กองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์
กองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ | |
---|---|
กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์ | |
ประจำการ | กองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ (2562 – ปัจจุบัน) กองพันปฏิบัติการพิเศษ (? – 2562) กองปฏิบัติการพิเศษ (2550 – ?) กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ (2529 – 2550) หน่วยปฏิบัติการพิเศษเฉพาะกิจ 90 (2527 – 2529) ชุดโจมตี 81 (2524 – 2527) |
ประเทศ | ไทย |
ขึ้นต่อ | หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ |
เหล่า | กองทัพบกไทย |
รูปแบบ | ทหารรักษาพระองค์ หน่วยรบพิเศษ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ |
บทบาท | การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ อารักขาใกล้ชิด การยุทธ์พื้นที่ระยะประชิด การต่อต้านการก่อการร้าย การปฏิบัติภารกิจโดยตรง ชิงตัวประกัน การตีโฉบฉวย การปฏิบัติการพิเศษ การปฏิบัติการปกปิด การเเทรกเเซงก่อการร้าย การรบยุทธ์วิธีการปลอมตัวเพื่อชิงตัวประกัน |
กำลังรบ | กองพัน - กองร้อย |
ขึ้นกับ | กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์ ทางยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล กองบัญชาการกองทัพไทย |
กองบัญชาการ | ค่ายเอราวัณ ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000 |
สมญา | ฉก. 90 กองพันปิศาจ Unsung Heroes |
คำขวัญ | กล้าหาญ, เด็ดเดี่ยว, รวดเร็ว |
วันสถาปนา | 24 กรกฎาคม |
ปฏิบัติการสำคัญ | สงครามเย็น
สงครามยาเสพติด
|
เว็บไซต์ | https://www.facebook.com/sof3rd/?locale=th_TH |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บัญชาการปัจจุบัน | พ.อ. พงษ์พัฒน์ ธรรมโส |
ผบ. สำคัญ | พล.ท. วัฒนา ฉัตรรัตนแสง |
กองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์ (พัน.ปพ.รอ. รพ.ศ.3 รอ.) หรือชื่อที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ฉก. 90 เป็นหน่วยทหารปฏิบัติการพิเศษและหน่วยรักษาพระองค์ ขึ้นตรงต่อกรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์ (กรม รพ.3 รอ.) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองทัพไทย
ประวัติ
[แก้]แรกเริ่มก่อตั้งใน พ.ศ. 2524 ก่อตั้งโดยกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ในนาม "AT-81" โดยการใช้กำลังพลจากหน่วยขึ้นตรงจากกองพลเดียวกัน เข้ารับการฝึกการปราบปรามการก่อการร้ายสากล (หลักสูตรการรบในเมือง) เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ มีจำนวน 3 รุ่นคือ
- รุ่นที่ 1 ชุด A, B เข้ารับการฝึกจากหน่วย หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ จำนวน 42 นาย
- รุ่นที่ 2 ชุด C, D เข้ารับการฝึกจากหน่วย หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ จำนวน 42 นาย
- รุ่นที่ 3 ชุด E, F เข้ารับการฝึกจากหน่วยอิสราเอล จำนวน 40 นาย กำลังพลดังกล่าวหมุนเวียนทำหน้าที่เตรียมพร้อม จำนวน 3 ชุด ๆ ละ 20 วัน
พ.ศ. 2527 ได้ย้ายการบังคับบัญชาจากกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ มาขึ้นการบังคับบัญชากับกองทัพบก โดยมีชื่อว่า "หน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจ 90" ใช้รหัสย่อว่า "ฉก.90" เป็นหน่วยที่ขึ้นตรงกับกองทัพบก มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้สั่งการโดยตรง โดยมีที่ตั้งชั่วคราวอยู่ที่ กองร้อยลาดตระเวนระยะไกลที่ 1 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ มีกำลังพลที่ผ่านการฝึกสมัครใจย้ายตามหน่วย จำนวน 60 นาย และรับสมัครเพิ่มเติมจาก กองร้อยลาดตระเวนระยะไกลที่ 1 กองพลทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ จำนวน 15 นาย และคัดเลือกจาก นักเรียนนายสิบ ศูนย์การทหารราบ จำนวน 21 นาย
พ.ศ. 2529 ได้บรรจุมอบเป็นหน่วยขึ้นการบังคับบัญชาโดยตรงกับ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และใช้นามหน่วยว่า "กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ" โดยได้ย้ายที่ตั้งหน่วยชั่วคราวจากร้อย กองร้อยลาดตระเวนระยะไกลที่ 1 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ มาเข้าที่ตั้งหน่วยชั่วคราว ณ กรมรบพิเศษที่ 1 ค่ายวชิราลงกรณ์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
พ.ศ. 2535 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้บรรจุมอบให้เป็นหน่วยขึ้นการบังคับบัญชาโดยตรงของกองพันจู่โจม และเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ ได้เคลื่อนย้ายหน่วยจากที่ตั้งชั่วคราว ค่ายวชิราลงกรณ์ ไปเข้าที่ตั้งปกติถาวร บริเวณบ้านน้ำจั้น ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2537
พ.ศ. 2543 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ปิดการบรรจุกำลังพลและปรับการบังคับบัญชาหน่วยจาก หน่วยขึ้นตรงกองพันจู่โจม เป็นหน่วยขึ้นตรงกรมรบพิเศษที่ 3 ให้เรียกนามหน่วยว่า "กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ" เครื่องหมายสังกัด "รพ.ศ. 3" โดยมีพิธีมอบการบังคับบัญชาเมื่อ 6 มีนาคม พ.ศ. 2544
ต่อมา พ.ศ. 2550 กองทัพบกได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างการจัด หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ให้พร้อมรับภัยคุกคามจากสถานการณ์การก่อการร้าย ซึ่งมีการขยายตัวมากขึ้น โดยได้ปรับขยายโครงสร้างของหน่วยจากเดิม “กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ” เป็น “กองปฏิบัติการพิเศษ ” เพื่อให้รองรับภารกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการต่อต้านการก่อการร้ายได้อย่างทันสมัยและมีประสิทธิภาพ[1]
ปัจจุบันได้ขยายขนาดกำลังหน่วยเป็นกองพัน และได้รับสถาปนาเป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ในปี พ.ศ. 2562[2][3]
ภารกิจ
[แก้]กองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ รองรับหน้าที่การปฏิบัติการพิเศษ และภารกิจพิเศษภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงต่อกรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์ (ในอดีตอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงต่อกองบัญชาการกองทัพบก)[4][5] เมื่อมีสถานการณ์ก่อการร้ายจะเป็นหน่วยขึ้นการบังคับบัญชาต่อศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายสากล สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย[6]
อาวุธ
[แก้]ชื่อรุ่น | เเบบ | กระสุน | ประเทศ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ปืนพก | ||||
Heckler & Koch | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | .45 เอซีพี | เยอรมนี | |
CZ 75 | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | เชโกสโลวาเกีย | |
SIG Sauer P226 | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | เยอรมนี | |
Glock 17 | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | ออสเตรีย | |
Glock 18 | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | ออสเตรีย | |
Glock 19 | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | ออสเตรีย | |
ปืนกลมือ | ||||
Heckler & Koch MP5 | ปืนกลมือ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | เยอรมนี | ใช้ในการฝึกพื้นที่เเคบ เเละปฏิบัติงานจริง |
Heckler & Koch UMP | ปืนกลมือ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | เยอรมนี | ใช้ในการฝึกพื้นที่เเคบ เเละปฏิบัติงานจริง |
FN P90 | ปืนกลมือ | 5.7×28 มม. | เบลเยียม | ใช้ในการฝึกพื้นที่เเคบ |
ปืนเล็กยาวจู่โจม | ||||
Steyr AUG | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | ออสเตรีย | ใช้ในการฝึกซ้อมยิงส่วนใหญ่ |
Heckler & Koch G36 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | เยอรมนี | ใช้ในการฝึกซ้อมยิงส่วนใหญ่ |
SAR 21 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | สิงคโปร์ | ใช้ปฏิบัติหน้าที่ของกองร้อยพิเศษชายเเดน |
M4A1 Carbine | ปืนเล็กสั้นจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | สหรัฐ | ใช้เป็นปืนหลักในการซ้อม เเละ ปฏิบัติงานจริง |
CAR-15 | ปืนเล็กสั้นจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | สหรัฐ | ใช้เป็นปืนในการฝึกซ้อมทั่วไป |
FN SCAR-L | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | เบลเยียม | ใช้เป็นปืนหลักในการซ้อม |
Colt M4 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | สหรัฐ | ใช้เป็นปืนหลักในการซ้อม เเละ ปฏิบัติงานจริง |
Colt M5 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | สหรัฐ | ใช้เป็นปืนหลักในการซ้อม เเละ ปฏิบัติงานจริง |
ปืนไรเฟิลซุ่มยิง และ ปืนไรเฟิลพลแม่นปืน | ||||
SR-25 | ปืนไรเฟิลพลแม่นปืน | 7.62×51 มม. นาโต | สหรัฐ | ใช้ในการฝึกซ้อมเเละปฏิบัติงานซุ่มยิง |
M82 Barrett | ปืนไรเฟิลพลแม่นปืน | 12.7×99 มม. นาโต | สหรัฐ | ใช้ในการฝึกซ้อมเเละปฏิบัติงานซุ่มยิง |
AW 50 | ปืนไรเฟิลพลแม่นปืน | 12.7×99 มม. นาโต | สหราชอาราจักร | ใช้ในการฝึกซ้อมเเละปฏิบัติงานซุ่มยิง |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ปูม 'ฉก.90' จริงหรือ..กองปฏิบัติการพิเศษ 'สังหารสนธิ'?". Oknation. สืบค้นเมื่อ May 10, 2021.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เปลี่ยน รัชกาลเปลี่ยน หน่วย ร.อ.ใหม่เปลี่ยนแปลง ชื่อ หน่วยในพระองค์". lapluangprangchannel. April 23, 2019. สืบค้นเมื่อ May 10, 2021.[ลิงก์เสีย]
- ↑ workpointTODAY Writer (April 24, 2019). "โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนแปลงหน่วยทหารรักษาพระองค์และหน่วยทหารในพระองค์". workpointtoday. สืบค้นเมื่อ May 10, 2021.
- ↑ Little, Alan (2017). Thailand - The Ups and Downs. Booksmango. p. 435. ISBN 978-6162450013.
- ↑ "Special Operations Division - Task Force 90 (official Thai webpage from 2009)". 3rd Special Forces Regiment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2009.
- ↑ ปกรณ์ พึ่งเนตร (December 22, 2014). "ต้องเลิกความคิด...ไทยไม่ใช่เป้าก่อการร้าย". สำนักข่าวอิสรา. สืบค้นเมื่อ May 10, 2021.