ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วอยซ์ทีวี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 135: บรรทัด 135:
*Book Guide
*Book Guide
*ทรายอิน
*ทรายอิน

== ระยะเวลาออกอากาศ ==
*[[29 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2552]] - [[พ.ศ. 2553]] เปิดสถานีเวลา 20:00 น. ปิดสถานีเวลา 21:00 น. (จันทร์-พฤหัสบดี) 22:00 น. (ศุกร์-อาทิตย์)
*[[พ.ศ. 2553]] - [[31 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2560]] ออกอากาศ 24 ชั่วโมง
*[[1 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2560]] - มกราคม พ.ศ. 2561 เปิดสถานีเวลา 06:00 น. ปิดสถานีเวลา 00:00 น.
* มกราคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน ออกอากาศ 24 ชั่วโมง (หลังเวลา 00.00 น. นำรายการแนะนำสินค้ามาออกอากาศ จนถึง 6.30 น.)


=== อดีต ===
* สุชาทิพ จิรายุนนท์ (ปัจจุบันอยู่[[เจเคเอ็น 18]])
* ผศ.ดร.[[ปิยบุตร แสงกนกกุล]] (ปัจจุบันเคลื่อนไหวทางการเมืองในนาม "คณะก้าวหน้า")
* รศ.ดร.[[ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์]] (ปัจจุบันลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ)
* จอม เพชรประดับ (ปัจจุบันลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ)
* วรวัฒน์ ฉิมคล้าย (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* สุชาณี รุ่งเหมือนพร (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* ชยากรณ์ กำโชค (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* สุทธิพร บุญช่วย (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* ธนาพล เรามานะชัย (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* โกสินทร์ อัตตโนรักษ์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ (ปัจจุบันศึกษาต่อปริญญาเอกที่ต่างประเทศ)
* [[อินทิรา เจริญปุระ]] (ปัจจุบันทำธุรกิจส่วนตัว และเป็นนักเคลื่อนไหวในนามคณะประชาชนปลดแอก)
* มนทกานติ รังสิพราหมณกุล (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* จิตต์สุภา ฉิน (ปัจจุบันทำหน้าที่ช่องยูทูป Spin9)
* วิลาสินี แวน ฮาเรน (ปัจจุบันอยู่[[ช่อง 8]])
* ฌาณวิทย์ ไชยศิริวงศ์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าทีแล้ว)
* ภคพงศ์ อุดมกัลยารักษ์ (ปัจจุบันอยู่[[ช่อง 8]])
* ร่มเกล้า อมาตยกุล (ปัจจุบันอยู่[[ช่อง 8]])
* [[พรรณิการ์ วานิช]] (ปัจจุบันเคลื่อนไหวทางการเมืองในนาม "คณะก้าวหน้า")
* สุรเดช อภัยวงศ์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* พัสวี ฐิติพรวัฒนกุล (ปัจจุบันอยู่[[ทีเอ็นเอ็น 16]])
* รศ.(พิเศษ)ดร.[[อดิศร เพียงเกษ]] (ปัจจุบันอยู่เพจตรงไปตรงมาทีวี)
* [[ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ]] (ปัจจุบันทำรายการออนไลน์ในเพจ)
* ศศิพงศ์ ชาติพจน์ (ปัจจุบันอยู่[[ช่อง 8]])
* ชาญชัย ประทีปวัฒนะวงศ์ (ปัจจุบันอยู่[[เนชั่นทีวี]])
* ประสิทธิ์ชัย คำบาง (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* ปรีชา พงษ์โมลา (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* หม่อมหลวงณัฏฐ์กรณ์ เทวกุล (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564)
* พัชยา มหัทธโนธรรม (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* [[ตวงพร อัศววิไล]] (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* วีรนันต์ กัณหา (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* ชลวิศว์ วงศ์ศรีวอ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข (ปัจจุบันเป็นรองบรรณาธิการข่าวออนไลน์)
* [[ธีรัตถ์ รัตนเสวี]] (ปัจจุบันอยู่สื่อมวลชนอิสระ)
* ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (ปัจจุบันเป็นพรรคการเมืองนายกรัฐมนตรี)
* [[ลักขณา ปันวิชัย]] (ปัจจุบันเป็นสมัครพรรคการเมือง)
* เอกวรัญญู อัมระปาล (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* ดร.วิโรจน์ อาลี (ปัจจุบันเป็นครูโรงเรียนมหาลัยเกษตรศาสตร์)
* [[ขัตติยา สวัสดิผล]] (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
* นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี (ปัจจุบันอยู่สื่อมวลชนอิสระ)


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:51, 5 พฤศจิกายน 2564

วอยซ์ ทีวี
สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมวีทูเอชช่อง 9
ตราสัญลักษณ์ วอยซ์ ทีวี
ประเทศไทย ไทย
เครือข่าย
คำขวัญ
  • Voice of
    the New Generation
    (2552-2554)
  • สถานีข่าวปลุกความคิด
    (2554-2555 , 2562-ปัจจุบัน)
  • Inform Inspire Entertain
    (2555-2557)
  • Smart Voice
    ฉลาดคิด ฉลาดใช้ชีวิต
    (2557-ปัจจุบัน,คำขวัญหลัก)
  • Shift Thai โอกาสโลก โอกาสไทย (2562-ปัจจุบัน,คำขวัญพิเศษ)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 197 อาคารบีบีดี
ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน
เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
แบบรายการ
ระบบภาพ576ไอ (16:9 คมชัดปกติ)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของบริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด
บุคลากรหลัก
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ29 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (14 ปี)
ยุติออกอากาศวอยซ์ทีวี 21:
31 สิงหาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 152 วัน)
เฉพาะคู่ขนานทีวีดาวเทียมเคเบิลทีวีและดิจิทัล:
31 สิงหาคม พ.ศ. 2562
(3 ปี 272 วัน) [1]
ลิงก์
เว็บไซต์www.voicetv.co.th
ออกอากาศ
เคเบิลทีวี
 ไทยเคเบิลทีวีไทยทั่วประเทศ
ทีวีดาวเทียม
ไทยคม 6 C-Band3840 H 30000 3/4
ไทยคม 6 KU-Band12344 V 45000 3/4
พีเอสไอ
ดีทีวี[2]
ไอเดียแซท
อินโฟแซท
ลีโอเทค[3]
จีเอ็มเอ็มแซต[4]
ไอพีเอ็ม
ช่อง 75 (ผ่านทางช่อง V2H9 (Video to Home 9))
ไทยแซทช่อง 140
สื่อสตรีมมิง
VoiceTVชมรายการสด
Twitchชมรายการสด

วอยซ์ ทีวี (อังกฤษ: Voice TV) เป็นช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียมและเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิล ก่อนหน้านี้เป็นผู้รับใบอนุญาตออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน ออกอากาศทางช่องหมายเลข 21, อินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ www.voicetv.co.thและแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (smartphone)[5] เริ่มทดลองออกอากาศเป็นครั้งแรก ผ่านระบบดาวเทียมดีทีวี ของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในระบบซีแบนด์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552[6], เปิดตัวเว็บไซต์วอยซ์ทีวี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[7], เริ่มแพร่ภาพตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553[8], เริ่มออกอากาศผ่านระบบดาวเทียมเคยูแบนด์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554[9] และเริ่มออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557[10] โดยประมูลด้วยมูลค่า 1,338 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาที่ออกอากาศในระบบทีวีดิจิทัล ทำรายได้รวม 384 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.031 ในปี พ.ศ. 2561 และต่ำสุด 0.004 ในปี พ.ศ. 2557[11]

วอยซ์ทีวีนำเสนอข้อมูลข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลก รายงานเจาะลึกประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ด้วยมุมมองที่แตกต่างจากสื่อมวลชนกระแสหลัก รวมทั้งสาระบันเทิงต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่ ด้วยกระบวนการผลิตคุณภาพสูง เพื่อสร้างความแปลกใหม่ หลากหลาย แต่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย และเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ ของคนทำงานในเมือง เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ปัจจุบันสามารถเข้าถึงผู้ชม 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ และยังนำเสนอผ่านสื่อเครือข่ายสังคมทุกรูปแบบคือ เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม และยูทูบ[5]

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน มีเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย, ทรงศักดิ์ เปรมสุข อดีตผู้บริหารไอทีวี เป็นกรรมการที่ปรึกษา[12] เป็นกรรมการผู้อำนวยการ, พานทองแท้ ชินวัตร เป็นกรรมการรองผู้อำนวยการ และพินทองทา คุณากรวงศ์ เป็นกรรมการบริษัท[7]

ประวัติ

บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ในนามบริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ด้วยทุนจำนวน 300 ล้านบาท ประกอบธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ เพื่อนำออกอากาศเป็นการทั่วไป เดิมตั้งอยู่เลขที่ 414 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร (อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 1 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อาคารอินทัช) ประกอบด้วยกรรมการบริษัท 4 คนคือ พานทองแท้ ชินวัตร, พินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์, ทรงศักดิ์ เปรมสุข, เฉลิม แผลงศร และมีผู้ถือหุ้นจำนวน 8 รายคือ บริษัท พี.ที.คอร์ปอเรชัน จำกัด (ร้อยละ 56.00), พานทองแท้ ชินวัตร (ร้อยละ 36.96), พินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์ (ร้อยละ 7.04) และบุคคลอื่นๆ รวมอีก 5 หุ้น มีผลงานผลิตรายการโทรทัศน์ต่างๆ ซึ่งทั้งหมดออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เช่น I Style, ใครรักใครหัวใจตรงกัน,ปลาเก๋าราดพริก,บางกอกรามา ฯลฯ รวมถึงเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น ฮิคารุเซียนโกะ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกด้วย[13] เปลี่ยนชื่อครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นบริษัท วอยซ์สเตชัน จำกัด, เปลี่ยนครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นชื่อปัจจุบัน[7]

ต่อมาได้เข้าร่วมประมูลโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ข่าว เหตุการณ์ปัจจุบัน และสาระ ได้ช่องหมายเลข 21 และเริ่มทดลองออกอากาศเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557[10]

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ลงมติอนุมัติการคืนใบอนุญาตวอยซ์ทีวี ของบริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด และให้ยุติการออกอากาศเฉพาะทีวีดิจิทัลช่อง 21 ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562[14] จากนั้นวอยซ์ทีวีจึงแพร่ภาพออกอากาศบนดาวเทียม ตั้งแต่เวลา 00:01 น. เป็นต้นไป ในหลาย ๆ ช่องทางของทีวีดาวเทียมสื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยเช่าสัญญาณช่อง V2H2 ในระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง 51 ของเอ็มวีทีวี ในการออกอากาศ[15][16][17][18][19]

การสั่งยุติการออกอากาศ

หลังประกาศกฎอัยการศึก

หลังการประกาศใช้กฎอัยการศึก ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 มีการออกคำสั่งให้ช่องโทรทัศน์ดาวเทียมหลายแห่งยุติการออกอากาศ และหนึ่งวันให้หลัง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ออกคำสั่งฉบับที่ 7/2557 ให้ระงับการออกอากาศวอยซ์ทีวี อันเนื่องมาจากเนื้อหาพาดพิงการเมืองที่มีนัยสำคัญ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการโทรทัศน์ ที่มีคำสั่งระงับการออกอากาศโทรทัศน์ประเภทธุรกิจระดับชาติ นอกจากกรณีรัฐประหาร ต่อมาภายหลัง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศฉบับที่ 65/2557 อนุญาตให้วอยซ์ทีวีสามารถกลับมาออกอากาศรายการประจำได้ตามปกติ ทว่าต้องถือปฏิบัติ ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 14, 18, 23 และ 27/2557 รวมถึงตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด ตลอดระยะเวลาการออกอากาศ[20] โดยทางวอยซ์ทีวีเตรียมความพร้อมไว้แล้วก่อนหน้านี้ และสามารถกลับมาออกอากาศได้อีกครั้ง เมื่อเวลา 12:00 น. ของวันที่ 15 มิถุนายน เป็นต้นไป โดยเริ่มด้วยภาคข่าวเที่ยง "วอยซ์นิวส์"

กสทช. พักใช้ใบอนุญาต 7 วัน

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560 วอยซ์ทีวี ถูกระงับการออกอากาศ 7 วัน (จากเดิมที่ให้ระงับ 3 วัน) จากมติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมือวันที่ 27 มีนาคม เนื่องจากมีรายการบางรายการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นลักษณะยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง โดยได้แสดงข้อความเป็นตัวอักษรสีขาว อยู่บริเวณกลางหน้าจอความว่า "ระงับการออกอากาศชั่วคราว ตามคำสั่งทางปกครองของสำนักงาน กสทช." ทั้งนี้ การออกอากาศออนไลน์ผ่านเว็บไซต์วอยซ์ทีวียังคงออกอากาศอย่างต่อเนื่องตามปกติ

ไฟล์:Voice TV return to air.jpg
ภาพจับหน้าจอจากเทปบันทึกภาพการประกาศการกลับมาออกอากาศของวอยซ์ทีวี โดยมีคณะผู้ดำเนินรายการ นำโดย ธีรัตถ์ รัตนเสวี ผู้อำนวยการฝ่ายรายการและสื่อดิจิตอล พร้อมด้วย ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข,พัชญา มหัธโนธรรม,พรรณิการ์ วานิช และ วิโรจน์ อาลี ซึ่งบันทึกเทปจากห้องส่งของรายการ ทูไนท์ไทยแลนด์ ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

จนกระทั่งในวันที่ 3 เมษายน ก่อนเข้าสู่วันที่ 4 เมษายน หลังจบรายการสารคดีชุด Discoveries America ต่อด้วยช่วง World Events และต่อด้วย Ident ของสถานีฯ ในรูปแบบวน จำนวน 9 ครั้ง เพื่อเตรียมการเปิดสัญญาณออกอากาศผ่านโทรทัศน์ระบบดิจิทัลและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม Must-Carry จนกระทั่ง Ident ของสถานีรอบที่ 9 สิ้นสุดลง ก็ได้ตัดเข้าสู่เทปบันทึกภาพการประกาศการกลับมาออกอากาศของวอยซ์ทีวี โดยมีคณะผู้ดำเนินรายการ นำโดย ธีรัตถ์ รัตนเสวี ผู้อำนวยการฝ่ายรายการและสื่อดิจิตอล พร้อมด้วย ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข, พัชยา มหัทธโนธรรม, พรรณิการ์ วานิช และ วิโรจน์ อาลี ซึ่งบันทึกเทปจากห้องส่งของรายการทูไนท์ไทยแลนด์ ก่อนกลับเข้าสู่การออกอากาศรายการตามปกติ

กสทช. พักใช้ใบอนุญาต 15 วัน

สำนักงานของวอยซ์ทีวี

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ลงมติให้พักใบอนุญาตวอยซ์ทีวี (Voice TV) เป็นเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจาก กสทช. ด้วยเหตุผลว่า มีการนำเสนอรายการข่าวหลายรายการมีลักษณะส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร จึงห้ามมิให้ออกอากาศในกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 97/2557 แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 130/2557 เรื่องการให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของ คสช. และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ

จากนั้น เวลา 15.00 น. นายเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) วอยซ์ทีวี กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติให้พักใบอนุญาตวอยซ์ทีวี เป็นเวลา 15 วันว่า รอบนี้ถึงเวลาต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลปกครอง พร้อมเรียกค่าเสียหาย ซึ่งคำนวณย้อนหลังแล้วมากกว่า 100 ล้านบาท

ทั้งนี้ หลังคำสั่ง กสท. มีผลบังคับใช้ วอยซ์ทีวีได้นำรายการบางส่วนออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Five Channel ของบริษัท เอ็มวี เทเลวิชั่นส์ ไทยแลนด์ จำกัด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ชมที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือยังต้องชมรายการผ่านโทรทัศน์ปกติได้รับชมรายการในห้วงเวลาพักใช้ใบอนุญาต ขณะเดียวกัน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ วอยซ์ทีวีได้ยื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ทุเลาคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต จนกระทั่งเวลา 21:00 น. ของวันเดียวกัน ศาลปกครองมีคำสั่งให้ทุเลาคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตของ กสทช. ลงชั่วคราว ทำให้วอยซ์ทีวีสามารถออกอากาศได้ตามปกติทุกช่องทาง โดยการออกอากาศเริ่มในเวลาประมาณ 00:40 น. ของวันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ งดออกอากาศรวมระยะเวลาพักใช้ใบอนุญาต 3 วัน 39 นาที

ถูกสั่งปิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน

หลังจากรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เพื่อควบคุมการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งมีมาตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม ปีเดียวกัน มีหน่วยงานหนึ่งซึ่งไม่ทราบว่าเป็นหน่วยงานใด เข้าไปกดดันให้สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม V2H2 ซึ่งวอยซ์ทีวีเช่าเวลาออกอากาศ งดการออกอากาศรายการของวอยซ์ทีวี[21][22] ส่งผลให้ช่วงเวลารายการต่าง ๆ ของวอยซ์ทีวีที่ออกอากาศมาแต่เดิม ถูกแทนที่ด้วยรายการแนะนำสินค้า แต่สำหรับการออกอากาศผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะยูทูบ เฟซบุ๊กไลฟ์ และ twitch.tv ยังคงออกอากาศตามปกติ ต่อมาวันที่ 20 ตุลาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ขออำนาจศาลสั่งปิดช่องทางออนไลน์ทั้งหมดของวอยซ์ทีวี พร้องกับสื่ออื่น ๆ อีก 4 สำนัก เนื่องจากกระทำการขัดต่อพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[23] แต่วันถัดมา (21 ตุลาคม) ศาลอาญามีคำสั่งยกคำร้องทั้งหมด เนื่องจากการปิดสื่อนั้นขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 35 และ 36 และกระทรวงฯ และ กอร.ฉ. ไม่แสดงให้ชัดเจนว่าจะปิดสื่อทุกช่องทางหรือเพียงบางเนื้อหา[24] และหลังจากยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง วอยซ์ทีวีจึงกลับมาออกอากาศอีกครั้ง แต่โดยเช่าสัญญาณจากบริษัทเดิม แต่ย้ายไปเช่าช่อง V2H9 ในระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง 75 แทนตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน ในบางรายการ[25][26] และในวันที่ 17 พฤศจิกายน วอยซ์ทีวีได้กลับมาออกอากาศอย่างเต็มรูปแบบทางช่องดังกล่าวที่ความถี่ใหม่ 3840 H 30000 (3/4)

รายการ

รายการบางส่วนออกอากาศเป็นประจำ และอีกส่วนออกอากาศเป็นพิเศษ ทว่าบางรายการก็ระงับการออกอากาศไปชั่วคราว ซึ่งจะกลับมาออกอากาศตามปกติ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ตามสถานการณ์บ้านเมือง เนื่องจากมีเนื้อหา เน้นที่ข่าวสารและสาระ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเมืองเป็นหลัก[27]

นอกจากนี้ วอยซ์ทีวียังมีรายการสั้น ออกอากาศในช่วงระหว่างรายการต่างๆ อีกด้วย

ข่าวและการเมือง

ข่าว

  • เวคอัปไทยแลนด์ (Wake Up Thailand, เดิมคือ Wake Up News) ออกอากาศเวลา 12.00 - 13.30 น. Rerun เวลา 14.30 - 16.30 น วันจันทร์ ถึง วันศุกร์
  • อินไซด์ไทยแลนด์ (Insight Thailand, เดิมคือ Tonight Thailand เดิมคือ Talking Thailand) ออกอากาศเวลา 19.00 - 20.30 น. Rerun เวลา 8.00 - 9.30 น. ทุกวัน

สนทนา,วิเคราะห์

  • โอเวอร์วิว (Overview) ออกอากาศเวลา 18.00 - 18.30 น Rerun เวลา 7.00 - 7.30 น. วันจันทร์ ถึง วันศุกร์
    • โอเวอร์วิวเอ็กซ์ตร้า (Overview Extra) 18.00 - 18.30 น Rerun เวลา 7.00 - 7.30 น. วันเสาร์และวันอาทิตย์
  • The Daily Dose โลกการเมือง ออกอากาศเวลา 20.30 - 21.00 น. Rerun เวลา 9.30 - 10.00 น. วันจันทร์ถึงวันศุกร์
    • The Daily Dose ยามเช้า ออกอากาศเวลา 6.00 - 7.30 น. โดยประมาณ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์
  • ใบตองแห้ง On Air ออกอากาศเวลา 12.00 - 12.15 น วันเสาร์ - อาทิตย์
  • สุมหัวคิด ออกอากาศเวลา 12.15 - 12.30 น วันเสาร์ - อาทิตย์

รายการสั้น

  • เบสท์จ็อบอีเวอร์ (Best Job Ever)
  • คลิปวีดีโอข่าวสั้นอัตราส่วน 1:1 โดยทีมงานวอยซ์ออนไลน์
  • สาระความรู้สั้น

รายการออนไลน์

  • อินเฮอร์อาย (In Her Eye) ออกอากาศเวลา 16.00 วันพุธ และ วันพฤหัสบดี และ เวลา 14.00 น. เฉพาะวันศุกร์
  • แซ่บลืม ออกอากาศเวลา 16.00 โดยประมาณ เฉพาะวันจันทร์
  • What To Know (รายการภาษาอังกฤษ)
  • The Daily Dose Live ยามเช้า ออกอากาศเวลา 6.00 - 7.30 น. โดยประมาณ
  • Voice E-Space ออกอากาศเวลา 18.30 - 19.00 น. Rerun เวลา 7.00 - 7.30 น.
  • Care Talk By Tony Woodsome ออกอากาศเวลา 20.00 น.
  • Breaking View
  • ธีรัตถ์xชัยรัตน์ คุยข่าวต่างประเทศ

รายการที่ยุติการออกอากาศแล้ว

  • Divas Cafe - ออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557
  • วอยซ์โก (Voice GO) - ออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2564
  • ปลื้ม Explore
  • Cooking with Jacqui
  • คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา - ออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2559
  • Brain Wake - ออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2559
  • Book Guide
  • ทรายอิน

อ้างอิง

  1. จากใจ ของ 'คนวอยซ์ทีวี' จะยุติการออกอากาศทีวีดิจิทัล ไปสู่ผ่านทีวีดาวเทียม
  2. ผังช่องรายการ DTV THAI
  3. Voice TV - รู้ยังงง 1 ก.ย. นี้
  4. ผังช่องรายการ GMM Z
  5. 5.0 5.1 About Voice TV เก็บถาวร 2009-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, www.voicetv.co.th
  6. แถลงการณ์วอยซ์ทีวี ยันเสนอข่าวเที่ยงตรง, มติชนออนไลน์, 25 กุมภาพันธ์ 2557.
  7. 7.0 7.1 7.2 จาก "ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์" สู่ "วอยซ์ ทีวี" มหากิจศิริ มิตรแท้.. หรือจะเป็น Voice of Thaksin ?, ประชาชาติธุรกิจ, 24 พฤศจิกายน 2552.
  8. วอยซ์ทีวี (30 มิถุนายน 2557). "วอยซ์ ทีวี ก้าวสู่ปีที่ 6". www.voicetv.co.th. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. วอยซ์ทีวี (6 มกราคม 2554). "VOICE TV ออกอากาศ 24 ชม.ทั้งดาวเทียม C-BAND และ KU-BAND". www.voicetv.co.th. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. 10.0 10.1 1 เมษายน ช่อง 21 VoiceTv เปิดทีวีดิจิตอล เก็บถาวร 2014-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วอยซ์ทีวี, 28 มกราคม 2557.
  11. "ปิดฉาก "7 ช่อง" ทีวีดิจิทัล บนเส้นทางวิบาก ย้อนดูผลงาน 5 ปี "เรตติ้ง" ดิ่ง ขาดทุนอ่วม". โพซิชันนิงแมก. 15 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  12. เปิดตัว 'เมฆินทร์ เพ็ชรพลาย' คุม 'วอยซ์ทีวี' เก็บถาวร 2017-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วอยซ์ทีวี, 8 ธันวาคม 2557.
  13. เปิดแผน "ฮาวคัม" เทียบชินคอร์ป ปั้นลูกโอ๊ค ตามรอยแม้ว,
  14. Voice TV รับเงินเยียวยาคืนช่องจาก กสทช. 372.64 ลบ.
  15. Wake Up News วอยซ์ทีวีคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล
  16. ทีวีดิจิทัล 7 ช่อง ยื่นคืนใบอนุญาต คาดเดือนสิงหาคม 62 ยุติการออกอากาศ
  17. วอยซ์ทีวีประกาศคืนใบอนุญาตฯ รูดม่านทีวีดิจิทัล 5 ปี เบนเข็มไปดาวเทียม-ออนไลน์
  18. "วอยซ์ทีวี" ได้ทีวีดาวเทียม "พีเอสไอ ช่อง 51" ออนแอร์ทดแทน
  19. VOICE TV ช่องทาง ทีวีดาวเทียมกับผังใหม่ เริ่ม 1 ก.ย.นี้
  20. คสช. อนุญาตให้ 'วอยซ์ทีวี-ทีนิวส์' ออกอากาศแล้ว เก็บถาวร 2014-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วอยซ์ทีวี, 14 มิถุนายน 2557.
  21. รายการทอล์กกิงไทยแลนด์ ออกอากาศเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (ช่วงแรก),
  22. "ผู้ประกาศวอยซ์ทีวีแจ้ง ชมรายการผ่านจานดาวเทียมไม่ได้แล้ว". ประชาชาติธุรกิจ. 2020-10-15. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  23. "ศาลสั่งปิด VOICE TV ทุกช่องทางออนไลน์ ชี้ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขณะที่อีก 3 สื่อ ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา". เดอะ แมทเทอร์. 2020-10-20. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  24. "ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง ขอปิดทุกช่องทางออนไลน์ Voice TV". ไทยรัฐ. 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  25. "2020 RECAP : TV SATTELLIVE – ทีวีดาวเทียมกับการเมืองรอบใหม่ที่น่าจับตามอง". ส่องสื่อ. 2021-01-01. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  26. "Voice TV Comeback". ทวิตเตอร์. 2020-11-11. สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  27. Schedule เก็บถาวร 2010-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, www.voicetv.co.th

แหล่งข้อมูลอื่น