รายชื่อผลงานของธงไชย แมคอินไตย์
บทความนี้เนื้อหาเกี่ยวกับผลงานของธงไชย แมคอินไตย์ สำหรับบทความหลักดูที่ ธงไชย แมคอินไตย์

ผลงานของ ธงไชย แมคอินไตย์ ในวงการบันเทิงเริ่มต้นจากการเป็นนักแสดงสมทบละครเรื่องแรก "น้ำตาลไหม้" ปี 2526 จากนั้นมีผลงานในหลากหลายบทบาทอย่างต่อเนื่อง ทั้งละคร และภาพยนตร์ โดยได้รับการตอบรับอย่างสูงจากภาพยนตร์ เรื่อง "ด้วยรักคือรัก" ปี 2528 ซึ่งได้รับบทเป็นพระเอกภาพยนตร์เรื่องแรกประกบกับนักร้องดังแห่งยุค "อัญชลี จงคดีกิจ" จนกระทั่งก้าวเข้าสู่วงการเพลงเต็มตัวปี 2529 กลายเป็นศิลปินนักร้องขวัญใจประชาชนทุกเพศทุกวัยตั้งแต่นั้นมา ระหว่างนั้นยังมีผลงานละคร ซึ่งสร้างสถิติเรตติ้งสูงสุดตลอดกาล ละครเรื่อง "คู่กรรม" ปี 2533 นอกจากนั้นยังมีผลงานโฆษณา ซึ่งทางต้นสังกัดพิถีพิถันในเรื่องของการรับงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงงานถ่ายแบบนิตยสาร และการออกรายการ ซึ่งไม่มุ่งเน้นในเรื่องของปริมาณ แต่เน้นในเรื่องคุณภาพ ความเชื่อมั่น เพื่อให้ได้ผลตอบรับที่ดีที่สุดของผู้บริโภค เป็นอีกภาพลักษณ์ที่สำคัญของซุปเปอร์สตาร์อันดับ 1 ของไทย
สรุปผลงานสร้างชื่อเสียงที่สุด[แก้]
ธงไชย แมคอินไตย์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "พี่เบิร์ด" เป็นศิลปินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในรอบ 30 ปี ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ [1] และประสบความสำเร็จสูงสุดของประเทศไทย [2] โดยสร้างปรากฏการณ์ในวงการบันเทิงประเทศไทย ด้วยผลตอบรับทางด้านละครที่มีเรตติ้งสูงสุด มียอดจำหน่ายอัลบั้มสูงสุด ตลอดจนจำนวนรอบและรายได้จากการจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตสูงสุดของประเทศ[3][4] โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงที่สุดของเบิร์ดในแต่ละด้านสรุป ดังนี้
ด้านการแสดง เบิร์ดแสดงภาพยนตร์ไทยทั้งหมด 7 เรื่อง โดยก้าวสู่การเป็นพระเอกภาพยนตร์อย่างเต็มตัว ในปี 2528 จากภาพยนตร์ เรื่อง "ด้วยรักคือรัก" ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างสูงในยุคนั้น โดยประกบคู่กับนักร้องดังแห่งยุค "อัญชลี จงคดีกิจ" ส่วนด้านละครที่สร้างชื่อเสียงที่สุด ในปี 2533 ละครคู่กรรม ออกอากาศทางช่อง 7 สร้างประวัติศาตร์ละครที่มีเรตติ้งสูงสุดของไทย เรตติ้ง 40 จากการสวมบทบาทเป็น "โกโบริ" ประกบคู่ครั้งแรกกับ กมลชนก โกมลฐิติ ทำให้เบิร์ดได้รับรางวัลใหญ่ในยุคนั้นทั้ง 2 รางวัล คือ รางวัลเมขลา และรางวัลโทรทัศน์ทองคำ[5] นอกจากนั้นยังเป็นศิลปินคนแรกที่รับบทบาทเดียวกันในเรื่องเดียวกันอีกครั้ง ในภาพยนตร์ คู่กรรม ปี 2538
ด้านการร้องเพลง เบิร์ดมีอัลบั้มเต็ม 16 อัลบั้ม และอัลบั้มพิเศษต่างๆ รวมแล้วมียอดจำหน่ายมากกว่า 25 ล้านชุด โดยมียอดจำหน่ายอัลบั้มสูงสุดของประเทศไทย และติด 1 ใน 3 ศิลปินที่มียอดจำหน่ายอัลบั้มสูงสุดตลอดกาลของเอเชีย [6] โดยอัลบั้มที่สร้างชื่อเสียงที่สุด ในปี 2533 อัลบั้ม"บูมเมอแรง" สร้างประวัติศาตร์ยอดจำหน่ายเทปสูงสุดของไทยมากกว่า 2 ล้านตลับ โดยมีเพลงเด่น คือ เพลงคู่กัด และเพลงบูมเมอแรง เป็นต้น และในปี 2545 อัลบั้ม "ชุดรับแขก" สร้างประวัติศาสตร์ยอดจำหน่ายซีดีเพลงสูงสุดของไทยมากกว่า 5 ล้านชุด โดยมีเพลงเด่น คือ เพลงแฟนจ๋า และเพลงมาทำไม เป็นต้น และหากนับรวมยอดจำหน่ายดีวีดีคอนเสิร์ตในอัลบั้มดังกล่าวอีก 3 ล้านชุด รวมแล้วมียอดจำหน่ายมากกว่า 8 ล้านชุด [7] นอกจากผลงานประจำแล้ว เบิร์ดได้รับเกียรติให้ขับร้องเพลงเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่สำคัญ เช่น เพลงต้นไม้ของพ่อ ของขวัญจากก้อนดิน รูปที่มีทุกบ้าน ตามรอยพระราชา สายใยแผ่นดิน ในหลวงในดวงใจ พระราชาผู้ทรงธรรม เป็นต้น และยังได้รับเลือกให้ขับร้องเพลงในเหตุการณ์พิเศษที่สำคัญ เช่น เหตุการณ์สึนามิ เพลงอีกไม่นาน Thai for Japan(ภาษาญี่ปุ่น) เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพลงฝากส่งใจไป Sampaikan Hati(ภาษายาวี) เอ็มวีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย เพลง Why the Tears(ภาษาจีนแมนดาริน) เป็นต้น
ด้านการแสดงคอนเสิร์ต เบิร์ดมีคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบที่สำคัญ คือ คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ 10 ครั้งที่ผ่านมา มีจำนวนรอบการแสดง 153 รอบ มีผู้ชม 484,400 คน[8] อีกทั้งมีคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบอื่นๆ ที่จัดเป็นประจำทุกปี โดยในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา มีผู้ซื้อบัตรเข้าชมแล้วประมาณ 2 ล้านคน [9] โดยคอนเสิร์ตที่ประสบความสำเร็จสูงสุด คือ คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 5 ปี 2534 สร้างสถิติสูงสุดของ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ด้วยจำนวนผู้ชม 58,000 คน จาก 29 รอบการแสดง [10]และคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 9 ปี 2551 เมื่อรวมรอบอังกอร์พลัสแล้ว สร้างสถิติสูงสุดของอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ด้วยจำนวนผู้ชม 120,000 คน จาก 12 รอบการแสดง[11] ขณะที่ คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 10 ปี 2555 สร้างปรากฏการณ์ยอดผู้ชมสูงสุดในเมืองไทย จากการจำหน่ายบัตรต่อเนื่องในคราวเดียว กว่า 100,000 คน จาก 10 รอบการแสดง [12]
ด้านอื่นๆ ที่สำคัญ เบิร์ดในช่วงแรกของการก้าวสู่วงการบันเทิงนั้น นอกจากจะมีผลงานละคร และผลงานเพลงแล้ว ยังเป็นพิธีกรรายการ 7 สีคอนเสิร์ต ปี 2529-2530 โดยเบิร์ดดำเนินรายการคู่กับ ตั๊ก มยุรา ธนะบุตร ซึ่งเป็นพิธีกรคู่แรกคู่ประวัติศาสตร์ของรายการนี้ ที่มอบความสนุกสนานแบบสด ๆ ซึ่งทำให้เบิร์ด และตั๊ก ได้รับรางวัลผู้ดำเนินรายการดีเด่นทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง จากงานประกาศผลรางวัลเมขลา ปี 2529[13] และยังเป็นนักพากย์การ์ตูนแอนนิเมชั่นเรื่องแรกของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่ได้เบิร์ดเป็นต้นแบบ พร้อมพากย์เสียง "พี่เบิร์ด" ในเรื่อง เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ และได้รับรางวัลทีมพากย์การ์ตูนดีเด่น จากงานประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ปี 2555 อีกทั้งยังเป็นผู้บรรยายภาษาไทยในภาพยนตร์สารคดี ชุด “My King ในหลวงของเรา” จัดทำโดย มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ National Geographic ผู้ผลิตสารคดีที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ถึง 3 ครั้ง โดยโครงการเที่ยวไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก ถือเป็นโฆษณาที่สร้างการรับรู้ให้กับคนไทยสูงสุดถึง 99% จากการสำรวจ [14] [15][16]
ผลงานการแสดง[แก้]
ละครโทรทัศน์[แก้]

- ปี 2526 น้ำตาลไหม้ (ช่อง 3) ร่วมแสดงกับ นพพล, ลินดา เป็นละครเรื่องแรกของเบิร์ด ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยมรางวัลเมขลา ส่งให้เบิร์ดเป็นที่รู้จัก และกล่าวถึงในฐานะนักแสดงหน้าใหม่ที่มีความสามารถ กำกับการแสดงโดย ไก่ วรายุฑ มิลินทจินดา
- ปี 2527 มงกุฎฟาง (ช่อง 3) ร่วมแสดงกับ ภิญโญ, มยุรฉัตร, พรพรรณ
- ปี 2527 ทายาทท่านผู้หญิง (ช่อง 5) ซึ่งเรื่องนี้ต้องเล่นเป็นคนขาพิการ
- ปี 2527 เมื่อรักร้าว (ช่อง 9) ร่วมแสดงกับ ยุรนันท์, มยุรา, นาถยา
- ปี 2527 วงเวียนหัวใจ (ช่อง 9) ร่วมแสดงกับ ธิติมา, นาถยา
- ปี 2527 บ้านสอยดาว (ช่อง 7) ประชันบทบาทกับ มยุรา เศวตศิลา, ศรัณยู วงษ์กระจ่าง, อุทุมพร ศิลาพันธ์, ผุสรัตน์ ดารา
- ปี 2528 ขมิ้นกับปูน (ช่อง 9) ร่วมแสดงกับกาญจนา จินดาวัฒน์
- ปี 2528 เบญจรงค์ห้าสี (ช่อง 3) ร่วมแสดงกับ เดือนเต็ม, มยุรา, ดวงใจ, อุทุมพร, อลิษา, จริยา, สมภพ, ชลิต, อภิชาติ, เป็นหนึ่ง
- ปี 2528 รักในสายหมอก (ช่อง 3) ร่วมแสดงกับ ดิลก, กาญจนา
- ปี 2528 เพลงแห่งชีวิต (ช่อง 5) ร่วมแสดงกับนพพล โกมารชุน, ก้ามปู สุวรรณปัทม์
- ปี 2528 ดอกรักสีรุ้ง (ช่อง 3) ร่วมแสดงกับ อนุสรณ์, มยุรา, ธิติมา
- ปี 2528 ระเบียงรัก (ช่อง 9) ร่วมแสดงกับนาถยา แดงบุหงา
- ปี 2528 พลับพลึงสีชมพู (ช่อง 7) ร่วมแสดงกับ มนฤดี ยมาภัย) แล้วเบิร์ดได้ลาออกจากการทำงานประจำเพื่อเล่นละครอย่างเต็มตัว
- ปี 2529 เนื้อนาง (ช่อง 7) ประชันบทบาทกับ นิรุตติ์ ศิริจรรยา, นพพล โกมารชุน, มยุรา เศวตศิลา
- ปี 2529 มัจจุราชสีน้ำผึ้ง (ช่อง 3) ร่วมแสดงกับ นิรุตติ์, ลินดา, หทัยรัตน์
- ปี 2530 ดวงไฟไยไม่ส่องฉัน (ช่อง 7) (ป้าจิ๊ อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ ได้เป็นนางเอกคู่กับ เบิร์ด)
- ปี 2532 ตะกายดาว (ช่อง 9) ร่วมแสดงกับ เศรษฐา, เพ็ญพักตร์, วสันต์
- ปี 2533 คู่กรรม (ช่อง 7) เป็นละครที่ทำเรตติ้งสูงสุดอันดับ 1 ของเมืองไทยตลอดกาล ด้วยเรตติ้ง 40 [17]สร้างโดย ดาราวิดีโอ แสดงร่วมกับกมลชนก โกมลฐิติ เรื่องนี้ได้รับรางวัลทั้งเมขลาและโทรทัศน์ทองคำในปีเดียวกัน ในบทบาท "โกโบริ"
- ปี 2536 วันนี้ที่รอคอย (ช่อง 7) สร้างโดย ดาราวิดีโอ รับบทฝาแฝด คือ เจ้าชายน่านปิงนรเทพ (จ้าวซัน) และ เจ้าชายศิขรนโรดม (แสดงคู่กับ สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ และ พงษ์นภา ดัสกร)
- ปี 2540 นิรมิต (ช่อง 7) สร้างโดย ดาราวิดีโอ รับบทฝาแฝด 3 ตัวละคร คือ ชื่อ ภูวง ภังคี ไทวัน (คู่กับ อารียา สิริโสภา มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ อรอนงค์ ปัญญาวงศ์)
- ปี 2541 ความทรงจำใหม่ หัวใจเดิม (ช่อง 5) สร้างโดย เอ็กแซ็กท์-ซีเนริโอ ละครพิเศษเพื่อเป็นของขวัญให้กับแฟนเพลง (9 ตอน) รับบทเป็น เดี่ยว (คู่กับ คัทลียา แมคอินทอช)
- ปี 2558 กลกิโมโน (ช่อง 3) สร้างโดย บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น รับบทเป็น ท่านชายโฮชิ ร่วมแสดงกับ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ และ ภูภูมิ พงศ์ภาณุ
- ปี 2559 เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ ตอน ชีวิตเพื่อให้ (ช่องวัน) สร้างโดย เอ็กแซ็กท์-ซีเนริโอ รับบทเป็น หมอดนย์ (นักแสดงรับเชิญ) ร่วมแสดงกับ ยุกต์ ส่งไพศาล
ภาพยนตร์[แก้]
- ปี 2527 ภาพยนตร์เรื่องแรก คือ บ้านสีดอกรัก เป็นข่าวโด่งดังเพราะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้นที่จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีดาราหลาย ๆ คนที่ร่วมโดยสารไปด้วยและได้รับบาดเจ็บ เช่น จารุณี สุขสวัสดิ์ เนาวรัตน์ ยุกตะนันทน์ พรพรรณ และ สรพงศ์ ชาตรี ในเหตุการณ์ เบิร์ดบาดเจ็บที่ศีรษะและหมดสติไป
- ปี 2527 เรื่องที่สอง ขอแค่คิดถึง กำกับฯ โดย มจ. ทิพยฉัตร ฉัตรไชย เล่นเป็นพระรอง นางเอกคือใหม่ เจริญปุระ ถ่ายที่อังกฤษและสวิตเซอร์แลนด์ เรื่องนี้เบิร์ดถึงกับยอมลงทุนรวบรวมวันลาและเงินทั้งหมดไปถ่ายหนังเรื่องนี้ เพราะจะได้ไปต่างประเทศเป็นครั้งแรกและได้ค่าตัว 30,000 บาท
- ปี 2528 ด้วยรักคือรัก ภาพยนตร์รักโรแมนติก ที่ก้าวสู่การเป็นพระเอกภาพยนตร์เต็มตัวด้วยการประกบคู่กับนักร้องชื่อดังแห่งยุค ปุ๊ – อัญชลี ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับกระแสตอบรับสูงสุดในขณะนั้น
- ปี 2529 อีกครั้ง ด้วยความแรงของภาพยนตร์เรื่องด้วยรักคือรัก ทำให้กลับมาเจอกับปุ๊ – อัญชลี จงคดีกิจ อีกครั้ง ตามชื่อภาพยนตร์
- ปี 2529 ด้วยรักและผูกพัน เล่นกับกาญจนา จินดาวัฒน์ หลังจากมีอัลบั้มแรกแล้วด้วยความแรงของเบิร์ด ได้มีการนำเพลงจากอัลบั้ม "หาดทรายสายลมสองเรา" ร่วมประกอบในฉากต่างๆของภาพยนตร์ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นทั้งภาพยนตร์และอัลบั้ม
- ปี 2530 หลังคาแดง ในบทบาทของคนบ้าชื่อโกยทอง มีจินตหรา สุขพัฒน์ เป็นนางเอก ใช้เพลง “สบาย สบาย” เป็นเพลงประกอบ และมียุทธนา มุกดาสนิทเป็นผู้กำกับฯ
- ปี 2538 คู่กรรม กลับมาเล่นเป็นโกโบริ โยอิชิ อีกครั้ง โดยมี อาภาศิริ นิติพนรับบทเป็นอังศุมาลิน ซึ่งกระแสความแรงได้สร้างสถิติภาพยนตร์ที่มีผู้เข้าชมสูงสุดใน 3 วันแรกของการเปิดตัว โดยภาพยตร์เรื่องนี้ส่งผลให้เบิร์ดได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี(รางวัลตุ๊กตาทอง) ปี 2538 นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
- ปี 2547 2046 กำกับโดยหว่อง คาไว ผู้กำกับมือทองที่คว้ารางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ เป็นภาพยนตร์เรื่องล่าสุดที่เบิร์ดได้ร่วมถ่ายทำไปบางส่วน แต่จากการใช้เวลาถ่ายทำที่ยาวนานกว่า 4 ปี ทางต้นสังกัดของเบิร์ดจึงขอถอนตัวจากการแสดงในเรื่องนี้ แต่เมื่อมีการนำภาพยนตร์มาฉาย ยังคงมีภาพบางส่วนของซุปเปอร์สตาร์เมืองไทยให้เห็นจนเกิดเป็นประเด็นระหว่างต้นสังกัดและผู้กำกับในคราวนั้น แต่ก็จบลงด้วยดี
พิธีกร นักพากย์ ผู้บรรยาย[แก้]
- เริ่มเป็นพิธีกรครั้งแรกคู่กับมยุรา ธนะบุตรจากรายการ แซทสตาร์ หรือรายการ โชคติดปุ่ม
- ปี 2529 - 2530 พิธีกรบนเวทีการประกวดนางสาวไทย ร่วมกับ พลากร สมสุวรรณ [18]
- ปี 2529 - 2531 พิธีกรในรายการ7 สีคอนเสิร์ต ร่วมกับ มยุรา เศวตศิลา
- พิธีกรรายการ สุริยาตาหวาน ของ JSL
- พิธีกรรายการ แฮบปี้เบิร์ดเดย์
- ปี 2554 เป็นผู้พากย์บท "พี่เบิร์ด" ในการ์ตูน เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ซีซั่น 1 ออกอากาศทางช่อง 3 ผลิตโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และเชลล์ฮัท
- ปี 2555 เป็นผู้พากย์บท "พี่เบิร์ด" ในการ์ตูน เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ซีซั่น 2 ออกอากาศทางช่อง 3 ผลิตโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และเชลล์ฮัท
- ปี 2555 เป็นผู้พากย์บท "พี่เบิร์ด" ในการ์ตูน เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ซีซั่น 3 ชุด ตามรอยพระราชา ออกอากาศทางช่อง 3 ผลิตโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และเชลล์ฮัท
- ปี 2555 เป็นผู้บรรยายสารคดีเฉลิมพระเกียรติวาระ 150 ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จำนวน 7ตอน ออกอากาศทุกช่อง หลังข่าวพระราชสำนัก ระหว่างวันที่ 9 - 15 กันยายน 2555 [19]
- ปี 2555 เป็นผู้บรรยายภาษาไทยในภาพยนตร์สารคดี ชุด “My King ในหลวงของเรา” จัดทำโดย มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ National Geographic ผู้ผลิตสารคดีที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก[20]
- ปี 2556 เป็นผู้พากย์บท "พี่เบิร์ด" ในการ์ตูน เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ร่วมจัดทำ การ์ตูนแอนิเมชั่น เบิร์ดแลนด์...แดนมหัศจรรย์ ซีซั่น 3 ตอนพิเศษ “ส่งเสริมคุณค่าของวัฒนธรรมไทย” เพื่อหวังปลูกฝังให้เยาวชนไทยได้ซึมซับศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทยต่างๆอันล้ำค่าในแต่ละภูมิภาคที่นับวันจะเลือนหายไปจากสังคมไทยให้ยังคงคุณค่าและงดงามซึ่งมีทั้งหมด 26 ตอน ออกอากาศทางช่อง 3 ผลิตโดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และเชลล์ฮัท [21][22]
พรีเซ็นเตอร์ภาครัฐ[แก้]
- ปี 2545 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์รณรงค์เสริมสร้างรอยยิ้มในคนไทยภายใต้โครงการ “สร้างสุขด้วยรอยยิ้ม” ของกระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต
- ปี 2545 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์ โครงการ รณรงค์ลดการแพร่เชื้อทางเดินหายใจ ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย โครงการในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- ปี 2546 ได้รับเลือกเป็น Call Center บันทึกเสียงลงระบบตอบรับอัตโนมัติของธนาคารไทยพาณิชย์ (ตั้งแต่ปี 2546 ถึงปัจจุบัน) [23]
- ปี 2546 ได้รับเลือกให้เป็นพรีเซ็นเตอร์โครงการฝาแบรนด์สร้างขาเทียมเฉลิมพระเกียรติ
- ปี 2546 ได้รับเลือกให้เป็นพรีเซ็นเตอร์เสื้อยืดพระนามาภิไธยย่อ สก.72 พรรษา เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ ในปี พ.ศ. 2547
- ปี 2546 ได้รับเลือกจากสภากาชาดไทย ให้เป็นตัวแทนเชิญชวนคนไทยร่วมส่งไปรษนียบัตรกาชาดมหากุศล ซึ่งสภากาชาดไทยจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เนื่องในโอกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา
- ปี 2548 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์รณรงค์โครงการตั้งสัจจะอธิษฐานปฏิบัติบูชาในโอกาสวันวิสาขบูชาโลก ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
- ปี 2548 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โครงการ "เที่ยวที่ไหนไม่สุขใจเท่าบ้านเรา" พร้อมเปิดตัว Mascot "น้องสุขใจ" ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวแทนของความสุขที่สามารถพบได้ตามแหล่งท่องเที่ยวทั่วเมืองไทย (สถานที่ถ่ายทำที่กระบี่ พังงา ไปถึงเกาะเลย เกาะไผ่ พีพีใหญ่ พีพีเล เกาะเต่า รวมทั้งหาดมาหยา เป็นต้น)
- ปี 2552 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) "โครงการเที่ยวไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก"[24] สถานที่ถ่ายทำสามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี[25] หลังจากเผยแพร่ในช่วงต้นปีพบว่า สามารถสร้างการรับรู้ในวงกว้างให้กับคนไทยได้ถึง 99% จากการเปิดเผยของ ททท.[26][27]
- ปี 2552 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) "โครงการ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน" สถานที่ถ่ายทำมอหินขาวจังหวัดชัยภูมิ [28] หลังจากเผยแพร่ในช่วงปลายปีได้สร้างปรากฏการณ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากให้มาเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวแหล่งใหม่ของไทย [29][30]
- ปี 2554 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เลือกเป็นตัวแทนประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พร้อมนำทีมศิลปินชื่อดังมาร่วมประชาสัมพันธ์เชิญ ชวนคนไทยออกมาใช้สิทธิ์ [31]
- ปี 2554 ได้รับเลือกเป็นพรีเซนเตอร์ธรรมอาสาพาประชาชนไทยทุกหมู่เหล่าเข้าวัดปฏิบัติภาวนา ของเสถียรธรรมสถานพร้อมเหล่าศิลปินดารารวม 22 ชีวิต ด้วยโจทย์ธรรมะ "สุขแป๊บเดียวก็เจอทุกข์ ทุกข์แป๊บเดียวก็เจอสุขอีกแล้ว สติของเราเท่านั้นที่จะคุยกับความทุกข์ให้รู้เรื่อง" และสรุปท้ายด้วย "ทุกข์มีไว้ให้เห็น ไม่ได้มีไว้ให้เป็น" [32]
- ปี 2555 ได้รับเลือกจากสภากาชาดไทย ให้เป็นตัวแทนเชิญชวนคนไทยร่วมสนับสนุนการจัดทำ "สายรัดข้อมือเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์สภานายิกา ปวงประชารวมใจ ถวายพระพร" เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ สภานายิกาสภากาชาดไทย ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา โดยรายได้จากการจำหน่ายสายรัดข้อมือ เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทยนำไปช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย[33]
- ปี 2555 ได้รับเลือกจากมูลนิธิชัยพัฒนา ให้เป็นตัวแทนเชิญชวนคนไทยร่วมสนับสนุนเสื้อยืด "ยิ้มให้พ่อ"ร่วมกับ 10 ศิลปินดัง โดยความหมายของเสื้อหมายถึงรอยยิ้มที่คนไทยยิ้มให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ผู้ซึ่งเปรียบเสมือน "พ่อ" ของคนไทยทั้งประเทศ โดยมูลนิธิชัยพัฒนาจะนำรายได้ไปใช้ประโยชน์เพื่อการกุศลต่อไป[34]
- ปี 2557 ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์กิตติมศักดิ์ จากเครือข่ายคนรักน้องหมาในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา รักเพื่อนอย่าทิ้งเพื่อน ดูแลกันตลอดไปนะ เพื่อช่วยรณรงค์ให้ทุกคนในสังคมช่วยกันดูแลสุนัขและแมวจรจัด โดยให้เครือข่ายคนรักน้องหมาในพระอุปถัมภ์พระองค์ภาเป็นตัวกลางในการประสานความช่วยเหลือ โดยมีการจัดงาน "สี่ขาขาจร-Give a chance 2014 ระหว่างวันที่ 1-3 สิงหาคม 2557 ณ ลาน Eden โซน 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ [35]
- ปี 2557 ได้รับเกียรติจาก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) จัดทำแสตมป์ส่วนตัวภาพพี่เบิร์ด ตามโครงการส่งเสริมการสื่อของคนไทยผ่านการเขียนผ่านจดหมายและโปสการ์ดผ่านกิจกรรมพิเศษต่างๆ ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากบทเพลง "เขียนคำว่ารัก" ผ่านโปสการ์ดคอลเลกชั่นพิเศษ "เลิฟซีรีส์ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยทุกเพศ ทุกวัย หันมาให้ความสำคัญ และรักการเขียนเพิ่มมากขึ้น[36]
- ปี 2558 ได้รับเกียรติเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ประจำโครงการเครือข่ายคนรักน้องหมา ปี 5 เครือข่ายคนรักน้องหมาในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา รักเพื่อนอย่าทิ้งเพื่อน ดูแลกันตลอดไปนะ เพื่อช่วยรณรงค์ให้ทุกคนในสังคมช่วยกันดูแลสุนัขและแมวจรจัด โดยให้เครือข่ายคนรักน้องหมาในพระอุปถัมภ์พระองค์ภาเป็นตัวกลางในการประสานความช่วยเหลือ [37]
- ปี 2559 เป็นผู้นำทีมรณรงค์อุดหนุน "ดอกป๊อปปี้" ช่วยครอบครัวทหารผ่านศึก ของมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี [38]
- ปี 2559 ได้รับเกียรติจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ร่วมถ่ายทำมิวสิกวีดีโอเพลง "กำลังใจ" เพื่อเป็นกำลังใจให้นักร้องนักดนตรีผู้พิการทางสายตาได้แสดงความสามารถ ในโครงการจากถนนสู่ดวงดาว "From street to stars" [39]
- ปี 2561 ร่วมเป็นศิลปินจิตอาสา ในภาพยนตร์โฆษณาของมูลนิธิรามาธิบดี ภายใต้แนวคิด “คำว่าให้…ไม่สิ้นสุด” เพื่อเชิญชวนประชาชนร่วมบริจาคเงินสมทบทุนจัดซื้อเครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง ให้กับสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์[40]
- ปี 2562 ร่วมเป็นศิลปินเชิญชวนร่วมงาน “เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2562” และสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ระลึกจากร้านพึ่งพา เพื่อนำรายได้ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ปีที่ 7 ภายใต้แนวคิด “แบ่งปัน พอเพียง ยั่งยืน” [41]
- ปี 2562 โครงการ "ไฟ จาก ฟ้า" พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ โดยจัดในรูปแบบ นิทรรศการ “ไฟ จาก ฟ้า” และการแสดงดนตรี “คอนเสิร์ต Singing Bird” รอบพิเศษ เพื่อส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้ความตระหนักและมีส่วนร่วมทางด้านไฟฟ้าจากพลังงานที่สะอาด โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ร่วมกับ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ [42]
พรีเซ็นเตอร์ภาคเอกชน[แก้]
- โค้ก (2530 - 2533) สโลแกน "ต้องโค้กสิ" [43] [44]
- หมากฝรั่ง LOTTE ชุด“เพื่อน” 3 เวอร์ชัน สโลแกน "ลอตเต้เพื่อนคู่ปาก" สามารถสร้างการรับรู้ของประชาชนในอับดับต้นๆ ส่งผลให้หมากฝรั่งลอตเต้ประสบความสำเร็จสูงสุดทางด้านยอดจำหน่ายของหมากฝรั่งไทยในรอบปี (2533)
- ฟิล์มสีฟูจิ ชุด Jamaica สโลแกน “ตัวเล็ก...กว่าภูเขานิดนึง” จากผลสำรวจเป็นโฆษณาที่ประชาชนคุ้นเคยที่สุดอันดับ 1 ส่งผลให้ฟูจิประสบความสำเร็จสูงสุดในตลาดฟิล์ม (2533) ชุด Japan สโลแกน "เมื่อภาพทุกภาพมีค่ากับความรู้สึกคุณเชื่อในความละเอียดอ่อนแห่งเทคโนโลยี"(2534)[45]ชุด ปราสาทหินพนมรุ้ง สโลแกน “คุณค่าแห่งสีสันต์โลกตะวันออกจะอยู่กับเราตลอดไป” (2536)[46]
- โทรทัศน์สี Panasonic ชุด อลาสก้า นิวยอร์ก สโลแกน “ภาพและเสียงของคนทั่วโลก” ซึ่ง Vote Award ยกให้เป็นโฆษณายอดนิยมแห่งปี 2536(2536) ชุด ทะลใต้ "เติมนิยามให้โลกส่วนตัว"(2539)
- มันฝรั่งเลย์ สโลแกน “อร่อยชิ้นเดียวไม่เคยพอ” กลายเป็นสินค้าที่ทำให้การรับรู้ของคนไทยเพิ่มขึ้นแบบทิ้งคู่แข่ง ถ่ายทำที่ไร่มันสำปะหลัง อำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 3 เวอร์ชัน (2543) ได้แก่ แฟร์กันหน่อย, ขอบคุณค่ะ , ปลูกอนาคต นอกจากนั้นยังมีชุด อโรคา ร่วมกับ นัท นิโคล (2544) ชุด ร่วมกับ มาช่า (2545)
- เครื่องสำอาง U-Star สโลแกน "มาเป็นครอบครัวเดียวกับเบิร์ดนะครับ" โดย GMM ซึ่งการเปิดตัวในปีแรกมีผู้สมัครร่วมเป็นสมาชิกสูงสุดของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในประเทศไทยในรอบปี 2546 อีกทั้งยังประสบความสำเร็จสูงสุดในยอดขาย และยังสามารถสร้าง Brand Awareness ใหกับคนทั่วไปในการจดจำผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก[47](2546)
- แบรนรังนก ชุด ฝาแบรนด์สร้างขาเทียมเฉลิมพระเกียรติ (2546) ชุด โยคะ “ชีวิตดูดี อยู่ที่คุณเลือก” (2548)
- HONDA ชุด Big Family สโลแกน "อยู่ด้วยกัน ผูกพันกัน เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน” เป็นการฉลองครบรอบ 40 ปี ของ HONDA ซึ่งผูกโยงกับความเป็น "ดาวค้างฟ้า" ของเบิร์ดที่ยังรักษาความนิยมมายาวนาน โดยโฆษณาดังกล่าวเป็นการถ่ายทอดความผูกพัน เพื่อขอบคุณลูกค้าที่มีให้กันตลอด 40 ปี[48](2548)
- เครื่องดื่มชาเขียวแท้ Namacha 2 เวอร์ชัน โดยการร่วมทุน ไทย-ญี่ปุ่น ของ KIRIN ซึ่งดูแลการตลาด และโอสถสภา ดูแลการกระจายสินค้าในไทย สโลแกน “น้ำชาเขียวแท้จากประเทศญี่ปุ่น” เป็นชาเขียวพร้อมดื่มสัญชาติญี่ปุ่นแบรนด์แรกที่จำหน่ายในไทย ชุดที่เบิร์ดแสดงสามารถจุดประกายความน่าสนใจในวงกว้าง สามารถสร้าง Brand Awareness ของการเปิดตัวในช่วงที่ตลาดชาเขียวซบเซา[49](2549)
- กล่องรับสัญญาณ GMMZ (2555) กล่องรับสัญญาณจานดาวเทียม ผลิตภัณฑ์ในเครือจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ซึ่งเปิดตัวครั้งแรก โดยแสดงร่วมกับศิลปินในสังกัดกว่า 100 ชีวิต
- Smooth E(2555) สโลแกน "สมูทอีใจใสหน้าก็ใส" 3 เวอร์ชัน [50][51] ชุด "พี่เบิร์ดทำหน้าหรือเปล่า" ชุด "พี่เบิร์ดอายุเท่าไร" ชุด "ทายซิผู้ชายคนนี้อายุเท่าไร"
- สีเบเยอร์(2555-2556) เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี สีเบเยอร์ เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำ ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และยอดขาย ตลอดจนใช้โอกาสพิเศษนี้กระตุ้นให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการดูแลสังคม เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาวะโลกร้อน [52][53] ชุด "โลกสวยด้วยมือเรา" ชุด "ONE WALL ONE WORLD รวมพลังลดโลกร้อน"
- สีเบเยอร์(2557) ปีสอง ชุด “เบเยอร์คูล .. สีบ้านเย็น สบาย สบาย” ด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สีเบเยอร์คูล ช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านได้ถึง 3-5 องศา ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ช่วยประหยัดค่าไฟ ประหยัดพลังงาน เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดโลกร้อน[54]
- ดาวคอฟฟี(2559) กาแฟยี่ห้อดาวคอฟฟี่ (Dao Coffee) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัท ดาวเฮือง ผู้ผลิตดาวคอฟฟี่จากที่ราบสูงโบลาเวน ประเทศลาว ภายในแคมเปญ "จากดินสู่ดาว..ด้วยพลังแห่งความรัก" [55][56]
- โครงการ สวอนเลค เรสซิเด้นท์ เขาใหญ่(กุมภาพันธ์ 2560) เป็นคอนโดมิเนียมโลว์ไรซ์ ระดับเอ็กซ์คลูซีฟ ของบริษัท อีลิเชี่ยน ดิเวลลอปเม้นท์ ในแคมเปญ “สบาย สบาย แบบสตรอง สตรอง” ของโครงการ “สวอนเลค เขาใหญ่” โดยมีธงไชยเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ซึ่งเขาเป็นคนรักธรรมชาติ รวมทั้งการให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลตัวเองรักษาสุขภาพ[57][58][59]
- โครงการ สวอนเลค เรสซิเด้นท์ เขาใหญ่(มิถุนายน 2560) เป็นคอนโดมิเนียมโลว์ไรซ์ ระดับเอ็กซ์คลูซีฟ ของบริษัท อีลิเชี่ยน ดิเวลลอปเม้นท์ ในแคมเปญ “สวอนเลค สวอนเดอร์แลนด์” ของโครงการ “สวอนเลค เขาใหญ่” โดยมีธงไชยเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์อีกครั้ง[60]
ผลงานเพลง[แก้]
คอนเสิร์ต[แก้]
นอกจากผลงานเพลงซึ่งเป็นงานหลัก ยังประสบความสำเร็จทางด้านคอนเสิร์ตโดยเฉพาะ "คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์" นอกจากนั้นยังมีคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากผลสำเร็จทางด้านรายได้ จำนวนรอบคอนเสิร์ต จำนวนผู้ชม นอกจากนั้นยังมีคอนเสิร์ตพิเศษต่างๆ โดยในช่วงแรกของการก้าวสู่วงการเพลงได้มีคอนเสิร์ตเด่นด้วยการประชันกับ พรศักดิ์ ส่องแสง ซึ่งเป็นนักร้องหมอลำชื่อดังแห่งยุค ในคอนเสิร์ตสองคนสองคม นอกจากนั้นยังคอนเสิร์ตพิเศษอื่นๆ ซึ่งเน้นในเรื่องของผลที่จะได้รับต่อสังคมเป็นหลัก รวมทั้งคอนเสิร์ตสำหรับลูกค้าธุรกิจ ที่ให้การตอบรับด้วยดีมาโดยตลอด
คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ 10 ครั้งที่ผ่านมา มีจำนวนรอบการแสดง 153 รอบ มีผู้ชม 484,400 คน อีกทั้งมีคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบอื่นๆ ที่จัดเป็นประจำทุกปี โดยในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา มีผู้ซื้อบัตรเข้าชมแล้วประมาณ 2 ล้านคน โดยคอนเสิร์ตที่ประสบความสำเร็จสูงสุด คือคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 5 ปี 2534 สร้างสถิติสูงสุดของ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ด้วยจำนวนผู้ชม 58,000 คน จาก 29 รอบการแสดง และคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 9 ปี 2551 เมื่อรวมรอบอังกอร์พลัสแล้ว สร้างสถิติสูงสุดของอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ด้วยจำนวนผู้ชม 120,000 คน จาก 12 รอบการแสดง ขณะที่ คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 10 ปี 2555 สร้างปรากฏการณ์ยอดผู้ชมสูงสุดในเมืองไทย จากการจำหน่ายบัตรต่อเนื่องในคราวเดียว กว่า 100,000 คน จาก 10 รอบการแสดง
คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์[แก้]
คอนเสิร์ตเต็มรูปแบบ[แก้]
ชื่อคอนเสิร์ต | วันเดือนปีที่แสดง | สถานที่แสดง | จำนวนรอบ | แขกรับเชิญ | รายชื่อเพลง |
---|---|---|---|---|---|
คอนเสิร์ต สุดชีวิต ธงไชย | 1 พฤษภาคม 2529 | เซ็นทรัล ลาดพร้าว | 2 รอบ | ||
คอนเสิร์ต เกาเหลาธงไชย (ไม่งอก) | 23 เมษายน 2531 | ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่นดินแดง | 2 รอบ |
| |
คอนเสิร์ต เบิร์ด เปิ๊ด-สะ-ก๊าด | 18-19 มิถุนายน 2531 | ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่นดินแดง | 2 รอบ | - |
|
คอนเสิร์ต เปิดอัลบั้ม มนุษย์บูมเมอแรง | 7 เมษายน 2533 | MBK HALL มาบุญครอง | 2 รอบ | - |
|
คอนเสิร์ต พริกขี้หนู | 27-28 เมษายน 2534 | อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก | 2 รอบ | - |
|
คอนเสิร์ต ธ.ธง กับ เธอ (นั่นแหละ) | 14-15 พฤษภาคม 2537 | อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก | 2 รอบ | - |
|
คอนเสิร์ต เปิดอัลบั้ม ดรีม | 14-15 กันยายน 2539 | MCC HALL เดอะมอลล์บางกะปิ | 2 รอบ | - |
|
คอนเสิร์ต เปิดอัลบั้ม ธงไชย เซอร์วิส ตอน ซ่าได้ | 19-21 กันยายน 2541 | ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | 2 รอบ |
| |
คอนเสิร์ต ธงไชย เซอร์วิส พิเศษ | 23-24 มกราคม 2542 | อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก | 2 รอบ |
| |
คอนเสิร์ต ความรักไม่รู้จบ | 16-18 กุมภาพันธ์ 2544 | ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | 2 รอบ | ||
คอนเสิร์ต เปิดอัลบั้มสไมล์ คลับ | 2 ธันวาคม 2544 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ |
| |
คอนเสิร์ต ฟ.แฟน | 30 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม 2545 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 3 รอบ |
| |
คอนเสิร์ต ฟ.แฟน FUN FAIR | 22-23 กุมภาพันธ์ 2546 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 3 รอบ |
| |
คอนเสิร์ต โอ้ละหนอ My Love | 3-4 กันยายน 2548 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 4 รอบ |
| |
คอนเสิร์ต เบิร์ด เปิดฟลอร์ | 8-11 มีนาคม 2550 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 4 รอบ | แขกรับเชิญพิเศษ
|
|
คอนเสิร์ต ธงไชย แฟนซี แฟนซน ร้อง..เต้น..เล่น..แต่งตัว | 30 กรกฎาคม-2 สิงหาคม 2552 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 4 รอบ | ศิลปินรับเชิญ
นักดนตรีรับเชิญ |
รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ตเบิร์ดอาสาสนุก[61][62] คอนเสิร์ตเบิร์ดอาสาสนุก อังกอร์พลัส[63] |
25-27 กุมภาพันธ์ 2554 19-21 สิงหาคม 2554 |
อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 8 รอบ | รอบ 25–27 กุมภาพันธ์ 2554 นักดนตรีรับเชิญ
รอบ 19–21 สิงหาคม 2554 |
รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ต รวมวง THONGCHAI concert ตอน สุขใจนักเพราะรักคำเดียว[64][65] |
27-28 กุมภาพันธ์ 2559 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 3 รอบ |
|
รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ต Singing Bird[66] | 2-4 สิงหาคม 2562 | รอยัลพารากอนฮอลล์ | 3 รอบ | ศิลปินรับเชิญ นักดนตรีรับเชิญ |
รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ตเต็มรูปแบบอื่น ๆ[แก้]
ชื่อคอนเสิร์ต | วันเดือนปีที่แสดง | สถานที่แสดง | จำนวนรอบ | แขกรับเชิญ | รายชื่อเพลง |
---|---|---|---|---|---|
คอนเสิร์ตขนนกกับดอกไม้ (โครงการ 1) | 19 กุมภาพันธ์ 2538 | อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก | 2 รอบ | รายชื่อเพลง | |
Green Concert Vol. 3 Singing Bird | 28-29 มิถุนายน 2540 | MBK HALL มาบุญครอง | 2 รอบ |
| |
คอนเสิร์ต เบิร์ดซน เบิร์ด-เสก (ฉลอง 20 ปีแกรมมี่) | 5-6 มิถุนายน 2547 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 2 รอบ |
| |
คอนเสิร์ตขนนกกับดอกไม้ (โครงการ 2) ตอน Secret Garden (ฉลอง 30 ปีแกรมมี่) |
18-20 ตุลาคม 2556 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 4 รอบ | แขกรับเชิญพิเศษ |
รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ตขนนกกับดอกไม้ (โครงการ 3) ตอน The Original Returns (ฉลอง 20 ปีคอนเสิร์ตขนนกกับดอกไม้) |
28 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2558 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 4 รอบ | รายชื่อเพลง |
คอนเสิร์ตลูกค้าธุรกิจ[แก้]
ชื่อคอนเสิร์ต | วันเดือนปีที่แสดง | สถานที่แสดง | จำนวนรอบ |
---|---|---|---|
คอนเสิร์ตต้นไม้แด่ในหลวง (ปตท.) | ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ | ||
คอนเสิร์ตฉลองความสำเร็จธุรกิจประกันชีวิต AIA | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ | |
คอนเสิร์ต U*Star Galaxy Of Star | 22 กุมภาพันธ์ 2547 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ |
คอนเสิร์ต หารายได้ช่วยมูลนิธิเด็กโรคหัวใจของ AIS STARRY NIGHT by SERENADE |
23 สิงหาคม 2547 | โรงละครกรุงเทพ | 1 รอบ |
คอนเสิร์ต KTC MILLION THANKS[67] | 28 พฤศจิกายน 2547 | ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ | 1 รอบ |
คอนเสิร์ต Bird & Gen-Y Style by TOYOTA | 31 ธันวาคม 2547 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ |
คอนเสิร์ต ฉลอง 9 ปี ท็อบซุปเปอร์มาร์เก็ต Happy with Thongchai Concert |
8 ตุลาคม 2548 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ |
คอนเสิร์ตฉลอง 40 ปี HONDA | ปี พ.ศ. 2549 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ |
คอนเสิร์ตฉลองความสำเร็จธุรกิจประกันชีวิต AACP MOVE YOUR LIFE CONCERT[68][69] |
8 ธันวาคม 2550 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | 1 รอบ |
คอนเสิร์ต We Care Concert สิทธิผลกรุ๊ป | 6 ธันวาคม 2552 | รอยัลพารากอนฮอลล์ | 1 รอบ |
คอนเสิร์ต เบิร์ดอาสาสนุก(พิเศษ) GIFFARINE The Power of Positive Thinking ฉลองกิฟฟารีนครบรอบ 16 ปี [70] |
10 มีนาคม 2555 | ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) |
1 รอบ (ผู้ชม 2 หมื่นคน) |
คอนเสิร์ตต่างจังหวัด ต่างประเทศ ทัวร์คอนเสิร์ต[แก้]
ชื่อคอนเสิร์ต | วันเดือนปีที่แสดง | สถานที่แสดง | จำนวนรอบ |
---|---|---|---|
ทัวร์คอนเสิร์ตมนุษย์บูมเมอแรง | ปี พ.ศ. 2533 | ||
ทัวร์คอนเสิร์ตพริกขี้หนู | ปี พ.ศ. 2534 | ||
ทัวร์คอนเสิร์ต ฟ.แฟน FUN FAIR | ปี พ.ศ. 2545 | ||
ทัวร์คอนเสิร์ต เบิร์ดซน เบิร์ดเสก | ปี พ.ศ. 2547 | ||
คอนเสิร์ต เบิร์ดคอนเสิร์ต สนุกกันใหญ่...ที่หาดใหญ่[71] | 29 สิงหาคม 2552 | ศูนย์ประชุมใหญ่ ม.อ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
2 รอบ |
คอนเสิร์ต สายใยไทย สู่ใจพ่อ[72][73] | 23 พฤษภาคม 2553 | LA,Galen Center ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา |
1 รอบ (ผู้ชม 1 หมื่นคน) |
คอนเสิร์ต สายใยไทย สู่ใจพ่อ[74][75] | 31 พฤษภาคม 2553 | Avery Fisher Hall,Lincoln Center นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา |
1 รอบ |
คอนเสิร์ตพิเศษอื่นๆ[แก้]
ชื่อคอนเสิร์ต | วันเดือนปีที่แสดง | สถานที่แสดง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
คอนเสิร์ต นกแล | |||
คอนเสิร์ต เยาวชนเพื่อเยาวชน | 21-22 มีนาคม 2530 | ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่นดินแดง | |
คอนเสิร์ต สวนหลวง ร.9 | 1 พฤศจิกายน 2530 | ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่นดินแดง | |
คอนเสิร์ต เขียวเสียดดอย | 21 กุมภาพันธ์ 2531 | สนามกีฬากองทัพบก | |
คอนเสิร์ต รวมน้ำใจ | 14 กรกฎาคม 2531 | นาซ่า | |
คอนเสิร์ต สร้างบ้านหลังใหม่ให้ชาวใต้ | 17 ธันวาคม 2531 | เซ็นทรัล | |
คอนเสิร์ต สายใจไทยครั้งที่ 3 | 23 กรกฎาคม 2531 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |
คอนเสิร์ต วันเมตตา | 8 กรกฎาคม 2532 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |
คอนเสิร์ต ดร. เทียม | 24 มีนาคม 2533 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |
คอนเสิร์ต วันมหิดล | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | ||
คอนเสิร์ต จิตรลดา | 21 เมษายน 2533 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |
คอนเสิร์ต สายใจไทยครั้งที่ 5 | 8 กรกฎาคม 2533 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |
งานแสดงพิเศษในฟุตบอลเฉลิมพระเกียรติ 90 พรรษา สมเด็จย่า |
3 พฤศจิกายน 2533 | สนามกีฬาแห่งชาติศุภชลาสัย | ร่วมร้องเพลงเทิดพระเกียรติ และมีการแสดงควงคฑา |
คอนเสิร์ต 100 ปี ศิริราชเพื่อตึกสยามมินทร์ | |||
คอนเสิร์ต EARTH DAY ครั้งที่ 1 | 21 เมษายน 2534 | สนามกีฬากองทัพบก | |
คอนเสิร์ต 10 ปีแกรมมี่ | 9 มกราคม 2537 | อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก | |
คอนเสิร์ต ถวายชัย ธ.ครองไทย 50 ปี | 1-7 มิถุนายน 2539 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | |
คอนเสิร์ต เพื่อนพี่และน้องแด่เรวัติ | 4-5 กันยายน 2541 | ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ | |
คอนเสิร์ต พลังแผ่นดิน | 20 พฤศจิกายน 2542 | ลานพระบรมรูปทรงม้า | |
คอนเสิร์ต ชูใจดีเจ | |||
คอนเสิร์ต ส.ค.ส.ช่วยครูภาคใต้ | 17-18 สิงหาคม 2545 | สนามหลวง | |
คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใช้สินค้าถูกกฎหมาย | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | ||
คอนเสิร์ต แม่ของแผ่นดิน | 17 ธันวาคม 2547 | สนามราชมังคลากีฬาสถาน | |
คอนเสิร์ต หารายได้ช่วยผู้ประสอบภัยสีนามิ ด้วยแสงแห่งรัก(The Light of Love) |
13 กุมภาพันธ์ 2548 | สวนลุมพินี | |
คอนเสิร์ต 25 ปี นิติพงษ์ ห่อนาค | 25 กันยายน 2548 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | แขกรับเชิญ |
กาชาดคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 |
19-20 กรกฎาคม 2550 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยสภากาชาดไทย ร่วมกับ กองทัพเรือ |
ในบทเพลง “ใกล้รุ่ง“ เพลง “ต้นไม้ของพ่อ และของขวัญจากก้อนดิน” |
คอนเสิร์ต King Of The King | ธันวาคม 2553 | สนามหลวง | |
คอนเสิร์ต ซุป'ตาร์ On Stage 17 ปี โพลีพลัส | 8 ตุลาคม 2554 | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | แขกรับเชิญ |
คอนเสิร์ตเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา ชุดรวมใจภักรักพ่อ |
5 ธันวาคม 2554 | สนามหลวง | |
กาชาดคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 |
28-29 สิงหาคม 2555 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยสภากาชาดไทย ร่วมกับกองทัพเรือ |
ในบทเพลง “ยิ้มสู้“ และเพลง “สายใยแผ่นดิน” |
คอนเสิร์ตทัพฟ้าคู่ไทย เพื่อชัยพัฒนา ครั้งที่ 7 | 17-18 มิถุนายน 2556 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยกองทัพอากาศ |
ในเพลง “เธอผู้ไม่แพ้ ทำไมต้องเธอ“ และเพลง “ทหารอากาศขาดรัก”[76] |
มหาดุริยางค์ไทยสากลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว | 10 สิงหาคม 2556 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยกองดุริยางค์กองทัพไทย 3 เหล่าทัพ กองดุริยางค์ตำรวจแห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ในบทเพลงพิเศษ "ขวัญแห่งแผ่นดิน[77] |
คอนเสิร์ตแสดงดนตรีและวัฒนธรรม ครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่น กับ กลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ASEAN-Japan Music Fair [78] |
28 พฤศจิกายน 2556 | ณ NHK Hall กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
ในเพลงเรามา sing Too much so much very much Thai for japan |
คอนเสิร์ตแข่งขัน เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 11 สัปดาห์ที่ 4 ในหัวข้อ "เพลงของพี่เบิร์ด" |
28 มีนาคม 2558 | เมืองไทย จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮาส์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ | ในเพลงไม่แข่งยิ่งแพ้ Feat.เกรซ หญิง จุ้งจิ้ง มาตัง เอก |
โครงการ มหกรรมดนตรีไทยเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ภายใต้ชื่องาน “สังคีตสามัคคีเฉลิมบรมราชกุมารี 60 พรรษา” |
25 - 26 เมษายน 2558 | ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | บทเพลงพิเศษ รัตนราชกุมารี ร่วมร้องกับวิชญาณี เปียกลิ่น |
กาชาดคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 43 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559[79] |
28-29 มิถุนายน 2559 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยสภากาชาดไทย ร่วมกับกองทัพเรือ |
ในบทเพลง “ของขวัญจากก้อนดิน“ และเพลง “สายใยแผ่นดิน” |
การแสดงดนตรี "แผ่นดินของเรา" ครั้งที่ 2 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเผยแพร่พระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเพื่อพระราชทานความสุขแก่คนไทย อีกทั้งยังเป็นการขับกล่อมให้แก่ประชาชนที่มาถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | 8 กรกฎาคม 2560 | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เปิดพื้นที่เขตพระราชฐานพระราชวังดุสิต จัดแสดงดนตรีชุด "แผ่นดินของเรา" ณ ลานพระราชวังดุสิต จัดโดยศาลาเฉลิมกรุง[80] | ในบทเพลง “ต้นไม้ของพ่อ“ และ“ของขวัญจากก้อนดิน“ |
งานแสดงมหรสพสมโภชละคร "ในสวนฝัน ผสานใจภักดิ์จงรักนฤบดี" เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[81] | 26 พฤษภาคม 2562 | สนามหลวง | ในบทเพลง “ลาวคำหอม" |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ,14 พฤศจิกายน 2555,เรื่อง "30 ปี แห่งที่สุดของแกรมมี่ บนเส้นทางสายดนตรี"
- ↑ เบิร์ดนักร้องยอดนิยม เป็นระดับแนวหน้าของเอเชีย จากการจัดระดับโดยนิตยสารเอ็นเตอร์เทนเมนต์วีกลี่
- ↑ นิตยสารแพรว ปีที่ 31 ฉบับที่ 734 วันที่ 25 มีนาคม 2553,หัวข้อ "ผู้สร้างปรากฏการณ์หนึ่งเดียวของไทย"
- ↑ นิตยสาร FREEVIEW ฉบับที่ 12,เรื่องศิลปินที่เป็นที่สุดของทุกปรากฏการณ์
- ↑ ข่าวเจาะประเด็น ช่อง 7, 17 เม.ย. 2555, ช่วงภาพเก่าเล่าใหม่ "ตอนอวสานโกโบริ",สร้างประวัติศาสตร์เรตติ้งสูงสุดของละครไทย เรตติ้ง 40
- ↑ นิตยสาร Forbes ปี 2009,นิตยสารธุรกิจและการเงินของสหรัฐอเมริกา,จัดอันดับศิลปินที่มียอดขายสูงสุดของเอเชีย
- ↑ นิตยสารแพรว ปีที่ 31 ฉบับที่ 734 วันที่ 25 มีนาคม 2553,หน้า 173,หัวข้อ "Did you know about Thongchai
- ↑ [เว็บไซต์ Sanook,19 สิงหาคม 2556,เรื่อง"10 ตำนานคอนเสิร์ต แบบเบิร์ดเบิร์ดที่ยังคงประทับใจ"]
- ↑ บทความประวัติเบิร์ด ธงไชย ใน pamphlet ASEAN- Japan music fair
- ↑ รายการ "ฮัลโหลวันหยุด" ช่อง 7,คอนเสิร์ตที่สร้างปรากฏการณ์จำนวนรอบสูงสุดของศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
- ↑ [รายการไนน์เอ็นเตอร์เทน ช่อง 9 ปี 2551,สรุปวงการเพลงปี 2551]
- ↑ ปกดีวีดีคอนเสิร์ตBBBครั้งที่ 10 สร้างปรากฏการณ์ยอดผู้ชมสูงสุดในเมืองไทย กว่า 100,000 คน จาก 10 รอบการแสดง
- ↑ 27 ปี 7 สีคอนเสิร์ต เวทีเกียรติยศของศิลปิน
- ↑ ททท. แถลง 8 ก.ย. 52 เผยผลสำรวจโฆษณาเที่ยวไทยครึกครื้นที่เบิร์ดแสดงสร้างการรับรู้ให้กับคนไทยได้ถึง 99%
- ↑ ปีใหม่ 31 ธ.ค. 52 นักท่องเที่ยวแห่งเที่ยวมอหินขาวกว่า 2 หมื่น นำรายได้ให้ชัยภูมินับล้าน
- ↑ 31 ธ.ค. 52 นักท่องเที่ยวทั่วสารทิศแห่เที่ยวมอหินขาว จนได้รับการโหวตติด 1 ใน 5 สถานที่น่าท่องเที่ยวที่สุดของประเทศไทย
- ↑ เจาะประเด็นช่วงภาพเก่าเล่าใหม่ ตอนอวสานโกโบริ
- ↑ ประวัตินางสาวไทย
- ↑ สารคดีเฉลิมพระเกียรติวาระ 150ปี พระราชสมภพ
- ↑ ตัวอย่างภาพยนตร์สารคดี My King ในหลวงของเรา
- ↑ เบิร์ด เนื้อหอม...ผู้จัดละครรุมตอม
- ↑ ก.วัฒนธรรมฯ จับมือแกรมมี่ เซลล์ฮัทฯ และช่อง 3 ส่งซีรีส์ 'เบิร์ดแลนด์ฯ…' เพื่อเยาวชน
- ↑ ป๋าเบิร์ดทำลูกค้าแบงค์กรี๊ด รับคอลเซ็นเตอร์7หลัก
- ↑ โฆษณาชุดเบิร์ดสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโฆษณาของ ททท.ที่สุด
- ↑ ททท.เลือกเบิร์ดพรีเซ็นเตอร์ เที่ยวไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก
- ↑ เผยหลังดึงเบิร์ดเป็นพรีเซ็นเตอร์สร้างการรับรู้ของคนไทยถึง99%
- ↑ นักท่องเที่ยวทะลักสามพันโบกหลังดึงเบิร์ดเป็นพรีเซ็นเตอร์
- ↑ ททท.เลือกเบิร์ดอีกครั้งกับโครงการ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน
- ↑ ปีใหม่ 31 ธ.ค. 52 นักท่องเที่ยวแห่งเที่ยวมอหินขาวกว่า 2 หมื่น นำรายได้ให้ชัยภูมินับล้าน
- ↑ 31 ธ.ค. 52 นักท่องเที่ยวทั่วสารทิศแห่เที่ยวมอหินขาว จนได้รับการโหวตติด 1 ใน 5 สถานที่น่าท่องเที่ยวที่สุดของประเทศไทย
- ↑ กกต.เลือกเบิร์ดนำทีมเชิญชวนเลือกตั้ง
- ↑ เปิดตัว 22 พรีเซ็นเตอร์ธรรมะฯ เสถียรธรรมสถาน
- ↑ สายรัดข้อมือเฉลิมพระเกียรติ...เพื่อแม่
- ↑ เบิร์ดร่วมเชิญชวนสนับสนุนเสื้อยืดยิ้มให้พ่อ
- ↑ เครือข่ายคนรักน้องหมาในพระอุปถัมภ์พระองค์ภา คัดเลือกเบิร์ด-ธงไชย, ชมพู่เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์
- ↑ ชวนคนไทยเขียนจม.-โปสการ์ดบอกรัก
- ↑ http://www.dailynews.co.th/entertainment/337902
- ↑ "เบิร์ด" นำทีมรณรงค์อุดหนุน "ดอกป๊อปปี้" ช่วยครอบครัวทหารผ่านศึก
- ↑ รายการข่าวเที่ยงวัน,ช่อง ONE 31,27 มิถุนายน 2559
- ↑ "พี่'เบิร์ด' ชวนร่วมทำบุญ บริจาคเงินซื้อเครื่องมือแพทย์ ให้กับสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์". ข่าวสด. 4 เมษายน พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "'เบิร์ด,พลพล,ลูกหว้า, มาตัง, เอิร์น,เอิ้นขวัญ'เชิญชวนอุดหนุนสินค้าการกุศลจากร้านพึ่งพาในงาน'เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2562'". แนวหน้า. 14 มิถุนายน พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "กกพ.ผนึก แกรมมี่ เปิดโครงการ "ไฟ จาก ฟ้า" หนุนพลังงานสะอาด". ฐานเศรษฐกิจ. 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ พรีเซ็นเตอร์โค้ก 2530
- ↑ พรีเซ็นเตอร์โค้ก 2533
- ↑ ชิโยมิเด็กหญิงญี่ปุ่นในโฆษณาฟิล์มสีฟูจิของพี่เบิร์ด
- ↑ นิตยสารผู้จัดการ,กุมภาพันธ์ 2537,"วิเคราะห์ฟิล์มสีฟูจิ"
- ↑ บทวิเคราะห์ตลาดเครื่องสำอาง U-STAR ช่วงดึงเบิร์ดเป็นพรีเซ็นเตอร์ประสบความสำเร็จสูงสุด พร้อมวิเคราะห์การตลาดหลังจากนั้นขาดความต่อเนื่อง
- ↑ Honda ดึงเบิร์ดชื่อมความผูกพันฉลอง 40 ปี พร้อมเจาะค่าตัว 50 ล้าน
- ↑ เปิดตัวนามะชะในไทยใช้เบิร์ดเป็นป๋าดันสามารถสร้าง Brand Awareness ในช่วงที่ตลาดชาเขียวเริ่มซบเซา
- ↑ สรรพากรเงี่ยหู ป๋าเบิร์ดค่าตัวโฆษณา30ล้าน
- ↑ ซุปตาร์ตัวจริงป๋าเบิร์ดค่าตัว 30 ล้าน
- ↑ “สีเบเยอร์” ฉลอง 50 ปี ดึงซุป’ตาร์อันดับ 1 “พี่เบิร์ด-ธงไชย” เป็นพรีเซนเตอร์ ช่วยดันยอดขาย
- ↑ http://www.siamdara.com/hotnews/120918_28412.html ซี้ดเบิร์ดฟัน30ล้านค่าจ้างพรีเซนเตอร์
- ↑ พี่เบิร์ดนั่งแท่นพรีเซนเตอร์สีเบเยอร์ปี2.... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1fEu20G
- ↑ ไทยรัฐ:'เบิร์ด' ปัดฟันค่าตัวดาวคอฟฟี่ 100 ล้าน
- ↑ [http://www.komchadluek.net/detail/20160217/222559.html คมชัดลึก:‘เบิร์ด’โต้ค่าตัวโฆษณาร้อยล้านขอโทษเกิดข้อผิดพลาดงานที่ลาว
- ↑ ทำไม? พี่เบิร์ด ถึงยอมเป็น แบรนด์แอมบาสเดอร์ของ “สวอนเลค เขาใหญ่”
- ↑ สวอนเลค ดึง "เบิร์ด ธงไชย" โปรโมทโครงการเขาใหญ่
- ↑ เบิร์ด ธงไชย โต้ฟาดค่าตัวพรีเซ็นเตอร์คอนโด 40 ล้าน!
- ↑ “สวอนเลค เรสซิเด้นซ์ เขาใหญ่” สร้างเซอร์ไพรส์เหนือคาด พร้อมเปิดเฟสสุดท้ายด้วยแคมเปญ “สวอนเลค สวอนเดอร์แลนด์”
- ↑ แฟนนับหมื่นแห่มากรี๊ดเบิร์ดอาสาสนุก
- ↑ คอนเสิร์ตเบิร์ดอาสาสนุกสนุกทั้งอิมแพ็ค
- ↑ คอนเสิร์ตเบิร์ดอาสาสนุกอังกอร์พลัสแน่นขนัด
- ↑ [1]
- ↑ พี่เบิร์ด จัดใหญ่! คอนเสิร์ต รวมวงธงไชย เปิดตัว Guest สายโจ๊ะ โดด แดนซ์ ครบวง!
- ↑ ไทยรัฐ 5 มิถุยายน 2562 "SINGING BIRD เพิ่มรอบ "เบิร์ด-ธงไชย" ขอบคุณแฟนๆ"
- ↑ KTC ฉลองบัตรเครดิตครบล้านใบ มอบ KTC Million Thanks คอนเสิร์ตกับเบิร์ด ธงไชย
- ↑ เอเอซีพีประกาศความยิ่งใหญ่ขึ้นแท่นเบอร์ 2 ของธุรกิจประกันชีวิต พร้อมฉลองความสำเร็จกับงานงาน AACP Day# 3: Move Your Life
- ↑ ตู่ แอม มาช่า แจมคอนเสิร์ตเบิร์ด Move your life เรตติ้งดีไม่มีตก
- ↑ [http://www.praew.com/ChicOnBudget.aspx?ArticleID=1216 งานฉลองครบรอบ 16 ปี กิฟฟารีน กว่า 2 หมื่นคน/
- ↑ เบิร์ดซุปเปอร์สตาร์ตลอดกาลของเมืองไทย
- ↑ อลังการงานสร้างคอนเสิร์ตเบิร์ด in LA
- ↑ ฺBird live in USA ข่าวจาก www.konthaiusa.com
- ↑ แรงไม่หยุดคอนเสิร์ตเบิร์ด in New York
- ↑ คอนเสิร์ตเบิร์ดนิวยอร์ก ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลมาชม
- ↑ พี่เบิร์ดร้องเพลงทหารอากาศขาดรักงานทัพไทยคู่ฟ้า
- ↑ http://www.dailynews.co.th/Content/entertainment/184434/‘เบิร์ด-ลูกหว้า’ร้องเพลงพิเศษ‘ขวัญแห่งแผ่นดิน’ [เบิร์ดและลูกหว้าร้องเพลงพิเศษขวัญแห่งแผ่นดิน]
- ↑ เบิร์ด-ธงไชยได้รับเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน ASEAN-Japan Music Fair ณ ประเทศญี่ปุ่น
- ↑ กาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ 43
- ↑ ศาลาเฉลิมกรุง 7 กรกฎาคม 2560 การแสดงดนตรีชุด "แผ่นดินของเรา" ครั้งที่ 2 วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2560 เวลา 19.30 น. ณ ลานพระราชวังดุสิต
- ↑ เดลินิวส์ 22 พฤษภาคม 2562,"เบิร์ด" ปลาบปลื้มร่วมแสดงละคร "ในสวนฝันฯ"... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/entertainment/710335