หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (ย่อ: นสร.กร.; อังกฤษ: Naval Special Warfare Command, Royal Thai Fleet) ทั่วไปเรียก ซีล (SEAL) หรือ มนุษย์กบ เป็นหน่วยรบพิเศษ สังกัดกองเรือยุทธการ ของกองทัพเรือไทย ซึ่งฝึกหนักที่สุดในบรรดาหน่วยรบพิเศษของทุกเหล่าทัพไทย[2][3][4][5] มีผู้บังคับบัญชาคนปัจจุบันคือ พลเรือตรี[6] อนันท์ สุราวรรณ์[7]รองผู้บัญชาการได้แก่ นาวาเอก บรรพต นิธิณัฐอาภาศิริ และ นาวาเอก สุริยัน สำราญใจ
ประวัติ
[แก้]ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังทางเรือของทั้งฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ต่างก็ได้ส่งหน่วยรบพิเศษซึ่งเป็นหน่วยรบขนาดเล็กที่ได้รับการฝึก ให้มีขีดความสามารถเหนือทหารทั่วไปเข้าปฏิบัติการทำลายกองเรือและสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้าม ทำการก่อวินาศกรรมและปฏิบัติการลับอื่น ๆ ซึ่งผลการปฏิบัติของแต่ละฝ่ายต่างก็สร้างความเสียหายให้กับฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมาก แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงแล้วแต่ภารกิจของหน่วยรบพิเศษก็ไม่ได้จบสิ้นไปด้วย ตรงกันข้ามกลับได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านองค์บุคคล องค์วัตถุและองค์ยุทธวิธี สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2495 กระทรวงกลาโหม ได้มีความคิดที่จะจัดตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำขึ้น และได้เชิญผู้แทนเหล่าทัพกับกรมตำรวจไปประชุม เรื่อง การจัดตั้งหน่วยฝึกว่ายน้ำ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่กองทัพเรือสหรัฐฯ ประจำหน่วย MAAG (Military Assistance Advisory Group) การประชุมคราวนั้นที่ประชุมมีมติให้ กองทัพเรือ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดตั้งหน่วยฝึก และจากการหารือระหว่าง กองทัพเรือ กับ MAAG ซึ่งได้แนวความคิดในการจัดตั้งหน่วยฝึก
เมื่อเร็ว ๆ นี้[เมื่อไร?] หน่วยซีลได้กรีธาพลไปกับเรือรบของกองทัพเรือไทยเพื่อปฏิบัติการต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัดในโซมาเลียในอ่าวเอเดนนอกชายฝั่งประเทศโซมาเลีย โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังเฉพาะกิจผสมทางเรือที่ 151[8][9]
พ.ศ. 2558 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ เป็นผู้ให้การฝึกแก่นักกีฬาสโมสรฟุตบอลราชนาวี ก่อนเข้าร่วมการแข่งไทยลีกคัพ[10] และในช่วงกลางปี พ.ศ. 2561 หน่วยนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง[11]
โครงสร้าง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- กรมรบพิเศษที่ 1 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
- กรมรบพิเศษที่ 2 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
- โรงเรียนสงครามพิเศษทางเรือ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
- กองสนับสนุน หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
ภารกิจ
[แก้]- จัดเตรียมกำลังพลสำหรับปฏิบัติการ การสงครามพิเศษทางเรือและปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบ รวมทั้งการฝึกและศึกษาเกี่ยวกับการสงครามพิเศษทางเรือ เป็นหน่วยกำลังรบขึ้นตรงต่อกองเรือยุทธการ โดยมี ผู้บัญชาการหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ (ผบ.นสร.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
- กองรบพิเศษ ปฏิบัติการการสงครามพิเศษทางเรือ และปฏิบัติกิจพิเศษอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
- โรงเรียนสงครามพิเศษทางเรือ ฝึกและศึกษาอบรมทดสอบ ประเมินผล เกี่ยวกับการสงครามพิเศษทางเรือ และปกครองบังคับบัญชาผู้เข้ารับการฝึกและศึกษาของ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ (นสร.)
- กองสนับสนุนหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ สนับสนุนการส่งกำลังบำรุง การบริการให้แก่หน่วยในความรับผิดชอบของ นสร.
การฝึก
[แก้]การฝึกในหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม ใช้ระยะเวลาประมาณ 7-8 เดือน นับเป็นการฝึกหลักสูตรทางทหารที่มีระยะเวลานานที่สุดของไทย แบ่งออกเป็น 5 ช่วง ได้แก่
- การแนะนำการฝึกเบื้องต้น ฝึกการออกกำลังกายและการฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
- การฝึกจริง ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์
- การฝึกแบบเข้มข้น หรือเรียกว่า "สัปดาห์นรก" ใช้เวลา 120 ชั่วโมงโดยไม่มีการหยุดพัก
- การฝึกสอนยุทธวิธีต่าง ๆ
- การฝึกยุทธวิธีในสภาพจริง ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
เมื่อสำเร็จหลักสูตรจะได้ประดับตราความสามารถ ซึ่งออกแบบโดย พลเรือโท พัน รักษ์แก้ว โดยส่วนประกอบของตรามีความหมายดังนี้
- ปลาฉลาม สีขาวหรือสีน้ำเงิน หมายถึงเจ้าแห่งท้องทะเล ดุร้าย น่าเกรงขาม สง่างาม แข็งแกร่ง
- คลื่น หมายถึง ความน่ากลัวของทะเลที่มีเกลียวคลื่นตลอดเวลา หรืออุปสรรคของคลื่นหัวแตก แต่ฉลามก็ไม่ได้หวั่นเกรง
- สมอเรือ หมายถึง ทหารเรือ ในอดีตหลักสูตรจะรับเฉพาะทหารเรือเท่านั้น แต่ในปัจจุบันทางหน่วยได้รับทหารบก ทหารอากาศ และตำรวจเพิ่มด้วย
- ธงชาติ หมายถึง การยอมพลีเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
กฎสำคัญของนักเรียนนักทำลายใต้น้ำจู่โจม คือ มีจิตใจเข้มแข็ง กล้าเผชิญหน้าต่อปัญหาต่าง ๆ ตัดสินใจด้วยความเด็ดขาด รวดเร็ว แม่นยำ ถูกต้อง เอาตัวเองรอดได้โดยไม่ทิ้งเพื่อน และมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ยุทโธปกรณ์
[แก้]อาวุธ
[แก้]ที่มา | อาวุธ | แบบ |
---|---|---|
เบลเยียม | FN Herstal SCAR | SCAR-H and SCAR-L |
เยอรมนี | เฮคเลอร์แอนด์คอช จี 36 | G36KV |
เยอรมนี | Heckler & Koch UMP | UMP 9 |
เยอรมนี | เฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ5 | MP5SD, MP5K |
เยอรมนี | เฮคเลอร์แอนด์คอช ยูเอสพี | USP |
เยอรมนี | Heckler & Koch HK21 | HK23E |
เยอรมนี | เฮคเลอร์แอนด์คอช พีเอสจี 1 | PSG-1,MSG 90 |
สหรัฐ | KAC SR-25 | SR25 |
สหรัฐ | Barrett M82 | M82 |
สหรัฐ | บาร์เรตต์ เอ็ม95 | M95 |
สหรัฐ | Bushmaster M4 | M4A3 SOPMOD |
สหราชอาณาจักร | Accuracy International | AW50 |
สวิตเซอร์แลนด์ | SIG 516 | SIG-516 |
เรือปฏิบัติการพิเศษ
[แก้]ชุดเรือ | ผู้ผลิต | ภาพ | หมายเลขตัวเรือ | ประจำการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
ชุดเรือ ต.241 | ไทย | ต.241–243 | 3 | [12] | |
ชุดเรือ ต.253 | ไทย | ต.253–255 | 3 | [13] | |
ชุดเรือ พ.51 | ไทย | พ.51–54 | 4 | เรือปฏิบัติการพิเศษ[14] |
ดูเพิ่ม
[แก้]- กองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน หน่วยรบพิเศษของนาวิกโยธิน กองทัพเรือ
- กองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์
- กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 15 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ นักเตะราชนาวีร่วมฝึกซ้อม“หน่วยซีล”-เรียกความฟิตเร่งคืนฟอร์มสู้ไทยลีก[ลิงก์เสีย]
- ↑ ทร.เปิดหลักสูตร 'มนุษย์กบ' ประจำปี 59 มีผู้ผ่านเข้าเรียน 86 นาย - ไทยรัฐ
- ↑ มาดูการฝึก (มหาโหด) ของ "นักทำลายใต้น้ำจู่โจม"
- ↑ สัปดาห์นรกวัดใจ 37 ชีวิตสู่ "หน่วยซีล" - Thai PBS News
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 15 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 39 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ "Royal Thai Navy Anti-Piracy Fleet" (Press release). Royal Thai Embassy in Singapore. 15 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2018.
- ↑ Panrak, Patcharapol (8 July 2011). "Thai navy returns to Somalia for 2nd anti-piracy tour". Pattaya Mail. สืบค้นเมื่อ 22 July 2018.
- ↑ แข้งราชนาวีฟิตหนัก ร่วมฝึกหน่วยซีลก่อนลุยไทยลีก - ข่าวไทยรัฐ
- ↑ มนุษย์กบหน่วยซีล - ไทยรัฐ
- ↑ "Royal Thai Navy | ยุทโธปกรณ์ในกองทัพเรือไทย". thaiarmedforce. 2019-05-02.
- ↑ "เรือ ต.253 – Seafarer Library" (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Royal Thai Navy Auxiliary Ship Specification | เรือช่วยรบของกองทัพเรือไทย". thaiarmedforce. 2019-05-02.