พริกขี้หนู (อัลบั้มธงไชย แมคอินไตย์)
พริกขี้หนู | ||||
---|---|---|---|---|
![]() ภาพปกซีดี อัลบั้ม พริกขี้หนู ครั้งที่ 2 | ||||
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||||
วางตลาด | 6 เมษายน พ.ศ. 2534 | |||
บันทึกเสียง | มกราคม พ.ศ. 2534 | |||
แนวเพลง | สตริง, ป็อบ | |||
ค่ายเพลง | จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ | |||
โปรดิวเซอร์ | สมชาย กฤษณะเศรณี | |||
ลำดับอัลบั้มของธงไชย แมคอินไตย์ | ||||
| ||||
ภาพปกเทปอัลบั้ม | ||||
![]() อัลบั้ม พริกขี้หนู |
พริกขี้หนู เป็นอัลบั้ม ของธงไชย แมคอินไตย์ ออกวางแผงจำหน่ายในปี พ.ศ. 2534 ในสังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โปรดิวเซอร์โดย สมชาย กฤษณะเศรณี จำนวน 11 เพลง ซึ่งมียอดจำหน่ายเกิน 3 ล้านตลับ และถูกจัดให้เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดของทศวรรษ (ปี 1990 - 1999) [1] เป็นยอดจำหน่ายสูงสุดอีกอัลบั้มของธงไชย โดยสื่อบันเทิงได้ยกให้เป็นปรากฏการณ์ "เบิร์ดฟีเวอร์" อีกครั้งของเขา[2] โดยมีเพลงเด่นอาทิเพลง พริกขี้หนู อย่าต่อรองหัวใจ ขออุ้มหน่อย เป็นต้น ซึ่งเป็นอัลบั้มดังที่ทำออกมาต่อเนื่องจากบูมเมอแรง จากความสำเร็จของอัลบั้มดังกล่าว ทำให้มีการจัดคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้มพริกขี้หนู ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ย้ายมาจัดที่อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก เพื่อรองรับจำนวนผู้ชมที่เพิ่มขึ้นถึง 2 รอบ และต่อเนื่องในปีเดียวกันด้วย คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 5 โดยใช้ชื่อตอน ความสุข ความทรงจำ ไม่มีที่สิ้นสุด จำนวน 29 รอบ จำนวนผู้ชม 58,000 คน ซึ่งมีจำนวนรอบสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และเป็นคอนเสิร์ตทิ้งท้ายก่อนเบิร์ดขอหยุดพักงานในวงการบันเทิงชั่วคราว 2 ปี(นับจากปลายปี 2534- 2536) เช่นเดียวกับอัลบั้มพริกขี้หนูเป็นอัลบั้มทิ้งท้ายในช่วงดังกล่าวก่อนที่จะมีอัลบั้มใหม่ที่ห่างกันถึง 3 ปี สำหรับรายชื่อเพลง[3][4]
รายชื่อเพลง[แก้]
ลำดับ | ชื่อเพลง | ผู้แต่ง | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "พริกขี้หนู" | ประมวล พร้อมพงษ์ | 3:27 |
2. | "อย่าต่อรองหัวใจ" | สีฟ้า | 3:46 |
3. | "คนป่า" | ประมวล พร้อมพงษ์ | 3:54 |
4. | "ขออุ้มหน่อย" | มวลหมู่ | 4:25 |
5. | "ชูมือชูใจ" | ประมวล พร้อมพงษ์ | 4:14 |
6. | "หัวใจดวงน้อย" | วรัชยา พรหมสถิต | 1:11 |
7. | "บอลลูน" | ประชา พงศ์สุพัฒน์ | 4:41 |
8. | "ไม่อาจหยั่งรู้" | เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ | 4:13 |
9. | "ครั้งเดียวคงไม่พอ" | สุรักษ์ สุขเสวี | 4:02 |
10. | "ฝากไว้" | สุรักษ์ สุขเสวี | 3:07 |
11. | "ผู้ชายใจน้อย" | มวลหมู่ | 5:01 |
*สีเขียวคือเพลงที่มีมิวสิควิดีโอ
ความสำเร็จ[แก้]
- ปี 2534 เข้าชิง "International Viewer's Choice Awards" จาก 1991 MTV Video Music Awards[5] ณ สหรัฐอเมริกา
- ปี 2559 เพลง "พริกขี้หนู" ถูกจัดให้เป็นอันดับ 1 "เพลงฮิตที่สุดของปี 1991" จาก 10 เพลงฮิตที่สุดของปี 1991 สรุปโดยเว็บไซต์ข่าว Sanook.com วันที่ 13 ตุลาคม 2559
- ปี 2559 จัดให้เป็น "อัลบั้มยอดนิยมที่มียอดขายเกินล้านตลับ" โดย GMM Superstar วันที่ 9 กันยายน 2559[6]
- ปี 2559 ได้รับการจัดอันดับให้เป็น "อัลบั้มที่ดีที่สุดของแกรมมี่ ปี 1991" อันดับ 1 จากการจัดอันดับ 6 อัลบั้มที่ดีที่สุดของแกรมมี่ ปี 1991 โดย GMM Superstar วันที่ 25 ธันวาคม 2559
- ปี 2560 ได้รับการจัดอันดับให้เป็น "อัลบั้มแห่งทศวรรษ" อันดับ 1 ในรอบ 10 ปี (ยุค 90 : จาก 1990-1999) ยอดจำหน่ายเกิน 3 ล้านตลับ จากการจัดอันดับ 6 อัลบั้มแห่งทศวรรษ โดย GMM Superstar วันที่ 1 เมษายน 2560[7]
- ปี 2560 ได้รับการจัดอันดับให้เป็น "อัลบั้มขายดีที่สุดตลอดกาลของแกรมมี่" อันดับ 2 ยอดขายเกิน 3 ล้านตลับ โดย GMM Superstarสรุปการจัดอันดับ 33 BEST-Selling Albums of ALL TIME "33 อัลบั้มขายดีที่สุดตลอดกาลของแกรมมี่" วันที่ 8 พฤษภาคม 2560
- ปี 2560 ได้รับการจัดให้เป็นอันดับ 2 อัลบั้มที่ขายดีที่สุดตลอดกาลของศิลปินแกรมมี่ : ศิลปินชาย โดย GMM Superstar, วันที่ 9 มิถุนายน 2560 สรุปการจัดอันดับ 33rd Year GMM GRAMMY : BEST Male Albums "33 อัลบั้มขายดีที่สุดตลอดกาลของศิลปินแกรมมี่ : ศิลปินชาย" ด้วยยอดจำหน่ายเกิน 3 ล้านตลับ และเป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดแห่งยุค 90
- ปี 2561 ได้รับการจัดให้เป็น "อัลบั้มของศิลปินชายที่เป็นที่สุดแห่งปี 1991" จากสรุปที่สุดในความทรงจำ ที่สุด..ของแกรมมี่ วันที่ 13 มกราคม 2561 โดย GMM Superstar[8]
- ปี 2561 ได้รับการจัดให้เป็น "อัลบั้มที่เป็นที่สุดแห่งยุค 90's" จากสรุปที่สุดในความทรงจำ ที่สุด..ของแกรมมี่ วันที่ 6 มกราคม 2561 โดย GMM Superstar
- ปี 2561 ได้รับการจัดให้เป็น "อัลบั้มของศิลปินชายที่เป็นที่สุดแห่งปี 1991" ซึ่งยอดขายเกินกว่า 3 ล้านชุด และมีการจัดคอนเสิร์ตใหญ่และทัวร์คอนเสิร์ตที่ ที่มีจำนวนรอบแสดงและคนดูรวมมากที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ของวงการเพลงไทย จากสรุปที่สุดในความทรงจำ ที่สุด..ของแกรมมี่ วันที่ 13 มกราคม 2561 โดย GMM Superstar[9]
- ปี 2563 ได้รับการจัดให้เป็น "อัลบั้มล้านตลับเร็วที่สุด" อันดับ 5 ใช้เวลา 7 สัปดาห์ จากสรุป 10 อันดับ อัลบั้มล้านตลับเร็วที่สุดของแกรมมี่ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 โดย GMM Superstar[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1 เมษายน 2560 ,สรุปโดย GMM Superstar ,เรื่อง BEST OF THE DECADE '90s*อัลบั้มที่ดีที่สุดของทศวรรษ! สุดยอดอัลบั้มในรอบ 10 ปี จาก 1990-1999 : ยุคที่วงการเพลงรุ่งเรืองถึงขีดสุด อันดับ 1 อัลบั้มพริกขี้หนู เกิน 3 ล้านตลับ
- ↑ นิตยสารท็อปเท็น,โดยบริษัทดีกรีคอร์ปอเรชั่นจำกัด,ฉบับพิเศษ"เบิร์ดพริกขี้หนู",ปี 2534,หน้า 10,คอลัมภ์ "เบิร์ดฟีเวอร์"
- ↑ อัลบั้มเพลงพริกขี้หนู ธงไชย แมคอินไตย์
- ↑ อัลบั้มเพลงพริกขี้หนู.
- ↑ https://en.wikipedia.org/wiki/1991_MTV_Video_Music_Awards#MTV_Internacional
- ↑ GMM GRAMMY :อัลบั้มยอดนิยมที่มียอดขายเกินล้านตลับ ,เฉพาะสตูดิโออัลบั้มเดี่ยว ของศิลปิน Mainstream จากการเรียกรายงาน { SAP Report G/010401 } สรุปโดย GMM Superstar
- ↑ (อันดับ1)อัลบั้มที่ดีที่สุดของทศวรรษ 1990-1999
- ↑ สรุปที่สุดในความทรงจำ ที่สุด..ของแกรมมี่
- ↑ สรุปที่สุดในความทรงจำ ที่สุด..ของแกรมมี่
- ↑ "Fastest Million Copies Albums "10 อันดับ อัลบั้มล้านตลับเร็วที่สุด"". GMM Superstar. 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563. Check date values in:
|date=
(help)