เหตุผลของพ่อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เหตุผลของพ่อ เป็นบทเพลงเฉลิมพระเกียรติเพลงสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยประพันธ์ขึ้นในโอกาสมหามงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี จัดทำโดยบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อในหลวง รัชกาลที่ 9 ขับร้องโดย ธงไชย แมคอินไตย์ แต่งคำร้องกับทำนองโดย กมลศักดิ์ สุนทานนท์ และ ปิติ ลิ้มเจริญ เรียบเรียงโดย เจษฎา สุขทรามร และธิติวัฒน์ รองทอง ซึ่งเนื้อหาของบทเพลงกล่าวถึง การทรงงานของในหลวงตลอด 70 ปี ที่ทรงงานอย่างหนัก และทรงเหน็ดเหนื่อยเพื่อประชาชนทุกคน[1]

การเผยแพร่บทเพลง[แก้]

เหตุผลของพ่อถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 20:00 น.[2] ซึ่งบทเพลงดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่อย่างมากในวันที่ 12 ตุลาคม เพื่อร่วมกันส่งคำภาวนาไปถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้ทรงหายจากพระอาการประชวร[3] และบทเพลงพิเศษนี้ถือเป็นบทเพลงเฉลิมพระเกียรติเพลงสุดท้ายที่ถูกเผยแพร่ก่อนการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม[4]

สรุป/ผลสำรวจ[แก้]

  • อันดับ 1 เพลงที่สื่อเรื่องราวเกี่ยวกับพ่อได้อย่างทราบซึ้งกินใจเป็นที่สุด จาก 9 บทเพลงที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพ่อหลวง บทเพลงเทิดพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี[5] สรุปโดยเว็บไซต์ข่าว Sanook.com
  • อันดับ 4 จาก 5 อันดับเพลงรอสายที่มียอดดาวโหลดสูงสุด ผ่านเอไอเอส คอลลิ่ง เมโลดี้ [6]
  • อันดับ 9 เพลงศิลปินเพื่อพ่อในความชื่นชอบของสาธารณชนที่สุด จากผลสำรวจ เพลงพระราชนิพนธ์และรวมเพลงศิลปินเพื่อพ่อในความชื่นชอบของสาธารณชน โดยชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยซูเปอร์โพล [7]

อ้างอิง[แก้]

  1. มติชน 10 ต.ค.59:‘เบิร์ด ธงไชย’ ซาบซึ้งได้ขับร้องเพลงเฉลิมพระเกียรติในหลวง ‘เหตุผลของพ่อ’
  2. “เหตุผลของพ่อ” บทเพลงพิเศษจาก "เบิร์ด ธงไชย" เพื่อพ่อหลวงของแผ่นดิน
  3. ซาบซึ้งน้ำตาไหล..."เหตุผลของพ่อ" ที่ดังก้องในใจปวงชนในยามนี้
  4. 70 ปีพ่อไม่เคยทิ้งประชาชน!! ฟังเพลง “เหตุผลของพ่อ”ซาบซึ้งน้ำตาไหลแทนใจพสกนิกรถึงในหลวง
  5. “เหตุผลของพ่อ” บทเพลงพิเศษจาก "เบิร์ด ธงไชย" เพื่อพ่อหลวงของแผ่นดิน
  6. Nation TV "5 อันดับเพลงรอสายสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร. 9"
  7. "ซูเปอร์โพลชี้เพลงพระราชนิพนธ์ประชาชนชอบเพลง"ใกล้รุ่ง"มากที่สุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03. สืบค้นเมื่อ 2016-12-25.