วัคซีนไข้หวัดใหญ่
สมาชิกกองทัพเรือสหรัฐรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ | |
รายละเอียดวัคซีน | |
---|---|
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ | ไวรัสไข้หวัดใหญ่ |
ชนิด | เชื้อตาย, เชื้อลดฤทธิ์, สายผสม |
ข้อมูลทางคลินิก | |
ชื่อทางการค้า | Afluria, Fluarix, Fluzone, อื่น ๆ |
AHFS/Drugs.com | Inactivated: โมโนกราฟ Intranasal: โมโนกราฟ Recombinant: โมโนกราฟ |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, จมูก, ชั้นผิวหนัง |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ตัวบ่งชี้ | |
เลขทะเบียน CAS | |
ChemSpider |
|
KEGG | |
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี เป็นวัคซีนชนิดหนึ่งมีฤทธิ์สร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่[3] เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ได้ง่ายและบ่อย จึงมีการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ออกมาปีละ 2 ครั้ง[3] ผลของวัคซีนนี้แตกต่างกันไปในแต่ละปี แต่โดยรวมแล้วถือว่าป้องกันการติดไข้หวัดใหญ่ได้ผลดี[3][4] ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐประมาณการว่าการให้วัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถลดจำนวนผู้ป่วย จำนวนครั้งของการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และจำนวนผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ได้จริง[5][6] คนงานที่ได้รับวัคซีนเมื่อติดโรคไข้หวัดใหญ่แล้วสามารถกลับมาทำงานได้เร็วกว่าคนที่ไม่ได้รับวัคซีนประมาณครึ่งวันโดยเฉลี่ย[7] ข้อมูลเกี่ยวกับผลของวัคซีนในคนที่อายุมากกว่า 65 ปียังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด เนื่องจากยังขาดงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงมายืนยันผล[8][9] การให้วัคซีนกับเด็กอาจมีผลช่วยป้องกันโรคไปยังคนรอบข้างด้วย[3]
การสร้างภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่ด้วยวัคซีนเริ่มมีขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 และการให้วัคซีนเป็นวงกว้างในสหรัฐเริ่มมีขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1945[10][11] วัคซีนนี้มีชื่ออยู่ในรายการยาพื้นฐานขององค์การอนามัยโลก[12]
องค์การอนามัยโลก (WHO) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐ (CDC) แนะนำให้ทุกคนที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน โดยเน้นไปที่กลุ่มเสี่ยง[3][13][14][15] ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งยุโรป (ECDC) ก็แนะนำให้กลุ่มเสี่ยงได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี[16] กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ เด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ให้บริการในระบบบริการสุขภาพ[3][15]
วัคซีนนี้ถือว่าเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัย เด็กทีได้รับวัคซีนนี้จะมีไข้ประมาณ 5-10% และอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือรู้สึกไม่สบายตัวได้ชั่วคราว ในบางปีจะพบว่าวัคซีนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการกิลแลงบาร์เรในผู้สูงอายุในสัดส่วน 1 คน ต่อ 1 ล้านคนที่รับวัคซีน[3] แม้วัคซีนไข้หวัดใหญ่จำนวนมากจะยังใช้ไข่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตวัคซีน แต่ก็ไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์ไม่ให้ผู้ที่มีภูมิแพ้ไข่ได้รับวัคซีนนี้[17] แต่มีข้อห้ามทางการแพทย์ไม่ให้ผู้ที่เคยแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรงมาก่อนเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในปีต่อ ๆ ไป[3][17] วัคซีนแบ่งออกเป็นชนิดเชื้อเป็นและชนิดเชื้อตาย โดยชนิดเชื้อเป็นจะมีเชื้อไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ ไม่แนะนำให้ใช้กับหญิงตั้งครรภ์, เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี, ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 50 ปี, และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง[3] วิธีการให้วัคซีนจะแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของวัคซีน โดยมีทั้งการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การพ่นจมูก และการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (intradermal)[3] โดยวัคซีนชนิดฉีดเข้าชั้นผิวหนังไม่มีการผลิตออกมาใช้สำหรับรอบฤดูกาลการระบาดปี 2018-2019 และ 2019-2020[18][19][20]
การใช้ทางการแพทย์
[แก้]ประสิทธิผล
[แก้]2004 | 10% |
---|---|
2005 | 21% |
2006 | 52% |
2007 | 37% |
2008 | 41% |
2009 | 56% |
2010 | 60% |
2011 | 47% |
2012 | 49% |
2013 | 52% |
2014 | 19% |
2015 | 48% |
2016 | 40% |
2017 | 38% |
2018 | 29% |
2019 | 45% est |
โดยปกติแล้วการประเมินผลวัคซีนจะใช้ทั้งค่าประสิทธิศักย์ (efficacy) ซึ่งหมายถึงอัตราที่วัคซีนลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ในสภาพควบคุม เช่นที่เกิดขึ้นในการทดลองทางคลินิก และประสิทธิผล (effectiveness) ซึ่งหมายถึงอัตราที่วัคซีนลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเมื่อนำไปใช้จริง[24] ในกรณีของวัคซีนไข้หวัดใหญ่คาดได้ว่าประสิทธิผลของวัคซีนเมื่อนำไปใช้จริงจะมีค่าต่ำกว่าประสิทธิศักย์ที่ได้จากการทดลองเป็นพิเศษเนื่องจากข้อมูลการป่วยไข้หวัดใหญ่ที่นำมาคำนวณเป็นประสิทธิผลจะคิดจากจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะนับรวมผู้ป่วยบางรายที่ไม่ได้ป่วยจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เข้าไปด้วย[7]
การแนะนำ
[แก้]องค์การทางสาธารณสุขต่างๆ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก ได้แนะนำให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ และผู้ดูแลหรืออาศัยอยู่ใกล้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี ทุกปี ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ได้แก่
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง เช่น หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง ฯลฯ
- ผู้ป่วยโรคหัวใจเรื้อรัง เช่น หัวใจพิการแต่กำเนิด หัวใจวายเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด
- ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เช่น ไตวายเรื้อรัง กลุ่มอาการเนโฟรติก
- ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เคมีบำบัด ได้รับสเตียรอยด์ระยะยาว และผู้ที่ดูแลผู้ป่วยเหล่านี้
- ผู้ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากซึ่งไข้หวัดใหญ่อาจระบาดได้รวดเร็ว เช่น ในคุก สถานดูแล โรงเรียน หอพัก ค่ายทหาร
- ผู้ให้บริการทางสาธารณสุข เพื่อไม่ให้เจ็บป่วย และไม่ให้นำโรคไปติดผู้ป่วย
- หญิงตั้งครรภ์ (บทวิเคราะห์ พ.ศ. 2553 สรุปแล้วว่ายังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะแนะนำให้มีการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดรวม 3 เชื้อแก่หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกทุกคนเป็นพื้นฐาน)
- เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "AusPAR: Influenza Haemagglutinin Recombinant". Therapeutic Goods Administration (TGA). August 23, 2021. สืบค้นเมื่อ September 10, 2021.
- ↑ 2.0 2.1 "AusPAR: Inactivated quadrivalent influenza vaccine (split virion) influenza virus haemagglutinin". Therapeutic Goods Administration (TGA). December 2, 2020. สืบค้นเมื่อ September 10, 2021.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 World Health Organization (November 2012). "Vaccines against influenza WHO position paper". Weekly Epidemiological Record. 87 (47): 461–76. hdl:10665/241993. PMID 23210147.
- ↑ Manzoli L, Ioannidis JP, Flacco ME, De Vito C, Villari P (July 2012). "Effectiveness and harms of seasonal and pandemic influenza vaccines in children, adults and elderly: a critical review and re-analysis of 15 meta-analyses". Human Vaccines & Immunotherapeutics. 8 (7): 851–62. doi:10.4161/hv.19917. PMC 3495721. PMID 22777099.
- ↑ Rolfes MA, Foppa IM, Garg S, Flannery B, Brammer L, Singleton JA, และคณะ (December 9, 2016). "2015–2016 Estimated Influenza Illnesses, Medical visits, and Hospitalizations Averted by Vaccination in the United States". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2019. สืบค้นเมื่อ December 24, 2017. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Centers for Disease Control and Prevention (January 16, 2020). "Benefits of Flu Vaccination During 2018-2019 Flu Season". Centers for Disease Control and Prevention (CDC). สืบค้นเมื่อ April 10, 2020.
- ↑ 7.0 7.1 Demicheli V, Jefferson T, Ferroni E, Rivetti A, Di Pietrantonj C (February 2018). "Vaccines for preventing influenza in healthy adults". Cochrane Database of Systematic Reviews. 2020 (2): CD001269. doi:10.1002/14651858.CD001269.pub6. PMC 6491184. PMID 29388196.
- ↑ Osterholm MT, Kelley NS, Sommer A, Belongia EA (January 2012). "Efficacy and effectiveness of influenza vaccines: a systematic review and meta-analysis". The Lancet. Infectious Diseases. 12 (1): 36–44. doi:10.1016/S1473-3099(11)70295-X. PMID 22032844.
- ↑ Demicheli V, Jefferson T, Di Pietrantonj C, Ferroni E, Thorning S, Thomas RE, Rivetti A (February 2018). "Vaccines for preventing influenza in the elderly". Cochrane Database of Systematic Reviews. 2 (11): CD004876. doi:10.1002/14651858.CD004876.pub4. PMC 6491101. PMID 29388197.
- ↑ Compans RW (2009). Vaccines for pandemic influenza. Dordrecht: Springer. p. 49. ISBN 978-3540921653.
- ↑ Vaccine Analysis: Strategies, Principles, and Control. Springer. 2014. p. 61. ISBN 978-3662450246.
- ↑ World Health Organization (2019). World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019. Geneva: World Health Organization. hdl:10665/325771. WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.
- ↑ "Who Should and Who Should NOT get a Flu Vaccine". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). October 11, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2019. สืบค้นเมื่อ December 2, 2019. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ World Health Organization (October 2017). The immunological basis for immunization series: module 23: influenza vaccines. World Health Organization (WHO). hdl:10665/259211. ISBN 978-9241513050.
- ↑ 15.0 15.1 Grohskopf LA, Alyanak E, Ferdinands JM, Broder KR, Blanton LH, Talbot HK, และคณะ (August 2021). "Prevention and Control of Seasonal Influenza with Vaccines: Recommendations of the Advisory Committee on Immunization Practices, United States, 2021-22 Influenza Season" (PDF). MMWR Recomm Rep. 70 (5): 1–28. doi:10.15585/mmwr.rr7005a1. PMC 8407757. PMID 34448800. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Implementation of the Council Recommendation on seasonal influenza vaccination (2009/1019/EU)" (PDF). European Centre for Disease Prevention and Control. January 2014. สืบค้นเมื่อ April 10, 2020.
- ↑ 17.0 17.1 "Flu Vaccine and People with Egg Allergies". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). November 25, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2019. สืบค้นเมื่อ December 2, 2019. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Intradermal Influenza (Flu) Vaccination". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). October 31, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2019. สืบค้นเมื่อ October 14, 2019. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Influenza vaccines – United States, 2019–20 influenza season". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). August 22, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2019. สืบค้นเมื่อ October 14, 2019. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Influenza Virus Vaccine Inactivated". The American Society of Health-System Pharmacists. พฤศจิกายน 19, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 14, 2019. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 13, 2019.
- ↑ "Past Seasons Vaccine Effectiveness Estimates". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). January 29, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2020. สืบค้นเมื่อ March 4, 2019. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Doyle JD, Chung JR, Kim SS, Gaglani M, Raiyani C, Zimmerman RK, และคณะ (February 2019). "Interim Estimates of 2018-19 Seasonal Influenza Vaccine Effectiveness - United States, February 2019" (PDF). MMWR. Morbidity and Mortality Weekly Report. 68 (6): 135–39. doi:10.15585/mmwr.mm6806a2. PMC 6375657. PMID 30763298. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Dawood FS, Chung JR, Kim SS, Zimmerman RK, Nowalk MP, Jackson ML, และคณะ (February 2020). "Interim Estimates of 2019-20 Seasonal Influenza Vaccine Effectiveness - United States, February 2020" (PDF). Morbidity and Mortality Weekly Report (MMWR). 69 (7): 177–82. doi:10.15585/mmwr.mm6907a1. PMC 7043386. PMID 32078591. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Fedson DS (1998). "Measuring protection: efficacy versus effectiveness". Developments in Biological Standardization. 95: 195–201. PMID 9855432.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- World Health Organization (October 2017). The immunological basis for immunization series: module 23: influenza vaccines. World Health Organization (WHO). hdl:10665/259211. ISBN 978-9241513050.
- Ramsay M (บ.ก.). "Chapter 19: Influenza". Immunisation against infectious disease. Public Health England.
- Hamborsky J, Kroger A, Wolfe S, บ.ก. (2015). "Chapter 12: Influenza". Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases (13th ed.). Washington D.C.: U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). ISBN 978-0990449119.
- Budd A, Blanton L, Grohskopf L, Campbell A, Dugan V, Wentworth DE, และคณะ (March 29, 2019). "Chapter 6: Influenza". ใน Roush SW, Baldy LM, Hall MA (บ.ก.). Manual for the surveillance of vaccine-preventable diseases. Atlanta GA: U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC).
- National Advisory Committee on Immunization (May 2020). "Canadian Immunization Guide Chapter on Influenza and Statement on Seasonal Influenza Vaccine for 2020–2021" (PDF). Public Health Agency of Canada. Cat.: HP37-25F-PDF; Pub.: 200003.
- National Advisory Committee on Immunization (NACI) (May 2018). NACI literature review on the comparative effectiveness and immunogenicity of subunit and split virus inactivated influenza vaccines in adults 65 years of age and older (PDF). Government of Canada. ISBN 9780660264387. Cat.: HP40-213/2018E-PDF; Pub.: 180039.
- Rajaram S, Wojcik R, Moore C, Ortiz de Lejarazu R, de Lusignan S, Montomoli E, และคณะ (August 2020). "The impact of candidate influenza virus and egg-based manufacture on vaccine effectiveness: Literature review and expert consensus". Vaccine. 38 (38): 6047–6056. doi:10.1016/j.vaccine.2020.06.021. PMID 32600916.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Inactivated Influenza Vaccine Information Statement, US Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
- Live, Intranasal Influenza Vaccine Information Statement, US Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
- Seasonal Influenza (Flu) Vaccination and Preventable Disease, US Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
- Misconceptions about Seasonal Flu and Flu Vaccines, US Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
- "Influenza Vaccine". Drug Information Portal. U.S. National Library of Medicine.
- Influenza Vaccines ในหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน สำหรับหัวข้อเนื้อหาทางการแพทย์ (MeSH)