โฮโมแฮบิลิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Homo habilis)

โฮโมแฮบิลิส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 2.3–1.65Ma
Reconstruction of KNM-ER 1813 at the Naturmuseum Senckenberg, Germany
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับวานร
อันดับย่อย: Haplorhini
อันดับฐาน: Simiiformes
วงศ์: ลิงใหญ่
สกุล: โฮโม
Leakey et al., 1964
สปีชีส์: Homo habilis
ชื่อทวินาม
Homo habilis
Leakey et al., 1964
ชื่อพ้อง[1]

โฮโมแฮบิลิส (อังกฤษ: Homo habilis) เป็นมนุษย์เผ่า Hominini มีชีวิตอยู่ในระหว่างช่วงอายุหิน Gelasian และ Calabrian คือครึ่งแรกของสมัยไพลสโตซีนประมาณ 2.3–1.65 ล้านปีก่อน[2] โดยอาจวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษสาย australopithecine ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นแบบก็คือซากศพหมายเลข OH 7 ที่พบในปี 2503 (ค.ศ. 1960) ณ โบราณสถาน Olduvai Gorge ในประเทศแทนซาเนีย ต่อมาในปี 2507 จึงได้จัดเป็นสปีชีส์ต่างหากคือ H. habilis (แปลว่า มือชำนาญหรือคล่องแคล่ว อังกฤษ: handy man) เพราะซากดึกดำบรรพ์มักจะพบพร้อมกับเครื่องมือหินแบบ Oldowan และเชื่อว่า มนุษย์พวกนี้สามารถแปลงหินธรรมชาติให้เป็นเครื่องมือหินได้[3] เป็นมนุษย์สกุล Homo ที่รูปร่างสัณฐานคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบันน้อยที่สุด (คือลักษณะบางอย่างคล้ายกับ australopithecine มากกว่า) โดยยกเว้นสปีชีส์ที่มีปัญหาจัดเข้าในสกุลมนุษย์เช่นกันคือ H. rudolfensis ตั้งแต่นั้นมา การจัดอยู่ในสกุลก็ได้สร้างข้อถกเถียงกันอย่างไม่มีที่ยุติ[4] ขนาดที่เล็กและลักษณะล้าหลังทำให้ผู้ชำนาญการ (รวมทั้ง ริชาร์ด ลีกคีเอง) เสนอว่าควรกัน H. habilis ออกจากสกุล Homo แล้วใส่ไว้ใน Australopithecus โดยจัดเป็น Australopithecus habilis[5]

มีการพบส่วนหนึ่งของกระดูกขากรรไกร (หมายเลข LD 350-1) ในปี 2556 ซึ่งหาอายุได้ 2.8 ล้านปีก่อน และอ้างว่า เป็นซากดึกดำบรรพ์ในระหว่างสกุล Australopithecus และสปีชีส์ H. habilis[6]

การจัดเข้าในสกุล Homo[แก้]

ขนาดที่เล็กและลักษณะล้าหลังของมนุษย์กลุ่มนี้สร้างความขัดแย้งระหว่างนักวิชาการว่า ควรจะจัดเข้าในสกุล Homo หรือ Australopithecus ได้เหมาะสมกว่า[7][8] โดยนักวิชาการบางท่าน (รวมทั้ง ริชาร์ด ลีกคีเอง) เสนอว่าควรกัน H. habilis ออกจากสกุล Homo แล้วใส่ไว้ในกลุ่ม Australopithecus โดยเป็น Australopithecus habilis[5]

นักบรรพมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ-เคนยา หลุยส์ ลีกคี เป็นบุคคลแรกที่เสนอว่ามีมนุษย์จำพวกนี้ โดยภรรยาคือ แมรี ลีกคี เป็นผู้พบฟันสองซี่แรกของ H. habilis ในปี 2498 ซึ่งต่อมาระบุว่าเป็น ฟันน้ำนม ซึ่งพิจารณาว่าเป็นตัวระบุชนิดสัตว์ได้ยากโดยไม่เหมือนกับฟันแท้ ต่อมาในปี 2502 แมรีจึงได้ค้นพบกะโหลกศีรษะของเด็กชายที่มีสมองเล็ก ใบหน้าใหญ่ ฟันเขี้ยวเล็ก และฟันเคี้ยวขนาดใหญ่ ทำให้สปีชีส์นี้ได้ชื่อเล่นอีกอย่างว่า นายกะเทาะเปลือกถั่ว (อังกฤษ: The Nutcracker man)[3]

H. habilis เตี้ยและมีแขนยาวอย่างไม่สมส่วนโดยเทียบกับมนุษย์ปัจจุบัน แต่ก็ยังมีใบหน้าที่ยื่นออกน้อยกว่า australopithecine ที่เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษ มีปริมาตรกะโหลกศีรษะที่น้อยกว่าครึ่งของมนุษย์ปัจจุบันเล็กน้อย และแม้ว่าจะมีสัณฐานและกายที่คล้ายเอป แต่ซากของ H. habilis บ่อยครั้งอยู่ร่วมกับเครื่องมือหินแบบง่าย ๆ เช่นที่ โบราณสถาน Olduvai Gorge ประเทศแทนซาเนีย และโบราณสถาน Lake Turkana ประเทศเคนยา

H. habilis มักพิจารณาว่าเป็นบรรพบุรุษของ H. ergaster ที่ผอมงามกว่า (gracile) และฉลาดซับซ้อนมากกว่า ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสปีชีส์ที่เหมือนมนุษย์ยิ่งขึ้น คือ H. erectus ข้อถกเถียงว่า ซากดึกดำบรรพ์ที่พบแล้วทั้งหมดได้จัดเข้ากับสปีชีส์นี้อย่างถูกต้องแล้วหรือไม่ ก็ยังดำเนินต่อไป โดยมีนักบรรพมานุษยวิทยาที่มองหน่วยอนุกรมวิธานนี้ว่า เป็นโมฆะ เพราะประกอบด้วยตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ของทั้งสกุล Australopithecus และ Homo[9] งานศึกษาปี 2550 ก็ดูจะยืนยันมุมมองว่า H. habilis และ H. erectus มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเป็นสายพันธุ์ที่สืบต่อจากบรรพบุรุษเดียวกัน แทนที่ H. erectus จะสืบสายพันธุ์มาจาก H. habilis[10] แต่คำอธิบายที่เป็นไปได้อีกอย่างก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง H. habilis กับ H. erectus เป็นแบบแยกสาย (cladogenetic) ไม่ใช่แบบสายตรง (anagenetic) คือ กลุ่มย่อยของ H. habilis เป็นบรรพบุรุษของ H. erectus และดังนั้น กลุ่มอื่น ๆ ก็ยังดำรงเป็น H. habilis จนกระทั่งสูญพันธุ์[11]

ขนาดสมองเฉลี่ยของมนุษย์กลุ่มนี้อยู่ที่ 610 ซม3[8] โดยมีขนาดระหว่าง 550-687 ซม3[12] ส่วนงานสร้างใหม่เสมือนที่ตีพิมพ์ในปี 2558 ประมาณปริมาตรของภายในกะโหลกระหว่าง 729-824 มล ซึ่งใหญ่กว่าขนาดที่เคยรายงานมาทั้งหมด[13]

ขนาดสมองของ H. habilis ที่ 640 ซม³ จะใหญ่กว่าของ australopithecine ประมาณ 50% โดยเฉลี่ย แต่ก็ยังเล็กกว่าสมองมนุษย์ปัจจุบันที่ 1,330 ซม³ พอสมควร และตัวเตี้ยกว่ามนุษยปัจจุบัน โดยผู้ชายสูงเฉลี่ยที่ 1.3 เมตร

งานปี 2556 รายงานส่วนหนึ่งของกระดูกขากรรไกรที่มีอายุราว 2.8 ล้านปีก่อน พบในโบราณสถาน Ledi-Geraru ในบริเวณอะฟาร์ของเอธิโอเปีย[6] โดยพิจารณาว่า เป็นหลักฐานเก่าแก่ที่สุดของสกุล Homo ที่พบจนถึงปีนั้น และดูเหมือนจะเป็นซากดึกดำบรรพ์ในระหว่าง Australopithecus และ H. habilis เป็นมนุษย์ที่มีชีวิตหลังจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบฉับพลัน ที่สิ่งแวดล้อมแบบป่าและทางน้ำ ได้กลายเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาอย่างรวดเร็ว[14]

แบบถอดกะโหลกศีรษะของ Homo habilis ขวาสุดเป็นของ Paranthropus boisei ณ พิพิทธภัณฑสถานอินเดีย

ซากดึกดำบรรพ์[แก้]

OH 62[แก้]

ชุดซากดึกดำบรรพ์ชุดหนึ่ง คือ OH 62 หรือ "Olduvai Hominid specimen 62" ที่ขุดพบใน Olduvai Gorge ในปี 2529 มีทั้งร่างส่วนบนส่วนล่างที่สำคัญ โดยเฉพาะ กระดูกต้นแขนและกระดูกต้นขา[15] ซึ่งเป็นการค้นพบที่สร้างความขัดแย้งพอสมควรในช่วงนั้น[16] การเคลื่อนที่ของ OH 62 ประเมินอาศัยสัดส่วนของแขนขา ซึ่งสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของไพรเมตที่ยังมีอยู่ โดยงานวิเคราะห์แรก ๆ มุ่งเปรียบเทียบกับ Australopithecus afarensis หมายเลข A.L. 288-1 (ที่รู้จักว่า ลูซี่) และในค่าโดยมาก ไม่ว่าจะวัดหรือประเมิน แขนของ OH 62 จะเท่าหรือเกินของ A.L. 288-1 ในขณะที่ขา (หลัก ๆ ก็คือกระดูกต้นขา) ดูเหมือนจะเล็ก/สั้นกว่า โดยเฉพาะก็คือ เมื่อประมาณความยาวของกระดูกต้นแขนว่าอยู่ที่ 264 มม. และของกระดูกต้นขาซึ่งสมบูรณ์น้อยกว่าว่า "ไม่มากกว่าของ A.L. 288-1 คือ 280 มม." ดัชนีกระดูกต้นแขน-กระดูกต้นขาก็จะอยู่ที่ 95% ซึ่งเหมือนกับชิมแปนซีปัจจุบัน (โดยมีดัชนีเฉลี่ยที่ 1.00) มากกว่ามนุษย์ปัจจุบัน (ดัชนีเฉลี่ยที่ 0.72) ในด้านนี้ กระดูกจึง "ดั้งเดิม (primitive)" กว่า A.L. 288-1 ซึ่งมีดัชนีที่ 0.85[17]

KNM ER 1813

KNM ER 1813[แก้]

KNM ER 1813 เป็นกระดูกหุ้มสมองค่อนข้างสมบูรณ์ มีอายุ 1.9 ล้านปีก่อน ค้นพบที่ Koobi Fora ในเคนยาปี 2516 มีขนาดสมองที่ 510 ซม³ ซึ่งไม่น่าทึ่งเท่ากับตัวอย่าง H. habilis อื่น ๆ ที่พบ

OH 24[แก้]

OH 24 (Twiggy) เป็นกระดูกหุ้มสมองที่พิกลพิการมาก มีอายุประมาณ 1.8 ล้านปีก่อน พบในปี 2511 ที่ Olduvai Gorge แทนซาเนีย ปริมาตรสมองน้อยกว่า 600 ซม³ เล็กน้อย อนึ่ง หน้ายื่นออกไปน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสมาชิกของ australopithecine ที่เก่าแก่กว่า

OH 7[แก้]

OH 7 มีอายุ 1.75 ล้านปีก่อน พบโดยแมรี่และหลุยส์ ลีกคีในปี 2503 ที่ Olduvai Gorge แทนซาเนีย เป็นกระดูกขากรรไกรส่วนล่างพร้อมกับฟัน เนื่องจากขนาดฟันเล็ก นักวิจัยประมาณว่า เด็กชายผู้นี้มีปริมาตรสมองที่ 363 ซม³ ขากรรไกรนี้พร้อมกับชิ้นส่วนกว่า 20 ชิ้นจากมือซ้ายที่พบด้วยกัน ต่อมาได้ใช้เป็นซากดึกดำบรรพ์ต้นแบบ

มือของ OH 7 บวกกับลักษณะต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับการจับที่แม่นยำ และกับการปรับตัวเนื่องกับการปีน เข้ากันได้ดีกับสัดส่วนขาคล้ายมนุษย์ที่ค่อนข้างยาว และอัตราแขน-ขาที่คล้ายกับชิมแปนซีมากกว่า

KNM ER 1805[แก้]

KNM ER 1805 เป็นตัวอย่างของ H. habilis ผู้หใญ่ประกอบด้วยชิ้นส่วนกระดูกหุ้มสมอง 3 ชิ้นมีอายุ 1.74 ล้านปีก่อน พบที่ Koobi Fora เคนยา ข้อสมมุติอื่น ๆ ที่เคยมีกับตัวอย่างนี้ก็คือมันเป็นของ H. erectus อาศัยความยื่นของคางและรูปร่างกระดูกหุ้มสมองโดยทั่วไป

อาหาร[แก้]

ตามการวิเคราะห์การสึกหรอของเนื้อฟันระดับไมโคร (microwear-texture analysis) Homo habilis (รวมมนุษย์สกุล Homo ต้น ๆ ทั้งหมด) ไม่น่าจะเจาะจงทานอาหารที่เหนียวหรือแข็งมาก ความสึกหรอที่พบโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่างสัตว์ที่กินอาหารเหนียวแข็งและที่กินใบพืชเป็นอาหาร[18] ค่าเหล่านี้มาจากการวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ของผิวฟันที่มีหลุมรูเล็ก ๆ (คือความถี่และความลึกจากความเสียหายต่อฟันเพราะทานอาหารบางอย่าง) เป็นวิธีการที่ใช้บ่อย และดังนั้นจึงได้การยอมรับอย่างกว้างขวางว่า เป็นตัวบ่งชี้การทานอาหารบางชนิด ค่าชี้ว่า Homo habilis เป็นมนุษย์ที่ทานอาหารทั่วไปเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปเป็นอาหารของสัตว์กินทั้งพืชและสัตว์[19]

การตีความ[แก้]

H. habilis เชื่อว่าเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีเครื่องมือหินแบบ Olduwan เพื่อฆ่าและแล่หนังสัตว์[20] เป็นเครื่องมือที่ล้ำหน้ากว่าเครื่องมืออื่น ๆ ที่เคยใช้มาทั้งหมด ทำให้ได้เปรียบในการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ก่อนหน้านี้ยากเกินสำหรับสัตว์อันดับวานร H. habilis จะเป็นสายพันธุ์มนุษย์แรกที่สามารถใช้เครื่องมือหินหรือไม่ ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจนเพราะแม้แต่ Australopithecus garhi ซึ่งมีอายุประมาณ 2.6 ล้านปีก่อน ก็ยังพบพร้อมกับเครื่องมือหินด้วย

ขนาดข้อต่อของแขนขาของมนุษย์จำพวกนี้คล้ายกับ A. afarensis มากกว่ามนุษย์พวกอื่น ๆ ซึ่งอาจแสดงนัยว่า บางที H. sapiens อาจไม่คล้ายกับมนุษย์พวกนี้จริง ๆ ตามที่เสนอ สัดส่วนร่างกายของมนุษย์พวกนี้สมกับกะโหลกศีรษะและฟัน และแสดงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ H. erectus[21]

ใบหน้าโดยประมาณของ Homo habilis

ผู้ชำนาญการโดยมากสมมุติว่า ทั้งเชาว์ปัญญาและโครงสร้างทางสังคมของมนุษย์กลุ่มนี้ ซับซ้อนกว่าของ australopithecine หรือลิงชิมแปนซีโดยทั่วไป H. habilis ใช้เครื่องมือโดยหลักเพื่อหากินซากสัตว์ เช่น ตัดเนื้อออกจากซากสัตว์ ไม่ใช่เพื่อป้องกันตัวหรือล่าสัตว์ อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะใช้เครื่องมือ มนุษย์กลุ่มนี้ก็ยังไม่ชำนาญการล่าสัตว์เหมือนกับมนุษย์กลุ่มอื่น ๆ เพราะหลักฐานดึกดำบรรพ์จำนวนมากแสดงว่า มนุษย์กลุ่มนี้เป็นอาหารของสัตว์ล่าเหยื่อขนาดใหญ่ เช่น เสือเขี้ยวดาบสกุล Dinofelis ซึ่งมีขนาดพอ ๆ กับเสือจากัวร์ (ใหญ่ที่สุด 135 กก. ยาวจากจมูกถึงปลายหาง 2.7 เมตร)[22]

มนุษย์กลุ่มนี้อยู่กับไพรเมตคล้ายมนุษย์อื่น ๆ รวมทั้ง Paranthropus boisei ที่บางกลุ่มอยู่ได้เป็นพัน ๆ ปี แต่อาจเป็นเพราะนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการทานอาหารที่เฉพาะเจาะจงน้อยกว่า H. habilis จึงได้กลายเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์สปีชีส์ต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง เทียบกับ P. boisei และ robust australopithecine ที่หายไปจากบันทึกซากดึกดำบรรพ์ และยังอาจอยู่ร่วมกัน H. erectus ในแอฟริกาเป็นเวลากว่า 500,000 ปี[23]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Antón, S. C. (2012). "Early Homo: Who, When, and Where". Current Anthropology. 53 (6): 279. doi:10.1086/667695.
  2. Schrenk, Friedemann; Kullmer, Ottmar; Bromage, Timothy (2007). Henke, Winfried; Tattersall, Ian (บ.ก.). The Earliest Putative Homo Fossils. Handbook of Paleoanthropology. pp. 1611–1631. doi:10.1007/978-3-540-33761-4_52. พิสัยอายุเหลื่อมล้ำกับของ Homo erectus ดู "Fossils in Kenya Challenge Linear Evolution". New York Times. 9 August 2007.
  3. 3.0 3.1 Wood, Bernard (3 April 2014). "Fifty Years After Homo habilis". Nature: 31–33.
  4. Collard, Mark; Wood, Bernard (2015). "Defining the Genus Homo". p. 2137. Wood and Collard’s (1999) proposal to remove H. habilis and H. rudolfensis from Homo and assign them to a different genus or pair of genera remains valid.
  5. 5.0 5.1 Miller, J.M.A. (2000). "Craniofacial variation in Homo habilis: an analysis of the evidence for multiple species". American Journal of Physical Anthropology. 112 (1): 103–128. doi:10.1002/(SICI)1096-8644(200005)112:1<103::AID-AJPA10>3.0.CO;2-6. PMID 10766947.
  6. 6.0 6.1 doi:10.1126/science.aaa1343
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand See also
  7. Wood, Bernard; Richmond, Brian G; Richmond, BG (2000). "Human evolution: taxonomy and paleobiology". Journal of Anatomy. 197 (Pt 1): 19–60. doi:10.1046/j.1469-7580.2000.19710019.x. PMC 1468107. PMID 10999270.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) p. 41: "A recent reassessment of cladistic and functional evidence concluded that there are few, if any, grounds for retaining H. habilis in Homo, and recommended that the material be transferred (or, for some, returned) to Australopithecus (Wood & Collard, 1999)."
  8. 8.0 8.1 "Homo habilis". Australian Museum. 16 September 2013. สืบค้นเมื่อ 9 September 2014.
  9. Tattersall, I; Schwartz, JH (2001). Extinct Humans. New York: Westview Press. p. 111.
  10. Spoor, F; Leakey, MG; Gathogo, PN; Brown, FH; Antón, SC; McDougall, I; Kiarie, C; Manthi, FK; Leakey, LN (9 August 2007). "Implications of new early Homo fossils from Ileret, east of Lake Turkana, Kenya". Nature. 448 (7154): 688–691. doi:10.1038/nature05986. PMID 17687323.
  11. Spoor, F; Leakey, MG; Gathogo, PN; Brown, FH; Antón, SC; McDougall, I; Kiarie, C; Manthi, FK; Leakey, LN (9 August 2007). "Implications of new early Homo fossils from Ileret, east of Lake Turkana, Kenya". Nature. 448 (7154): 688–691. doi:10.1038/nature05986. PMID 17687323. "A partial maxilla assigned to H. habilis reliably demonstrates that this species survived until later than previously recognized, making an anagenetic relationship with H. erectus unlikely" (Emphasis added).
  12. Brown, Graham; Fairfax, Stephanie; Sarao, Nidhi (2006). "Human Evolution". Tree of Life Web Project: Human Evolution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2020. สืบค้นเมื่อ 8 September 2014.
  13. Spoor, F; Gunz, P; Neubauer, S; Stelzer, S; Scott, N; Kwekason, A; Dean, MC (2015). "Reconstructed Homo habilis type OH 7 suggests deep-rooted species diversity in early Homo". Nature. 519 (7541): 83–86. doi:10.1038/nature14224. PMID 25739632.
  14. "Vertebrate fossils record a faunal turnover indicative of more open and probable arid habitats than those reconstructed earlier in this region, in broad agreement with hypotheses addressing the role of environmental forcing in hominin evolution at this time." EN, Erin N DiMaggio; Campisano, CJ; Rowan, J; Dupont-Nivet, G; Deino, AL (2015). "Late Pliocene fossiliferous sedimentary record and the environmental context of early Homo from Afar, Ethiopia". Science. 347: 1355–9. doi:10.1126/science.aaa1415. PMID 25739409.
  15. Johanson, Donald C; Masao, Fidelis T; Eck, Gerald G; White, Tim D; Walter, Robert C; Kimbel, William H; Asfaw, Berhane; Manega, Paul; Ndessokia, Prosper; Suwa, Gen (21 May 1987). "New partial skeleton of Homo habilis from Olduvai Gorge, Tanzania". Nature. 327 (6119): 205–209. doi:10.1038/327205a0. PMID 3106831.
  16. Wood, Bernard (21 May 1987). "Who is the 'real' Homo habilis?". Nature. 327 (6119): 187–188. doi:10.1038/327187a0. PMID 3106828.
  17. Ruff, Christopher (2009). "Relative Limb Strength and Locomotion in Homo habilis". American Journal of Physical Anthropology. 138: 90–100.
  18. Ungar, Peter (9 February 2012). "Dental Evidence for the Reconstruction of Diet in African Early Homo". Current Anthropology. 53: S318–S329. doi:10.1086/666700.
  19. Ungar, Peter; Grine, Frederick; Teaford, Mark; Zaatari, Sireen (2006-01-01). "Dental Microwear and Diets of African Early Homo". Journal of Human Evolution. 50: 78–95. doi:10.1016/j.jhevol.2005.08.007.
  20. Pollard, Elizabeth. Worlds Together, Worlds Apart. New York. p. 11. ISBN 978-0-393-91847-2.
  21. Haeusler, Martin (April 2004). "Body Proportions of Homo Habilis Reviewed". Journal of Human Evolution. 46 (4): 433–465.
  22. Mayell, Hillary. "Killer Cats Hunted Human Ancestors". National Geographic News. สืบค้นเมื่อ 15 February 2008.
  23. Urquhart, James (8 August 2007). "Finds test human origins theory". BBC News. สืบค้นเมื่อ 27 July 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]