การปะทะที่บาเจาะ พ.ศ. 2556

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปะทะที่บาเจาะ พ.ศ. 2556
ส่วนหนึ่งของ ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
วันที่เวลาประมาณตี 1 ของวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
(ปะทะ 2 ระลอก กินเวลารวมเกือบ 1 ชม.)
สถานที่
ฐานปฏิบัติการทหารนาวิกโยธิน อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ผล ผู้ก่อการเสียชีวิต 16 คน
คู่สงคราม

หน่วยนาวิกโยธิน กองร้อยปืนเล็กที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 ชุดสับเปลี่ยน:

หน่วยซีล
หน่วยรีคอน
อาร์เคเค
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาวาเอก สมเกียรติ ผลประยูร (ยศในขณะนั้น)
นาวาโท ธรรมนูญ วรรณา
เรือเอก เมธา คงเจริญ
มะรอโซ จันทรวดี 
กำลัง

ทหารนาวิกโยธิน 120 นาย

  • หน่วยซีล 17 นาย[1]
  • หน่วยรีคอน 11 นาย[1]

อาร์เคเคประมาณ 50 คนขึ้นไป

  • ชุดปฏิบัติการโจมตีฐานที่มั่น 30 คน
  • ชุดสนับสนุนการปฏิบัติการภารกิจ 20–30 คน
  • ชุดสกัดกั้นการติดตามของเจ้าหน้าที่ 10–20 คน
ความสูญเสีย
ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต
  • เสียชีวิต 16 คน (เสียชีวิตในค่าย 14 คน, นอกค่าย 2 คน)[1]
  • ปืนยาว 13 กระบอก, ปืนพก 3 กระบอก, รถจักรยานยนต์ 2 คัน, รถกระบะ 1 คัน, เลื่อยยนต์ 1 ตัวถูกยึด
อ้างอิง: คมชัดลึก ไทยรัฐ Arab News The Boston Globe

การปะทะที่บาเจาะเป็นการปะทะระหว่างกองทัพเรือไทยและกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอาร์เคเค โดยฝ่ายก่อความไม่สงบโจมตีฐานทหารในอำเภอบาเจาะ ผู้ก่อความไม่สงบอาร์เคเค 16 คน ซึ่งรวมถึงผู้บัญชาการฝ่ายดังกล่าว 1 คนเสียชีวิต โดยไม่มีทหารไทยที่ปกป้องฐานได้รับบาดเจ็บ[2]

ยุทธการ[แก้]

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ได้เกิดกรณีกองกำลังติดอาวุธอาร์เคเคบุกโจมตีฐานปฏิบัติการทหารนาวิกโยธิน ที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งทางฝ่ายทหารได้เตรียมพร้อมอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากได้รับเบาะแสถึงแผนการโจมตีฐานที่มั่นในช่วงไม่กี่วันก่อน นาวาเอก สมเกียรติ ผลประยูร จึงได้วางยุทธวิธีตั้งรับ โดยมีหน่วยซีลและหน่วยรีคอนเสริมกำลัง จากการปะทะดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ก่อการเสียชีวิต 16 คน นับเป็นการปะทะครั้งใหญ่ที่สุดที่มีผู้เสียชีวิตเป็นกลุ่มขบวนการ ซึ่งมีอาวุธครบมือ[3][4]

ผลที่ตามมา[แก้]

หลังจากเกิดเหตุการณ์ เขาในฐานะผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ ได้แสดงความรู้สึกเสียใจ และชี้แจงถึงความจำเป็นในการป้องกันชีวิตของทหารให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้มีความเข้าใจ รวมถึงญาติของผู้เสียชีวิตที่ให้การยอมรับในที่สุด[3][5][6]

นอกจากนี้ สมเกียรติมักกล่าวย้ำตามสื่อต่าง ๆ จำนวนมาก ว่า “การมีคนตายไม่ใช่ชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นการสูญเสียร่วมกัน”[3][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Death zone awaited unsuspecting raiders (อังกฤษ)
  2. "17 die in clash". Reuters. 13 February 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 19 September 2019.
  3. 3.0 3.1 3.2 เมื่อคนตาย เราควรฟังเสียงใคร? - ประชาไท Prachatai.com
  4. Thai marines kill 16 militants who attacked base - GulfNews.com (อังกฤษ)
  5. 5.0 5.1 "นาวาเอก สมเกียรติ ผลประยูร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-13. สืบค้นเมื่อ 2019-12-21.
  6. Marines take aid to village home of slain militant - Bangkok Post: news (อังกฤษ)