ประเทศนามิเบีย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สาธารณรัฐนามิเบีย ชื่อในภาษาประจำชาติ
| |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คำขวัญ: Unity, Liberty, Justice | |||||||||||||||||||
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | วินด์ฮุก 22°34′S 17°5′E / 22.567°S 17.083°E | ||||||||||||||||||
ภาษาราชการ | ภาษาอังกฤษ ภาษาอาฟรีกานส์ ภาษาเยอรมัน | ||||||||||||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบพรรคเด่น สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี[7] | ||||||||||||||||||
นันโกโล เอ็มบุมบา | |||||||||||||||||||
เนตุมโบ นันทิ-นไดตวา | |||||||||||||||||||
ซารา กูกองเกลวา | |||||||||||||||||||
เอกราช จากแอฟริกาใต้ | |||||||||||||||||||
• ประกาศ | 21 มีนาคม พ.ศ. 2533 | ||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||
• รวม | 825,418 ตารางกิโลเมตร (318,696 ตารางไมล์)(magnitude 1 E11) (33) | ||||||||||||||||||
น้อย | |||||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||||
• กรกฎาคม 2548 ประมาณ | 2,031,000 (144) | ||||||||||||||||||
• สำมะโนประชากร 2545 | 1,820,916 | ||||||||||||||||||
2.5 ต่อตารางกิโลเมตร (6.5 ต่อตารางไมล์) (225) | |||||||||||||||||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) | ||||||||||||||||||
• รวม | $ 27.018 พันล้าน | ||||||||||||||||||
• ต่อหัว | $ 11,528 | ||||||||||||||||||
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) | ||||||||||||||||||
• รวม | $ 12.558 พันล้าน | ||||||||||||||||||
• ต่อหัว | $ 5,358 | ||||||||||||||||||
จีนี (2558) | 59.1[8] สูง | ||||||||||||||||||
เอชดีไอ (2562) | 0.646[9] ปานกลาง · อันดับที่ 130 | ||||||||||||||||||
สกุลเงิน | ดอลลาร์นามิเบีย (NAD) | ||||||||||||||||||
เขตเวลา | UTC+1 | ||||||||||||||||||
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 | ||||||||||||||||||
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ | ||||||||||||||||||
รหัสโทรศัพท์ | 264 | ||||||||||||||||||
โดเมนบนสุด | .na |
นามิเบีย (อังกฤษ: Namibia; /nəˈmɪbiə/ ( ฟังเสียง), /næˈ-/),[10][11] หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐนามิเบีย (อังกฤษ: Republic of Namibia) เป็นประเทศในแอฟริกาใต้ (ภูมิภาค) ริมฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีพรมแดนติดด้านเหนือกับประเทศแองโกลา และแซมเบีย ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับซิมบับเว ทางตะวันออกติดกับบอตสวานา และทางใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ นามิเนียได้รับเอกราชคืนจากประเทศแอฟริกาใต้เมื่อ พ.ศ. 2533 มีเมืองหลวงชื่อวินด์ฮุก
ประวัติศาสตร์
[แก้]- ปลายพุทธทศวรรษที่ 20 บาร์โธโลมิวส์ (Bartholomius) ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางไปนามิเบีย
- พ.ศ. 2427 ตกเป็นเมืองขึ้นของเยอรมนี (ยกเว้น Walvis Bay ที่ตกเป็นของอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2421
- พ.ศ. 2458 ตกเป็นเมืองขึ้นของแอฟริกาใต้ และตกอยู่ภายใต้การปกครองตามกฎหมายในปี พ.ศ. 2463 โดยเป็นผลมาจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์
- พ.ศ. 2501 South West African People's Organization (SWAPO) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเคลื่อนไหวทางด้านแรงงาน (Anti - contract Labour Movement)
- พ.ศ. 2509 แอฟริกาใต้ประกาศใช้กฎหมายแบ่งแยกสีผิว ท่ามกลางการต่อต้านของสหประชาชาติ SWAPO ใช้กำลังต่อสู้เพื่อเรียกร้องเสรีภาพ
- พ.ศ. 2510 มีการจัดตั้ง UN Council for South West Africa
- พ.ศ. 2511 องค์การสหประชาชาติเปลี่ยนชื่อ South West Africa เป็นนามิเบีย
- พ.ศ. 2514 ศาลโลกตัดสินว่าการคงอยู่ในนามิเบียของแอฟริกาใต้เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และยืนยันหน้าที่รับผิดชอบขององค์การสหประชาชาติต่อนามิเบีย
- พ.ศ. 2516 องค์การสหประชาชาติให้การรับรองว่า SWAPO เป็นตัวแทนที่ถูกต้องของชาวนามิเบีย มีการแต่งตั้ง UN Commissioner for Namibia
- พ.ศ. 2518 แอฟริกาใต้จัดตั้งผู้นำในประเทศและหัวหน้าเผ่าจากเผ่าต่าง ๆ เข้าสู่ Turnhalle Conference ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ
- พ.ศ. 2519 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณามการกระทำของแอฟริกาใต้ในนามิเบียอย่างเป็นเอกฉันท์
- พ.ศ. 2521 คณะมนตรีความมั่นคงมีมติที่ 435 จัดให้มีการเลือกตั้งภายใต้การดูแลขององค์การสหประชาชาติและยุติการต่อสู้ระหว่างแอฟริกาใต้กับ SWAPO แต่องค์การสหประชาชาติก็ปฏิเสธการเลือกตั้งที่มีแอฟริกาใต้อยู่เบื้องหลังครั้งนั้น
- พ.ศ. 2528 แอฟริกาใต้จัดให้มีรัฐบาลชั่วคราว โดยแต่งตั้งผู้แทนผิวดำจากพรรคต่าง ๆ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญของประเทศ
- พ.ศ. 2531 แอฟริกาใต้ปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาลชั่วคราว รัฐบาลของแอฟริกาใต้ แองโกลา คิวบา สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา ยอมรับเอกราชของนามิเบียตามนัยของมติที่ 435 ของคณะมนตรีความมั่นคง
- พ.ศ. 2532 UN Transition Assistance Group ได้จัดการเลือกตั้งที่ยุติธรรมขึ้น แซม นูโจมา ผู้นำของ SWAPO ได้รับการเลือกตั้ง และจัดตั้งคณะรัฐมนตรี
- 21 มีนาคม พ.ศ. 2533 ได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการจาก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
- 23 เมษายน พ.ศ. 2533 เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 160 ขององค์การสหประชาชาติ และต่อมาเป็นสมาชิกลำดับที่ 50 ของเครือจักรภพ
เขตการปกครอง
[แก้]ประเทศนามิเบียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 แคว้น (Region) ได้แก่
- แคว้นคัปปรีวี
- แคว้นอีรองโก
- แคว้นฮาร์ดาป
- แคว้นคาราส
- แคว้นคาวังโก
- แคว้นคโฮมาส
- แคว้นคูเนเน
- แคว้นโอฮังเวนา
- แคว้นโอมาเฮเก
- แคว้นโอมูซาตี
- แคว้นโอชานา
- แคว้นโอชีโคโต
- แคว้นโอตโจซอนด์จูปา
นโยบายประเทศ
[แก้]ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นมีความใกล้ชิดมากกับแอฟริกาใต้ แต่มีปัญหาทางด้านพรมแดนกับบอตสวานา และ แองโกลา
ความสัมพันธ์กับแองโกลา
[แก้]นับแต่ปี 2536 ความสัมพันธ์กับประเทศแองโกลาไม่สู้จะราบรื่นนัก เนื่องจากในปี พ.ศ. 2536 กลุ่ม UNITA กล่าวหาว่ากองกำลังของนามิเบียข้ามไปยังชายแดนภาคใต้ของแองโกลาเพื่อช่วยรัฐบาลแองโกลาต่อสู้กับ UNITA แต่นามิเบียปฏิเสธ และต่อมาในปี พ.ศ. 2537 นามิเบียก็ได้ปิดพรมแดนส่วนที่ติดกับแองโกลา หลังจากที่เกิดการต่อสู้ในบริเวณนั้น และชาวนามิเบียถูกฆ่าตาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ทั้งสองฝ่ายตกลงกันที่จะเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยบริเวณชายแดน
ความสัมพันธ์กับบอตสวานา
[แก้]ความสัมพันธ์กับบอตสวานาดำเนินมาด้วยดี จนกระทั่งในต้นปี พ.ศ. 2539 มีข้อขัดแย้งกันเรื่องการปักปันเขตแดนบริเวณแม่น้ำโชเบ
ความสัมพันธ์กับแอฟริกาใต้
[แก้]ความสัมพันธ์กับแอฟริกาใต้เป็นไปอย่างใกล้ชิด ในการเดินทางไปเยือนนามิเบียเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2537 ประธานาธิบดีเนลสัน มันเดลา แถลงว่ามีความเป็นไปได้ที่แอฟริกาใต้จะยกเลิกหนี้สิน จำนวน 826.6 ล้านดอลลาร์นามิเบีย ที่นามิเบียมีต่อแอฟริกาใต้ตั้งแต่ครั้งยังไม่ได้รับเอกราช และเมื่อประธานาธิบดีแซม นูโจมา ไปเยือนแอฟริกาใต้ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2539 ก็ได้ร้องขอต่อสภาแอฟริกาใต้ให้ยกเลิกหนี้สินดังกล่าว และขอให้แอฟริกาใต้ไปลงทุนในนามิเบีย แม้ว่านโยบายต่างประเทศของนามิเบียแตกต่างจากนโยบายของแอฟริกาใต้บางประการ อาทิ นามิเบียสนับสนุนนโยบายของจีน ในการอ้างสิทธิเหนือไต้หวัน และการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลไนจีเรีย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองก็ยังคงดำเนินไปด้วยดี เนื่องจากนามิเบียต้องพึ่งพาแอฟริกาใต้ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
องค์กรระหว่างประเทศ
[แก้]นามิเบียเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ กลุ่ม 77 กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-aligned Movement - NAM) องค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity - OAU) สหภาพศุลกากรแอฟริกาใต้ (Southern Africa Customs Union - SACU) ประชาคมด้านการพัฒนาแห่งภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community - SADC)
เศรษฐกิจ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 3 (2542)
- รายได้ประชาชาติต่อหัว 4,300 ดอลลาร์สหรัฐ (2542)
- ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น 7.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2542)
- อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 8.5 (2542)
- ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เพชร ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ยูเรเนียม เงิน
- ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง โคกระบือ
- อุตสาหกรรมที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์เนื้อบรรจุกระป๋อง ผลิตภัณฑ์นม ฟอกหนัง ทอผ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป
- หนี้สินต่างประเทศ 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดุลการค้า นำเข้า 1.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก 1.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินค้าเข้าที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์เคมีภัณฑ์
- สินค้าออกที่สำคัญ เพชร ทองแดง ทองคำ สังกะสี ตะกั่ว
- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ นำเข้า จากประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศเยอรมนี สหรัฐอเมริกา
- ส่งออก ประเทศอังกฤษ ประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศสเปน ประเทศญี่ปุ่น
- สกุลเงิน 1 ดอลลาร์นามิเบีย (NAD) เท่ากับ 100 เซนต์ (cents)
- อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 6.12 ดอลลาร์นามิเบีย (2543)
- อัตราการว่างงานสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก (33.8% ในปีพ.ศ. 2547))[12]
โครงสร้างพื้นฐาน
[แก้]คมนาคม
[แก้]- ถนน ในปี 2534 ถนนทั้งหมดมีความยาว 41,815 กิโลเมตร ซึ่งในจำนวนนี้เป็นถนนลาดยาง 4,572 กิโลเมตร และมียานพาหนะจำนวน 132,331 คัน
- ทางรถไฟ ระบบทางรถไฟของนามิเบียเชื่อมกับทางรถไฟสายหลักของแอฟริกาใต้ที่เมือง อาเรียมสว์เลอิ ทางรถไฟในประเทศมีความยาว 2,382 กิโลเมตร ในช่วงปี 2538-2539 มีผู้โดยสารรถไฟ 124,000 คน และมีการขนส่งสินค้า 1.7 ล้านตัน
- การบินพลเรือน สายการบินแห่งชาติที่เป็นของรัฐชื่อแอร์นามิเบีย มีสนามบินนานาชาติที่เมืองวินด์ฮุกและสนามบินภายในประเทศที่เมืองอีรอส ผู้โดยสารระหว่างประเทศมีจำนวน 215,175 คน และสินค้า 2.8 ล้านกิโลกรัม ส่วนผู้โดยสารภายในประเทศมีจำนวน 7,117 คน และสินค้า 211,218 กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังมีสายการบินอื่นที่บินผ่าน ได้แก่ แอร์ บอตสวานา, แอร์ ซิมบับเว, คอมเมอร์เชียล แอร์เวย์, ลัฟทันซา, เซาท์ แอฟริกัน แอร์เวย์
- การเดินเรือ ท่าเรือที่สำคัญ ได้แก่ วอลวิส เบย์ (ตรงอ่าววอลวิส)
โทรคมนาคม
[แก้]- โทรคมนาคม ในปี 2535 มีที่ทำการไปรษณีย์ 72 แห่ง และมีโทรศัพท์ 89,722 เครื่อง สถานีวิทยุนามิเบียมี 3 สถานี และมีสถานีโทรทัศน์ 10 สถานี ในปี 2536 มีโทรทัศน์ จำนวน 27,000 เครื่อง และวิทยุจำนวน 195,000 เครื่อง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Communal Land Reform Act, Afrikaans" (PDF). Government of Namibia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Communal Land Reform Act, Khoekhoegowab" (PDF). Government of Namibia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Communal Land Reform Act, Oshiwambo" (PDF). Government of Namibia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Communal Land Reform Act, Rukwangali" (PDF). Government of Namibia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Communal Land Reform Act, Setswana" (PDF). Government of Namibia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Communal Land Reform Act, Lozi" (PDF). Government of Namibia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ Shugart, Matthew Søberg (December 2005). "Semi-Presidential Systems: Dual Executive And Mixed Authority Patterns" (PDF). French Politics. 3 (3): 323–351. doi:10.1057/palgrave.fp.8200087. S2CID 73642272. สืบค้นเมื่อ 4 September 2016.
Of the contemporary cases, only four provide the assembly majority an unrestricted right to vote no confidence, and of these, only two allow the president unrestricted authority to appoint the prime minister. These two, Mozambique and Namibia, as well as the Weimar Republic, thus resemble most closely the structure of authority depicted in the right panel of Figure 3, whereby the dual accountability of the cabinet to both the president and the assembly is maximized. (...) Namibia allows the president to dissolve [the assembly] at any time but places a novel negative incentive on his exercise of the right: He must stand for a new election at the same time as the new assembly elections.
- ↑ "GINI index (World Bank estimate)". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2019.
- ↑ "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 15 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2020.
- ↑ Wells, John C. (2008). Longman Pronunciation Dictionary (3rd ed.). Longman. ISBN 978-1-4058-8118-0.
- ↑ Roach, Peter (2011). Cambridge English Pronouncing Dictionary (18th ed.). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-15253-2.
- ↑ The Economist, Pocket World in Figures 2007 Edition, 2549
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คู่มือการท่องเที่ยว Namibia จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Namibia entry at The World Factbook
- Namibia from UCB Libraries GovPubs
- ประเทศนามิเบีย ที่เว็บไซต์ Curlie
- Wikimedia Atlas of Namibia
- Key Development Forecasts for Namibia from International Futures
- รัฐบาล
- Republic of Namibia Government Portal
- สาธารณรัฐนามิเบีย - รัฐบาลนามิเบีย
- Chief of State and Cabinet Members, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ธันวาคม 2008
- การศึกษา
- Polytechnic of Namibia, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2009
- อุทยานแห่งชาติ
- บทความที่มีข้อความภาษาKhoekhoe
- บทความที่มีข้อความภาษาเฮเรโร
- บทความที่มีข้อความภาษาKwangali
- บทความที่มีข้อความภาษาLozi
- ประเทศในทวีปแอฟริกา
- ประเทศนามิเบีย
- สาธารณรัฐเครือจักรภพ
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2533
- อดีตอาณานิคมของเยอรมนี
- อดีตอาณานิคมของอังกฤษ
- บทความเกี่ยวกับ ประเทศและเขตการปกครอง ที่ยังไม่สมบูรณ์