วัคซีนโรคบาดทะยัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัคซีนโรคบาดทะยัก
รายละเอียดวัคซีน
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้Tetanus
ชนิดToxoid
ข้อมูลทางคลินิก
MedlinePlusa682198
รหัส ATC
ตัวบ่งชี้
ChemSpider
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

วัคซีนโรคบาดทะยัก หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทอกซินเชื้อบาดทะยัก (ทีที) เป็นวัคซีนที่ใช้เพื่อป้องกันบาดทะยัก[1] ข้อแนะนำสำหรับการให้วัคซีนนี้คือในช่วงวัยเด็กจำนวนห้าเข็ม ตามด้วยหนึ่งเข็มทุกๆ สิบปี ผู้ที่ได้รับวัคซีนตั้งแต่สามเข็มขึ้นไปเกือบทุกคนจะมีภูมิคุ้มกันโรค[1] ทั้งนี้ควรต้องให้วัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนโรคบาดทะยักตามจำนวนที่กำหนดภายในเวลา 48 ชั่วโมงหลังจากได้รับบาดเจ็บ[2] ขอแนะนำการให้วัคซีนต้านพิษเชื้อบาดทะยักนี้แก่ผู้ที่มีความเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บสูงซึ่งไม่ได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนด้วยเช่นกัน ควรตรวจสอบเพื่อความแน่ใจว่าหญิงที่ตั้งครรภ์ได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันนี้ครบตามจำนวน การที่มารดามีภูมิคุ้มกันนั้นสามารถป้องกันโรคบาดทะยักในทารกแรกเกิดได้[1]

วัคซีนนี้เป็นวัคซีนที่ปลอดภัย รวมถึงการใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์และในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ การเกิดรอยแดงหรือความเจ็บปวดที่ตำแหน่งการฉีดวัคซีนพบได้ในคนจำนวน 25% ถึง 85% การมีไข้ ความรู้สึกเหนื่อยล้าและการปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย พบได้คนจำนวนต่ำกว่าหนึ่งเปอร์เซนต์ ภาวะปฏิกิริยาการแพ้รุนแรงพบได้ต่ำกว่าหนึ่งคนจากผู้ได้รับวัคซีนจำนวน 100,000 คน[1]

วัคซีนสูตรผสมที่มีวัคซีนโรคบาดทะยักรวมอยู่ด้วยนั้นมีหลายชนิด เช่น DTaP และ Tdap ซึ่งประกอบด้วย โรคคอตีบ, วัคซีนโรคบาดทะยักและวัคซีนโรคไอกรน และ DT และ Td ซึ่งประกอบด้วยโรคคอตีบและวัคซีนโรคบาดทะยัก วัคซีน DTaP และ DT ควรให้แก่เด็กที่อายุต่ำกว่าเจ็ดขวบและวัคซีน Tdap และ Td ควรให้แก่เด็กที่อายุตั้งแต่เจ็ดขวบขึ้นไป[3] ตัวอักษร d และ p ที่เป็นอักษรตัวพิมพ์เล็กนั้นหมายถึงวัคซีนโรคคอตีบและโรคไอกรนที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า[3]

การใช้วัคซีนโรคบาดทะยักในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นเมื่อราวปี 2483[1] การใช้วัคซีนนี้ส่งผลให้อัตราของโรคบาดทะยักลงลดถึง 95%[1] วัคซีนนี้มีชื่ออยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดในระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[4] นับตั้งแต่ปี 2557 ราคาขายส่งของวัคซีนนี้อยู่ที่ระหว่าง 0.17 ถึง 0.65 เหรียญสหรัฐฯ[5] ในประเทศสหรัฐอเมริการาคาของวัคซีนโรคบาดทะยักนี้อยู่ที่ระหว่าง 25 ถึง 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหนึ่งเข็ม[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Tetanus vaccine: WHO position paper" (PDF). Weekly epidemiological record. 20 (81): 197–208. May 19, 2006.
  2. "Puncture wounds: First aid". Mayo Clinic. Feb. 04, 2015. สืบค้นเมื่อ 6 December 2015. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. 3.0 3.1 "Vaccines: VPD-VAC/Tetanus/main page". Centers for Disease Control. สืบค้นเมื่อ February 10, 2015.
  4. "WHO Model List of EssentialMedicines" (PDF). World Health Organization. October 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  5. "Vaccine, Tetanus Toxoid". International Drug Price Indicator Guide. สืบค้นเมื่อ 6 December 2015.[ลิงก์เสีย]
  6. Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 317. ISBN 9781284057560.