ภูมิอากาศแบบอบอุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ภูมิอากาศแบบอบอุ่นตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน

ในทางภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศแบบอบอุ่น (อังกฤษ: Temperate climate) ของโลก เริ่มต้นตั้งแต่ละติจูดกลางซึ่งครอบคลุมระหว่างเขตร้อนกับบริเวณเขตขั้วโลก[1] โดยทั่วไปแล้วเขตเหล่านี้จะมีช่วงอุณหภูมิที่กว้างตลอดทั้งปี และมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลที่แตกต่างกันมากเมื่อเทียบกับภูมิอากาศแบบร้อนซึ่งมักมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพียงเล็กน้อย

ในภูมิอากาศแบบอบอุ่น ตำแหน่งละติจูดไม่เพียงแต่จะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิแล้ว แต่กระแสน้ำในทะเล ทิศทางลมที่พัดผ่านทวีป (ขนาดของผืนดินมีขนาดใหญ่เพียงใด) และระดับความสูง ยังเป็นตัวกำหนดอุณหภูมิในภูมิอากาศในแบบอบอุ่นอีกด้วย

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน กำหนดสภาพภูมิอากาศว่า "อบอุ่น" เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า −3 องศาเซลเซียส (26.6 องศาฟาเรนไฮต์) แต่ต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส (64.4 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนที่หนาวที่สุด อย่างไรก็ตามยัมีการจำแนกประเภทสภาพอากาศแบบอื่น ๆ ที่กำหนดค่าต่ำสุดที่ 0 องศาเซลเซียส (32.0 องศาฟาเรนไฮต์)[2][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Weather & Climate Change: Climates around the world". Education Scotland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2016.
  2. "Latitude & Climate Zones". The Environmental Literacy Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-30. สืบค้นเมื่อ 15 July 2017.
  3. "Patterns of Climate". Weather-climate.org.uk. สืบค้นเมื่อ 15 July 2017.