ริงกิต
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ริงกิต Ringgit Malaysia | |
รหัส ISO 4217 | MYR |
---|---|
ใช้ใน | มาเลเซีย |
อัตราเงินเฟ้อ | 1.7% |
ข้อมูลจาก | The World Factbook (พ.ศ. 2549) |
หน่วยย่อย | |
1/100 | เซ็น |
สัญลักษณ์ | RM |
เหรียญ | 5, 10, 20, 50 เซ็น |
ธนบัตร | 1, 5, 10, 20, 50, 100 ริงกิต |
ธนาคารกลาง | ธนาคารกลางแห่งมาเลเซีย |
เว็บไซต์ | www.bnm.gov.my |
โรงกษาปณ์ | Royal Mint of Malaysia |
เว็บไซต์ | www.royalmint.com.my |
ริงกิตมาเลเซีย (มลายู: Ringgit Malaysia; รหัส: MYR) หรือบางครั้งเรียกว่าดอลลาร์มาเลเซีย เป็นสกุลเงินตราของประเทศมาเลเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 100 เซ็น คำว่า ringgit ในภาษามลายูแปลว่า "เป็นหยัก ๆ" และใช้อ้างถึงขอบหยัก ๆ ของ เหรียญเงินของประเทศสเปนที่ใช้แพร่หลายในพื้นที่
ในปี พ.ศ. 2380 รูปีได้กลายเป็นเงินตราราชการชนิดเดียวในอาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements) แต่ในปี พ.ศ. 2410 เหรียญเงินได้เป็นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการนำดอลลาร์ช่องแคบ (Straits dollar) ออกมาใช้โดย Board of Commissioners of Currency โดยที่ตั้งราคาไว้ที่ 2 ชิลลิง และ 4 เพนซ์ และได้มีการห้ามไม่ให้ธนาคารเอกชนออกธนบัตรเอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้เกิดความไม่ต่อเนื่องของเงินตรา 2 ครั้ง คือ การยึดครองของประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485-2487) และการลดค่าเงินของปอนด์สเตอร์ลิงในปี พ.ศ. 2510 เป็นเหตุให้ธนบัตรของ Board of Commissioners of Currency of Malaya and British Borneo ลดค่าไป 15% ในขณะที่ดอลลาร์ของ Bank Negara Malaysia และ Commissioners of Currency ของสิงคโปร์และบรูไนไม่มีการลดค่า
ชื่อภาษามลายู คือ ริงกิต และ เซ็น ได้กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในสิงหาคม พ.ศ. 2518 ก่อนหน้านี้ เงินตราได้เรียกเป็น ดอลลาร์ และ เซนต์ ในภาษาอังกฤษ และ ริงกิต และ เซ็น ในภาษามลายู อย่างไรก็ดี การใช้สัญลักษณ์ดอลลาร์ "$" (หรือ "M$") ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น "RM" (Ringgit Malaysia) จนถึงช่วง พ.ศ. 2533
ตั้งแต่วิกฤตทางการเงินในเอเซียเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของริงกิตกับดอลลาร์สหรัฐไว้ที่ RM3.80 ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
|