ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี"

พิกัด: 09°07′57″N 99°08′08″E / 9.13250°N 99.13556°E / 9.13250; 99.13556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bebiezaza (คุย | ส่วนร่วม)
Somsak Ung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
|}}
|}}


'''ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี''' {{รหัสสนามบิน|URT|VTSB}} ตั้งอยู่ในตำบลหัวเตย [[อำเภอพุนพิน]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 26 กิโลเมตร โดยใช้พื้นที่ร่วมกับ[[กองทัพอากาศไทย|กองทัพอากาศ]] (กองบิน 7 สุราษฎร์ธานี) ซึ่งเป็นท่าอากาศยานในสังกัด[[กรมท่าอากาศยาน]] [[กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)|กระทรวงคมนาคม]]<ref name=doaas>{{cite web|url=https://minisite.airports.go.th/|title=รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน|work=[[กรมท่าอากาศยาน]]|accessdate=22 พฤษภาคม 2563}}</ref> และได้ประกาศท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534<ref name=customs>{{cite web|url=https://www.airports.go.th/th/profile/331.html|title=รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากร|work=[[กรมท่าอากาศยาน]]|accessdate=22 พฤษภาคม 2563}}</ref>
'''ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี''' {{รหัสสนามบิน|URT|VTSB}} ตั้งอยู่ในตำบลหัวเตย [[อำเภอพุนพิน]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] ห่างจาก[[อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี|บ้านดอน]]ประมาณ 26 กิโลเมตร โดยใช้พื้นที่ร่วมกับ[[กองทัพอากาศไทย|กองทัพอากาศ]] (กองบิน 7 สุราษฎร์ธานี) ซึ่งเป็นท่าอากาศยานในสังกัด[[กรมท่าอากาศยาน]] [[กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)|กระทรวงคมนาคม]]<ref name=doaas>{{cite web|url=https://minisite.airports.go.th/|title=รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน|work=[[กรมท่าอากาศยาน]]|accessdate=22 พฤษภาคม 2563}}</ref> และได้ประกาศท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534<ref name=customs>{{cite web|url=https://www.airports.go.th/th/profile/331.html|title=รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากร|work=[[กรมท่าอากาศยาน]]|accessdate=22 พฤษภาคม 2563}}</ref>


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:11, 7 กรกฎาคม 2564

ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี
อาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ / ทหาร
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สถานที่ตั้งเลขที่ 73 หมู่ที่ 3 ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล6.1 เมตร / 20 ฟุต
พิกัด09°07′57″N 99°08′08″E / 9.13250°N 99.13556°E / 9.13250; 99.13556
เว็บไซต์minisite.airports.go.th/suratthani/
แผนที่
URTตั้งอยู่ในประเทศไทย
URT
URT
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในประเทศไทย
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
04/22 3,000 9,843 ยางมะตอย
สถิติ (2562)
ผู้โดยสาร1,864,997
เที่ยวบิน12,340
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี (IATA: URTICAO: VTSB) ตั้งอยู่ในตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากบ้านดอนประมาณ 26 กิโลเมตร โดยใช้พื้นที่ร่วมกับกองทัพอากาศ (กองบิน 7 สุราษฎร์ธานี) ซึ่งเป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] และได้ประกาศท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534[2]

ประวัติ

ท่าอากาศยานเดิมที่บ้านดอนนก

ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่บ้านดอนนก ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีระยะทางห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร โดยมีกรมการขนส่ง เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยมีทางวิ่งขนาดกว้าง 60 เมตร ยาว 800 เมตร ผิวพื้นลูกรัง ต่อมากองทัพอากาศได้ขอปรับปรุงท่าอากาศยานแห่งนี้เพื่อใช้ในกิจการกองทัพอากาศด้วย โดยปรับปรุงเป็นขนาด 60 X 1,000 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้เพียงเครื่องบินเล็ก แบบดักลาส ดีซี-3

ในปี พ.ศ. 2514 กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) ได้พิจารณาเห็นว่าเมื่อบริษัท เดินอากาศไทย จำกัดได้เปลี่ยนเครื่องบินเป็นแบบ แอฟโร่ 748 จึงควรที่จะได้ปรับปรุงท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีให้สามารถรับเครื่องบินแบบนี้ได้ เพื่อจะได้เปิดบริการการขนส่งทางอากาศในจังหวัดต่อไป

หลังจากนั้น กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน) ได้ว่าจ้าง บริษัท วิศวกรไทย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา ทำการสำรวจศึกษาและพิจารณาเลือกบริเวณจุดที่ตั้งท่าอากาศยานใหม่ที่เหมาะสม เนื่องจากท่าอากาศยานเดิมอยู่ในเขตชุมชนกลางเมือง รวมทั้งการออกแบบเพื่อการก่อสร้างท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี หากสามารถทำได้ท่าอากาศยานที่จะก่อสร้างใหม่ควรจะอยู่ในจุดที่ตั้งที่สามารถจะให้บริการแก่ประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราชได้โดยสะดวกทั้งสองจังหวัด และให้สามารถรองรับเครื่องบินไอพ่นขนาดกลาง ซึ่งบริษัท เดินอากาศไทย จำกัดมีแผนที่จะนำมาใช้ด้วย

จากผลการสำรวจศึกษาของบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา ได้พิจารณาเลือกบริเวณจุดที่ตั้งท่าอากาศยานทั้งหมดรวม 6 แห่ง ปรากฏว่ามีเพียง 3 แห่ง ที่สมควรจะเลือกเป็นที่ก่อสร้างท่าอากาศยาน ส่วนบริเวณเขตติดต่อระหว่าง 2 จังหวัดไม่มีที่เหมาะสมจะใช้เป็นที่ก่อสร้างท่าอากาศยานได้ ในจำนวนนี้ 2 แห่ง อยู่ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีและอีกแห่งหนึ่งอยู่ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ

  1. บริเวณบ้านดอนนก (ท่าอากาศยานของกรมการขนส่งเดิม)
  2. บริเวณบ้านม่วงเรียง ตำบลหัวเตย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นท่าอากาศยานเดิม และกองทัพอากาศ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่แล้ว
  3. บริเวณบ้านชะเอียน เป็นท่าอากาศยานของกองทัพบกจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันใช้ได้กับเครื่องบินขนาดเล็กในราชการของกองทัพบก

จากการเปรียบเทียบข้อได้เปรียบเสียเปรียบจุดต่างๆ สำหรับเลือกเป็นที่ก่อสร้างท่าอากาศยาน โดยได้พิจารณาถึงในด้านวิศวกรรมการก่อสร้างท่าอากาศยาน ด้านเศรษฐกิจและสภาวะแวดล้อมแล้ว เห็นว่าบริเวณที่จะใช้เป็นที่ก่อสร้างท่าอากาศยานพาณิชย์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ บริเวณบ้านม่วงเรียง ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน เป็นที่เหมาะสมที่สุด กล่าวคือ เป็นท่าอากาศยานเดิมของกองทัพอากาศ ซึ่งสร้างไว้เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองและได้เลิกใช้ไป มีเนื้อที่ประมาณ 3,026 ไร่ จะต้องจัดหาที่เพิ่มเติมอีกไม่มากนัก ราคาที่ดินก็ไม่สูงเกินไป บริเวณโดยรอบไม่มีสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคต่อการขึ้นลงของเครื่องบินและการติดตั้งเครื่องช่วยในการเดินอากาศ สภาพพื้นดินเหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ก่อสร้างท่าอากาศยาน และลงทุนต่ำกว่าแห่งอื่นๆ นอกจากนั้น ยังสามารถจะขยายท่าอากาศยานนี้ออกไปในอนาคตได้ง่าย[3]

ท่าอากาศยานในพื้นที่ปัจจุบัน

กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) จึงได้เห็นชอบในการเลือกจุดที่ตั้งท่าอากาศยานที่ ตำบลหัวเตย และให้บริษัทที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดสำหรับการก่อสร้าง พร้อมทั้งได้เสนอโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีนี้ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 3 (พ.ศ. 2515 - 2519) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาและเห็นว่า ควรจะศึกษาความเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจและความต้องการใช้ท่าอากาศยานของจังหวัดนี้และจังหวัดใกล้เคียงให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2516 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ระงับโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีไว้ก่อน โดยนำงบประมาณตามโครงการนี้ไปดำเนินการที่ท่าอากาศยานภูเก็ตแทน

ในปี พ.ศ. 2518 ราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ร้องขอให้รัฐบาลพิจารณาปรับปรุงท่าอากาศยานเพื่อเปิดการบินพาณิชย์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยด่วน กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน) จึงได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ เห็นว่าควรจะก่อสร้างท่าอากาศยานสำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้น เพื่อให้บริการประชาชนและใช้เป็นท่าอากาศยานสำรองของท่าอากาศยานหาดใหญ่และภูเก็ต สำหรับเครื่องบินสายภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดด้วย ทั้งจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากจังหวัดมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ผลผลิตต่างๆ ของจังหวัดมีมาก ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเกษตร การประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ ฯลฯ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ด้านการคมนาคมมีประชาชนทั้งในประเทศและชาวต่างประเทศเริ่มเดินทางไปทัศนาจรที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมก็มีความประสงค์ที่จะปรับปรุงสนามบินม่วงเรียง ที่ตำบลหัวเตย เพื่อใช้เป็นที่ตั้ง กองบินในภาคใต้ ของกองทัพอากาศ กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน)จึงเห็นว่าหากก่อสร้างท่าอากาศยานที่สามารถใช้ร่วมกันระหว่างกิจการบินพาณิชย์และกิจการทหารด้วยแล้ว ก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณได้มาก ดังนั้นจึงได้ตกลงเลือกสถานที่ก่อสร้างท่าอากาศยานของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน ซึ่งมีระยะทางห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 26 กิโลเมตร

กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน) ได้ปรับปรุงแก้ไขแบบก่อสร้าง ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาได้จัดทำไว้เดิมให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน และได้เสนอโครงการนี้ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 4 (พ.ศ. 2520 -2524) ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี ให้กรมการบินพานิชย์ (กรมท่าอากาศยาน) ดำเนินการในเดือนกรกฎาคม 2521 โดยเป็นการก่อสร้างทางวิ่งขนาดกว้าง 45 เมตร และยาว 2,500 เมตร พร้อมอาคารผู้โดยสารและหอบังคับการบิน

ต่อมาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี ได้เปิดทำการและเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2524 ระยะแรกเปิดทำการบินเส้นทางระหว่าง กรุงเทพฯ – สุราษฎร์ธานี – หาดใหญ่ - สุราษฎร์ธานี – กรุงเทพฯ และเส้นทาง กรุงเทพฯ – สุราษฎร์ธานี – ภูเก็ต – สุราษฎร์ธานี – กรุงเทพฯ สัปดาห์ละ 4 วัน ด้วยเครื่องบินแบบ แอฟโร่ 748 และ โบอิง 737 ต่อมาได้มีการเพิ่มเที่ยวบินที่มีความจุมากขึ้น ตามจำนวนผู้โดยสารและสินค้า ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตโดยเฉลี่ยประมาณ 8% ต่อปี

ต่อมากรมท่าอากาศยานได้ประกาศให้ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีเป็นท่าอากาศยานศุลกากรตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534[2] และระหว่างปี พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2539 มีเที่ยวบินเช่าเหมาจากประเทศเยอรมัน สิงคโปร์ จีน และเกาหลี นำนักท่องเที่ยวมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผลให้ธุรกิจท่องเที่ยวของจังหวัดคึกคักมากขึ้น อย่างไม่เคยมีมาก่อน จนในปี พ.ศ. 2539 กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน) ได้ต่อเติมความยาวทางวิ่งเพิ่มอีก 500 เมตร พร้อมเสริมผิวทางวิ่ง ทางขับขยายลานจอดอากาศยาน ติดตั้งเครื่องช่วยการเดินอากาศและระบบไฟฟ้าสนามบินเพิ่มเติม ทำให้มีความยาวทางวิ่งรวม 3,000 เมตร สามารถรองรับอากาศยานพานิชย์แบบเครื่องยนต์ไอพ่นขนาดกลางซึ่งมีความจุประมาณ 300 ที่นั่งได้ รวมทั้งสามารถให้บริการอากาศยานทางทหารได้อย่างปลอดภัย[3]

ในปี พ.ศ. 2564 กรมท่าอากาศยานมีแผนพัฒนาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี ที่ได้รับงบประมาณในปี 63-66 ดังนี้[4]

  1. งานขยายลานจอดอากาศยาน พร้อมระบบไฟฟ้าท่าอากาศยาน และติดตั้งสะพานเทียบอากาศยานพร้อมระบบนำจอด เพื่อให้สามารถรองรับอากาศยาน B737 จากเดิม 5 ลำ ให้สามารถรองรับทั้งหมดได้ 11 ลำ ในเวลาเดียวกัน
  2. งานนำระบบสายไฟลงใต้ดิน
  3. งานปรับปรุงขยายอาคารที่พักผู้โดยสารให้สามารถรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วน จากเดิม 800 คนต่อชั่วโมง หรือ 2.3 ล้านคนต่อปี เป็น 1,400 คนต่อชั่วโมง หรือ 3.5 ล้านคนต่อปี และสามารถจอดรถยนต์ได้ 700 คัน
  4. งานก่อสร้างเสริมความแข็งแรงทางวิ่ง ก่อสร้างทางขับขนานพร้อมระบบไฟฟ้า
  5. งานก่อสร้างศูนย์ขนส่งผู้โดยสารและปรับปรุงลานจอดรถยนต์ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี

อาคารสถานที่

อาคารผู้โดยสาร

  • มีอาคารผู้โดยสาร 1 หลัง พื้นที่ 14,196 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารขาเข้าและขาออกได้ 784 คนต่อชั่วโมง รองรับจำนวนผู้โดยสารได้ 6,272 คนต่อวัน
  • ลานจอดเครื่องบินมีพื้นที่ 120×375 เมตร รองรับเครื่องบินได้ 40 เที่ยวบินต่อวัน มีหลุมจอดเครื่องบิน 5 หลุม และหลุมจอดเฮลิคอปเตอร์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 เมตร 4 หลุม[5]

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)

ทางวิ่งของท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานีมี 1 เส้น พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) ความกว้าง 45 เมตร และมีความยาว 3,000 เมตร พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 เมตร และความยาวข้างละ 75 เมตร โดยการบินพลเรือนกับการบินทหารใช้ทางวิ่งร่วมกัน[5]

ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานีมีทางขับสู่ลานจอด 2 เส้น โดยมีความกว้างเส้นละ 25 เมตร และมีความยาวเส้นละ 275 เมตร โดยอีก 8 เส้นเป็นทางขับฝั่งกองทัพอากาศ[5]

แผนการพัฒนาท่าอากาศยาน

ปลายปี พ.ศ. 2563 กรมท่าอากาศยานมีแผนที่จะก่อสร้างศูนย์ขนส่งผู้โดยสาร และปรับปรุงลานจอดรถยนต์ภายในท่าอากาศยานต่างๆ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่ต้องการให้เชื่อมต่อการเดินทางจากทางอากาศไปทางบกแบบไร้รอยต่อ โดยในปี พ.ศ. 2564 ได้มีแผนนำร่องก่อสร้างก่อนที่ท่าอากาศยาน 2 แห่ง ได้แก่ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี และท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี[6]

รายชื่อสายการบิน

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[7] หมายเหตุ
การบินไทยสมายล์ กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ–ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ–ดอนเมือง, เชียงใหม่ ภายในประเทศ
นกแอร์ กรุงเทพฯ–ดอนเมือง ภายในประเทศ
สปริงแอร์ไลน์ เฉิงตู ระหว่างประเทศ
แอร์เอเชีย กัวลาลัมเปอร์ ระหว่างประเทศ

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
เดินอากาศไทย กรุงเทพฯ–ดอนเมือง, กรุงเทพฯ–ดอนเมืองผ่านภูเก็ต, กรุงเทพฯ–ดอนเมืองผ่านหาดใหญ่[3] ภายในประเทศ
การบินไทย กรุงเทพฯ–ดอนเมือง, กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
นอร์ดวินด์แอร์ไลน์ เช่าเหมาลำเฉพาะฤดูกาล: ครัสโนยาสค์, โนโวซีบีสค์, มอสโก–เชเรเมเตียโว[8] ระหว่างประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ เชียงใหม่, หาดใหญ่ ภายในประเทศ

สถิติ

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[9]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 180,621 1,531 4,646.35
2545 163,321 ลดลง 9.58% 1,510 2,472.06
2546 162,661 ลดลง 0.40% 1,518 2,070.01
2547 202,250 เพิ่มขึ้น 24.34% 1,629 1,858.76
2548 206,342 เพิ่มขึ้น 2.02% 1,793 1,698.92
2549 291,094 เพิ่มขึ้น 41.07% 2,812 1,412.82
2550 359,467 เพิ่มขึ้น 23.49% 3,316 1,061.95
2551 344,748 ลดลง 4.09% 2,904 1,464.76
2552 394,096 เพิ่มขึ้น 14.31% 3,266 1,301.99
2553 505,776 เพิ่มขึ้น 28.34% 4,460 1,152.31
2554 595,184 เพิ่มขึ้น 17.68% 5,251 1,369.13
2555 816,484 เพิ่มขึ้น 37.18% 6,308 1,541.00
2556 1,080,508 เพิ่มขึ้น 32.34% 8,457 1,568.07
2557 1,319,660 เพิ่มขึ้น 22.13% 10,175 1,571.29
2558 1,856,315 เพิ่มขึ้น 40.67% 13,257 1,601.26
2559 2,032,042 เพิ่มขึ้น 9.47% 13,813 1,575.77
2560 2,247,344 เพิ่มขึ้น 10.60% 15,396 1,036.80
2561 2,108,289 ลดลง 6.19% 14,000 1,144.99
2562 1,864,997 ลดลง 11.54% 12,340 829.87

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 30 กิโลเมตร โดยตั้งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 เข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร และมีลานจอดรถความจุประมาณ 550 คัน

อุบัติเหตุ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากร". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 "ประวัติความเป็นมาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "เปิดแผนพัฒนา "สนามบินสุราษฎร์ฯ" 5 โปรเจกต์". เดลินิวส์. 18 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 "ข้อมูลทั่วไปของท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ผุดศูนย์ขนส่งผู้โดยสารสนามบิน เริ่มที่ "สุราษฎร์-อุบลฯ"". เดลินิวส์. 7 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "รายชื่อสายการบินที่ทำการบินมาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "Surat Thani, Thailand gains first intercontinental route". ch-aviation.com. 22 พฤศจิกายน 2562.
  9. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)