การขนส่งในประเทศมาเลเซีย
การคมนาคมในประเทศมาเลเซีย เริ่มตั้งแต่สมัยอาณานิคมของอังกฤษ มีการคมนาคมหลากหลายรูปแบบซึ่งพัฒนาเรื่อยมา ระบบถนนในมาเลเซียนั้นกว้างขวาง ครอบคลุมระยะทาง 63,445 กิโลเมตร รวมทั้งทางด่วน 1,630 กิโลเมตร ทางหลวงสายหลักของประเทศยาว 800 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ชายแดนไทยไปจนถึงสิงคโปร์ ระบบถนนในมาเลเซียตะวันตกนั้นมีคุณภาพ ในขณะที่ระบบถนนในมาเลเซียตะวันออกนั้นไม่มีการพัฒนาเลย
ประเทศมาเลเซียมีท่าอากาศยานนานาชาติทั้งหมด 5 แห่ง สายการบินหลักคือ มาเลเซียแอร์ไลน์ ส่วนทางรถไฟในมาเลเซียนั้น ครอบคลุมระยะทาง 1798 กิโลเมตร ในกัวลาลัมเปอร์จะมีระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลและรถไฟฟ้ารางเบา
ทางบก
[แก้]ทางถนน
[แก้]ระบบถนนในมาเลเซียทั้งหมด มีระยะทาง 98,721 กิโลเมตร (61,342 ไมล์) แบ่งเป็นทางธรรมดา 80,280 กิโลเมตร (49,884 ไมล์) และทางด่วน 1,821 กิโลเมตร (1,132 ไมล์)[1] ทางหลวงที่ยาวที่สุดในประเทศคือ ทางหลวงสายเหนือ-ใต้ ระยะทางมากกว่า 800 กิโลเมตร (497 ไมล์) ระหว่างชายแดนไทยและสิงคโปร์ ระบบถนนในมาเลเซียตะวันออก ได้แก่ รัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวักนั้น มีคุณภาพน้อยเมื่อเทียบกับฝั่งตะวันตก[2] มาเลเซีย เป็นประเทศที่มีการขับขี่ยานพาหนะด้วยการจราจรเลนขวา (หรือใช้พวงมาลัยรถยนต์ด้านซ้าย) ตั้งแต่ปี 1903 ในสมัยที่ยังเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ (โดยผ่านทาง สหพันธรัฐมลายู)
ทางราง
[แก้]การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซีย มีระยะทาง 1,849 กิโลเมตร (1,149 ไมล์) โดย 1,792 กิโลเมตร (1,113 ไมล์) เป็นรางแคบ ในขณะที่ 57 กิโลเมตร (35 ไมล์) เป็นรางมาตรฐาน[1] ในกัวลาลัมเปอร์นั้น มีระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลและรถไฟฟ้ารางเบา[3]
ทางน้ำ
[แก้]มีทางแม่น้ำยาว 7,200 กิโลเมตร (4,474 ไมล์)[1] โดยแบ่งเป็นทางน้ำในมาเลเซียตะวันตก 3,200 กิโลเมตร (1,988 ไมล์) รัฐซาบะฮ์ 1,500 กิโลเมตร (932 ไมล์) และรัฐซาราวัก 2,500 กิโลเมตร (1,553 ไมล์)[1]
ท่อน้ำมัน
[แก้]มีท่อน้ำมันยาว 3 กิโลเมตร (2 ไมล์)[1]
ท่าเรือและเมืองท่า
[แก้]เมืองท่าที่สำคัญของมาเลเซีย:
- Bintulu
- โกตากีนาบาลู
- Kuantan
- Kemaman
- กูชิง
- Kudat
- Labuan
- Lahad Datu
- Lumut
- Miri
- Pasir Gudang
- George Town, Penang
- Port Dickson
- Port Klang
- Sandakan
- Sibu
- Tanjung Berhala
- Tanjung Kidurong
- Tawau
- Tanjung Pelepas
- Kuala Kedah
ทางอากาศ
[แก้]ท่าอากาศยาน
[แก้]ท่าอากาศยานมีทางวิ่ง
[แก้]ทั้วหมด: 38
มากกว่า 3,047 เมตร: 5
2,438 - 3,047 เมตร: 7
1,524 - 2,437 เมตร: 10
914 - 1,523 เมตร: 9
น้อยกว่า 914 เมตร: 7
ท่าเฮลิคอปเตอร์
[แก้]ทั้งหมด 2 แห่ง
สายการบิน
[แก้]สายการบินแห่งชาติ:
สายการบินอื่น ๆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Malaysia". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
- ↑ Mody, Ashoka (1997). Infrastructure strategies in East Asia: the untold story. Washington D.C.: The World Bank. p. 35. ISBN 0-8213-4027-1.
- ↑ Richmond, Simon; Cambon, Marie; Harper, Damian. Malaysia, Singapore & Brunei. Lonely Planet. p. 10.