ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศเซนต์ลูเชีย

พิกัด: 13°53′00″N 60°58′00″W / 13.88333°N 60.96667°W / 13.88333; -60.96667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เซนต์ลูเซีย)
เซนต์ลูเชีย

ตราแผ่นดินของเซนต์ลูเชีย
ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของ ประเทศเซนต์ลูเชีย  (วงกลมสีแดง) ในแคริบเบียน
ที่ตั้งของ ประเทศเซนต์ลูเชีย  (วงกลมสีแดง)

ในแคริบเบียน

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
แคสตรีส์
13°53′00″N 60°58′00″W / 13.88333°N 60.96667°W / 13.88333; -60.96667[1]
ภาษาราชการอังกฤษ
ภาษาพื้นถิ่นครีโอลเซนต์ลูเชีย[2]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2010[3])
ศาสนา
(ค.ศ. 2010)[4]
การปกครองรัฐเดี่ยว ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญในระบบรัฐสภา
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
เอร์โรล ชาลส์ (รักษาการ)
ฟิลิป เจ. ปีแอร์
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
เอกราช
1 มีนาคม ค.ศ. 1967
• เอกราชจากสหราชอาณาจักร
22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979
พื้นที่
• รวม
617 ตารางกิโลเมตร (238 ตารางไมล์) (อันดับที่ 178)
1.6
ประชากร
• ค.ศ. 2022 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 184,961 (อันดับที่ 189)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2010
165,595
299.4 ต่อตารางกิโลเมตร (775.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 29)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
ลดลง 2.480 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]
ลดลง 13,708 ดอลลาร์สหรัฐ[5]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
ลดลง 1.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]
ลดลง 9,780 ดอลลาร์สหรัฐ[5]
จีนี (ค.ศ. 2016)51.2[6]
สูง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)ลดลง 0.715[7]
สูง · อันดับที่ 106
สกุลเงินดอลลาร์แคริบเบียนตะวันออก (XCD)
เขตเวลาUTC−4 (AST)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+1 758
รหัส ISO 3166LC
โดเมนบนสุด.lc

เซนต์ลูเชีย (อังกฤษ: Saint Lucia; ฝรั่งเศส: Sainte-Lucie) เป็นประเทศที่เป็นเกาะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของทะเลแคริบเบียน และติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก[8] เซนต์ลูเชียเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (Lesser Antilles) โดยอยู่ทางทิศเหนือของประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศบาร์เบโดส และทางทิศใต้ของเกาะมาร์ตินีกของฝรั่งเศส กินพื้นที่ 617 km2 (238 ตารางไมล์) และรายงานประชากรตามสำมะโน ค.ศ. 2010 ที่ 165,595 คน[9]

ประเทศเซนต์ลูเชียรู้จักในนาม "Helen of the West"

ศัพทมูล

[แก้]

มีการตั้งชื่อเซนต์ลูเชียตามนักบุญลูซีแห่งซีรากูซา (ค.ศ. 283 – 304)[10] เซนต์ลูเชียและไอร์แลนด์เป็นรัฐอธิปไตยเพียงสองประเทศบนโลกที่ตั้งชื่อประเทศตามผู้หญิง (ไอร์แลนด์ตั้งชื่อตามเทพีแห่งการเจริญพันธุ์ของเซลติก Eire)[11] อย่างไรก็ตาม เซนต์ลูเชียเป็นประเทศเดียวที่ตั้งชื่อตามบุคคลที่มีจริงทางประวัติศาสตร์ ตำนานระบุว่าเรือของนักเดินเรือฝรั่งเศสอัปปางบนเกาะในวันที่ 13 ธันวาคม ตรงกับวันฉลองนักบุญลูซี ทำให้พวกเขาตั้งชื่อเกาะตามเธอเพื่อเป็นการให้เกียรติ[12]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เซนต์ลูเชียเป็นหนึ่งในหมู่เกาะวินด์เวิร์ด (Windward Islands) ได้รับการตั้งชื่อตามนามของนักบุญลูซีแห่งไซราคิวส์ ซึ่งเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ชาวยุโรปมาเยือนเซนต์ลูเชียครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2043 มีการทำสนธิสัญญาระหว่างชนพื้นเมืองที่นี่กับฝรั่งเศส ทำให้เซนต์ลูเชียก็ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2203 ในระหว่างปี พ.ศ. 2206-2210 เซนต์ลูเชียถูกอังกฤษเข้ายึดครอง และต่อมา เกิดสงครามแย่งชิงเซนต์ลูเชียระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสทั้งหมด 14 ครั้ง จนท้ายที่สุด อังกฤษสามารถยึดครองเซนต์ลูเชียได้สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2357 เซนต์ลูเชียเริ่มใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ในปี พ.ศ. 2467 (เริ่มเปิดให้มีการออกเสียงของประชาชนในปี พ.ศ. 2496) และในระหว่างปี พ.ศ. 2501-2505 เซนต์ลูเชียได้เข้าเป็นสมาชิกสหพันธรัฐเวสต์อินดีส ท้ายที่สุด ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 เซนต์ลูเชียได้รับเอกราช และเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพอังกฤษ ดังนั้นในวันนี้ของทุก ๆ ปีจึงถือเป็นวันหยุดสำคัญประจำชาติ นอกจากนี้วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ยังบังเอิญตรงกับวันเกิดของนักการทูตอังกฤษที่มีชื่อเสียงชื่อ ลูเซีย ลาดี (Lucia Ladi) อีกด้วย

ภูมิศาสตร์

[แก้]
แผนที่ของเซนต์ลูเชีย

เซนต์ลูเชียมีลักษณะเป็นเกาะภูเขาไฟที่มีภูมิประเทศมีความเป็นภูเขามากกว่าเกาะอื่น ๆ ในแถบทะเลแคริบเบียนส่วนใหญ่ โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศอยู่ที่เขากีมี ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลที่ 950 เมตร (3,120 ฟุต)[10][13] ส่วนเขา Pitons ที่เป็นภูเขาสองลูก เป็นแลนด์มาร์กที่โด่งดังที่สุดของเกาะ[10][13] ทอดตัวระหว่างเขตซูฟรีแยร์และเขตชัวเซิล ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ ป่าไม้ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 77% ของพื้นที่ทั้งหมด[10]

นอกจากนี้ยังมีเกาะขนาดเล็กจำนวนมากริมชายฝั่ง โดยเกาะที่ใหญ่ที่สุดคือหมู่เกาะมาเรียทางตะวันออกเฉียงใต้

เมืองหลวงของประเทศนี้คือแคสตรีส์ (ประชากร 60,263) ซึ่งมีประชากร 32.4% อาศัยอยู่ในกรุงนี้ ส่วนเมืองหลักอื่น ๆ ได้แก่ Gros Islet, ซูฟรีแยร์ และวีเยอฟอร์ ประชากรในประเทศมักกระจุกอยู่บริเวณรอบชายฝั่ง โดยบริเวณภายในมีประชากรเปราะบาง เนื่องจากป่าที่ชุกชุม[10][13]

ภูมิอากาศ

[แก้]

ลักษณะภูมิอากาศของเซนต์ลูเชียเป็นแบบเขตร้อน และได้รับอิทธิพลจากลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะแห้งในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน และฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน

ข้อมูลภูมิอากาศของเซนต์ลูเชีย[14]
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29
(84)
29
(84)
29
(84)
30
(86)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
30
(86)
29
(84)
30.2
(86.3)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26
(79)
26
(79)
26
(79)
27
(81)
28
(82)
28
(82)
28
(82)
28
(82)
28
(82)
28
(82)
27
(81)
26
(79)
27.2
(80.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 23
(73)
23
(73)
24
(75)
24
(75)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
24
(75)
24
(75)
24.3
(75.8)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 125
(4.92)
95
(3.74)
75
(2.95)
90
(3.54)
125
(4.92)
200
(7.87)
245
(9.65)
205
(8.07)
225
(8.86)
260
(10.24)
215
(8.46)
160
(6.3)
2,020
(79.53)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 14 9 10 10 11 15 18 16 17 20 18 16 174
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 248 226 248 240 248 240 248 248 240 217 240 248 2,891
แหล่งที่มา:

การเมืองการปกครอง

[แก้]

ในฐานะที่เป็นสมาชิกของเครือจักรภพ เซนต์ลูเชียมีสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 เป็นประมุขของประเทศ อย่างไรก็ตาม อำนาจในการปกครองประเทศจะอยู่ที่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยปกตินายกรัฐมนตรีจะมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง โดยในรัฐสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร 17 คน และวุฒิสภา 11 คน

เซนต์ลูเชีย เป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมแคริบเบียน (Caribbean Community: CARICOM) และองค์การรัฐแคริบเบียนตะวันออก (Organisation of Eastern Caribbean States: OECS)

นิติบัญญัติ

[แก้]

บริหาร

[แก้]

ตุลาการ

[แก้]

คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ ภายใต้การเสนอของนายกรัฐมนตรี โดยทั่วไปนายกรัฐมนตรี มาจากหัวหน้าพรรคที่ได้คะแนนเสียงข้างมาก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
เซนต์ลูเชียแบ่งการปกครองออกเป็น 11 เขต (quarters) ดังนี้
  1. เขตอองส์-ลา-เร (Anse-la-Raye)
  2. เขตแคสตรีส์ (Castries)
  3. เขตชัวเซิล (Choiseul)
  4. เขตโดแฟง (Dauphin)
  5. เขตเดนเนอรี (Dennery)
  6. เขตโกรซีสเล (Gros Islet)
  7. เขตลาบอรี (Laborie)
  8. เขตมีกู (Micoud)
  9. เขตปราสแลง (Praslin)
  10. เขตซูฟรีแยร์ (Soufrière)
  11. เขตวีเยอฟอร์ (Vieux Fort)

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/75/Coat_of_Arms_of_Saint_Lucia.svg เก็บถาวร 2012-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]

กองทัพ

[แก้]

เศรษฐกิจ

[แก้]

โครงสร้าง

[แก้]

เศรษฐกิจของเซนต์ลูเชียขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์จากกล้วยและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมขนาดเล็กบางส่วน ประเทศเซนต์ลูเชียมีกิจการทางด้านเกษตรกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และภาษีจากภาคเกษตรกรรมก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2503

การท่องเที่ยว

[แก้]

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเซนต์ลูเชียมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศรองจากการส่งออกผลิตภัณฑ์จากกล้วย และเป็นที่คาดหวังว่าอุตสาหรรมท่องเที่ยวจะเจริญเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ เนื่องจากปัจจุบันตลาดการส่งออกกล้วยเริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ทุก ๆ ปีในช่วง dry season (มกราคม − เมษายน) นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเซนต์ลูเชีย โดยสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากก็คือลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เป็นเขตร้อน รวมถึงชายหาดและรีสอร์ทต่าง ๆ มากมาย นอกจากนี้ สิ่งอื่น ๆ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ได้แก่ การเป็นเกาะภูเขาไฟ สวนพฤกษศาสตร์ ป่าดิบชื้น (Rainforest) และอุทยานแห่งชาติเกาะพิเจียน

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

ประชากรศาสตร์

[แก้]

เชื้อชาติ

[แก้]

ประชากรมากกว่า 90% ของประเทศสืบเชื้อสายมาจากชาวแอฟริกา ประมาณร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดเป็นลูกครึ่งระหว่างชาวผิวขาวกับผิวดำ คนกลุ่มนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้เซนต์ลูเชียยังมีประชากรเชื้อสายอื่น ๆ อีก ได้แก่ อินโด-แคริบเบียน (อินเดีย) ประมาณร้อยละ 3 และมีเพียงร้อยละ 1.1 ที่เป็นชาวยุโรปแท้ (สืบเชื้อสายฝรั่งเศส อังกฤษ สกอตแลนด์ หรือไอร์แลนด์ ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม)

ภาษา

[แก้]

ภาษาทางการประจำหมู่เกาะคือภาษาอังกฤษ[2][15] นอกจากนี้ ยังมีภาษาครีโอลฝรั่งเศสเซนต์ลูเชีย มีผู้พูด 95% ของประชากรทั้งหมด[16] มีการใช้งานภาษาครีโอลแอนทิลลีสในวรรณกรรมและดนตรี และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ[16] ภาษานี้มีที่มาจากภาษาฝรั่งเศสกับกลุ่มภาษาแอฟริกันตะวันตก โดยมีศัพท์บางส่วนจากภาษาเกาะแคริบและอื่น ๆ เซนต์ลูเชียเป็นสมาชิกของลาฟร็องกอฟอนี[17]

ศาสนา

[แก้]

ศาสนาในเซนต์ลูเชีย (2010)[3]

  คริสต์ (90.4%)
  ราสตาารี (1.9%)
  ไม่มี (5.9%)
  ไม่ระบุ (1.4%)
  อื่น ๆ (0.4%)

ศาสนาหลักในเซนต์ลูเชียคือศาสนาคริสต์ ประมาณ 61.5% ของประชากรนับถือนิกายโรมันคาทอลิก ส่วนอีก 25.5% นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ (รวมเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ 10.4%, เพนเทคอสทัล 8.9%, แบปติสต์ 2.2%, แองกลิคัน 1.6%, เชิร์ชออฟก็อด 1.5%, โปรเตสแตนต์อื่น ๆ 0.9%) อีแวนเจลิคอลมีประชากรที่นับถือ 2.3% และพยานพระยะโฮวามีผู้นับถือ 1.1% นอกจากนี้ ประมาณ 1.9% ของประชากรนับถือขบวนการราสตาฟารี ศาสนาอื่น ๆในประเทศได้แก่ฮินดู, บาไฮ, ยูดาห์ และพุทธ

วัฒนธรรม

[แก้]

วัฒนธรรมของเซนต์ลูเชียมีประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมแอฟริกา, ฝรั่งเศส และอังกฤษ หนึ่งในภาษาที่สองของประเทศ คือ ภาษา Kreole เป็นภาษาที่เป็นที่เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาฝรั่งเศส เกทะกะพี

ดนตรีและการเต้นรำ

[แก้]

การเต้นรำแบบพื้นเมืองที่เป็นที่นิยมในเซนต์ลูเชีย คือ กาดรีย์ (Quadrille) นอกจากนี้ ในส่วนของดนตรี เซนต์ลูเชียมีดนตรีพื้นบ้านที่เป็นจุดแข็งไม่แพ้ดนตรีประเภท soca zouk หรือ reggae ของชาวแคริบเบียนแห่งอื่น ๆ และทุก ๆ ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เซนต์ลูเชียจะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานเทศกาลเพลงแจ๊สที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Saint Lucia in Geonames.org (cc-by)
  2. 2.0 2.1 "About St. Lucia". Castries, St. Lucia: St. Lucia Tourist Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2013. สืบค้นเมื่อ 2022-07-20. The official language spoken in Saint Lucia is English although many Saint Lucians also speak a French dialect, Creole (Kwéyòl). {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  3. 3.0 3.1 "Saint Lucia". CIA World Factbook. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 13 March 2018.
  4. "Central America :: Saint Lucia — The World Factbook - Central Intelligence Agency". www.cia.gov. 3 March 2022.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "St. Lucia". International Monetary Fund. 2016.
  6. "Gini Index coefficient". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 3 August 2021.
  7. "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
  8. "The Saint Lucia Constitution" (1978-December-20 effective 1979-February-22), Government of St. Lucia, December 2008.
  9. "Population & Vital Statistics". Central Statistics Office of St. Lucia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2016. สืบค้นเมื่อ 18 November 2016. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 "CIA World Factbook – St Lucia". สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.
  11. Hartston, William (21 February 2016). "Top 10 facts about St Lucia". Express.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2016-06-13.
  12. Harmsen, Ellis & Devaux 2014, p. 14.
  13. 13.0 13.1 13.2 "Encyclopedia Britannica – St Lucia". สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.
  14. 14.0 14.1 "St Lucia climate". Climates to travel. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.
  15. Bureau of Western Hemisphere Affairs (U.S. Department of State) (12 August 2011). "Background Note: Saint Lucia". United States Department of State. สืบค้นเมื่อ 11 November 2011. Languages: English (official); a French patois is common throughout the country.
  16. 16.0 16.1 "Kweyolphone Countries Take Stock of the Language's Growth". Government of Saint Lucia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2012. สืบค้นเมื่อ 22 August 2008.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  17. "Welcome to the International Organisation of La Francophonie's official website". Paris: Organisation internationale de la Francophonie. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-04. สืบค้นเมื่อ 11 November 2011.

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]