หน่วยรบพิเศษ
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
หน่วยรบพิเศษ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ หรือ กองกำลังพิเศษ เป็นกำลังทหารหรือพลเรือนที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีโดยกองทัพหรือกองกำลังพลเรือน ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นสามารถปฏิบัติภารกิจพิเศษอย่างเช่น การลาดตระเวนพิเศษ สงครามนอกแบบ และการต่อต้านการก่อการร้าย




ภารกิจ[แก้]
สงครามนอกแบบ (อังกฤษ: Unconventional Warfare) เป็นการปฏิบัติที่หน่วยรบพิเศษ ต้องใช้เวลาในการทำงานมากที่สุด การปฏิบัติที่เข้าไปในประเทศฝ่ายตรงข้ามตั้งแต่ยังไม่มีสงคราม แล้วสร้างกลุ่มต่อต้านรัฐบาลขึ้นมาเพื่อบั่นทอนความมั่นคงของรัฐบาลประเทศนั้น ๆ ถ้าต้องการทำสงครามกลุ่มต่อต้านก็จะช่วยกำลังรบตามแบบในการทำการรบได้ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามเย็น จีนได้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในความพยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาลไทย และมีแผนที่จะสนธิกำลังตามแบบ จากเวียดนามในขั้นตอนสุดท้าย แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคหลายอย่างทั้งในระดับยุทธศาสตร์และระดับยุทธการ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยอย่างมาก สงครามนอกแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับสงครามตัวแทน
การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ (อังกฤษ: Counter Insurgency) เป็นการปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ โดยกลุ่มคนที่มีการวมตัว มีการจัดตั้ง ขึ้นมาเพื่อให้รัฐบาลปฏิบัติตามวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของกลุ่ม ตั้งแต่วัตถุประสงค์ทางการเมือง ล้มล้างรัฐบาล แบ่งแยกดินแดน จนถึงเข้าแทนที่รัฐบาล การก่อความไม่สงบนี้เป็นภารกิจที่รัฐบาลต้องระดมสรรพกำลังทั้งมวลในการแก้ไข โดยหน่วยรบพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ โดยจะประกอบด้วยงาน การปฏิบัติการจิตวิทยา การปฏิบัติงานด้านการข่าว การพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร การพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน การปราบปรามกำลังติดอาวุธ
โดยภาพรวมในการปฏิบัติการคือ ดำเนินการป้องกันด้วยการปฏิบัติการจิตวิทยา การข่าวเพื่อคอยติดตามว่า การก่อความไม่สงบจะเกิดขึ้นที่ไหน สาเหตุเงื่อนไขเป็นอะไร ซึ่งตัวเงื่อนไขก็จะสามารถลดลงด้วย การพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน แต่ถ้ามีการผิดพลาดของการข่าว การพัฒนาการช่วยเหลือไม่สมดุล ข้าราชการสร้างเงื่อนไข ประกอบกับมีแกนนำหรือกลุ่มบุคคลชี้นำหรือปลุกระดม ก็จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น ก็จะต้องใช้มาตรการการพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากรคือ การสร้างความปลอดภัยให้ประชนชนไม่ว่าจะเป็นจัดชุดคุ้มครอง ลาดตระเวนแสดงกำลัง การห้ามประชาชนออกจากบ้านยามค่ำคืน การตั้งจุดตรวจ พร้อมกับใช้การข่าว การปฏิบัติการจิตวิทยา รวมทั้งทบทวนการพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน ในระหว่างนั้น ถ้าผู้ก่อความไม่สงบเริ่มใช้กำลังติดอาวุธ ก็ต้องใช้กำลัง เข้าปราบปราม
การปฏิบัติการจิตวิทยา (อังกฤษ: Psychological Operation) เป็นการปฏิบัติเพื่อให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายเป็นกลาง ให้มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติภารกิจของฝ่ายเรา ไม่ว่าจะเป็นการยุยงด้วยการใช้สื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบปลิว การกระจายเสียง ให้ทหารชั้นผู้น้อยไม่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา ทำให้เกิดการเดินขบวนของประชาชนในการต่อต้านรัฐบาลตนเอง การสร้างความหวาดกลัวด้วยการใช้ใบปลิว ซึ่งอาจจะทำให้ข้าศึกยอมแพ้โดยไม่ต้องทำการรบ ทั้งโดยการใช้เครื่องขยายเสียง วิทยุ สื่ออินเทอร์เน็ต และการสื่อสารมวลชนด้านอื่นๆ
การปฏิบัติภารกิจโดยตรง (อังกฤษ: Direct Action) ภารกิจนี้เป็นการใช้กำลังในการเข้าทำลาย ยึดที่หมายที่ต้องการ เพื่อการปฏิบัติการอื่น เช่น การยึดสนามบิน การโจมตีที่เก็บเสบียงหรือที่บัญชาการของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นภารกิจที่สิ้นเปลืองทรัพยากรมาก ตั้งแต่การสร้างหน่วยที่จะไปทำภารกิจนี้ ซึ่งจะทำเมื่อที่หมายดังกล่าวถ้าไม่ยึดหรือทำลายแล้ว ภารกิจจะไม่สำเร็จ
การลาดตระเวนพิเศษ (อังกฤษ: Special Reconnaissance) เป็นการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจโดยหน่วยรบพิเศษโดยลำพังหรือ ผ่านทางกำลังกองโจร วัตถุประสงค์เพื่อการยืนยัน ปฏิเสธข่าวสาร สมมติฐานที่ได้มาก่อน ด้วยการตรวจการณ์ หรือวิธีการรวบรวมอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับขีดความสามารถ เจตนารมณ์ และการปฏิบัติ ของข้าศึกหรือที่มีแนวโน้มจะเป็นข้าศึก การปฏิบัติการลาดตระเวนพิเศษอาจจะเกิดขึ้นเพื่อความต้องการการลาดตระเวนทางนิวเคลียร์ ชีวเคมี หรือเพื่อหาข้อมูลด้านอุตุนิยม อุทกศาสตร์ ภูมิประเทศ ในพื้นที่หนึ่ง
การต่อสู้การก่อการร้าย[แก้]
การต่อต้านการก่อการร้าย (อังกฤษ: Counter - Terrorist) หมายถึง มาตรการการป้องกันไม่ให้มีเหตุ และติดตามกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ รวมทั้งมาตรการในการตอบโต้ เมื่อมีการก่อการร้ายเกิดขึ้น ส่วนมากบทบาทของหน่วยรบพิเศษ จะอยู่ในรูปแบบของการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการจับตัวประกันโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่มีข้อเรียกร้องทางการเมืองระหว่างประเทศ และข้อเรียกร้องด้านชาติพันธุ์ ศาสนา
ในประเทศไทยมีการจับยึดตัวประกันมาแล้ว 8 ครั้งแล้วแต่มีการใช้กำลังต่อสู้เพียง 1 ครั้ง คือเหตุการณ์ที่โรงพยาบาลราชบุรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2543
การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ[แก้]
การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ เป็นการปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือมิตรประเทศให้เกิดความมั่นคง ด้วยการสนับสนุนงานด้านต่างๆ เช่น การฝึกเจ้าหน้าที่ตำรวจ การสนับสนุนด้านการศึกษา โดยเป้าหมายคือช่วยให้มิตรประเทศมีความมั่นคง ซึ่งเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางอ้อมและนำมาซึ่งความมั่นคงของภูมิภาค
ภารกิจคู่ขนาน[แก้]
ภารกิจคู่ขนาน หมายถึงภารกิจที่มีหน่วยงานอื่นปฏิบัติเป็นหลักอยู่ในขั้นต้น โดยมีหน่วยรบพิเศษสามารถที่จะปฏิบัติการเสริมการปฏิบัติการดังกล่าวได้ กิจกรรมนี้เป็นช่องทางหนึ่งของหน่วยรบพิเศษที่จะสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม ซึ่งตามหลักนิยมของสหรัฐแล้วเป็นเพียงภารกิจที่เสริมการปฏิบัติหลัก โดยเฉพาะการสร้างความชอบธรรมในการปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นรากฐานของการปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาความปลอดภัย คล้ายกับการเข้าไปติดต่อเริ่มแรกและสามารถสร้างพื้นที่ในการปฏิบัติการป้องกันภายในมิตรประเทศ ซึ่งจะเป็นรูปแบบใหม่ของการเสริมสร้างกำลังกองโจรใน ศนบ. แต่เปลี่ยนจากกำลังกองโจรเป็นกำลังทหารของรัฐบาล ที่จะใช้เป็นพันธมิตรในอนาคต ในการปกป้องผลประโยชน์ร่วมกัน
ภารกิจคู่ขนานที่หน่วยรบพิเศษ อาจจะต้องมีส่วนร่วม รวมถึง
- การปราบปรามยาเสพติด
หน่วยรบพิเศษของประเทศไทย[แก้]
ทหารหน่วยรบพิเศษของประเทศไทย[แก้]
กองทัพบก[แก้]
- ศูนย์สงครามพิเศษ (Special Warfare Center) สังกัด หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (Special Warfare Command)
- หน่วย รพศ. (Special Warfare Forces) รพศ. 1 ,รพศ. 2 , รพศ. 3 รอ. , รพศ. 4 , รพศ. 5
- กองพันจู่โจมรักษาพระองค์ (RANGER) กองพัน 1 กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์ (รพศ. 3 รอ.)
- กองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ (พัน.ปพ.รอ.) กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์ (รพศ. 3 รอ.) ชื่อเดิม ฉก.90
- หน่วยพร้อมรบ เคลื่อนที่เร็ว RDF (Rapid Deployment Force) ร.31รอ. พล.1 รอ. (เป็นหน่วยทหารราบที่มีขีดความสามารถในการใช้ร่มและปฏิบัติการรบรูปแบบพิเศษ)
- ร้อย ลว.ไกล LRRP (Long Range Reconnaissance Patrol) เป็นหน่วยในอัตราของกองพลทหารราบ (พล.ร.) และกองพลทหารม้าที่ 1 (พล.ม.1)
กองทัพเรือ[แก้]
- หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ
- กรมรบพิเศษที่ 1 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
- กรมรบพิเศษที่ 2 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
- กองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน (RECON) สังกัดหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
กองทัพอากาศ[แก้]
- กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
- กองพันปฏิบัติการพิเศษ 1 (คอมมานโด) กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
- กองพันปฏิบัติการพิเศษ 2 (คอมมานโด) กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
- กองพันปฏิบัติการพิเศษ 3 (คอมมานโด) กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
- พลร่มกู้ภัย กองทัพอากาศไทย (Pararescue)
ตำรวจหน่วยปฏิบัติพิเศษของประเทศไทย[แก้]
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ[แก้]
- กองบัญชาการตำรวจนครบาล
- อรินทราช 26 อังกฤษ : Arintharat 26 (ชื่อเต็ม : กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (กก.ต่อต้านการก่อการร้าย บก.สปพ.บช.น.))
- กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
- นเรศวร 261 (อังกฤษ : Naresuan 261) (ชื่อเต็ม : กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (กก.3.บก.สอ.บช.ตชด))
- กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- คอมมานโด (COMMANDO) กองกำกับการต่อต้านก่อการร้าย กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ (ชื่อเดิม : กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ สยบริปูสะท้าน คอมมานโดกองปราบปราม, กองบังคับการถวายความปลอดภัยและปฏิบัติการพิเศษ, กองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 ตามลำดับ)[1]
- หน่วยปฏิบัติการพิเศษ หนุมานกองปราบ (HANUMAN) กองบังคับการปราบปราม
- กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
- สยบไพรี 43 (Sayobpairee 43 / NSB Commando) กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ
หน่วยรบพิเศษที่จัดเป็นหน่วยภารกิจพิเศษของประเทศไทย[แก้]
ขึ้นการบังคับบัญชากับศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล (ศตก.) กองบัญชาการกองทัพไทย
- กองทัพบก
- กองพันปฏิบัติการพิเศษรักษาพระองค์ กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์ (พัน.ปพ.รอ.รพศ. 3 รอ.) ศูนย์สงครามพิเศษ
- กองทัพเรือ
- กรมรบพิเศษที่ 1 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
- กองทัพอากาศ
- กองร้อยที่ 1 กองพันปฏิบัติการพิเศษ 1 (คอมมานโด) กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน[2]
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (กก.3.บก.สอ.บช.ตชด) หรือ นเรศวร 261
- กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (กก.ต่อต้านการก่อการร้าย บก.สปพ.บช.น.) หรือ อรินทราช 26
หน่วยรบพิเศษของต่างประเทศ[แก้]
ทหารและกำลังกึ่งทหารหน่วยรบพิเศษของต่างประเทศ[แก้]
เอเชีย[แก้]
Oriental Sword Special Brigade (东方神剑”特种大队)
Jiaolong Commando Unit (蛟龙突击队)
Leishen Commando Airborne Force (中国空降兵 雷神突击队)
Blade Commandos (中国人民解放军 特种部队 : zcdd)
Counter-Terrorism Assault Unit (战略支援部队反恐突击)
หน่วยคอมมานโดพยัคฆ์ดาวหิมะ (雪豹突击队)
พารา (9 PARA SF)
มาร์คอส
กองกำลังคอมมานโดการุด
กองพิเศษ (4 Vikas)
กองปฏิบัติการพิเศษ 51
หน่วยเฉพาะกิจพิเศษ 81
เดนจากา
หน่วยเฉพาะกิจ 90 บราโว
Shayetet 13
Sayaret Matkal (unit 269)
Shaldag Unit (unit 5101)
สเปเชียลบอร์ดดิงยูนิต
กองรบพิเศษ (特殊作戦群)
กองกำลังปฏิบัติการพิเศษ กองทัพบกประชาชนเกาหลี
กองเรือสงครามพิเศษ กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี (WARFLOT : 대한민국 해군 특수전전단)
กองภารกิจพิเศษที่ 707
Combat Control Team (CCT : 공정통제사)
ออสเตรเลีย[แก้]
ฝูงบินที่ 4 กองทัพอากาศออสเตรเลีย
เหล่าทำลายใต้น้ำ กองทัพเรือออสเตรเลีย
กรมสเปเชียลแอร์เซอร์วิสออสเตรเลีย (กองร้อยที่ 4)
กรมสเปเชียลแอร์เซอร์วิสนิวซีแลนด์
ยุโรป[แก้]
กรมทหารราบนาวิกโยธินพลร่มที่ 1
คอมมานโดอูแบร์
คอมมานโดพลร่มแห่งกองทัพอากาศที่ 10
ฌีฌีง
กองบัญชาการรบพิเศษ
กองบัญชาการรบพิเศษทางเรือ
คามพ์เฟร็ทเทอร์
กรมพลร่มจู่โจมที่ 9 (โกล โมกิน)
กองบัญชาการกองดำน้ำและจู่โจม
กองแทรกแทรงพิเศษ
กองบินจู่โจมที่ 17
มนุษย์กบคอมมานโดรัสเซีย
กรมยุทธการพิเศษ (อิสระ) ที่ 45
Special Purpose Center "Senezh"
หน่วยอัลฟา
ศูนย์ยุทธการพิเศษ (อิสระ) ที่ 604
กรมสเปเชียลแอร์เซอร์วิสที่ 22
สเปเชียลโบทเซอร์วิส
สเปเชียลฟอร์ซไฟลท์ (ฝูงบินที่ 47 กองทัพอากาศอังกฤษ)
อเมริกาเหนือ[แก้]
หน่วยเฉพาะกิจร่วม 2
กองบินยุทธการพิเศษทางอากาศ 427
ทีมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ตำรวจม้าแคนาดา
ฝูงบินยุทธวิธีพิเศษที่ 24
เดลตาฟอร์ซ
ซีลทีมซิกซ์
กรมจู่โจมนาวิกโยธิน
ลาตินอเมริกา[แก้]
หน่วยแทรกแทรงพิเศษ (คอสตาริกา)
กองบัญชาการหน่วยรบพิเศษขั้นสูง
หน่วยรบพิเศษ (กองทัพเรือเม็กซิโก)
กองรบแมงป่อง
กองยุทธการพิเศษ (กองทัพอากาศอาร์เจนตินา)
กองดำน้ำยุทธวิธี
กองรบอัลบาโตรส
กองร้อยคอมมานโด 601
พารา-เอสเออา
กองพันรบพิเศษที่ 1
ฌูร์แมค
กองต่อต้านก่อการร้ายทางอากาศ
1º Batallón de Paracaidistas Pelantaru (1st Parachute Battalion)
กองบัญชาการรบพิเศษ (กองทัพเรือชิลี)
กองตำรวจยุทธการพิเศษ (ตำรวจทหารชิลี)
Sección de Operaciones Tácticas
ตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษของต่างประเทศ[แก้]
เอเชีย[แก้]
หน่วยยุทโธปกรณ์และยุทธวิธีพิเศษปักกิ่ง (北京特警总队)
กองพันคอมมานโดปฏิบัติการฉับพลัน (COBRA)
จีจานา
ยามัม
ทีมจู่โจมพิเศษ
Special Operations Unit (868)
ออสเตรเลีย[แก้]
ยุโรป[แก้]
อเมริกาเหนือ[แก้]
ลาตินอเมริกา[แก้]
กองปฏิบัติการพิเศษ
กองปฏิบัติการพิเศษกลาง (อาร์เจนตินา)
กองบัญชาการปฏิบัติการทางยุทธวิธี
Equipo de Reacción Táctica Antinarcóticos (ERTA)
อดีตหน่วยรบพิเศษของต่างประเทศ[แก้]
กองทัพเรือ[แก้]
คอมมานโดราชนาวี (ค.ศ. 1942 - ค.ศ. 1945)
บีชจัมเปอร์ (ค.ศ. 1943 - ค.ศ. 1946 , ค.ศ. 1951 - ค.ศ. 1972)
ทีมทำลายใต้น้ำ (ค.ศ. 1942 - ค.ศ. 1983)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ หลักนิยมหน่วยรบพิเศษ กองทัพบกไทย พ.ศ. ๒๕๕๐