ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์ประชุมนานาชาติ
ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
The 60th Anniversary of His Majesty the King’s Accession to the Throne International Convention Center
บริเวณด้านหน้าศูนย์ประชุม
ชื่อเดิมศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
(Prince of Songkla University International Convention Center: PSUICC)
ข้อมูลทั่วไป
เมืองตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ประเทศไทย ไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2549
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกกมล ทัศนาญชลี
เว็บไซต์
www.icchatyai.com

ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี (อังกฤษ: The 60th Anniversary of His Majesty the King’s Accession to the Throne International Convention Center) เป็นศูนย์ประชุมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งอยู่ที่ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเพื่อเป็นรองรับการจัดการประชุมทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ, การจัดแสดงนิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล[1]

ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มีชื่อเดิมว่า ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Prince of Songkla University International Convention Center: PSUICC) ซึ่งต่อมาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือที่ นร 0508/ท 6969 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552 แจ้งเรื่องการขอพระราชทานชื่ออาคารศูนย์ประชุมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า "ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี" พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญตราสัญลักษณ์การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มาประดิษฐานที่ป้ายชื่อศูนย์ประชุม[1]

การแบ่งพื้นที่ภายในอาคาร[แก้]

ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มีพื้นที่ 54.68 ไร่ ส่วนประกอบของอาคาร ประกอบด้วยสามส่วน คือ[2]

  • โซน A เป็นที่ตั้งของห้องประชุมรอง (Conference Hall) พื้นที่ 960 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 900 คน ห้องประชุมสัมมนา (Seminar Room) จำนวน 8 ห้อง พื้นที่รวม 400 ตารางเมตร ลานเอนกประสงค์ และศูนย์อาหาร
  • โซน B ลานกิจกรรม พื้นที่ 3,930 ตารางเมตร ใจกลางของลานเป็นที่ตั้งของประติมากรรมทรงดินสอ ที่ออกแบบโดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมกับ ศาสตราจารย์ กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) พ.ศ. 2540
  • โซน C เป็นที่ตั้งของห้องประชุมประธาน (Convention Hall) พื้นที่ 3,300 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 3,500 คน

สำหรับการบริหารงาน บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นผู้ดูแลด้านการบริหารทั้งหมด[3]

งานที่จัดในศูนย์ประชุม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "พระราชทานชื่อศูนย์ประชุม ม.อ. "ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-12. สืบค้นเมื่อ 2009-11-12.
  2. ม.อ.วางศิลาฤกษ์ ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ [ลิงก์เสีย]
  3. "มอ.ทาบ'เอ็น.ซี.ซี.'บริหารศูนย์ประชุมนานาชาติหาดใหญ่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-26. สืบค้นเมื่อ 2009-11-12.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]