ข้ามไปเนื้อหา

เบิร์ด ทเวนตี้ทู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบิร์ด ทเวนตี้ทู
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
บันทึกเสียงพ.ศ. 2565
แนวเพลงสตริง, ป็อบ
ค่ายเพลงจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ลำดับอัลบั้มของธงไชย แมคอินไตย์
Mini Marathon
(2561)Mini MarathonString Module Error: Match not found
BIRD 22
(2565)
ซิงเกิลจากเบิร์ด ทเวนตี้ทู
  1. "มากองรวมกันตรงนี้"
    จำหน่าย: 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565
  2. "ลำไยลองกอง"
    จำหน่าย: 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
  3. "ทดลองใช้"
    จำหน่าย: 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565
  4. "ฟ้อนทั้งน้ำตา"
    จำหน่าย: 1 มีนาคม พ.ศ. 2566

เบิร์ด ทเวนตี้ทู (BIRD 22) เป็นอัลบั้มลำดับที่ 18 ของเบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์ ออกวางจำหน่ายในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยจำนวน 10 เพลง ซึ่งมีนักแต่งเพลงร่วมงานมากมาย เช่น ดี้ - นิติพงษ์ ห่อนาค, เป๋า - กมลศักดิ์ สุนทานนท์, ตู๋ - ปิติ ลิ้มเจริญ, ครูสลา คุณวุฒิ, ป๊อด - ธนชัย อุชชิน, แอ้ม - อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์, อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา (ต้า-พาราด็อกซ์) เป็นต้น[1] รวมถึงได้นำเพลงอื่นที่มีอยู่เดิมของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มาขับร้องใหม่ในรูปแบบของเบิร์ดอีก 2 เพลง ในโอกาสครบรอบ 40 ปี ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในปี พ.ศ. 2566[2]

รายชื่อเพลง

[แก้]

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อเพลงในอัลบั้มเบิร์ด ทเวนตี้ทู[3]

ลำดับชื่อเพลงยาว
1."มากองรวมกันตรงนี้"3:36
2."ลำไยลองกอง"4:04
3."เพลงที่ไม่มีใครฟัง"3:51
4."เก็บ"3:45
5."ใจบันดาลแรง แรงบันดาลใจ"5:15
6."ฟ้อนทั้งน้ำตา"3:50
7."ฝนตกไหม"3:56
8."ทดลองใช้"3.40
9."เก็บ (Acoustic Version)'"3:27
10."สักวันต้องได้ดี (Feat.เรวัต พุทธินันทน์)"5:37

*สีเขียวคือเพลงที่มีมิวสิควิดีโอ

ซิงเกิลที่จัดทำมิวสิควีดีโอ

[แก้]

มากองรวมกันตรงนี้ เผยแพร่ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นการรวมตัวกันของนักร้องนักดนตรี ได้แก่ สุดเขต จึงเจริญ (เอก ซีซันไฟฟ์) แต่งเนื้อร้องและทำนอง, ฟองเบียร์ - ปฏิเวธ อุทัยเฉลิม เป็นผู้ดูแลเนื้อเพลง (Lyrics Director), มุขเอก จงมั่นคง เป็นโปรดิวเซอร์, รัฐ พิฆาตไพรี (รัฐ แทททูคัลเลอร์) เป็นมือกีตาร์, นรเทพ มาแสง (นอ พอส) เป็นมือเบส, อริญชย์ ปานพุ่ม (เล็ก ทีโบน) เป็นมือกลอง, วิชญ วัฒนศัพท์ (โหน่ง The Photo Sticker Machine) เป็นมือคีย์บอร์ด และวงซีซันไฟฟ์ร่วมร้องคอรัส[4]

ลำไยลองกอง เผยแพร่ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[5] คำร้องโดย ประติมากรรม น้ำแข็ง ทำนองและเรียบเรียงโดย ธนา ลวสุต[6]

ทดลองใช้ (เพลงประกอบซีรี่ส์ ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น) เผยแพร่ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565 คำร้องโดย ปณต คุณประสริฐ ทำนองโดย ปราการ ไรวา เรียบเรียงโดย คชภัค ผลธนโชติ สำหรับมิวสิควีดีโอเพลงนี้มี พัชราภา ไชยเชื้อ ร่วมแสดง[7]

ฟ้อนทั้งน้ำตา เผยแพร่ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 ตั้งชื่อเพลงโดย ครูสลา คุณวุฒิ คำร้องโดย ธนชัย อุชชิน เรียบเรียง/Producer วิชญ วัฒนศัพท์, The Photo Sticker Machine โดยเพลงฟ้อนน้ำตาได้ถูกจัดทำมิวสิควิดิโอนำเสนอภายใต้โครงการ THAI 5F SOFT POWER ของกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเป็นการยกระดับงานวัฒนธรรมผ่านสื่อสร้างสรรค์ต่าง ๆ เช่น สื่อเพลง และสื่อบุคคลที่มีอิทธิพลในการถ่ายทอดสู่สาธารณชน ซึ่งนำเสนอเรื่องราวของ 5F ประกอบด้วย อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) และเทศกาลประเพณีไทย (Festival)[8]

ซิงเกิลที่จัดทำ LYRICS VIDEO

[แก้]

เพลงที่ไม่มีใครฟัง เผยแพร่ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565 ประพันธ์คำร้องโดย นิติพงษ์ ห่อนาค และสุวัธชัย สุทธิรัตน์ ประพันธ์ทำนองพร้อมเรียบเรียงเสียงประสาน[9]

ใจบันดาลแรง แรงบันดาลใจ เผยแพร่ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ประพันธ์คำร้อง/ทำนอง โดยกมลศักดิ์ สุนทานนท์และ ปิติ ลิ้มเจริญ เรียบเรียงเสียงประสาน โดย วิชญ วัฒนศัพท์

ฝนตกไหม เผยแพร่ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ประพันธ์คำร้องพีรพล เอี่ยมจำรัส, กฤตย์ จีรพัฒนานุวงศ์ ทำนอง Three Man Down เรียบเรียงเสียงประสาน โดย ปณต คุณประเสริฐ

เก็บ เผยแพร่ เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2565 ประพันธ์คำร้อง/ทำนอง อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา (ต้า Paradox) เรียบเรียงเสียงประสาน โดย เปรื่องวุฒิ นิกรกิตติโกศล (เปียว)

กิจกรรม

[แก้]
รอบการแสดง วันแสดงคอนเสิร์ต ราคาบัตร
3 รอบ ศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 20.00 น. [11] 6,500 / 6,000 / 5,000 /4,000 /
3,500 / 2,500 / 2,000 / 1,500
เสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19.00 น.[12]
อาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เวลา 17.00 น.[13]

รางวัล

[แก้]
  • ปี 2566 รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย จากบทเพลง "ใจบันดาลแรง แรงบันดาลใจ" เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 จัดโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม[14]
  • ปี 2567 รางวัลศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม เบิร์ด 22 จากงานสีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 33 ประจำปี 2565-2566 จัดโดยนิตยสารสีสัน[15]
  • ปี 2567 รางวัลเพลงยอดเยี่ยม "ใจบันดาลแรง แรงบันดาลใจ" จากงานสีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 33 ประจำปี 2565-2566 จัดโดยนิตยสารสีสัน[15]
  • ปี 2567 (เข้าชิง)รางวัลเพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม "มากองรวมกันตรงนี้" จากงานสีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 33 ประจำปี 2565-2566[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สุดคุ้ม!! สมการรอคอย "เบิร์ด-ธงไชย" เปิด โปร'ดี ปี'22 ดับเบิ้ลความสุข-อัดแน่นความสนุกแห่งปี!!". จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2022-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  2. "เบื้องหลังอัลบั้ม BIRD 22 ของ เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ที่ไม่มีใครเคยฟัง | Cloud Documentary". ยูทูบ. 2022-08-09. สืบค้นเมื่อ 2023-03-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "เพลงในอัลบั้ม BIRD 22". สนุก.คอม. 2022-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  4. ""เบิร์ด ธงไชย" ถึงกับนอนไม่หลับ !! ได้ออกกอง "มากองรวมกันตรงนี้"". ไอเอ็นเอ็นนิวส์. 2022-06-30. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  5. ""เบิร์ด ธงไชย" เตรียมจัดเต็ม อัลบั้ม - คอนเสิร์ต - MV ใหม่ คึกคักสนั่นโซเซียล". คมชัดลึก. 2022-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  6. "เนื้อเพลง ลำไยลองกอง เพลงใหม่ 2022 ของ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ (มีคลิป)". ทรูมิวสิค. 2022-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  7. "เบิร์ด ธงไชย พร้อมเซอร์วิส "ทดลองใช้" ควงคู่ อั้ม พัชราภา ทดลองเข้าหอครั้งแรก". ไทยรัฐ. 2022-10-28. สืบค้นเมื่อ 2022-10-28.
  8. ""เบิร์ด-ธงไชย" ถ่ายทอด 5F เสน่ห์วัฒนธรรมผ่านบทเพลง "ฟ้อนทั้งน้ำตา" ผลักดัน SOFT POWER ความเป็นไทยให้ดังระดับโลก". สยามรัฐ. 2023-03-01. สืบค้นเมื่อ 2023-03-05.
  9. "'เพลงที่ไม่มีใครฟัง' ซิงเกิลใหม่ 'เบิร์ด ธงไชย' ที่แฟน ๆ รอฟังด้วยความคิดถึง". เวิร์คพอยท์. 2022-04-22. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  10. "อัดแน่นความสนุกแห่งปี 'เบิร์ด ธงไชย' เปิด 'โปรดี ปี 22'". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 2022-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
  11. "ช่องทางซื้อบัตร! ลำไยลองกอง ของดี เบิร์ด แรงจนเพิ่มรอบคอนเสิร์ต". ทรูมิวสิค. 2022-08-02. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  12. ""เบิร์ด ธงไชย" ส่งคอนเสิร์ตครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี". คมชัดลึก. 2022-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  13. ""พี่เบิร์ด ธงไชย" เพิ่มรอบคอนเสิร์ต "SINGING BIRD 2022" หลังบัตรรอบแรก SOLD OUT ไปอย่างรวดเร็ว!!". เอไทม์. 2022-07-25. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  14. ""เบิร์ด-ธงไชย ครูสลา" นำทีมศิลปินแกรมมี่ เข้ารับรางวัลเพชรในเพลง ประจำปี 2566". สยามรัฐ. 2023-07-24.
  15. 15.0 15.1 ""เบิร์ด ธงไชย" ควง "วี วิโอเลต" คว้าศิลปินเดี่ยวยอดเยี่ยม สีสันอะวอร์ดส์ 33". MGROnline. 2024-09-26.
  16. "รายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้าย "สีสัน อะวอร์ดส์" ครั้งที่ 33 ประจำปี 2565-2566". SeasonMagazine. 2024-09-09.