สหภาพมาลายา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหภาพมาลายา
Malayan Union

พ.ศ. 2489พ.ศ. 2491
ตราแผ่นดินของมาลายา
ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของมาลายา
สถานะอาณานิคมของสหราชอาณาจักร
เมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาทั่วไปภาษามลายูและอังกฤษ
ศาสนา
อิสลาม
พระมหากษัตริย์ 
• พ.ศ. 2489-2491
พระเจ้าจอร์จที่ 6
ข้าหลวง 
• พ.ศ. 2489-2491
เซอร์ เอ็ดเวิร์ด เจนต์
ยุคประวัติศาสตร์สิ้นสุดยุคอาณานิคม
• ก่อตั้ง
1 เม.ย. 2489 พ.ศ. 2489
• ยุบเลิกสหภาพ
31 ม.ค. 2491 พ.ศ. 2491
พื้นที่
พ.ศ. 2491132,364 ตารางกิโลเมตร (51,106 ตารางไมล์)
สกุลเงินดอลลาร์มาลายา
ก่อนหน้า
ถัดไป
สหพันธรัฐมลายู
นิคมช่องแคบ
รัฐยะโฮร์
รัฐเกอดะฮ์
รัฐปะลิส
รัฐกลันตัน
รัฐตรังกานู
สหพันธรัฐมาลายา
1 - สหพันธรัฐมลายูประกอบด้วยรัฐเซอลาโงร์ เปรัก เนอเกอรีเซิมบีลัน และปะหัง
2 - สิงห์โปร์ถูกแยกออกจากอาณานิคมช่องแคบ และยกฐานะขึ้นเป็นมกุฎราชอาณานิคม (Crown Colony)

สหภาพมาลายา เป็นสหพันธ์ของกลุ่มรัฐมลายูและอาณานิคมช่องแคบรวมทั้งสิงคโปร์ ซึ่งสืบทอดมาจากกลุ่มอาณานิคมบริติชมาลายา สหภาพแห่งนี้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรวมศูนย์การปกครองของรัฐต่าง ๆ ที่อยู่บนคาบสมุทรมลายูให้อยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการ

สหภาพมาลายาเป็นรูปแบบการปกครองที่อังกฤษเสนอขึ้นเพื่อใช้ปกครองดินแดนมลายูที่เป็นอาณานิคมภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในแผนการสหภาพมาลายานั้นมีส่วนสำคัญคือ

  • การรวมรัฐในสหพันธรัฐมลายู รัฐนอกสหพันธรัฐมลายูและปีนังกับมะละกาเข้าด้วยกันเป็นสหภาพมาลายา
  • ลดสถานภาพของสุลต่านให้เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาล โดยอธิปไตยเป็นของกษัตริย์อังกฤษ
  • พลเมืองในมาลายามีสิทธิ์เท่าเทียมโดยไม่มีอคติเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา

การต่อต้าน[แก้]

กลุ่มชนชั้นนำในมลายูเป็นกลุ่มที่ออกมาต่อต้านแผนการสหภาพมาลายาอย่างจริงจัง เพราะเท่ากับเป็นการลดอำนาจของสุลต่านที่มีมานาน ส่วนชาวมลายูทั่วไป รู้สึกว่าพวกตนเสียสิทธิ์พิเศษที่เคยมีเหนือชาวจีนและชาวอินเดีย

ดาโต๊ะ ออน บิน จาฟฟาร์ ประธานกลุ่ม Pan Malayan Congress เป็นผู้นำในการจัดประชุมเพื่อคว่ำบาตรสหภาพมาลายา ผลที่ตามมาคือสุลต่านทุกพระองค์ไม่เข้าร่วมพิธีการก่อตั้งสหภาพมาลายาของอังกฤษ ประชาชนชาวมลายูเดินขบวนต่อต้านโดยคาดผ้าขาวบนหมวกซงกกสีดำ ต่อมาใน พ.ศ. 2489 ดาโต๊ะ ออน บิน จาฟฟาร์ ร่วมกับกลุ่มชนชั้นนำมลายูก่อตั้งพรรคอัมโนโดยดาโต๊ะ ออน บิน จาฟฟาร์ เป็นประธานพรรคคนแรก

เนื่องจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ซับซ้อนในขณะนั้น มีกลุ่มนิยมอิสลามที่ต้องการสร้างศาสนาอิสลามที่บริสุทธิ์ในมาเลเซีย และกลุ่มฝ่ายซ้ายนำโดยสหภาพมลายูหนุ่มที่ต้องการรวมมาลายา สิงคโปร์และอินโดนีเซียเข้าด้วยกัน ฝ่ายอังกฤษไม่สนับสนุนสองกลุ่มที่กล่าวมาโดยเฉพาะกลุ่มฝ่ายซ้ายที่อังกฤษปราบปรามอย่างรุนแรงตั้งแต่ พ.ศ. 2491 ดังนั้น อังกฤษจึงหันไปเจรจากลับพรรคอัมโน ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 นำไปสู่การจัดตั้งสหพันธรัฐมาลายาขึ้นแทนที่เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 แผนการสหภาพมาลายาจึงล้มเลิกไป

อ้างอิง[แก้]

  • วทัญญู ใจบริสุทธิ์. ชนชั้นนำ บารมี อำนาจและเอกราชในมาลายา ใน อุษาคเนย์ที่รัก. สุเจน กรรฤทธิ์, สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ, บรรณาธิการ. กทม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2553. หน้า 211-213