เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าชายฟริโซ
ประสูติ25 กันยายน พ.ศ. 2511
โรงพยาบาลยูเทรกต์ ยูเทรกต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์
สิ้นพระชนม์12 สิงหาคม พ.ศ. 2556 (44 ปี)
ฮุส เทน บอสซ์ เดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ฝังพระศพ16 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สุสานปฏิรูปดัตช์ ลาเกอ วูเชท์ ยูเทรกต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์
พระชายาเจ้าหญิงมาเบลแห่งออเรนจ์-นัสเซา
พระนามเต็ม
โยฮัส ฟริโซ แบร์ฮาร์ด คริสเตียน เดวิช แวน
พระบุตร
ราชวงศ์
พระบิดาเจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์
พระมารดาเจ้าหญิงเบียทริกซ์ อดีตสมเด็จพระราชินีนาถเเห่งเนเธอร์แลนด์
ศาสนาคริสตจักรโปรเตสแตนต์แห่งเนเธอร์แลนด์

เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา (อังกฤษ: His Royal Highness Prince Friso of Orange-Nassau) เป็นพระราชโอรสพระองค์กลางในสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์กับ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ เป็นพระราชอนุชาใน สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ และเป็นพระเชษฐาในเจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ พระองค์อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงมาเบลแห่งออเรนจ์-นัสเซา มีพระธิดารวม 2 พระองค์ พระองค์สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ขณะมีพระชันษา 44 ชันษา

พระประวัติ[แก้]

เจ้าชายฟริโซ ประสูติ ณ โรงพยาบาลอูเครก เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2511 เป็นพระราชโอรสพระองค์กลางใน สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อแรกประสูติทรงอยู่ในอันดับที่ 3 ของการสืบราชบัลลังก์ ต่อมาปี พ.ศ. 2523 พระราชมารดาครองราชย์ ทำให้เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ พระเชษฐา เลื่อนเป็นดันดับที่ 1 พระองค์จึงเลื่อนอันดับเป็นที่ 2 ทรงได้รับการบัพติศมาเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ในปีเดียวกัน ณ มหาวิหารเซนต์มาร์ตินอูเครก พระบิดาและพระมารดาอุปถัมภ์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ โจฮัส คริสเตียน บารอนเจนนิส เฮอร์แมน สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์(พระราชอัยยิกา) และ คริสตินา ฟ็อน อัมส์แบร์ค (พระปิตุจฉา)

การศึกษา[แก้]

ในปี พ.ศ. 2529 พระองค์ทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมแอสเตรง ในกรุงเฮก และในปี พ.ศ. 2531 ทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พระองค์เรียนที่Delft University of Technologyซึ่งเขาได้รับการศึกษาระดับปริญญาของวิศวกรในวิศวกรรมการบิน นอกจากนี้ยังทรงได้รับปริญญาด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอีราสมุส เพื่อทรงเตรียมความพร้อมของพระองค์ในการสืบทอดราชบัลลังก์

ทรงงาน[แก้]

เมื่อทรงเรียนจบแล้ว ทรงทำงาน ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ในด้านของการให้คำปรึกษาการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ยังทรงเป็นเหรัญญิก ของครอบครัว เนื่องจากพระราชมาดาทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ทรงดูแลการเงินของครอบครัว

เสกสมรส[แก้]

30 มิถุนายน พ.ศ. 2546 สำนักพระราชวังเนเธอร์แลนด์ได้ประกาศว่าเจ้าชายฟริโซจะเสกสมรสกับนาสาวมาเบล วินเซอร์ สมิทธิ์ แต่คณะรัฐมนตรีไม่เห็นชอบในเรื่องนี้ แต่พระเชษฐาก็ไม่ขัดขวางความรักของพระอนุชาแต่อย่างใด และเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2547 พระองค์ก็อภิเษกสมรสที่เมืองเดล์ฟ แต่อย่างไรก็ดีพระองค์ทรงหลุดพ้นจากการเป็นรัชทายาทในการสืบบัลลังก์ลำดับ 2 ต่อมาเบลได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าหญิง พร้อมฐานันดร รอยัลไฮเนส

ความคิดเห็นในการเสกสมรสของเจ้าชายฟริโซ[แก้]

ความเห็นของนายกรัฐมนตรี

ที่ไม่อนุญาตให้เจ้าชายฟริโซสมรสกับมาเบล เพราะมาเบล มีคดีพัวพันยุ่งเกี่ยวกับเจ้าพ่อค้ายาระดับชาติของเนเธอร์แลนด์

— ยัน เปเตอร์ บัลเกอเนนเดอ
นายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์

พระราชดำรัสของเจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์

ข้าพเจ้าเชื่อใจและเห็นใจในตัวของฟริโซ น้องชายข้าพเจ้าผู้ไม่เคยหวังอยากเป็นกษัตริย์ หากได้สมรส ขอให้มีความสุขสืบไป

— เจ้าชายวิลเลิม
มกุฎราชกุมารแห่งเนเธอร์แลนด์
พระเชษฐา

พระราชดำรัสของสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์

อาจจะแลกมาด้วยฐานันดร ก็ไม่ทำให้ฟริโซหลานข้าพเจ้าเปลี่ยนใจ ยายขอให้ฟริโซครองรักกันสืบไป

พระราชดำรัสของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์

นี่เป็นการเสกสมรสของฟริโซ ข้าพเจ้าคิดว่าเขามีความสุขมาก แม้การลดฐานันดรก็ไม่ทำให้เขาตัดใจได้ ข้าพเจ้าเห็นใจและเข้าใจ ข้าพเจ้าภาวนาให้รักยืนยาวสืบไป

พระดำรัสของเจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์

การเสกสมรสของพี่ชายข้าพเจ้านั้น ย่อมทำให้เขาต้องลาออกจาการเป็นรัชทายาทลำดับที่ 2 แต่นั้นไม่ทำให้พี่ลาออกจากการเป็นผู้ที่รักมั่นได้เลย ขอให้รักของพี่และมาเบลยืนยาวสืบไป

หลังจากเสกสมรสแล้ว พระองค์และพระชายาเสด็จไปประทับ ณ ลอนดอน และพระชายามีประสูติกาลพระธิดาทั้ง 2 ที่นั้น (พระธิดาดำรงพระยศที่ เคาน์เตส)

สิ้นพระชนม์[แก้]

เจ้าชายฟริโซ สิ้นพระชนม์ด้วยสาเหตุภาวะแทรกซ้อนจากอุบัติเหตุเล่นสกีในออสเตรีย ซึ่งทรงเข้าประทับรักษาพระอาการนานหลายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556 โดยในงานพระศพนั้น สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ และสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม รวมถึงนาย มาร์ก รึตเตอร์ ได้ทรงกล่าวไว้อาลัยดังนี้

พระราชดำรัสของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์

แด่ฟริโซผู้ล่วงลับ ในฐานะของแม่นั้น ย่อมเสียใจประดุจดวงใจสลาย ขอให้ฟริโซไปสู่ภพภูมิที่ดี ฟริโซจะอยู่ในใจของข้าพเจ้าและพสกนิกรชาวเนเธอร์แลนด์ตลอดไป

พระราชดำรัสของสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม

การจากไปของฟริโซ ทำให้ข้าพเจ้าโศกเศร้าเป็นอย่างถึงที่สุด เหมือนรอบๆตัวหมุนช้าลงหลังได้รับข่าว ข้าพเจ้าจะคิดถึงฟริโซ น้องชายของข้าพเจ้าตลอดไป

คำไว้อาลัยของนายมาร์ก รึตเตอ

แด่ฝ่าพระบาทผู้ล่วงลับ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายคำอำลา ขอให้ฝ่าพระบาทเสด็จสู่ภพภูมิที่ดี นึกถึงครั้นพระองค์พระราชทานพระอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าเข้าเฝ้า จะอยู่ในใจของเราทั้ง 2 ตลอดไป

— มาร์ก รึตเตอ
นายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์

พระศพ[แก้]

พิธีพระศพของพระองค์ถูกจัดขึ้นอย่างเรียบง่าย โดยภายในงานมีเพียงพระราชวงศ์ดัตช์เข้าร่วมพิธี ประกอบด้วยสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ พระราชวงศ์อื่น ๆ เช่น พระเจ้าฮารัลด์ที่ 5 ซึ่งเป็นพระบิดาทูลหัว ราชินีซอนยา เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก ซึ่งเป็นพระสหาย เจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]