มารี โซฟีแห่งเฮ็สเซิน-คัสเซิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มารี โซฟีแห่งเฮ็สเซิน-คัสเซิล
สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
ระหว่าง13 มีนาคม ค.ศ. 1808 - 3 ธันวาคม ค.ศ. 1839
ราชาภิเษก31 กรกฎาคม ค.ศ. 1815
พระราชวังเฟรเดอริกส์บอร์ก
สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์
ระหว่าง13 มีนาคม ค.ศ. 1808 - 14 มกราคม ค.ศ. 1814
พระราชสมภพ28 ตุลาคม พ.ศ. 2310
ฮาเนา เฮสส์ ประเทศเยอรมนี
สวรรคต22 มีนาคม พ.ศ. 2395
พระราชวังเฟรเดอริกส์บอร์ก โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
(พระชนมายุ 84 พรรษา)
พระราชสวามีพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก
พระราชบุตร
เจ้าชายคริสเตียน
เจ้าหญิงมารี หลุยส์
เจ้าหญิงแคโรไลน์แห่งเดนมาร์ก
เจ้าหญิงหลุยส์
เจ้าชายคริสเตียน
เจ้าหญิงจูเลียนา หลุยส์
เจ้าหญิงเฟรเดอริเก มารี
เจ้าหญิงวิลเฮลมิเน มารีแห่งเดนมาร์ก
ราชวงศ์เฮสส์
โอลเดนบวร์ก (โดยการอภิเษกสมรส)
พระราชบิดาเจ้าชายชาร์ลส์แห่งเฮสส์-คาสเซิล
พระราชมารดาเจ้าหญิงหลุยส์แห่งเดนมาร์ก

มารี โซฟีแห่งเฮ็สเซิล-คัสเซิล (ภาษาเยอรมัน:Marie Sophie Friederike von Hessen-Kassel,28 ตุลาคม พ.ศ. 2310 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2395) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ และทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น ผู้สำเร็จราชการแห่งเดนมาร์กในระหว่างปีพ.ศ. 2357 ถึง พ.ศ. 2358 ในช่วงที่พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์กพระสวามีเสด็จประพาสต่างประเทศ เป็นพระราชินีที่เป็นนิยมของชาวเดนมาร์กซึ่งนับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระราชินีหลุยส์แห่งเดนมาร์กทรงเคยเป็นพระราชินีที่เป็นที่นิยมในเดนมาร์กมาก่อน และชาวเดนมาร์กก็ไม่เคยเห็นว่าพระนางเป็นชาวต่างชาติแต่ได้คิดว่าพระนางทรงเป็นเดนมาร์กทั้งกายและใจ

ภูมิหลัง[แก้]

เจ้าหญิงมารี โซฟีแห่งเฮสส์-คาสเซิลเป็นพระราชธิดาพระองค์โตในเจ้าชายชาร์ลส์แห่งเฮสส์-คาสเซิลกับเจ้าหญิงหลุยส์แห่งเดนมาร์ก พระนางประสูติในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2310 ณ เมืองฮาเนา แคว้นเฮสส์ พระอัยกาและพระอัยยิกาฝ่ายพระบิดาของพระนางคือ เฟรเดอริคที่ 2 แลนด์เกรฟแห่งเฮสส์-คาสเซิลและเจ้าหญิงแมรีแห่งบริเตนใหญ่ ซึ่งเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่กับสมเด็จพระราชินีคาโรลีนแห่งบริเตนใหญ่ พระอัยกาและพระอัยยิกาฝ่ายพระมารดาของพระนางคือ พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์กกับสมเด็จพระราชินีหลุยส์แห่งเดนมาร์กซึ่งเป็นพระราชธิดาอีกพระองค์หนึ่งของพระเจ้าจอร์จที่ 2 กับสมเด็จพระราชินีคาโรลีน พระบิดาของเจ้าหญิงมารี โซฟีเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองของแลนด์เกรฟและผู้ปกครองแห่งเฮสส์-คาสเซิล เนื่องจากเป็นพระโอรสองค์รองทำให้ทรงไม่มีพระอิศริยยศผู้ปกครองแคว้น ดังนั้นพระองค์จึงทรงดำรงในพระอิศริยยศดังกล่าว และทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์เฮสส์ ราชสำนักเดนมาร์กได้เสนอตำแหน่งต่างๆที่ดีกว่าตำแหน่งจากเฮสส์-คาสเซิลแก่พระองค์

เจ้าหญิงมารี โซฟีทรงเจริญพระชันษาในเดนมาร์ก ที่ซึ่งพระบิดาของพระนางทรงได้รับพระอิศริยยศของเดนมาร์ก ซึ่งก็คือ ตำแหน่งผู้ว่าการแคว้น พระมารดาของพระนางเป็นพระธิดาพระองค์ที่สามของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์กกับหลุยส์แห่งบริเตนใหญ่ สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก ซึ่งทำให้เจ้าหญิงทรงมีศักดิ์เป็นพระนัดดาในพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์กและเป็นพระญาติชั้นหนึ่งของมกุฎราชกุมารเฟรเดอริค ซึ่งต่อมาคือพระสวามีของพระนาง

อภิเษกสมรสและสมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก[แก้]

สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 6 แห่งเดนมาร์ก พระสวามี

ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2333 ณ เมืองก็อตธ็อป พระนางทรงอภิเษกสมรสกับพระญาติชั้นหนึ่งคือ มกุฎราชกุมารเฟรเดอริคแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ และเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ซึ่งต่อมาในอนาคตคือ พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก พระสวามีของพระนางทรงดำรงพระอิศริยยศผู้สำเร็จราชการแผ่นดินตั้งแต่มีพระชนมายุ 16 พรรษาซึ่งตรงกับปีพ.ศ. 2327 ทรงปฏิบัติพระราชกิจแทนพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์ก พระราชบิดาซึ่งมีพระสติวิปลาส และต่อมาเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2351 ทั้งสองพระองค์ทรงครองราชสมบัติหลังจากการสวรรคตของพระเจ้าคริสเตียน โดยพระเจ้าเฟรเดอริคทรงดำรงอยู่ในพระอิศริยยศผู้สำเร็จราชการในทางพฤตินัยมากกว่า 2 ทศวรรษ เจ้าหญิงมารี โซฟีทรงถูกเลือกโดยมกุฎราชกุมารเฟรเดอริคเพื่อมาเป็นพระชายา ซึ่งการอภิเษกสมรสครั้งนี้พระสวามีของพระนางเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระของพระองค์ในราชสำนักและเป็นประโยชน์ต่อเดนมาร์ก เพราะพระนางมีพระโลหิตชาวเดนมาร์กผ่านทางพระมารดาซึ่งเป็นเจ้าหญิงเดนมาร์กและจะทำให้ประชาชนยอมรับในพระนางได้ง่าย ถึงแม้ว่าพระบิดาของพระนางจะเป็นชาวเยอรมัน การอภิเษกสมรสตรั้งนี้เป็นที่ตื่นเต้นในสายตาชาวเดนมาร์กที่จะได้ราชินีซึ่งเป็นชาวเดนมาร์กไม่ใช่ชาวต่างชาติอย่างในอดีต เมื่อพระนางเสด็จมาถึงกรุงโคเปนเฮเกนทรงได้รับการต้อนรับจากพสกนิกรชาวเดนมาร์กอย่างเนืองแน่น แต่เมื่อทรงประทับในราชสำนักเดนมาร์ก พระนางทรงถูกลดความสำคัญเพราะขณะนั้นผู้ที่มีความนิยมในขณะนั้นคือ เจ้าหญิงหลุยส์ ออกัสตาแห่งเดนมาร์กพระขนิษฐาของพระสวามี ซึ่งได้รับการขนานพระนามว่าทรงเป็น สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของราชสำนักเดนมาร์ก พระนางมารี โซฟีทรงถูกกดดันจากการให้กำเนิดบุตร การที่พระเจ้าเฟรเดอริคทรงร่วมพระแท่นกับพระราชินีครั้งล่าสุด ทำให้พระนางทรงได้รับการประชวรทำให้ไม่สามารถมีพระบุตรได้อีกซึ่งทำให้พระสวามีทรงเสียพระทัยมากเพราะพระองค์ประสงค์ที่จะได้พระโอรสที่มีพระพลานามัยสมบูรณ์ พระนางมารี โซฟีทรงถูกบังคับให้ยอมรับการที่พระเจ้าเฟรเดอริคทรงรับเฟรเดอริเก เดนเนมานด์มาเป็นพระสนม ซึ่งทำให้พระนางทรงเสียพระทัยมาก

พระราชินีมารี โซฟีแห่งเดนมาร์ก วาดโดย คริสตอฟเฟอร์ วิลเฮล์ม อัตเคอร์เบิร์ก

ในระหว่างสงครามนโปเลียน พระเจ้าเฟรเดอริคทรงนำเดนมาร์กเข้าสู่สงครามโดยเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส แต่หลังจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1แห่งฝรั่งเศสทรงพ่ายแพ้และหลบหนีออกจากมอสโก ในปีพ.ศ. 2356 ทำให้ทรงถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา การปราชัยครั้งนี้ส่งผลให้เดนมาร์กอยู่ในสถานะผู้แพ้ สวีเดนโดยรัชทายาทคาร์ล จอห์นแห่งสวีเดนได้รีบดำเนินการอย่างรวดเร็วทรงส่งกองทัพที่ประจำอยู่ที่ฮ็อลชไตน์เพื่อการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพเดนมาร์กและสวีเดนในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2357 โดยในสนธิสัญญากำหนดให้เดนมาร์กต้องมอบนอร์เวย์ให้แก่สวีเดน และสวีเดนจะยกแคว้นโพเมราเนียและรูเกนให้เป็นส่วนหนึ่งของเดนมาร์กเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน และจ่ายเงินสมทบสำหรับการเสียนอร์เวย์แก่เดนมาร์ก ซึ่งเรียกว่า สนธิสัญญาเคล และเรียกเหตุการณ์นี้ว่า การสูญเสียนอร์เวย์ของเดนมาร์ก พระเจ้าเฟรเดอริคทรงยอมในสนธิสัญญาเคล พระองค์ทรงเห็นว่าสวีเดนและอังกฤษพยายามจะแบ่งประเทศเดนมาร์ก และทรงเห็นว่ารัชทายาทแห่งสวีเดนจะคุกคามเดนมาร์กทุกเมื่อถ้ามีโอกาส พระองค์ทรงพิจารณาว่าภัยคุกคามของสวีเดนต่อเดนมาร์กนั้นรุนแรง พระองค์ทรงดำริที่จะดึงมหาอำนาจมาช่วยเหลือเดนมาร์กจากการคุกคามของสวีเดน อังกฤษและรัสเซีย โดยพระเจ้าเฟรเดอริคทรงเข้าร่วมในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาในปีพ.ศ. 2357 ทำให้ช่วยรับประกันเอกราชของเดนมาร์กได้ ในช่วงที่พระเจ้าเฟรเดอริคเสด็จไปประชุมที่เวียนนา พระนางมารี โซฟีทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างพ.ศ. 2357 ถึงพ.ศ. 2358 หลังจากการสูญเสียนอร์เวย์ให้แก่สวีเดนทำให้ทั้งสองพระองค์สูญเสียพระอิศริยยศในนอร์เวย์ซึ่งก็คือ พระอิศริยยศ "สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์"

ในระหว่างพระสวามีเสด็จไปประชุมที่เวียนนา พระนางทรงบริหารจัดการกิจการของประเทศเป็นอย่างดีในระหว่างพ.ศ. 2357 ถึงพ.ศ. 2358 พระนางทรงสนพระทัยในเรื่องการเมืองและลำดับศักดิ์ของวงศ์ตระกูล และพระนางทรงนิพนธ์และเผยแพร่หนังสือ Exposé de la situation politique du Danemarc ในปีพ.ศ. 2350 ถึงพ.ศ. 2357 ซึ่งเกี่ยวกับการเมืองของเดนมาร์ก และในปีพ.ศ. 2365 ถึงพ.ศ. 2367 ทรงตีพิมพ์หนังสือ Supplement-Tafeln zu Joh เกี่ยวกับลำดับวงศ์ตระกูล หนังสือเริ่มนี้เป็นแรงบันดาลใจให้พระสวามีใช้ในภายหลังในการรับเจ้าชายคริสเตียนซึ่งต่อมาคือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก พระนางทรงอุปถัมภ์องค์กรการกุศล Det Kvindelige Velgørende Selskab ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2358

บั้นปลายพระชนม์ชีพ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชินีมารี โซฟี
ตราประจำพระอิสริยยศ
การทูลHendes Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 เสด็จสวรรคตในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2382 ณ พระราชวังอามาเลียนเบอร์ก กรุงโคเปนเฮเกน สิริพระชนมายุ 71 พรรษา พระนางทรงดำรงเป็น สมเด็จพระพันปีหลวง ใน 2 รัชกาลถัดมาคือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์กและพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก พระนางทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างสงบและทรงเป็นที่เคารพจากการทีทรงเป็นเสาหลักของราชวงศ์เก่าแก่ พระนางมารี โซฟีทรงสิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2395 ณ พระราชวังเฟรเดอริคเบอร์ก โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก สิริพระชนมายุ 84 พรรษา พระบรมศพถูกฝังที่มหาวิหารร็อคสไลด์เคียงข้างพระบรมศพของพระสวามี

พระโอรส-ธิดา[แก้]

สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 6 แห่งเดนมาร์ก,พระราชินีมารี โซฟี และพระธิดาทั้ง 2 พระองค์ในปีพ.ศ. 2364

พระนางมารี โซฟีและพระเจ้าเฟรเดอริคมีพระโอรส-ธิดารวมกัน 8 พระองค์แต่ 6 พระองค์สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทำให้ทรงเหลือพระธิดา 2 พระองค์ที่ดำรงพระชนม์ชีพจนสูงพระชันษา เนื่องจากทรงไม่มีพระโอรสที่ยังดำรงพระชนม์ชีพ ทำให้เมื่อพระเจ้าเฟรเดอริคสิ้นพระชนม์ ราชบัลลังก์จึงไปได้แก่พระญาติซึ่งครองราชย์เป็น พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก พระโอรส-ธิดาของพระนางได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส (ประสูติและสิ้นพระชนม์) และพระโอรส-ธิดา
เจ้าชายคริสเตียน 179122 กันยายน
พ.ศ. 2334
179123 กันยายน
พ.ศ. 2334
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
เจ้าหญิงมารี หลุยส์ 179219 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2335
179312 ตุลาคม
พ.ศ. 2336
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
เจ้าหญิงแคโรไลน์แห่งเดนมาร์ก 179328 ตุลาคม
พ.ศ. 2336
188131 มันาคม
พ.ศ. 2424
อภิเษกสมรส 1 สิงหาคม พ.ศ. 2372
เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก (พ.ศ. 2335–2406)
ไม่มีพระโอรสธิดา
เจ้าหญิงหลุยส์ 179521 สิงหาคม
พ.ศ. 2338
17957 ธันวาคม
พ.ศ. 2338
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
เจ้าชายคริสเตียน 17971 กันยายน
พ.ศ. 2340
17975 กันยายน
พ.ศ. 2340
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
เจ้าหญิงจูเลียนา หลุยส์ 180212 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2345
180223 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2345
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
เจ้าหญิงเฟรเดอริเก มารี 18083 มิถุนายน
พ.ศ. 2348
180814 กรกฎาคม
พ.ศ. 2348
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
เจ้าหญิงวิลเฮลมิเน มารีแห่งเดนมาร์ก 179318 มกราคม
พ.ศ. 2351
188130 พฤษภาคม
พ.ศ. 2434
อภิเษกสมรสครั้งแรก 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2371
เจ้าชายเฟรเดอริคแห่งเดนมาร์กซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก (พ.ศ. 2351–2406) ต่อมาทรงหย่า
ไม่มีพระโอรสธิดา

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2
ดยุคคาร์ลแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ชอนเดนบวร์ก-กลีคสบวร์ก (พ.ศ. 2356 - พ.ศ. 2421) ซึ่งต่อมาเป็นพระเชษฐาในสมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก
ไม่มีพระโอรสธิดา

พระราชินีมารี โซฟีทรงไม่มีพระโอรสและพระราชนัดดาสายตรงเลย ในขณะที่เจ้าหญิงหลุยส์ แคโรไลน์แห่งเฮสส์-คาสเซิลพระขนิษฐาองค์สุดท้องของพระนางทรงมีทายาทมากมายและยังทรงพระเยาว์มาก พระราชินีมารีจึงทรงรับไว้อุปการะโดยทรงให้การศึกษาตามแบบราชวงศ์ เนื่องจากพระนัดดาที่ทรงรับอุปการะยังทรงพระเยาว์กว่าพระราชธิดาทั้งสองของพระนางมารีมาก ทำให้บางพระองค์ทรงคิดว่าพระราชินีซึ่งเป็นพระมาตุจฉาคือพระอัยยิกาของพระองค์ ซึ่งหนึ่งในพระราชนัดดาที่ทรงรับเลี้ยงคือ เจ้าชายคริสเตียนแห่งไลค์สเบอร์ก ซึ่งต่อมาคือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก

เจ้าชายคริสเตียนแห่งไลค์สเบอร์กและเจ้าหญิงหลุยส์แห่งเฮสส์พระชายา ทรงตั้งพระนามพระธิดาพระองค์หนึ่งว่า มารี โซฟี เฟรเดอริเก แด็กมาร์แห่งไลค์สเบอร์ก ตามพระนามของพระราชินีมารี โซฟี และต่อมาพระธิดาพระองค์นี้ทรงเป็น จักรพรรดินีมารีเยีย เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย พระมเหสีในจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย

พระอิศริยยศ[แก้]

  • 28 ตุลาคม พ.ศ. 2310 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2333 : เจ้าหญิงมารีแห่งเฮสส์-คาสเซิล
  • 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2333 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2351 : มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์
  • 13 มีนาคม พ.ศ. 2351 - 14 มกราคม พ.ศ. 2357 : สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ ดัสเชสแห่งแซ็กซ์-เลาว์บูร์ก
  • 14 มกราคม พ.ศ. 2357 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2382 : สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก ดัสเชสแห่งแซ็กซ์-เลาว์บูร์ก
  • 3 ธันวาคม พ.ศ. 2382 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2395 : สมเด็จพระพันปีหลวงแห่งเดนมาร์ก

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า มารี โซฟีแห่งเฮ็สเซิน-คัสเซิล ถัดไป
เจ้าหญิงแคโรไลน์ มาทิลดาแห่งบริเตนใหญ่
สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
(ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก)

(13 มีนาคม พ.ศ. 23513 ธันวาคม พ.ศ. 2382)
เจ้าหญิงแคโรไลน์ อเมลีแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-ออกัสเตนเบิร์ก
เจ้าหญิงแคโรไลน์ มาทิลดาแห่งบริเตนใหญ่
สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์
(ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก)

(13 มีนาคม พ.ศ. 235114 มกราคม พ.ศ. 2357)
พระสวามีทรงสูญเสียนอร์เวย์
ลำดับถัดไป
เจ้าหญิงเฮดวิก เอลิซาเบธ ชาร์ล็อตแห่งฮ็อลชไตน์-ก็อตท็อป
ตำแหน่งว่างจากสงครามนโปเลียน
ลำดับสุดท้าย
ดัสเชสชาร์ลอตต์แห่งเม็คเคล็นเบิร์ก-สเตรลิตซ์

ดัสเชสแห่งแซ็กซ์-เลาว์บูร์ก
(ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก)

(6 เมษายน พ.ศ. 23573 ธันวาคม พ.ศ. 2382)
เจ้าหญิงแคโรไลน์ อเมลีแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-ออกัสเตนเบิร์ก