เกล็ดเลือดน้อย
เกล็ดเลือดน้อย (Thrombocytopenia) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Thrombocytopaenia, thrombopenia |
เสมียร์เลือดของผู้ป่วยเกล็ดเลือดต่ำ ในภาพแทบจะไม่มีเกล็ดเลือดอยู่เลย | |
สาขาวิชา | Hematology |
สาเหตุ | Bone marrow not making enough, body destroying platelets, spleen holding too many platelets[1] |
วิธีวินิจฉัย | Complete blood count[1] |
การรักษา | None, immunosuppressants, platelet transfusion, surgical removal of the spleen[1] |
ภาวะเกล็ดเลือดน้อย[2] หรือเกล็ดเลือดต่ำ[3] (อังกฤษ: thrombocytopenia, thrombopenia) เป็นภาวะซึ่งในเลือดมีเกล็ดเลือดน้อยกว่าปกติ
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ[4] ก็ต่อเมื่อจำนวนเกล็ดเลือดน้อยกว่า 150,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร และถ้าต่ำกว่า 20,000 มีโอกาสเลือดออกได้เองโดยไม่ต้องมีบาดแผล คนปกติจะมีเกล็ดเลือดประมาณ 150,000-450,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ทำให้เลือดออกผิดปกติ หยุดยาก ผู้ป่วยบางรายไม่แสดงอาการใด แต่บางรายมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำมาก ต้องได้รับการรักษาทันที อาจเกิดเลือดออกจนเสียชีวิตได้
อาการและอาการแสดง
[แก้]ระดับเกล็ดเลือดที่น้อยลงเพียงอย่างเดียวนั้นส่วนใหญ่ไม่ทำให้มีอาการใดๆ โดยอาจตรวจพบจากการตรวจนับเม็ดเลือดซึ่งทำเพื่อการตรวจสุขภาพหรือตรวจเพื่อหาโรคจากสาเหตุอื่น บางครั้งอาจมีรอยฟกช้ำ จุดเลือดออก หรือมีอาการเลือดออกอื่นๆ เช่น เลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น เมื่อเกล็ดเลือดต่ำถึงระดับหนึ่ง จะมีอาการเลือดออก มักเกิดที่ผิวหนังเป็นจุดเลือดออกแดงๆ จ้ำๆ คล้ายยุงกัด กดแล้วไม่จางหายไป ให้เราสังเกตจ้ำเลือดตามจุดต่างๆ ของร่างกาย [5]
หากมีบาดแผลเลือดออก จะมีเลือดออกมากและนาน หยุดยากกว่าปกติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Thrombocytopenia". National Heart, Lung, and Blood Institute (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 January 2018.
- ↑ "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2012-05-07.
- ↑ บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย (อังกฤษ-ไทย) ฉบับปี 2009. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552.
- ↑ รู้จัก อาการและสาเหตุ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
- ↑ "ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (ITP)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-13. สืบค้นเมื่อ 2016-10-09.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |