วัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
![]() | |
รายละเอียดวัคซีน | |
---|---|
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ | SARS-CoV-2 |
ชนิด | อะดีโนไวรัสของมนุษย์ที่ดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นเวกเตอร์ |
ข้อมูลทางคลินิก | |
ชื่อทางการค้า | Janssen COVID-19 Vaccine[1][2], COVID-19 Vaccine Janssen[3] |
ชื่ออื่น | |
AHFS/Drugs.com | Multum Consumer Information |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ช่องทางการรับยา | ฉีดในกล้ามเนื้อ |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ตัวบ่งชี้ | |
DrugBank | |
UNII | |
![]() |
วัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (อังกฤษ: Johnson & Johnson COVID-19 vaccine) เป็นวัคซีนโควิด-19[14] ที่บริษัทแยนส์เซ็นวัคซีน (Janssen Vaccines) ในเมืองไลเดิน เนเธอร์แลนด์[15] และบริษัทแม่คือแยนส์เซ็นฟาร์มาซูทิคอลส์ (Janssen Pharmaceuticals) ในเบลเยียมเป็นผู้พัฒนาขึ้น[16] ทั้งสองเป็นบริษัทสาขาของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (ตัวย่อ J & J)[17][18]
วัคซีนนี้เป็นวัคซีนเวกเตอร์ไวรัสคือใช้ไวรัสเป็นตัวนำพา ไวรัสที่ใช้เป็นอะดีโนไวรัสประจำในมนุษย์ที่ได้ดัดแปลงพันธุกรรมให้มียีนเพื่อสร้างโปรตีนหนาม (spike protein) ของไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2)[3] ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะตอบสนองต่อโปรตีนหนามนี้โดยสร้างสารภูมิต้านทาน (antibodies)[19] วัคซีนต้องฉีดแค่เข็มเดียวและไม่จำเป็นต้องเก็บแช่แข็ง[20][21]
การทดลองทางคลินิกของวัคซีนนี้ได้เริ่มในเดือนมิถุนายน 2020 การทดลองระยะที่ 3 ของวัคซีนมีอาสาสมัครราว ๆ 43,000 คน[10] ในวันที่ 28 มกราคม 2021 แยนส์เซนประกาศผลการทดลองว่า เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 หลังฉีด วัคซีนโดสหนึ่งมีประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อันแสดงอาการที่อัตราร้อยละ 66, ป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงร้อยละ 85[22][23][24] และป้องกันการติดเชื้อที่ต้องเข้า รพ. หรือที่ถึงชีวิตได้เต็มร้อย[1]
องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉิน[11][25] สำนักงานการแพทย์ยุโรป (European Medicines Agency, EMA) ได้อนุมัติให้วางตลาดอย่างมีเงื่อนไข[9][26][27]
คณะกรรมการอาหารและยาไทย (อย.) ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้แล้ว[28] รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการจัดหาให้ได้วัคซีน 5-10 ล้านโดสในปี 2021 เพื่อให้ครบเป้าหมายในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชน 100 ล้านโดส[29][30] โดยกรมควบคุมโรคคาดว่าอาจจะได้จัดสรรเริ่มในเดือนกันยายน[31]
การแพทย์[แก้]
วัคซีนนี้ใช้ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2) เพื่อไม่ให้ติดโรคสำหรับผู้มีอายุ 18 ปีหรือยิ่งกว่า[1][9]
รายละเอียด[แก้]
วัคซีนนี้ใช้เทคโนโลยีคล้าย ๆ กับวัคซีนสปุตนิกวีและวัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตราเซเนกา[32] แต่เพราะเป็นวัคซีนอะดีโนไวรัสของมนุษย์ จึงทำให้วัคซีนนี้คล้ายกับสปุตนิกวียิ่งกว่า วัคซีนมีองค์ประกอบออกฤทธิ์เป็นอะดีโนไวรัสลูกผสม (recombinant) ที่ไม่สามารถถ่ายแบบยีนได้ (replication-incompetent) ชนิดที่ 26 (Ad26) ซึ่งสามารถแสดงออกโปรตีนหนาม (โปรตีนเอส) ของไวรัสโควิด-19 (severe acute respiratory syndrome coronavirus 2, SARS-CoV-2) โดยอยู่ในโครงรูปที่เสถียร (stabilized conformation)[4][33] โปรตีนหนามโครงสรูปเสถียรนี้ ซึ่งมีจุดกลายพันธุ์สองจุดที่กรดอะมิโนธรรมดาได้แทนที่ด้วย proline ได้พัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยที่ศูนย์วิจัยวัคซีนของสถาบันภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐ (National Institute of Allergy and Infectious Diseases, NIAID) โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน[34][35][36] วัคซีนมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ดังต่อไปนี้คือ citric acid monohydrate, trisodium citrate dihydrate, เอทานอล, 2-hydroxypropyl-β-cyclodextrin (HBCD) (hydroxypropyl betadex), polysorbate 80, โซเดียมคลอไรด์, โซดาไฟ และกรดไฮโดรคลอริก[1][33]
ลักษณะต่าง ๆ[แก้]
วัคซีนนี้ฉีดเพียงเข็มเดียว ไม่ต้องฉีดเข็มที่สอง ซึ่งไม่เหมือนกับวัคซีนโควิด-19 อื่น ๆ (เช่น วัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตราเซเนกา ของไฟเซอร์-ไบออนเทค หรือของโมเดอร์นา)[20][37]
ขวดวัคซีนที่ยังไม่เจาะใช้สามารถเก็บในอุณหภูมิระหว่าง 9-25 องศาเซลเซียสได้ 12 ชม.[20][33] และเก็บไว้ในตู้เย็นธรรมดาได้เป็นเดือน ๆ[38][39][40] วัคซีนไม่ต้องส่ง[20][37] หรือเก็บแช่แข็ง[20]
ผลที่ไม่พึงประสงค์[แก้]
ในการทดลอง ผลข้างเคียงของวัคซีนที่พบปกติจะมีอาการเบาจนถึงปานกลาง เกิดในสองวันหลังฉีดวัคซีน และดีขึ้นเองภายใน 1-2 วัน[12][41][42]
การไอ ปวดข้อ มีไข้ หนาวสะท้าน บวมแดงที่จุดฉีดเกิดกับคนน้อยกว่า 1 ใน 10[41] การจาม สั่น เจ็บคอ เป็นผื่น เหงื่ออก กล้ามเนื้ออ่อนแรง เจ็บปวดแขนหรือขา ปวดหลัง เพลีย และรู้สึกไม่สบายเกิดกับคนน้อยกว่า 1 ใน 100[41] ผลข้างเคียงที่มีน้อย (คือเกิดกับคนน้อยกว่า 1 ในพัน) ก็คือการแพ้และผื่นคัน[41] การเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด (thrombosis) พร้อมกับภาวะเกล็ดเลือดน้อยเกิดขึ้นกับคนน้อยกว่า 1 ในหมื่นใน 1-2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน[12][41] อาการแพ้รวมทั้งแอนาฟิแล็กซิสคือการแพ้รุนแรง เกิดขึ้นในกรณีน้อย (rare) ภายไม่กี่นาทีจนถึงหนึ่ง ชม. หลังได้วัคซีน[12][41] ควรฉีดวัคซีนในการดูแลของแพทย์พยาบาลที่สามารถช่วยเหลือได้ทันถ้าเกิดอาการรุนแรง[41]
การพัฒนา[แก้]
ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสันได้ลงทุนเกินกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 31,300 ล้านบาท) เพื่อพัฒนาวัคซีนโดยร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ของรัฐบาลกลางสหรัฐรวมท้งสำนักงานการวิจัยและพัฒนาชีวเวชภัณฑ์ชั้นสูง (Biomedical Advanced Research and Development Authority, BARDA) และกระทรวงสาธารณสุขและบริการประชาชนของสหรัฐอเมริกา (Department of Health and Human Services, HHS)[43][44] บริษัทตั้งใจจะดำเนินการพัฒนาวัคซีนอย่างไม่ได้หวังกำไรเพราะมองว่า เป็นวิธีที่เร็วและดีที่สุดเพื่อให้ได้ความร่วมมือในการผลิตวัคซีนได้เป็นจำนวนมาก ๆ[45]
แยนส์เซนวัคซีนได้ร่วมมือกับศูนย์การเแพทย์อิสราเอล (Beth Israel Deaconess Medical Center, BIDMC) เพื่อพัฒนาวัคซีนแคนดิเดนโดยใช้เทคโนโลยีเดียวกับที่สร้างวัคซีนอีโบลาของบริษัท[18][46][47]
การทดลองพรีคลินิกระบุว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันแฮมสเตอร์และลิงวอกจากเชื้อโควิด-19[48]
ระยะ 1-2[แก้]
ในเดือนมิถุนายน 2020 จอห์นสันแอนด์จอห์นสันกับสถาบันภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID) ได้ยืนยันว่ามีแผนทดลองทางคลินิกสำหรับวัคซีน Ad26.COV2.S โดยอาจเริ่มอย่างเร่งด่วนในปลายเดือนกรกฎาคม[49][50][51]
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 1-2a ได้เริ่มกับอาสาสมัครคนแรก ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2020 ในประเทศเบลเยียมและสหรัฐ[52] ผลงานศึกษาในระหว่างแสดงว่า วัคซีนปลอดภัย มีผลข้างเคียงไม่เกินปกติ และก่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน การฉีดวัคซีนครั้งเดียวทำให้อาสาสมัครเกินร้อยละ 90 เกิดสารภูมิต้านทานพอกำจัดไวรัสหลังจากได้วัคซีน 29 วัน โดยเพิ่มเป็นเต็มร้อยหลัง 57 วัน[53][54]
ระยะ 3[แก้]
การทดลองทางคลินิกระยะ 3 ที่ตั้งชื่อว่า ENSEMBLE ได้เริ่มรับอาสาสมัครเมื่อเดือนกันยายน 2020 และหยุดรับอาสาสามัครเมื่อเดือนธันวาคม 2020 เป็นงานศึกษาแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาหลอก อำพรางทั้งสองฝ่าย เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ ของวัคซีนโดสเดียวเทียบกับยาหลอกในผู้ใหญ่อายุ 18 ปีหรือยิ่งกว่า อาสาสมัครได้รับวัคซีนโดสเดียวที่มีอนุภาคไวรัส (virus particle) 5×1010 อนุภาคในวันแรกโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ[55] การทดลองได้หยุดชั่วคราวในวันที่ 12 ตุลาคม 2020 เพราะอาสาสมัครคนหนึ่งเกิดป่วย[56][48] แต่บริษัทระบุว่า ไม่พบหลักฐานใด ๆ ว่าวัคซีนเป็นเหตุให้ป่วยและประกาศในวันที่ 23 ตุลาคมว่าจะดำเนินการทดลองต่อ[57][58] ในวันที่ 29 มกราคม 2021 แยนส์เซนประกาศข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิศัยก์ที่ได้จากการวิเคราะห์การทดลองในระหว่าง ซึ่งแสดงว่าวัคซีนมีประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการปานกลางจนถึงรุนแรงหลังฉีดวัคซีน 28 วันที่อัตราร้อยละ 66 สำหรับอาสาสมัครทั้งหมด ผลได้จากการวิเคราะห์การติดโรคแบบแสดงอาการ 468 คนจากอาสาสมัครผู้ใหญ่รวม 43,783 คนในประเทศอาร์เจนตินา บราซิล ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก เปรู แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา กลุ่มที่ได้วัคซีนไม่มีใครเสียชีวิตเพราะโควิด แต่กลุ่มยาหลอกมีคนเสียชีวิตเนื่องกับโควิด 5 ราย[59] ในการทดลองนี้ ไม่พบอาการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง (แอนาฟิแล็กซิส)[59]
มีการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 อีกงานซึ่งตั้งชื่อว่า ENSEMBLE 2 และได้เริ่มรับสมัครอาสาสมัครในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2020 โดยต่างกับ ENSEMBLE งานแรกเพราะอาสาสมัครจะได้วัคซีน 2 โดส โดสแรกในวันแรกและโดสที่สองในวันที่ 57[60]
การผลิต[แก้]
ในเดือนเมษายน 2020 จอห์นสันแอนด์จอห์นสันเริ่มทำงานร่วมกับบริษัท Catalent เพื่อผลิตวัคซีนเป็นจำนวนมาก ๆ ที่โรงงานของ Catalent ที่รัฐอินดีแอนา[61] ในเดือนกรกฎาคม 2020 ก็ได้เพิ่มโรงงานของ Catalent อีกแห่งในอิตาลี[62]
ในเดือนกรกฎาคม 2020 จอห์นสันแอนด์จอห์นสันตกลงส่งวัคซีนให้สหรัฐ 100 ล้านโดส มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 31,300 ล้านบาท) โดยเป็นงบประมาณจากจากสำนักงานการวิจัยและการพัฒนาชีวเวชภัณฑ์ชั้นสูงสหรัฐ (BARDA) และกระทรวงสาธารณสุขและบริการประชาชนของสหรัฐอเมริกา (Department of Health and Human Services, HHS)[63][64]
ในเดือนกันยายน 2020 บริษัทตกลงให้บริษัทอเมริกัน Grand River Aseptic Manufacturing ผลิตวัคซีนและบรรจุขวดในโรงงานในรัฐมิชิแกนโดย J & J จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้[65]
ในเดือนธันวาคม 2020 บริษัทตกลงให้บริษัทสเปน Reig Jofre ผลิตวัคซีนที่โรงงานในเมืองบาร์เซโลนา[66] ถ้าสำนักงานการแพทย์ยุโรป (European Medicines Agency, EMA) ให้อนุมัติวัคซีนในเดือนมีนาคม 2021 เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรประบุว่า J & J อาจส่งวัคซีนให้ประเทศสหภาพยุโรปเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2021[67][68] เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 โรงงานจะผลิตวัคซีนโควิด-19 เป็นจำนวน 50 ล้านโดสต่อปี[69]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 J & J ตกลงให้บริษัทซาโนฟี่ผลิตวัคซีนในโรงงานที่ประเทศฝรั่งเศส โดยจะผลิตประมาณ 12 ล้านโดสต่อเดือนเมื่อได้อนุมัติ[70]
ในเดือนมีนาคม 2021 J & J ตกลงให้เมอร์คผลิตวัคซีนที่โรงงานสองแห่งในสหรัฐโดยทำตามกฎหมายการผลิตทางกลาโหมสหรัฐ (Defense Production Act)[71] ในเดือนเดียวกัน ความผิดพลาดของบุคลากรในโรงงานของ Emergent BioSolutions ในเมืองบอลทิมอร์ก็ทำให้วัคซีนของบริษัทเสียไปอาจถึง 15 ล้านโดส ซึ่งพบก่อนส่งวัคซีนออกจากโรงงาน แต่ก็ทำให้แผนการส่งวัคซีนในสหรัฐของบริษัทต้องล่าช้าลง[72] ความผิดพลาดเป็นการผสมองค์ประกอบวัคซีนของ J & J กับของแอสตราเซเนกาเข้าด้วยกัน ต่อมารัฐบาลกลางสหรัฐต่อมาจึงมอบโรงงานนี้ให้แก่ J & J เพื่อจัดการผลิตวัคซีนของบริษัทเท่านั้น และไม่ให้มีเหตุการณ์ผสมวัคซีนกันเช่นนี้อีก[73]
การให้อนุมัติ[แก้]
อนุมัติเป็นการฉุกเฉิน |
สหภาพยุโรป[แก้]
เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2020 คณะกรรมการเวชภัณฑ์สำหรับมนุษย์ (Committee for Medicinal Products for Human Use) ของสำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ได้เริ่มตรวจผลการทดลองทางคลินิกของวัคซีนนี้โดยทำอยู่เรื่อย ๆ เพื่อเร่งกระบวนการให้อนุมัติการวางตลาดของวัคซีน[67][89] ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2021 แยนส์เซนก็ได้ยื่นคำขออนุมัติการวางตลาดอย่างมีเงื่อนไข[3][90] ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปก็ได้อนุมัติ (โดยระบุชื่อวัคซีนว่า COVID-19 Vaccine Janssen) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2021[9][27] การส่งวัคซีนจะเริ่มในปลายเดือนเมษายน โดยบริษัทมีข้อผูกมัดว่าจะต้องส่ง 200 ล้านโดสให้แก่สหภาพยุโรปในปี 2021[91]
ต่อมาวันที่ 20 เมษายน การแจกจำหน่ายวัคซีนนี้ในยุโรปก็ถูกชะลอไปเล็กน้อยจนกระทั่งสำนักงานการแพทย์ยุโรปได้ตัดสินว่า การช่วยระงับเหตุการณ์ระบาดทั่วของวัคซีนมีประโยชน์ยิ่งกว่าปัญหาการเกิดลิ่มเลือดเนื่องจากวัคซีนที่มีน้อย[92]
สหรัฐ[แก้]
ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2021 แยนส์เซนได้ยื่นคำขออนุมัติการใช้วัคซีนเป็นการฉุกเฉินแก่องค์การอาหารและยาสหรัฐ โดยองค์การก็ประกาศว่า ผู้เชี่ยวชาญจะประชุมพิจารณาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์[38][37][93][94] และบริษัทก็ระบุว่า จะส่งวัคซีนทันทีที่ได้อนุมัติ[59] ต่อมาวันที่ 24 องค์การได้ตีพิมพ์เอกสารที่แนะนำให้อนุมัติ โดยสรุปว่า ผลของการทดลองทางคลินิกและข้อมูลด้านความปลอดภัยเข้าเกณฑ์ขององค์การและของสำนักงานการแพทย์ยุโรป[33][95][96][97] ในวันที่ 26 คณะผู้เชี่ยวชาญก็ได้แนะนำอย่างเป็นเอกฉันท์ให้อนุมัติวัคซีนเพื่อใช้เป็นการฉุกเฉิน[98] ซึ่งองค์การก็ให้อนุมัติในวันต่อมา[10][11][99] ต่อมาวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐจึงแนกนำให้ใช้วัคซีนกับคนผู้มีอายุ 18 ปีหรือยิ่งกว่า[100][25]
ในวันที่ 13 เมษายน 2021 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคและองค์การอาหารและยาร่วมกันแนะนำให้หยุดใช้วัคซีนชั่วคราว เพราะมีรายงานกรณี cerebral venous sinus thrombosis เป็นการเกิดลิ่มเลือดบวกกับการมีเกล็ดเลือดน้อยซึ่งมีน้อยแต่รุนแรงในหญิงที่ได้วัคซีนอายุระหว่าง 18-48 ปี[101] อาการเกิดใน 6-13 วันหลังได้วัคซีน โดยมีหญิงคนหนึ่งเสียชีวิตและอีกคนหนึ่งมีอาการหนักอยู่ใน รพ.[102][103][104]
ในวันที่ 23 เมษายน องค์กรทั้งสองก็ได้ตัดสินว่า ควรดำเนินฉีดวัคซีนนี้ต่อในสหรัฐ[105][106] โดยมีการระบุเพิ่มในใบอนุมัติให้ใช้วัคซีนว่า มีโอกาสเสี่ยงอาการเช่นนี้ โดยเรียกว่า thrombosis-thrombocytopenia syndrome (TTS)[105]
ที่อื่น ๆ[แก้]
ในเดือนธันวาคม 2020 บริษัทได้ตกลงกับองค์การกาวีเพื่อส่งวัคซีนให้โคแวกซ์ ต่อมาวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2021 บริษัทจึงได้ยื่นคำขอพร้อมข้อมูลอย่างเป็นทางการแก่องค์การอนามัยโลกเพื่อให้วัคซีนเป็นส่วนในรายการเวชภัณฑ์ที่ใช้ได้เป้นการฉุกเฉิน (Emergency Use Listing, EUL) โดย EUL เป็นเกณฑ์ที่ต้องผ่านก่อนจะส่งวัคซีนแก่โคแวกซ์ บริษัทคาดว่า จะส่งวัควีนให้แก่โคแวกซ์ทั้งหมด 500 ล้านโดสตลอดจนถึงปี 2022[39][107][108]
ในปลายเดือนพฤศจิกายน 2020 บริษัทยื่นคำขออนุมัติวัคซีนแก่กระทรวงสาธารณสุขแคนาดา[109] รัฐบาลกลางแคนาดาก็ได้ส่งวัคซีน 10 ล้านโดสโดยมีสิทธิเลือกซื้ออีก 28 ล้านโดส ในวันที่ 5 มีนาคม วัคซีนนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดที่ 4 ซึ่งอนุมัติให้ใช้ในแคนาดา[110]
ในเดือนเมษายน 2021 รัฐบาลกลางออสเตรเลียระบุว่า จะไม่ส่งซื้อวัคซีนนี้ เพราะ รัฐบาล "ไม่ตั้งใจจะซื้อวัคซีนอะดีโนไวรัสเพิ่มขึ้นในตอนนี้"[111][112]
ประเทศไทย[แก้]
ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2021 รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า จอห์นสันแอนด์จอห์นสันในประเทศไทยได้ยื่นเอกสารเพื่อขอขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 แล้วโดยการให้อนุมัติจะพิจารณาภายใน 30 วันหลังจากได้ยื่นเอกสารครบ[113][114] ต่อมาปลายเดือน รมว. กระทรวงสาธารณสุขจึงระบุว่า อย. ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้แล้ว โดยเป็นวัคซีนโควิด-19 ที่ 3 ซึ่งได้อนุมัติในประเทศไทยต่อจากซิโนแว็กและแอสตราเซเนกา[115][28]
รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการจัดหาให้ได้วัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 5-10 ล้านโดสในปี 2021 เพื่อให้ครบเป้าหมายในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชน 100 ล้านโดส[29][30] นี่เป็นวัคซีนนอกเหนือจากวัคซีนของแอสตราเซเนกาและของซิโนแวกที่ได้ฉีดให้แก่ประชาชนแล้ว บวกกับวัคซีนที่จะจัดหาเพิ่มอื่น ๆ รวมทั้งสปุตนิกวีและวัคซีนของไฟเซอร์ โดยกรมควบคุมโรคคาดว่าอาจจะได้จัดสรรเริ่มในเดือนกันยายน[31]
การใช้และผล[แก้]
เพราะวัคซีนนี้ต้องฉีดเพียงแค่โดสเดียวและมีราคาถูกกว่า จึงคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในประเทศที่มีรายได้น้อยจนถึงปานกลาง[116] เพราะไม่จำเป็นต้องแช่แข็งเหมือนกับวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์และโมเดิร์นา จึงสามารถขนส่ง เก็บ และบริหารได้ง่ายกว่า[117] แอฟริกาใต้ประกาศในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2021 ว่าจะขายวัคซีนของแอสตราเซเนกา แล้วเปลี่ยนมาใช้วัคซีนนี้แทน[118] แล้วก็เริ่มฉีดวัคซีนนี้แก่ประชาชนทั่วไปในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2021[119] เป็นการฉีดวัคซีนครั้งแรกนอกการทดลองทางคลินิก[120]
ปัญหาทางจริยธรรม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
องค์กรคริสตังในสหรัฐได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องการใช้เซลล์มนุษย์สายพันธุ์ Per.C6 ที่ดั้งเดิมได้มาจากทารกที่ถูกทำแท้งในปี 1985[121][122]
เชิงอรรถ[แก้]
- ↑ การอนุมัติของสหภาพยุโรปมีผลในประเทศสมาชิกทั้งหมดรวมทั้งออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย โครเอเชีย ไซปรัส เช็กเกีย เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน บวกกับไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และลิกเตนสไตน์[74]
- ↑ การอนุมัติของสหรัฐยังมีผลในประเทศต่าง ๆ ใน Compact of Free Association คือ ปาเลา สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ ไมโครนีเซีย
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Janssen COVID-19 Vaccine - ad26.cov2.s injection, suspension". DailyMed. U.S. National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Janssen COVID-19 Emergency Use Authorization (EUA) Official Website". Janssen. 2021-02-28. สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "EMA receives application for conditional marketing authorisation of COVID-19 Vaccine Janssen" (Press release). European Medicines Agency (EMA). 2021-02-16. สืบค้นเมื่อ 2021-02-16.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "A Randomized, Double-blind, Placebo-controlled Phase 3 Study to Assess the Efficacy and Safety of Ad26.COV2.S for the Prevention of SARS-CoV-2-mediated COVID-19 in Adults Aged 18 Years and Older ENSEMBLE Protocol VAC31518COV3001; Phase 3" (PDF). Janssen Vaccines & Prevention.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "A Randomized, Double-blind, Placebo-controlled Phase 3 Study to Assess the Efficacy and Safety of Ad26.COV2.S for the Prevention of SARS-CoV-2-mediated COVID-19 in Adults Aged 18 Years and Older ENSEMBLE 2 Protocol VAC31518COV3009; Phase 3" (PDF). Janssen Vaccines & Prevention.
- ↑ 6.0 6.1 "Johnson & Johnson Initiates Pivotal Global Phase 3 Clinical Trial of Janssen's COVID-19 Vaccine Candidate". Johnson & Johnson (Press release). สืบค้นเมื่อ 2020-09-23.
- ↑ "Janssen COVID-19 Vaccine monograph" (PDF). Janssen. 2021-03-05.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 "COVID-19 Vaccine Janssen EPAR". European Medicines Agency (EMA). 2021-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 "FDA Issues Emergency Use Authorization for Third COVID-19 Vaccine". U.S. Food and Drug Administration (FDA) (Press release). 2021-02-27. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3
"FDA Letter of Authorization" (PDF). 2021-02-27.
...letter is in response to a request from Janssen Biotech, Inc. that the Food and Drug Administration (FDA) issue an Emergency Use Authorization (EUA)...
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3
"Janssen COVID-19 Vaccine". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2021-04-07.
บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Janssen COVID-19 Vaccine (Johnson & Johnson) Standing Orders for Administering Vaccine to Persons 18 Years of Age and Older" (PDF). U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC).
- ↑ "A Study of Ad26.COV2.S for the Prevention of SARS-CoV-2-Mediated COVID-19 in Adult Participants (ENSEMBLE)". ClinicalTrials.gov. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ "Leiden developed Covid-19 vaccine submitted to EMA for approval". 2021-02-16.
- ↑ "Clinical trial COVID-19 vaccine candidate underway". Janssen Belgium. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
- ↑ "EMA recommends Johnson & Johnson Covid vaccine for approval; Developed in Leiden". NL Times.
- ↑ 18.0 18.1 Saltzman, J (2020-03-12). "Beth Israel is working with Johnson & Johnson on a coronavirus vaccine". The Boston Globe.
- ↑ Malcom, K (2021-03-08). "COVID Vaccines: Does it Matter Which One You Get?". Michigan Medicine. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 "Fact Sheet for Healthcare Providers Administering Vaccine and EUA" (PDF). Janssen. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑
"Johnson & Johnson's Janssen COVID-19 Vaccine Information". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2021-03-23. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Salzman, S (2021-01-29). "Johnson & Johnson single-shot vaccine 85% effective against severe COVID-19 disease". ABC News.
- ↑ Gallagher, J (2021-01-29). "Covid vaccine: Single dose Covid vaccine 66% effective". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ Sohn, R (2021-01-29). "J&J's Covid vaccine is 66% effective, a weapon but not a knockout punch". Stat. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ 25.0 25.1 "Media Statement from CDC Director Rochelle P. Walensky, MD, MPH, on Signing the Advisory Committee on Immunization Practices' Recommendation to Use Janssen's COVID-19 Vaccine in People 18 and Older" (Press release). U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2021-02-28. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01.
- ↑ "EMA recommends COVID-19 Vaccine Janssen for authorisation in the EU" (Press release). European Medicines Agency (EMA). 2021-03-11. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ 27.0 27.1 "COVID-19 Vaccine Janssen". Union Register of medicinal products. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 "Thailand approves Johnson & Johnson's COVID-19 vaccine". Reuters. 2021-03-25. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ 29.0 29.1 "วัคซีนโควิด: ผอ.สถาบันวัคซีนฯ มั่นใจฉีดได้ 50 ล้านคนภายในสิ้นปี รับที่ผ่านมาฉีดได้น้อย เพราะมีวัคซีนจำกัด". BBC News. 2021-05-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-25.
- ↑ 30.0 30.1 "วัคซีนแห่งชาติ เดิมพัน ประยุทธ์ ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย รุมชิงคะแนนเสียง". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-05-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-17.
- ↑ 31.0 31.1 มท0230-ว2892-ลว.19พ.ค.64 (PDF). กรมควบคุมโรค/ศบค.มท. คาดประมาณการจัดสรรวัคซีน..., p. 7-9. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28.
- ↑ "Russia's Sputnik V vaccine looks good in early analysis". Ars Technica. 2021-02-03.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 33.3
FDA Briefing Document Janssen Ad26.COV2.S Vaccine for the Prevention of COVID-19 (PDF) (Report). U.S. Food and Drug Administration (FDA). Lay summary.
{{cite report}}
: Cite ใช้พารามิเตอร์ที่เลิกใช้แล้ว|lay-url=
(help)บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "The tiny tweak behind COVID-19 vaccines". Chemical & Engineering News. 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01.
- ↑
Kramer, J (2020-12-31). "They spent 12 years solving a puzzle. It yielded the first COVID-19 vaccines". National Geographic.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Mercado, NB; Zahn, R; Wegmann, F; Loos, C; Chandrashekar, A; Yu, J; และคณะ (October 2020). "Single-shot Ad26 vaccine protects against SARS-CoV-2 in rhesus macaques". Nature. 586 (7830): 583–88. Bibcode:2020Natur.586..583M. doi:10.1038/s41586-020-2607-z. PMC 7581548. PMID 32731257. S2CID 220893461.
- ↑ 37.0 37.1 37.2 Chander, V (2021-02-04). "J&J files COVID-19 vaccine application with U.S. FDA". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
- ↑ 38.0 38.1 Johnson, CY; McGinley, L (2021-02-04). "Johnson & Johnson seeks emergency FDA authorization for single-shot coronavirus vaccine". The Washington Post.
- ↑ 39.0 39.1 Weintraub, K. "One-dose J&J COVID-19 vaccine meets criteria as safe and effective, FDA report finds". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ Mole, B (2021-01-29). "COVID variants throw J&J vaccine a curveball, lowering efficacy to 66%". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
- ↑ 41.0 41.1 41.2 41.3 41.4 41.5 41.6
"COVID-19 Vaccine Janssen". European Medicines Agency.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑
"Information about the J&J/Janssen COVID-19 Vaccine". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 2021-04-07.
บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Vecchione, A (2020-03-13). "J&J collaborates to accelerate COVID-19 vaccine development". NJBIZ. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "Prisma Health collaborates with Ethicon Inc. to make, distribute VESper Ventilator Expansion Splitter Device". WSPA 7News. 2020-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "Coronavirus: Johnson & Johnson vows to make 'not-for-profit' vaccine". Sky News. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "A Beth Israel researcher helped create a COVID-19 vaccine that awaits approval. It could be a 'game changer'". The Boston Globe. 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
- ↑ Mitchell, Jacqueline; Meck, Chloe (2021-02-27). "FDA grants third COVID-19 vaccine, developed in part at BIDMC, emergency use authorization". Beth Israel Deaconess Medical Center (BIDMC). สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
- ↑ 48.0 48.1 E, Calvo Fernández; Zhu, LY (December 2020). "Racing to immunity: Journey to a COVID-19 vaccine and lessons for the future". British Journal of Clinical Pharmacology. n/a (n/a). doi:10.1111/bcp.14686. PMC 7753785. PMID 33289156.
- ↑ Coleman, J (2020-06-10). "Final testing stage for potential coronavirus vaccine set to begin in July". TheHill. สืบค้นเมื่อ 2020-06-11.
- ↑ "Moderna, AstraZeneca and J&J coronavirus shots rev up for NIH tests beginning in July: WSJ". FiercePharma. สืบค้นเมื่อ 2020-06-11.
- ↑ "Johnson & Johnson to start human testing of COVID-19 vaccine next week". FiercePharma. สืบค้นเมื่อ 2020-07-20.
- ↑ "A Study of Ad26.COV2.S in Adults (COVID-19)". ClinicalTrials.gov. สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
- ↑ Sadoff, J; M, Le Gars; Shukarev, G; Heerwegh, D; Truyers, C; de Groot, AM; และคณะ (2021-01-13). "Interim Results of a Phase 1-2a Trial of Ad26.COV2.S Covid-19 Vaccine". New England Journal of Medicine. doi:10.1056/NEJMoa2034201. PMC 7821985. PMID 33440088.
- ↑ "Johnson & Johnson COVID-19 Vaccine Candidate Interim Phase 1/2a Data Published in New England Journal of Medicine". Johnson & Johnson (Press release). สืบค้นเมื่อ 2021-01-16.
- ↑ "Fourth large-scale COVID-19 vaccine trial begins in the United States". National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ Hughes, V; Thomas, K; Zimmer, C; Wu, KJ (2020-10-12). "Johnson & Johnson halts coronavirus vaccine trial because of sick volunteer". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-10-12.
- ↑ "Johnson & Johnson Prepares to Resume Phase 3 ENSEMBLE Trial of its Janssen COVID-19 Vaccine Candidate in the U.S." Johnson & Johnson (Press release). 2020-10-23. สืบค้นเมื่อ 2020-10-28.
- ↑ Edwards, E; Miller, SG (2020-10-23). "AstraZeneca, Johnson & Johnson resume late-stage Covid-19 vaccine trials". NBC News. สืบค้นเมื่อ 2020-10-28.
- ↑ 59.0 59.1 59.2 "Johnson & Johnson Announces Single-Shot Janssen COVID-19 Vaccine Candidate Met Primary Endpoints in Interim Analysis of its Phase 3 ENSEMBLE Trial". Johnson & Johnson (Press release). สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
- ↑ "A Study of Ad26.COV2.S for the Prevention of SARS-CoV-2-mediated COVID-19 in Adults (ENSEMBLE 2)". ClinicalTrials.gov. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ Vecchione, A (2020-04-29). "Catalent to lead US manufacturing for J&J's lead COVID-19 vaccine candidate". NJBIZ. สืบค้นเมื่อ 2020-11-13.
- ↑ "J&J expands COVID-19 vaccine pact with Catalent for finishing work at Italian facility". FiercePharma. สืบค้นเมื่อ 2020-11-13.
- ↑ "HHS, DOD Collaborate With Johnson & Johnson to Produce Millions of COVID-19 Investigational Vaccine Doses". HHS.gov (Press release). 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
- ↑ "Johnson & Johnson Announces Agreement with U.S. Government for 100 Million Doses of Investigational COVID-19 Vaccine". Johnson & Johnson (Press release). สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
- ↑ "Ramping Up COVID-19 Vaccine Fill and Finish Capacity". Contract Pharma. 2020-11-03.
- ↑ Faus, J; Allen, N (2020-12-15). "Spain's Reig Jofre to manufacture J&J's COVID-19 vaccine, shares soar". Reuters.
- ↑ 67.0 67.1 Guarascio, F (2021-01-13). "J&J COVID-19 vaccine could be available in Europe in April: source". Reuters.
- ↑ "EMA expected to approve Johnson & Johnson vaccine by March - CEO of Janssen Italy to paper". Reuters. 2021-02-10. สืบค้นเมื่อ 2021-02-13.
- ↑ "Spain's Reig Jofre to have capacity for 50 million COVID-19 vaccine doses a year". Reuters. 2020-11-12.
- ↑ "France's Sanofi to help Johnson & Johnson manufacture COVID-19 vaccine". Reuters. 2021-02-22. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ "Biden Administration Announces Historic Manufacturing Collaboration Between Merck and Johnson & Johnson to Expand Production of COVID-19 Vaccines". HHS (Press release). 2021-03-02. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
- ↑ LaFraniere, S; Weiland, N (2021-03-31). "Factory Mix-Up Ruins Up to 15 Million Vaccine Doses From Johnson & Johnson". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ Stolberg, Sheryl Gay (2021-04-03). "U.S. Taps Johnson & Johnson to Run Troubled Vaccine Plant". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
- ↑ "European Commission authorises fourth safe and effective vaccine against COVID-19". European Commission (Press release). 2021-03-11.
- ↑ "Johnson & Johnson Covid vaccine approved for use in Switzerland". SWI swissinfo.ch. Keystone-SDA/Reuters/sb. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ "Swissmedic regulator approves Johnson & Johnson COVID-19 vaccine". Reuters. 2021-03-22. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
- ↑ "Informació en relació amb la vacunació contra la COVID-19" (PDF) (ภาษาคาตาลัน). Govern d'Andorra. สืบค้นเมื่อ 2021-03-14.
- ↑ Barrington, Lisa (2021-02-25). "Bahrain first to approve Johnson & Johnson COVID-19 vaccine for emergency use". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ "Bahrain becomes 1st nation to grant J&J shot emergency use". ABC News. 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ "Brazil health regulator approves emergency use of Johnson & Johnson COVID-19 vaccine". Reuters. Rio de Janeiro. 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01.
- ↑ "Johnson & Johnson COVID-19 vaccine becomes 4th to receive Health Canada approval". CBC News. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.
- ↑ Acosta, LJ (2021-03-25). "Colombia grants emergency use for J&J coronavirus vaccine". Reuters. Bogotá. สืบค้นเมื่อ 2021-03-25.
- ↑ "Covaxin, Janssen approved for emergency use in PH". CNN Philippines. 2021-04-19.
- ↑ "Public Health (Emergency Authorisation of COVID-19 Vaccine) Rules, 2021" (PDF). Government of Saint Vincent and the Grenadines. 2021-02-11. สืบค้นเมื่อ 2021-02-12.
- ↑ "Coronavirus: South Africa rolls out vaccination programme". BBC News. 2021-02-17. สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
- ↑ Lardieri, Alexa (2021-04-07). "South Korea Approves Johnson & Johnson Vaccine". U.S. News & World Report. สืบค้นเมื่อ 2021-04-08.
- ↑ "WHO approves J&J's COVID-19 vaccine for emergency listing". Channel News Asia. 2021-03-13. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
- ↑ "Johnson & Johnson Announces Initiation of Rolling Submission for its Single-dose Janssen COVID-19 Vaccine Candidate with the European Medicines Agency" (Press release). Johnson & Johnson. 2020-12-01.
- ↑ Johnson & Johnson Announces Submission of European Conditional Marketing Authorisation Application to the EMA for its Investigational Janssen COVID-19 Vaccine Candidate
- ↑ Muvija, M; Aripaka, P (2021-03-11). "Europe clears J&J's single-shot COVID-19 vaccine as roll-out falters". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-03-16.
- ↑ "EU regulator finds possible blood clot link with J&J vaccine, but says benefits outweigh risks". CNBC. 2021-04-20.
- ↑ "FDA Announces Advisory Committee Meeting to Discuss Janssen Biotech Inc.'s COVID-19 Vaccine Candidate" (Press release). U.S. Food and Drug Administration (FDA). 2021-02-04. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
- ↑ "Vaccines and Related Biological Products Advisory Committee February 26, 2021 Meeting Announcement". U.S. Food and Drug Administration (FDA). สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
- ↑ Janssen Biotech, Inc. COVID-19 Vaccine Ad26.COV2.S VRBPAC Briefing Document (PDF) (Report). Janssen Biotech.
- ↑ Janssen Biotech, Inc. COVID-19 Vaccine Ad26.COV2.S VRBPAC Briefing Document Addendum (PDF) (Report). Janssen Biotech.
- ↑ Christensen, J (2021-02-24). "FDA says Johnson & Johnson Covid-19 vaccine meets requirements for emergency use authorization". CNN.
- ↑ B, Lovelace Jr (2021-02-26). "FDA panel unanimously recommends third Covid vaccine as J&J wins key vote in path to emergency use".
- ↑ McGinley, L; Johnson, CY (2021-02-27). "FDA authorizes Johnson & Johnson's single-shot coronavirus vaccine, adding to the nation's arsenal against the pandemic". The Washington Post.
- ↑ Feuer, W (2021-02-28). "CDC panel recommends use of J&J's single-shot Covid vaccine, clearing way for distribution". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2021-02-28.
- ↑ "Joint CDC and FDA Statement on Johnson & Johnson COVID-19 Vaccine" (Press release). U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑ Weiland, Noah; LaFraniere, Sharon; Zimmer, Carl (2021-04-13). "Johnson & Johnson Vaccinations Halt Across Country After Rare Clotting Cases Emerge". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑ Erman, Michael; Mishra, Manas (2021-04-13). "U.S. pauses use of J&J vaccine over rare blood clots, rollout delayed in Europe". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑ Howard, Jacqueline. "CDC and FDA recommend US pause use of Johnson & Johnson's Covid-19 vaccine over blood clot concerns". CNN. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑ 105.0 105.1
"FDA and CDC Lift Recommended Pause on Johnson & Johnson (Janssen) COVID-19 Vaccine Use Following Thorough Safety Review". U.S. Food and Drug Administration (FDA) (Press release). 2021-04-23. สืบค้นเมื่อ 2021-04-23.
บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑
"FDA and CDC Lift Recommended Pause on Johnson & Johnson (Janssen) COVID-19 Vaccine Use Following Thorough Safety Review" (Press release). U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2021-04-23. สืบค้นเมื่อ 2021-04-23.
บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Johnson & Johnson Announces Submission to World Health Organization for Emergency Use Listing of Investigational Single-Shot Janssen COVID-19 Vaccine Candidate". PR Newswire. 2021-02-19.
- ↑ Heeb, G. "Johnson & Johnson Applies For Emergency Use Vaccine Approval At W.H.O." Forbes. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ Haig, Terry (2021-02-01). "Novavax submits its vaccine for Health Canada approval". Radio Canada International.
- ↑ "Johnson & Johnson COVID-19 vaccine becomes 4th to receive Health Canada approval". CBC.
- ↑ Lowrey, Tom (2021-04-13). "Johnson & Johnson's one-dose COVID-19 vaccine won't be coming to Australia due to AstraZeneca similarities". ABC News.
- ↑ Karp, Paul (2021-04-12). "Australia won't buy Johnson & Johnson's one-dose Covid vaccine due to AstraZeneca similarities". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2021-04-12.
- ↑ "วัคซีนโควิดจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ยื่นเอกสาร อย.ไทย". Hfocus. 2021-02-02.
- ↑ "Johnson & Johnson seeks Thai approval for COVID vaccine". Reuters. 2021-02-02.
- ↑ "อย.ขึ้นทะเบียนวัคซีน COVID-19 "จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน"". Thai PBS NEWS. 2021-03-25.
- ↑ Grady, D (2021-01-29). "Which Covid Vaccine Should You Get? Experts Cite the Effect Against Severe Disease". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2021-02-09.
- ↑ Brueck, H. "Moderna vaccine creator calls Johnson & Johnson's competing shot a 'darn good' tool to fight the pandemic". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 2021-02-09.
- ↑ Winning, A; Roelf, W (2021-02-09). "South Africa may sell AstraZeneca shots as it switches to J&J vaccine to fight variant". Yahoo!. Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
- ↑ Steinhauser, G (2021-02-17). "South Africa Rolls Out J&J Covid-19 Vaccine to Healthcare Workers". The Wall Street Journal.
- ↑ "Johnson & Johnson applies to WHO for emergency use listing of COVID-19 vaccine". Reuters. 2021-02-19. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
- ↑ "Some US bishops discourage Catholics from getting Johnson & Johnson vaccine if others are available". CNN. 2021-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-03-20.
- ↑ "You asked, we answered: Do the COVID-19 vaccines contain aborted fetal cells? | Nebraska Medicine Omaha, NE". www.nebraskamed.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-24.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
Scholia has a profile for วัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Q98655215). |
- "How the Johnson & Johnson Covid-19 Vaccine Works". The New York Times.
- "Janssen COVID-19 Vaccine (Johnson & Johnson)". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC).
- "The Story of One Dose". New York. 2021-04-05.