ประเทศไทยใน พ.ศ. 2543
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 219 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 55 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- สยามมกุฎราชกุมาร: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร)
- นายกรัฐมนตรี: ชวน หลีกภัย (ประชาธิปัตย์)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 20 (ถึง 9 พฤศจิกายน)
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- วันมูหะมัดนอร์ มะทา (ความหวังใหม่) (จนถึง 27 มิถุนายน)
- พิชัย รัตตกุล (ประชาธิปัตย์) (30 มิถุนายน – 9 พฤศจิกายน)
- วุฒิสภา:
- ประธานวุฒิสภา:
- มีชัย ฤชุพันธุ์ (แต่งตั้ง) (จนถึง 21 มีนาคม)
- สนิท วรปัญญา (อิสระ) (ตั้งแต่ 4 สิงหาคม)
- ประธานศาลฎีกา: จเร อำนวยวัฒนา (จนถึง 30 กันยายน)
เหตุการณ์
[แก้]มีนาคม
[แก้]- 4 มีนาคม – วันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย
พฤษภาคม
[แก้]- 5-12 พฤษภาคม – การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย ณ กรุงเทพมหานคร
- 23 พฤษภาคม - มีการจัดงานพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมมายุเสมอเท่าได้ถึง 73 พรรษา
กรกฎาคม
[แก้]- 23 กรกฎาคม – การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า สมัคร สุนทรเวชชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนถล่มทลาย โดยได้คะแนนถึง 1,016,096 คิดเป็นร้อยละ 45.85 ถึงขนาดที่เอาคะแนนของผู้ที่ได้ลำดับสอง คือ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่ได้ 521,184 คะแนน รวมกับคะแนนของธวัชชัย สัจจกุลที่ได้ลำดับสาม คือ 247,650 คะแนน ก็ยังไม่อาจเท่า และถือเป็นคะแนนที่มากที่สุดในสถิติการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในทุกครั้งก่อนหน้า โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งถึงร้อยละ 58.87
- 28 กรกฎาคม – พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 4 รอบ 28 กรกฎาคม 2543
สิงหาคม
[แก้]- 10 สิงหาคม – ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ยุติบทบาททางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี กรณีการแจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ
กันยายน
[แก้]- 22 กันยายน – คดีซุกหุ้น: ร.ต. เสงี่ยม บุษบาบาน ยื่นหนังสือต่อปปช. ร้องทุกข์กล่าวโทษพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ว่าอาจแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จขณะเป็นรองนายกรัฐมนตรี
- 26 กันยายน – คดีซุกหุ้น: สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน ร่วมกันทำหนังสือถึงอธิบดีกรมสรรพากร ขอให้ตรวจสอบการเสียภาษีของบุคคลที่ใกล้ชิดกับพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งประกอบด้วยคนรับใช้ แม่บ้าน คนขับรถ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
ตุลาคม
[แก้]- 5 ตุลาคม – คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีเปิดอนุสรณ์ "วิชิตชัย อมรกุล" อดีตนิสิตซึ่งถูกฆ่าแขวนคอใต้ต้นมะขามและเผาบริเวณท้องสนามหลวงจากเหตุการณ์ 6 ตุลา
- 21 ตุลาคม – วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครบ 100 ปี
- 31 ตุลาคม – ห้างไทยไดมารู ห้างสรรพสินค้าที่มีบันไดเลื่อนตัวแรกในประเทศไทย ได้ปิดตัวลง [1]
พฤศจิกายน
[แก้]- 5-18 พฤศจิกายน – การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน ครั้งที่ 3 ที่ประเทศไทย
- 9 พฤศจิกายน – ชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร
ธันวาคม
[แก้]- 12 ธันวาคม – รัฐบาลมีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในฐานะ "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย"
ผู้เกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 4 มกราคม – ภัณฑิรา พิพิธยากร นักแสดง
- 5 มกราคม – ญีนา ซาลาส นักแสดง
- 7 มกราคม – ชิษณุชา ตันติเมธ นักร้อง
- 8 มกราคม – ธนวัฒน์ ซึ้งจิตถาวร นักฟุตบอล
- 15 มกราคม – วชิรวิชญ์ เรืองวิวรรธน์ นักแสดง
- 17 มกราคม – ฐิตา ล่ำซำ นักสเกตลีลา
มีนาคม
[แก้]- 25 มีนาคม – สรัลชนา อภิสมัยมงคล นักร้อง
- 26 มีนาคม – นริลญา กุลมงคลเพชร นักแสดง
เมษายน
[แก้]- 7 เมษายน – กรวิชญ์ ทะสา นักฟุตบอล
- 29 เมษายน – ธัญญวีร์ ชุณหสวัสดิกุล นักแสดง
พฤษภาคม
[แก้]- 23 พฤษภาคม – ภัทรานิษฐ์ ลิ้มปติยากร นักแสดง
กรกฎาคม
[แก้]- 4 กรกฎาคม
- เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ นักร้อง
- เพลินพิชญา โกมลารชุน นักแสดง
- 8 กรกฎาคม – ธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญ นักแสดง
- 12 กรกฎาคม – ธนัตถ์ศรันย์ ซำทองไหล นักแสดง
- 13 กรกฎาคม – วรพล จินตโกศล นักแสดง
- 19 กรกฎาคม – นพพล ละครพล นักฟุตบอล
- 30 กรกฎาคม – พลอยชมพู นักร้อง
สิงหาคม
[แก้]- 10 สิงหาคม – ริชาร์ด เกียนี่ นักแสดง
ตุลาคม
[แก้]- 6 ตุลาคม – ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์ นักแสดง
- 10 ตุลาคม – วชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาล นักแสดง
- 25 ตุลาคม – พัทธดนย์ เกลี้ยงจันทร์ นักแสดง
ธันวาคม
[แก้]- 18 ธันวาคม – กรภัทร์ เกิดพันธุ์ นักแสดง
ผู้เสียชีวิต
[แก้]มกราคม
[แก้]- 8 มกราคม – สุข ปราสาทหินพิมาย นักมวยไทย (เกิด พ.ศ. 2452)
- 11 มกราคม
- วิเชียร เวชสวรรค์ นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2461)
- อำพัน หิรัญโชติ นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2462)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 1 กุมภาพันธ์ – สังข์ทอง ศรีธเรศ นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2484)
- 18 กุมภาพันธ์ – ธรรมทาส พานิช พุทธศาสนิกชน (เกิด พ.ศ. 2451)
มีนาคม
[แก้]- 4 มีนาคม – อากร ฮุนตระกูล นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2488)
- 23 มีนาคม – วิจิตร สุคันธพันธุ์ นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2474)
เมษายน
[แก้]- 4 เมษายน – รำไพศรีสอางค์ สนิทวงศ์ อดีตหม่อมเจ้า (ประสูติ พ.ศ. 2462)
- 19 เมษายน – อดุล ภูมิณรงค์ นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2470)
- 23 เมษายน – หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค นางสนองพระโอษฐ์ (เกิด พ.ศ. 2465)
พฤษภาคม
[แก้]- 4 พฤษภาคม – สุชีพ ปุญญานุภาพ นักวิชาการ (เกิด พ.ศ. 2460)
- 17 พฤษภาคม – พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (ชัยวงศ์ จนฺทวํโส) พระสงฆ์ (เกิด พ.ศ. 2456)
- 24 พฤษภาคม – สันติ ชัยวิรัตนะ นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2488)
- 30 พฤษภาคม – ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว นักเขียน (เกิด พ.ศ. 2468)
มิถุนายน
[แก้]- 12 มิถุนายน – มนตรี พงษ์พานิช นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2486)
กรกฎาคม
[แก้]- 2 กรกฎาคม – สมรรค ศิริจันทร์ นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2467)
- 25 กรกฎาคม – หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี อดีตราชเลขาธิการ (เกิด พ.ศ. 2475)
สิงหาคม
[แก้]- 14 สิงหาคม – หม่อมเจ้าพิริยดิศ ดิศกุล (ประสูติ พ.ศ. 2464)
- 17 สิงหาคม – หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2457)
- 22 สิงหาคม – พระเทพโมลี (สำรอง คุณวุฑฺโฒ) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2454)
- 24 สิงหาคม – ฟ้ารุ่ง ชารีรักษ์ นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2517)
กันยายน
[แก้]- 10 กันยายน – จันทร์ ขนนกยูง แม่ชี (เกิด พ.ศ. 2453)
- 24 กันยายน – แผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2446)
- 28 กันยายน – พจน์ สารสิน นายกรัฐมนตรีคนที่ 9 (เกิด พ.ศ. 2448)
ตุลาคม
[แก้]- 10 ตุลาคม – สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิโม) สมเด็จพระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2447)
- 31 ตุลาคม – ศรีไพร ลูกราชบุรี นักร้องลูกทุ่ง (เกิด พ.ศ. 2486)
พฤศจิกายน
[แก้]- 10 พฤศจิกายน – พ่วง สุวรรณรัฐ นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2454)
- 11 พฤศจิกายน – พระครูสถิตโชติคุณ (ไสว ฐิตวณฺโณ) พระสงฆ์ (เกิด พ.ศ. 2464)
- 24 พฤศจิกายน – พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน (ประสูติ พ.ศ. 2452)
ธันวาคม
[แก้]- 2 ธันวาคม – บัณฑิต กันตะบุตร โปรแกรมเมอร์ (เกิด พ.ศ. 2458)
- 16 ธันวาคม – พระครูพิพัฒนธรรมคุณ (จรินทร์ วิจิตฺตโก) พระสงฆ์ (เกิด พ.ศ. 2455)
- 28 ธันวาคม – สหสมภพ ศรีสมวงศ์ นักจัดรายการโทรทัศน์ (ไม่ทราบปีเกิด)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- นายหนหวย นักเขียน (เกิด พ.ศ. 2465)
- ไขแสง สุกใส นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2472)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [ไฟล์:http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=467 เก็บถาวร 2010-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "ไดมารู" ชื่อนี้เหลือเพียงประวัติศาสตร์]