านโดส ในวันที่ 5 มีนาคม วัคซีนนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดที่ 4 ซึ่งอนุมัติให้ใช้ในแคนาดา[125]
ในเดือนเมษายน 2021 รัฐบาลกลางออสเตรเลียระบุว่า จะไม่ส่งซื้อวัคซีนนี้ เพราะ รัฐบาล "ไม่ตั้งใจจะซื้อวัคซีนอะดีโนไวรัสเพิ่มขึ้นในตอนนี้"[126][127]
ประเทศไทย
[แก้]ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2021 รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า จอห์นสันแอนด์จอห์นสันในประเทศไทยได้ยื่นเอกสารเพื่อขอขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 แล้วโดยการให้อนุมัติจะพิจารณาภายใน 30 วันหลังจากได้ยื่นเอกสารครบ[128][129] ต่อมาปลายเดือน รมว. กระทรวงสาธารณสุขจึงระบุว่า อย. ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้แล้ว โดยเป็นวัคซีนโควิด-19 ที่ 3 ซึ่งได้อนุมัติในประเทศไทยต่อจากซิโนแว็กและแอสตราเซเนกา[130][43]
รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการจัดหาให้ได้วัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 5-10 ล้านโดสในปี 2021 เพื่อให้ครบเป้าหมายในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชน 100 ล้านโดส[44][45] นี่เป็นวัคซีนนอกเหนือจากวัคซีนของแอสตราเซเนกาและของซิโนแวกที่ได้ฉีดให้แก่ประชาชนแล้ว บวกกับวัคซีนที่จะจัดหาเพิ่มอื่น ๆ รวมทั้งสปุตนิกวีและวัคซีนของไฟเซอร์ โดยกรมควบคุมโรคคาดว่าอาจจะได้จัดสรรเริ่มในเดือนกันยายน[46]
การใช้และผล
[แก้]เพราะวัคซีนนี้ต้องฉีดเพียงแค่โดสเดียวและมีราคาถูกกว่า จึงคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในประเทศที่มีรายได้น้อยจนถึงปานกลาง[131] เพราะไม่จำเป็นต้องแช่แข็งเหมือนกับวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์และโมเดิร์นา จึงสามารถขนส่ง เก็บ และบริหารได้ง่ายกว่า[132] แอฟริกาใต้ประกาศในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2021 ว่าจะขายวัคซีนของแอสตราเซเนกา แล้วเปลี่ยนมาใช้วัคซีนนี้แทน[133] แล้วก็เริ่มฉีดวัคซีนนี้แก่ประชาชนทั่วไปในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2021[134] เป็นการฉีดวัคซีนครั้งแรกนอกการทดลองทางคลินิก[135]
ปัญหาทางจริยธรรม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
องค์กรคริสตังในสหรัฐได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องการใช้เซลล์มนุษย์สายพันธุ์ Per.C6 ที่ดั้งเดิมได้มาจากทารกที่ถูกทำแท้งในปี 1985[136][137]
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ การอนุมัติของสหภาพยุโรปมีผลในประเทศสมาชิกทั้งหมดรวมทั้งออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย โครเอเชีย ไซปรัส เช็กเกีย เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน บวกกับไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และลิกเตนสไตน์[89]
- ↑ การอนุมัติของสหรัฐยังมีผลในประเทศต่าง ๆ ใน Compact of Free Association คือ ปาเลา สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ ไมโครนีเซีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "COVID-19 Vaccine Janssen". Therapeutic Goods Administration (TGA). 25 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2021. สืบค้นเมื่อ 28 August 2021.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Jcovden (previously COVID-19 Vaccine Janssen) EPAR". European Medicines Agency (EMA). 5 March 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2021. สืบค้นเมื่อ 12 March 2022. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "A Randomized, Double-blind, Placebo-controlled Phase 3 Study to Assess the Efficacy and Safety of Ad26.COV2.S for the Prevention of SARS-CoV-2-mediated COVID-19 in Adults Aged 18 Years and Older ENSEMBLE Protocol VAC31518COV3001; Phase 3" (PDF). Janssen Vaccines & Prevention. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2021. สืบค้นเมื่อ 15 February 2021.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "A Randomized, Double-blind, Placebo-controlled Phase 3 Study to Assess the Efficacy and Safety of Ad26.COV2.S for the Prevention of SARS-CoV-2-mediated COVID-19 in Adults Aged 18 Years and Older ENSEMBLE 2 Protocol VAC31518COV3009; Phase 3" (PDF). Janssen Vaccines & Prevention. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2021. สืบค้นเมื่อ 26 February 2021.
- ↑ 5.0 5.1 "Johnson & Johnson Initiates Pivotal Global Phase 3 Clinical Trial of Janssen's COVID-19 Vaccine Candidate". Johnson & Johnson (Press release). สืบค้นเมื่อ 2020-09-23.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "EMA receives application for conditional marketing authorisation of COVID-19 Vaccine Janssen" (Press release). European Medicines Agency (EMA). 2021-02-16. สืบค้นเมื่อ 2021-02-16.
- ↑ "COVID-19 vaccine: Janssen". Therapeutic Goods Administration (TGA). 27 August 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2021. สืบค้นเมื่อ 28 August 2021.
- ↑ "COVID-19 VACCINE JANSSEN Ad26.COV2.S 5x10^10 VP/0.5mL suspension for injection vial". Therapeutic Goods Administration. Australian Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2021. สืบค้นเมื่อ 2 June 2022.
- ↑ "TGA grants third provisional approval to COVID-19 vaccine: Janssen". Therapeutic Goods Administration (TGA). 25 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2021. สืบค้นเมื่อ 22 October 2021.
- ↑ "Brazil health regulator approves emergency use of Johnson & Johnson COVID-19 vaccine". Rio de Janeiro: Reuters. 31 March 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2022. สืบค้นเมื่อ 1 April 2021.
- ↑ "Anvisa aprova uso emergencial da vacina da Janssen" [Anvisa approves emergency use of Janssen vaccine] (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). Federal government of Brazil. Brazilian Health Regulatory Agency. 31 March 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2021. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
- ↑ "Janssen Jcovden (Johnson & Johnson) COVID-19 vaccine". Health Canada. 5 March 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2021. สืบค้นเมื่อ 24 November 2021.
- ↑ "Regulatory Decision Summary - Janssen COVID-19 Vaccine". Health Canada. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2021. สืบค้นเมื่อ 24 November 2021.
- ↑ "Janssen COVID-19 Vaccine monograph" (PDF). Janssen. 5 March 2021. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2021. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
- ↑ "Summary Basis of Decision (SBD) for Janssen COVID-19 Vaccine". Health Canada. 23 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2022. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
- ↑ "Janssen COVID-19 Vaccine". Health Canada. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2022. สืบค้นเมื่อ 31 May 2022.
- ↑ "Regulatory approval of COVID-19 Vaccine Janssen". Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA). 28 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2021. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
- ↑ "One-dose Janssen COVID-19 vaccine approved by the MHRA" (Press release). Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA). 28 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2021. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
- ↑ "Summary of Product Characteristics for COVID-19 Vaccine Janssen". Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA). 28 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2021. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 "Janssen COVID-19 Vaccine - ad26.cov2.s injection, suspension". DailyMed. U.S. National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 "FDA Issues Emergency Use Authorization for Third COVID-19 Vaccine". U.S. Food and Drug Administration (FDA) (Press release). 27 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2021. สืบค้นเมื่อ 27 February 2021.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 23.3 "FDA Letter of Authorization" (PDF). U.S. Food and Drug Administration (FDA). 27 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2021. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
...letter is in response to a request from Janssen Biotech, Inc. that the Food and Drug Administration (FDA) issue an Emergency Use Authorization (EUA)...
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 "Janssen COVID-19 Vaccine". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2021-04-07. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Janssen COVID-19 Vaccine (Johnson & Johnson) Standing Orders for Administering Vaccine to Persons 18 Years of Age and Older" (PDF). U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 16 April 2021.
- ↑ "Johnson & Johnson Covid vaccine approved for general use in South Africa". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2021. สืบค้นเมื่อ 9 May 2021.
- ↑ "J&J Covid-19 Vaccine Approved in South Africa for Wider Use". Bloomberg.com. 1 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 9 May 2021.
- ↑ "A Study of Ad26.COV2.S for the Prevention of SARS-CoV-2-Mediated COVID-19 in Adult Participants (ENSEMBLE)". ClinicalTrials.gov. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ "Leiden developed Covid-19 vaccine submitted to EMA for approval". 2021-02-16.
- ↑ "Clinical trial COVID-19 vaccine candidate underway". Janssen Belgium. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
- ↑ "EMA recommends Johnson & Johnson Covid vaccine for approval; Developed in Leiden". NL Times.
- ↑ 32.0 32.1 Saltzman, J (2020-03-12). "Beth Israel is working with Johnson & Johnson on a coronavirus vaccine". The Boston Globe.
- ↑ Malcom, K (2021-03-08). "COVID Vaccines: Does it Matter Which One You Get?". Michigan Medicine. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 34.0 34.1 34.2 34.3 34.4 "Fact Sheet for Healthcare Providers Administering Vaccine and EUA" (PDF). Janssen. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑
"Johnson & Johnson's Janssen COVID-19 Vaccine Information". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2021-03-23. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Salzman, S (2021-01-29). "Johnson & Johnson single-shot vaccine 85% effective against severe COVID-19 disease". ABC News.
- ↑ Gallagher, J (2021-01-29). "Covid vaccine: Single dose Covid vaccine 66% effective". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ Sohn, R (2021-01-29). "J&J's Covid vaccine is 66% effective, a weapon but not a knockout punch". Stat. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ 39.0 39.1 "Media Statement from CDC Director Rochelle P. Walensky, MD, MPH, on Signing the Advisory Committee on Immunization Practices' Recommendation to Use Janssen's COVID-19 Vaccine in People 18 and Older" (Press release). U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2021-02-28. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01.
- ↑ 40.0 40.1 40.2 40.3 "COVID-19 Vaccine Janssen EPAR". European Medicines Agency (EMA). 2021-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ "EMA recommends COVID-19 Vaccine Janssen for authorisation in the EU" (Press release). European Medicines Agency (EMA). 2021-03-11. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ 42.0 42.1 "COVID-19 Vaccine Janssen". Union Register of medicinal products. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ 43.0 43.1 43.2 "Thailand approves Johnson & Johnson's COVID-19 vaccine". Reuters. 2021-03-25. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ 44.0 44.1 "วัคซีนโควิด: ผอ.สถาบันวัคซีนฯ มั่นใจฉีดได้ 50 ล้านคนภายในสิ้นปี รับที่ผ่านมาฉีดได้น้อย เพราะมีวัคซีนจำกัด". BBC News. 2021-05-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-25.
- ↑ 45.0 45.1 "วัคซีนแห่งชาติ เดิมพัน ประยุทธ์ ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย รุมชิงคะแนนเสียง". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-05-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-17.
- ↑ 46.0 46.1 มท0230-ว2892-ลว.19พ.ค.64 (PDF). กรมควบคุมโรค/ศบค.มท. คาดประมาณการจัดสรรวัคซีน..., p. 7-9. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28.
- ↑ "Russia's Sputnik V vaccine looks good in early analysis". Ars Technica. 2021-02-03.
- ↑ 48.0 48.1 48.2 48.3 FDA Briefing Document Janssen Ad26.COV2.S Vaccine for the Prevention of COVID-19 (PDF) (Report). U.S. Food and Drug Administration (FDA). บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "The tiny tweak behind COVID-19 vaccines". Chemical & Engineering News. 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01.
- ↑
Kramer, J (2020-12-31). "They spent 12 years solving a puzzle. It yielded the first COVID-19 vaccines". National Geographic.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Mercado, NB; Zahn, R; Wegmann, F; Loos, C; Chandrashekar, A; Yu, J; และคณะ (October 2020). "Single-shot Ad26 vaccine protects against SARS-CoV-2 in rhesus macaques". Nature. 586 (7830): 583–88. Bibcode:2020Natur.586..583M. doi:10.1038/s41586-020-2607-z. PMC 7581548. PMID 32731257. S2CID 220893461.
- ↑ 52.0 52.1 52.2 Chander, V (2021-02-04). "J&J files COVID-19 vaccine application with U.S. FDA". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
- ↑ 53.0 53.1 Johnson, CY; McGinley, L (2021-02-04). "Johnson & Johnson seeks emergency FDA authorization for single-shot coronavirus vaccine". The Washington Post.
- ↑ 54.0 54.1 Weintraub, K. "One-dose J&J COVID-19 vaccine meets criteria as safe and effective, FDA report finds". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ Mole, B (2021-01-29). "COVID variants throw J&J vaccine a curveball, lowering efficacy to 66%". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
- ↑ 56.0 56.1 56.2 56.3 56.4 56.5 56.6
"COVID-19 Vaccine Janssen". European Medicines Agency.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Information about the J&J/Janssen COVID-19 Vaccine". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 2021-04-07. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Vecchione, A (2020-03-13). "J&J collaborates to accelerate COVID-19 vaccine development". NJBIZ. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "Prisma Health collaborates with Ethicon Inc. to make, distribute VESper Ventilator Expansion Splitter Device". WSPA 7News. 2020-04-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "Coronavirus: Johnson & Johnson vows to make 'not-for-profit' vaccine". Sky News. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "A Beth Israel researcher helped create a COVID-19 vaccine that awaits approval. It could be a 'game changer'". The Boston Globe. 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
- ↑ Mitchell, Jacqueline; Meck, Chloe (2021-02-27). "FDA grants third COVID-19 vaccine, developed in part at BIDMC, emergency use authorization". Beth Israel Deaconess Medical Center (BIDMC). สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
- ↑ 63.0 63.1 E, Calvo Fernández; Zhu, LY (December 2020). "Racing to immunity: Journey to a COVID-19 vaccine and lessons for the future". British Journal of Clinical Pharmacology. n/a (n/a). doi:10.1111/bcp.14686. PMC 7753785. PMID 33289156.
- ↑ Coleman, J (2020-06-10). "Final testing stage for potential coronavirus vaccine set to begin in July". TheHill. สืบค้นเมื่อ 2020-06-11.
- ↑ "Moderna, AstraZeneca and J&J coronavirus shots rev up for NIH tests beginning in July: WSJ". FiercePharma. สืบค้นเมื่อ 2020-06-11.
- ↑ "Johnson & Johnson to start human testing of COVID-19 vaccine next week". FiercePharma. สืบค้นเมื่อ 2020-07-20.
- ↑ "A Study of Ad26.COV2.S in Adults (COVID-19)". ClinicalTrials.gov. สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
- ↑ Sadoff, J; M, Le Gars; Shukarev, G; Heerwegh, D; Truyers, C; de Groot, AM; และคณะ (2021-01-13). "Interim Results of a Phase 1-2a Trial of Ad26.COV2.S Covid-19 Vaccine". New England Journal of Medicine. doi:10.1056/NEJMoa2034201. PMC 7821985. PMID 33440088.
- ↑ "Johnson & Johnson COVID-19 Vaccine Candidate Interim Phase 1/2a Data Published in New England Journal of Medicine". Johnson & Johnson (Press release). สืบค้นเมื่อ 2021-01-16.
- ↑ "Fourth large-scale COVID-19 vaccine trial begins in the United States". National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ Hughes, V; Thomas, K; Zimmer, C; Wu, KJ (2020-10-12). "Johnson & Johnson halts coronavirus vaccine trial because of sick volunteer". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-10-12.
- ↑ "Johnson & Johnson Prepares to Resume Phase 3 ENSEMBLE Trial of its Janssen COVID-19 Vaccine Candidate in the U.S." Johnson & Johnson (Press release). 2020-10-23. สืบค้นเมื่อ 2020-10-28.
- ↑ Edwards, E; Miller, SG (2020-10-23). "AstraZeneca, Johnson & Johnson resume late-stage Covid-19 vaccine trials". NBC News. สืบค้นเมื่อ 2020-10-28.
- ↑ 74.0 74.1 74.2 "Johnson & Johnson Announces Single-Shot Janssen COVID-19 Vaccine Candidate Met Primary Endpoints in Interim Analysis of its Phase 3 ENSEMBLE Trial". Johnson & Johnson (Press release). สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
- ↑ "A Study of Ad26.COV2.S for the Prevention of SARS-CoV-2-mediated COVID-19 in Adults (ENSEMBLE 2)". ClinicalTrials.gov. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ Vecchione, A (2020-04-29). "Catalent to lead US manufacturing for J&J's lead COVID-19 vaccine candidate". NJBIZ. สืบค้นเมื่อ 2020-11-13.
- ↑ "J&J expands COVID-19 vaccine pact with Catalent for finishing work at Italian facility". FiercePharma. สืบค้นเมื่อ 2020-11-13.
- ↑ "HHS, DOD Collaborate With Johnson & Johnson to Produce Millions of COVID-19 Investigational Vaccine Doses". HHS.gov (Press release). 2020-08-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-12. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
- ↑ "Johnson & Johnson Announces Agreement with U.S. Government for 100 Million Doses of Investigational COVID-19 Vaccine". Johnson & Johnson (Press release). สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
- ↑ "Ramping Up COVID-19 Vaccine Fill and Finish Capacity". Contract Pharma. 2020-11-03.
- ↑ Faus, J; Allen, N (2020-12-15). "Spain's Reig Jofre to manufacture J&J's COVID-19 vaccine, shares soar". Reuters.
- ↑ 82.0 82.1 Guarascio, F (2021-01-13). "J&J COVID-19 vaccine could be available in Europe in April: source". Reuters.
- ↑ "EMA expected to approve Johnson & Johnson vaccine by March - CEO of Janssen Italy to paper". Reuters. 2021-02-10. สืบค้นเมื่อ 2021-02-13.
- ↑ "Spain's Reig Jofre to have capacity for 50 million COVID-19 vaccine doses a year". Reuters. 2020-11-12.
- ↑ "France's Sanofi to help Johnson & Johnson manufacture COVID-19 vaccine". Reuters. 2021-02-22. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ "Biden Administration Announces Historic Manufacturing Collaboration Between Merck and Johnson & Johnson to Expand Production of COVID-19 Vaccines". HHS (Press release). 2021-03-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
- ↑ LaFraniere, S; Weiland, N (2021-03-31). "Factory Mix-Up Ruins Up to 15 Million Vaccine Doses From Johnson & Johnson". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ Stolberg, Sheryl Gay (2021-04-03). "U.S. Taps Johnson & Johnson to Run Troubled Vaccine Plant". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
- ↑ "European Commission authorises fourth safe and effective vaccine against COVID-19". European Commission (Press release). 2021-03-11.
- ↑ "Johnson & Johnson Covid vaccine approved for use in Switzerland". SWI swissinfo.ch. Keystone-SDA/Reuters/sb. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ "Swissmedic regulator approves Johnson & Johnson COVID-19 vaccine". Reuters. 2021-03-22. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
- ↑ "Informació en relació amb la vacunació contra la COVID-19" (PDF) (ภาษาคาตาลัน). Govern d'Andorra. สืบค้นเมื่อ 2021-03-14.
- ↑ Barrington, Lisa (2021-02-25). "Bahrain first to approve Johnson & Johnson COVID-19 vaccine for emergency use". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ "Bahrain becomes 1st nation to grant J&J shot emergency use". ABC News. 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ "Brazil health regulator approves emergency use of Johnson & Johnson COVID-19 vaccine". Reuters. Rio de Janeiro. 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ "Johnson & Johnson COVID-19 vaccine becomes 4th to receive Health Canada approval". CBC News. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.
- ↑ Acosta, LJ (2021-03-25). "Colombia grants emergency use for J&J coronavirus vaccine". Reuters. Bogotá. สืบค้นเมื่อ 2021-03-25.
- ↑ "Covaxin, Janssen approved for emergency use in PH". CNN Philippines. 2021-04-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.
- ↑ "Public Health (Emergency Authorisation of COVID-19 Vaccine) Rules, 2021" (PDF). Government of Saint Vincent and the Grenadines. 2021-02-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-02-13. สืบค้นเมื่อ 2021-02-12.
- ↑ "Coronavirus: South Africa rolls out vaccination programme". BBC News. 2021-02-17. สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
- ↑ Lardieri, Alexa (2021-04-07). "South Korea Approves Johnson & Johnson Vaccine". U.S. News & World Report. สืบค้นเมื่อ 2021-04-08.
- ↑ "WHO approves J&J's COVID-19 vaccine for emergency listing". Channel News Asia. 2021-03-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
- ↑ "Johnson & Johnson Announces Initiation of Rolling Submission for its Single-dose Janssen COVID-19 Vaccine Candidate with the European Medicines Agency" (Press release). Johnson & Johnson. 2020-12-01.
- ↑ Johnson & Johnson Announces Submission of European Conditional Marketing Authorisation Application to the EMA for its Investigational Janssen COVID-19 Vaccine Candidate
- ↑ Muvija, M; Aripaka, P (2021-03-11). "Europe clears J&J's single-shot COVID-19 vaccine as roll-out falters". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ "EU regulator finds possible blood clot link with J&J vaccine, but says benefits outweigh risks". CNBC. 2021-04-20.
- ↑ "FDA Announces Advisory Committee Meeting to Discuss Janssen Biotech Inc.'s COVID-19 Vaccine Candidate" (Press release). U.S. Food and Drug Administration (FDA). 2021-02-04. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
- ↑ "Vaccines and Related Biological Products Advisory Committee February 26, 2021 Meeting Announcement". U.S. Food and Drug Administration (FDA). สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
- ↑ Janssen Biotech, Inc. COVID-19 Vaccine Ad26.COV2.S VRBPAC Briefing Document (PDF) (Report). Janssen Biotech.
- ↑ Janssen Biotech, Inc. COVID-19 Vaccine Ad26.COV2.S VRBPAC Briefing Document Addendum (PDF) (Report). Janssen Biotech.
- ↑ Christensen, J (2021-02-24). "FDA says Johnson & Johnson Covid-19 vaccine meets requirements for emergency use authorization". CNN.
- ↑ B, Lovelace Jr (2021-02-26). "FDA panel unanimously recommends third Covid vaccine as J&J wins key vote in path to emergency use".
- ↑ McGinley, L; Johnson, CY (2021-02-27). "FDA authorizes Johnson & Johnson's single-shot coronavirus vaccine, adding to the nation's arsenal against the pandemic". The Washington Post.
- ↑ Feuer, W (2021-02-28). "CDC panel recommends use of J&J's single-shot Covid vaccine, clearing way for distribution". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
- ↑ "Joint CDC and FDA Statement on Johnson & Johnson COVID-19 Vaccine" (Press release). U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑ Weiland, Noah; LaFraniere, Sharon; Zimmer, Carl (2021-04-13). "Johnson & Johnson Vaccinations Halt Across Country After Rare Clotting Cases Emerge". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑ Erman, Michael; Mishra, Manas (2021-04-13). "U.S. pauses use of J&J vaccine over rare blood clots, rollout delayed in Europe". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑ Howard, Jacqueline. "CDC and FDA recommend US pause use of Johnson & Johnson's Covid-19 vaccine over blood clot concerns". CNN. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑ 120.0 120.1 "FDA and CDC Lift Recommended Pause on Johnson & Johnson (Janssen) COVID-19 Vaccine Use Following Thorough Safety Review". U.S. Food and Drug Administration (FDA) (Press release). 2021-04-23. สืบค้นเมื่อ 2021-04-23. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "FDA and CDC Lift Recommended Pause on Johnson & Johnson (Janssen) COVID-19 Vaccine Use Following Thorough Safety Review" (Press release). U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2021-04-23. สืบค้นเมื่อ 2021-04-23. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Johnson & Johnson Announces Submission to World Health Organization for Emergency Use Listing of Investigational Single-Shot Janssen COVID-19 Vaccine Candidate". PR Newswire. 2021-02-19.
- ↑ Heeb, G. "Johnson & Johnson Applies For Emergency Use Vaccine Approval At W.H.O." Forbes. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ Haig, Terry (2021-02-01). "Novavax submits its vaccine for Health Canada approval". Radio Canada International.
- ↑ "Johnson & Johnson COVID-19 vaccine becomes 4th to receive Health Canada approval". CBC.
- ↑ Lowrey, Tom (2021-04-13). "Johnson & Johnson's one-dose COVID-19 vaccine won't be coming to Australia due to AstraZeneca similarities". ABC News.
- ↑ Karp, Paul (2021-04-12). "Australia won't buy Johnson & Johnson's one-dose Covid vaccine due to AstraZeneca similarities". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
- ↑ "วัคซีนโควิดจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ยื่นเอกสาร อย.ไทย". Hfocus. 2021-02-02.
- ↑ "Johnson & Johnson seeks Thai approval for COVID vaccine". Reuters. 2021-02-02.
- ↑ "อย.ขึ้นทะเบียนวัคซีน COVID-19 "จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน"". Thai PBS NEWS. 2021-03-25.
- ↑ Grady, D (2021-01-29). "Which Covid Vaccine Should You Get? Experts Cite the Effect Against Severe Disease". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-02-09.
- ↑ Brueck, H. "Moderna vaccine creator calls Johnson & Johnson's competing shot a 'darn good' tool to fight the pandemic". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 2021-02-09.
- ↑ Winning, A; Roelf, W (2021-02-09). "South Africa may sell AstraZeneca shots as it switches to J&J vaccine to fight variant". Yahoo!. Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
- ↑ Steinhauser, G (2021-02-17). "South Africa Rolls Out J&J Covid-19 Vaccine to Healthcare Workers". The Wall Street Journal.
- ↑ "Johnson & Johnson applies to WHO for emergency use listing of COVID-19 vaccine". Reuters. 2021-02-19. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
- ↑ "Some US bishops discourage Catholics from getting Johnson & Johnson vaccine if others are available". CNN. 2021-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-03-20.
- ↑ "You asked, we answered: Do the COVID-19 vaccines contain aborted fetal cells? | Nebraska Medicine Omaha, NE". www.nebraskamed.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-24.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Corum J, Zimmer C (18 December 2020). "How the Johnson & Johnson Vaccine Works". The New York Times.
- "The Story of One Dose". New York. 5 April 2021.
- "COVID-19 Vaccine Janssen Safety Updates". European Medicines Agency (EMA).
- Australian Public Assessment Report for Ad26.COV2.S (PDF) (Report). Therapeutic Goods Administration (TGA). June 2021.
- M.I.T. Lecture 12: Dan Barouch, Covid-19 Vaccine Development ที่ยูทูบ