สโมสรฟุตบอลปัตตานี
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
![]() | ||||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลจังหวัดปัตตานี | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | ปืนใหญ่พญาตานี (The Queen Cannons Langkasuka & The Gunners) | |||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2552 | |||
สนาม | สนามเรนโบว์ สเตเดี้ยม จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย (ความจุ: 12,000) | |||
ประธานสโมสร | นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี | |||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | มาฆะ หอประสาทสุข | |||
ลีก | ไทยลีก 3 | |||
2562 | ไทยลีก 4, อันดับที่ 2 โซนภาคใต้ (เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 3) | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
|
สโมสรฟุตบอลจังหวัดปัตตานี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดปัตตานี ปัจจุบันเล่นอยู่ในไทยลีก 3 มีชุดทีมเหย้าเขียวเหลือง และชุดทีมเยือน สีแดง
ประวัติสโมสร[แก้]
จังหวัดปัตตานีได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการการแข่งขันฟุตบอลโปรลีกที่จัดขึ้นมาเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2542 แต่สิ้นสุดการแข่งขัน จังหวัดปัตตานี จบด้วยอันดันสุดท้าย จังหวัดปัตตานีก็ได้ขอถอนตัวออกจากฟุตบอลโปรลีกในปีต่อมาด้วยเหตุผลไม่มีงบประมาณ(ซึ่งจังหวัดที่ได้รับการพิจารณามาแทนคือ ทีมจังหวัดชลบุรีซึ่งต่อมาพัฒนาขึ้นมาจนเป็นมหาอำนาจลูกหนังเมืองไทย) นับตั้งแต่ พ.ศ 2542 ช่วงเวลาที่ผ่านมา 10 ปี เต็มๆสำหรับทีมที่ได้ชื่อว่ามหาอำนาจทีมหนึ่งของภาคใต้อย่างจังหวัดปัตตานี ทีมที่เคยคว้าแชมป์ฟุตบอลโล่ห์พระราชทานชิงแชมป์ภาคใต้มาแล้วถึง 3 ครั้ง จำนวนผู้ชมก็มีมากไม่แพ้สตูลและสงขลาได้หายไป ชาวปัตตานีต้องแอบเชียร์ทีมต่างๆที่เป็นจังหวัดเพื่อนบ้านอย่างสงขลา สตูล และนราธิวาส โลดแล่นอยู่ในวงการฟุตบอลลีกของของเมืองไทยอย่างเงียบๆ
เมื่อมีการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาคปี 2552 เปิดโอกาสให้ทุกจังหวัดได้เข้าร่วมการแข่งขันโดยไม่ต้องเล่นรอบคัดเลือก จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จังหวัดปัตตานีจะได้กลับเข้าสู่วงการฟุตบอลลีกเมืองไทยเพื่อเรียกความยิ่งใหญ่กลับมาอีกครั้ง นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาของจังหวัดปัตตานีอีกตำแหน่งได้มอบหมายให้สุกรี หะยีสาแม ดร.หนุ่มที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เข้ามาดูแลทีม และแต่งตั้งให้นิแม นิเดฮะหรือที่หลายคนเรียกกันจนติดปากว่า แบแม เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน ด้วยงบประมาณเบื้องต้น 600,000 บาท ซึ่งเป็นงบที่ไม่มากเลยสำหรับการใช้ในการแข่งขันฟุตบอลในระบบลีก แต่การเข้ามาช่วยเหลือของ พญ.นิมี สุไลมานผู้อำนวยการโรงพยาบาลยะรัง ก็ทำให้การเตรียมทีมที่มีทีท่าว่าจะมีปัญหาในตอนแรกก็ได้รับการแก้ไขได้ทันเวลา
สนาม[แก้]
The Rainbow of Pattani สนาม อบจ.ปัตตานี สนามการแข่งขันฟุตบอลนัดเหย้าของทีม. รังเหย้าของสโมสร ปืนใหญ่ลังกาสุกะ ปัตตานี เอฟซี ได้ใช้สนามกีฬากลางขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เพื่อรองรับการแข่งขัน โดยมีเทศบาลจังหวัดปัตตานีเป็นผู้ดูแลสนาม ซึ่งมีความกว้างของสนามแข่งขันที่สามารถจุแฟนบอลของสโมสรได้กว่า 5 พันที่นั่ง และในปัจจุบันทางจังหวัดปัตตานีได้มีการปรับปรุงและทาสีสนามจนเป็นจุดเด่นของทีมด้วยสีสันที่สดใส พร้อมกับตั้งชื่อสนามเหย้าว่า เดอะเรนโบว์ สเตเดี้ยม เป็นสนามที่มีความใหญ่โตทีเดียวเนื่องจากทางสโมสร ปัตตานี เอฟซี สามารถจัดการปัญหาในเรื่องของการจราจรได้อย่างไร้ปัญหา ซึ่งบริเวณรอบๆสนามสามารถจัดการเรื่องการจราจรในด้านของการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งแต่ละนัดที่ทีม ปัตตานี เอฟซี ได้ทำการแข่งขันในบ้านและมีแฟนบอลเข้ามาชมกันหลายพันคน ก็จะมีการจัดการในด้านนี้ได้อย่างไม่มีที่ติ
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
อดีดผู้เล่นคนสำคัญ[แก้]
สัญลักษณ์ทีม[แก้]
ทำเนียบผู้จัดการทีม[แก้]
|
ผลงาน[แก้]
- 2562 - ไทยลีก 4 - อันดับ 2 โซนภาคใต้ (รองชนะเลิศ แชมเปียนส์ลีก)
- 2561 - ไทยลีก 4 - อันดับ 2 โซนภาคใต้ (แชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ)
- 2560 - ไทยลีก 4 - อันดับ 3 โซนภาคใต้
- 2559 - ดิวิชั่น 2 - อันดับ 6
- 2558 - ดิวิชั่น 2 - อันดับ 2
- 2557 - ดิวิชั่น 2 - อันดับ 5
- 2556 - ดิวิชั่น 2 - อันดับ 8
- 2555 - ดิวิชั่น 2 - อันดับ 2
- 2554/55 - ดิวิชั่น 2 - อันดับ 3
- 2553/54 - ดิวิชั่น 2 - อันดับ 7
- 2552/53 - ดิวิชั่น 2 - อันดับ 5
- 2542/43 - โปรลีก - อันดับ 13
- 2549 - โปรลีก 2 ภูมิภาค 4 - อันดับ 4
สโมสรพันธมิตร[แก้]
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
สงขลา ยูไนเต็ด
นรา ยูไนเต็ด
กลันตัน เอฟเอ
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|