พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (ชัยวงศ์ จนฺทวํโส)
พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (ชัยวงศ์ จนฺทวํโส) | |
---|---|
ชื่ออื่น | ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา, ครูบาวงศ์ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 เมษายน พ.ศ. 2456 (87 ปี 25 วัน ปี) |
มรณภาพ | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 |
นิกาย | มหานิกาย |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน |
รางวัล | รางวัลเสาเสมาธรรมจักร |
อุปสมบท | พ.ศ. 2475 |
พรรษา | 69 พรรษา |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาส |
พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ หรือ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา หรือ ครูบาวงศ์ ฉายา จนฺทวํโส เป็นภิกษุนักพัฒนา[1] ชาวจังหวัดลำพูน ศิษย์ครูบาศรีวิชัย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม[2]
ประวัติ[แก้]
ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา มีนามเดิม ชัยวงศ์ ต๊ะแหนม เกิดวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2456 เป็นบุตรนายน้อยจันต๊ะกับนางบัวแก้ว ครอบครัวเป็นเกษตรกรยากจนแต่มีศรัทธาในพุทธศาสนา เมื่ออายุ 12 ปีท่านเริ่มถือมังสวิรัติ แล้วบรรพชาเป็นสามเณรโดยมีครูบาชัยลังกาเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า ชัยลังกา ตามฉายาของพระอุปัชฌาย์
ขณะเป็นสามเณร แม้จะถูกเพื่อนกลั่นแกล้งทำร้ายร่างกายเสมอ แต่ท่านอดทนและให้อภัยตลอด ท่านยังได้ติดตามครูบาชัยลังกาออกจาริกไปที่ต่าง ๆ จนเข้าอุปสมบทที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า โดยมีครูบาพรหมจักรเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า ชัยยะวงศา แล้วออกจาริกต่อจนได้พบชาวปกาเกอะญอ ต่อมาพวกเขาเลื่อมใสท่านมากจนหันมานับถือพุทธศาสนา ย้ายมาตั้งถิ่นฐานรอบวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม รักษาศีล 5 และถือมังสวิรัติเช่นเดียวกับท่าน[3][4]
เมื่ออายุ 22 ปี ท่านทราบข่าวว่าครูบาศรีวิชัยนำประชาชนสร้างถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ท่านจึงพาชาวกะเหรี่ยงส่วนหนึ่งมาร่วมช่วยเหลือด้วยจนแล้วเสร็จจึงกลับไปจำพรรษาที่วัดจอมหมอก อำเภออมก๋อย ขณะนั้นฝ่ายต่อต้านครูบาศรีวิชัยซึ่งกลั่นแกล้งขัดขวางงานของครูบามาตลอด ได้ตั้งอธิกรณ์กับลูกศิษย์ครูบาแล้วบังคับให้ลาสิกขาบท รวมทั้งพระชัยยะวงศาก็ถูกเจ้าคณะตำบลจับสึกเช่นกัน ท่านจึงเปลี่ยนมาครองผ้าขาว แต่ยังรักษาข้อวัตรภิกษุอย่างเคร่งครัดเช่นเดิม แล้วไปช่วยครูบาศรีวิชัยบูรณะวัดบ้านปางเสร็จแล้วจึงออกจาริกต่อไป จนอายุ 28 ปี ครูบาศรีวิชัยมรณภาพ ท่านช่วยงานศพแล้วมาอยู่วัดป่าพลู ได้อุปสมบทอีกครั้ง โดยครูบาบุญมา วัดบ้านโฮ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า จนฺทวํโส
ท่านจาริกไปบูรณะวัดต่าง ๆ จนอายุ 34 ปี จึงรับนิมนต์มาบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม แล้วจำพรรษาที่นี่ตลอดมา
ครูบาวงศ์อาพาธด้วยโรคหัวใจ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จนมรณภาพเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 สิริอายุได้ 87 ปี 25 วัน พรรษา 69
สมณศักดิ์[แก้]
- 4 เมษายน พ.ศ. 2514 ได้รับแต่งตั้งจากพระราชสุตาจารย์ (สิงฆะ อภิวํโส) ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมที่ พระครูใบฎีกา
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เป็นพระครูสัญญาบัตรรองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ที่ พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์[5]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ในราชทินนามเดิม
อ้างอิง[แก้]
- ↑ จักรพงษ์ คำบุญเรือง (25 มิถุนายน 2562). ""ครูบาชัยยะวงศา" นักบุญของชาวกะเหรี่ยง". เชียงใหม่นิวส์. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สลิตา พรรณลึก (18 มิถุนายน 2560). "ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา แห่งศรัทธา พระบาทห้วยต้ม". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ จักรพงษ์ คำบุญเรือง (23 มีนาคม 2560). "ตามรอย "ครูบาวงศ์" นักบุญของชาวเขา ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน". เชียงใหม่นิวส์. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ศรัทธากะเหรี่ยง แห่ร่วมงานเปลี่ยนผ้าครองสรีระ "ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา" แน่นวัดพระบาทห้วยต้ม". ข่าวสด. 18 พฤษภาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 104 (253 ง ฉบับพิเศษ): 61. 5 ธันวาคม 2530. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)