แผนที่เล่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่เล่มที่เขียนโดยกีโยม เดอลีล ใน ค.ศ. 1742

แผนที่เล่ม (อังกฤษ: atlas) คือแผนที่ที่รวมแผนที่ต่าง ๆ ทั้งลักษณะทางกายภาพ, ค่าเฉลี่ยของฝน, ค่าเฉลี่ยอุณหทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางด้านประชากร และ อื่น ๆ รวมเอาไวในเล่มเดียวกัน[1][2]และนอกเหนือจากการนำเสนอคุณลักษณะทางภูมิศาสตร์และขอบเขตทางการเมืองแล้ว แผนที่เล่มยังมีการแสดงสถิติทางภูมิศาสตร์ การเมือง สังคม ศาสนา และเศรษฐกิจ

ประวัติ[แก้]

แผนที่เล่มปี 1595

แผนที่เล่มชิ้นแรกนั้นมีรูปร่างลักษณะเป็นชุดแม่พิมพ์ไม้ขนาดสม่ำเสมอซึ่งตั้งใจเอาไว้ตีพิมพ์ในหนังสือ โดยมีชื่อว่า De Summa totius Orbis ซึ่งน่าจะผลิตในปี 1524 หรือ 1526 โดยนักเขียนชาวอิตาลีในศตวรรษที่ 16 และนี้ทำให้เริ่มมีการตีพิมพ์แผนที่เล่มที่ชื่อ Theatrum Orbis Terrarum ในปี ค.ศ. 1570 โดยผู้ตีพิมพ์คืออับราฮัม ออร์ทีเลียส

ประเภท[แก้]

เพือที่จะทำให้แผนที่เล่มใช้งานได้มากขึ้นจึงมีการแบ่งหมวดหมู่เอาไว้ว่าหน้าไหนมีการแสดงลักษณะของโลกด้านใดเช่นการแบ่งเป็นภูมิประเทศ ภูมิอากาศ จำนวนประชากร และค่าเฉลี่ยอุณหภูมิเป็นต้น โดยจะแบ่งไปตามลำดับตัวอักษร A-Z หรือ ก-ฮ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Schwartz, John (2008-04-22). "The Body in Depth". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2015-05-07.
  2. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
  3. "Road map". Merriam Webster. สืบค้นเมื่อ 2012-05-31.