ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี"

พิกัด: 17°23′11″N 102°47′18″E / 17.38639°N 102.78833°E / 17.38639; 102.78833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boy2546 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 59: บรรทัด 59:


[[ภาพ:HS-TXA (9284580670).jpg|600px|thumb|การบินไทยสมายล์ Landing ท่าอากาศยานอุดรธานี|center]]
[[ภาพ:HS-TXA (9284580670).jpg|600px|thumb|การบินไทยสมายล์ Landing ท่าอากาศยานอุดรธานี|center]]

-ปี พ.ศ.2556 - 2558 กรมการบินพลเรือน ได้รับงบประมาณ 296 ล้านบาท ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังเก่า เพื่อใช้เป็น อาคารผู้โดยสารต่างประเทศ สูง 3 ชั้น ติดตั้งระบบทันสมัยที่สุดของกรมการบินพลเรือน ทั้งระบบรักษาความปลอดภัย , ระบบดับเพลิงในอาคาร , สัญญาเตือนภัย และระบบป้องกันควัน ป้องกันไฟลาม ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ อาคารนี้มีพื้นที่ใช้สอย 8,536 ตรม. รองรับผู้โดยสารขาเข้า-ออก ได้พร้อมกัน 400 คน/ชม. ใช้เป็นสถานทีทำงานท่าอากาศยาน มีห้องรับรองบุคคลสำคัญ ห้องรับรองผู้โดยสารพิเศษ ภัตตาคาร ร้านค้า โดยเฉพาะห้องบริการตรวจหนังสือเดินทาง ศุลกากร ตรวจพืช และด่านตรวจโรค โดยมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ผู้โดยสารปกติและผู้พิการ ลิฟต์ 2 ตัว , บันไดเลื่อน 3 ชุด , สะพานขนส่งสัมภาระ และสะพานเทียบเครื่องบิน(งวงช้าง) 1 ชุด อาคารผู้โดยสารต่างประเทศ หลังใหม่ จะช่วยแบ่งเบาความแออัด ของผู้โดยสารในประเทศ มักจะเกิดขึ้นช่วงเครื่องบินเตรียมขึ้น-ลงพร้อมกันมากกว่า 2 ลำ ซึ่งทั้งสองอาคารรับผู้โดยสารเข้า-ออกได้ 1,200 คน/ชม. โดยมีแผนจะให้สายการบินบางกอกแอร์เวย์ และแอร์เอเชีย ซึ่งใช้ระบบ CIQ อยู่แล้วมาใช้อาคารผู้โดยสารต่างประเทศ นอกจากนี้กรรมการบินพลเรือน เตรียมสร้างลานจอดเครื่องบินจาก 7 ลำ เพิ่มขึ้นเป็น 11 ลำ และให้ภาคเอกชนมาสร้างลานจอดรถเพิ่มเติม
<ref>http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1432873051</ref>


== รายชื่อสายการบิน ==
== รายชื่อสายการบิน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:21, 31 พฤษภาคม 2558

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี

Udon Thani International Airport
ไฟล์:Udon Thani International Airport.jpg
  • IATA: UTH
  • ICAO: VTUD
    UTHตั้งอยู่ในประเทศไทย
    UTH
    UTH
    Location of airport in Thailand
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ/ทหาร
เจ้าของกรมการบินพลเรือน
ผู้ดำเนินงานรัฐบาล/เอกชน
ที่ตั้งอุดรธานี
เหนือระดับน้ำทะเล579 ฟุต / 176 เมตร
พิกัด17°23′11″N 102°47′18″E / 17.38639°N 102.78833°E / 17.38639; 102.78833
เว็บไซต์http://www.udonthaniairport.com/
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
12/30 10,000 3,080 ยางมะตอย
สถิติ (2557)
ผู้โดยสาร1,682,709
เที่ยวบิน13,734

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี หรือ สนามบินอุดร (อังกฤษ: Udon Thani International Airport) ตั้งอยู่ใกล้กับ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ตัวสนามบินตั้งอยู่ในเขตทหารกองทัพอากาศ (กองบิน 23) ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม[4] สนามบินอุดรธานีได้รับการปรับปรุงและสร้างอาคารผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีกและเชื่อมต่อกับตัวอาคารเดิมโดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในการปรับปรุง สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2549 ตัวจังหวัดอยู่ห่างจาก กรุงเทพมหานคร 564 กิโลเมตร

จุด Check In ท่าอากาศยานอุดรธานี

ประวัติ

เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ประมาณปี พ.ศ. 2463–2466 กรมอากาศยาน ทหารบกในสมัยนั้นได้ทำการดัดแปลงเครื่องบินแบบ “เบรเกต์” เป็นเครื่องบินขนส่งพัสดุไปรษณีย์ บินไปยังจังหวัดที่การคมนาคมทางบกยังไปไม่ถึง เช่น ดอนเมือง-นครราชสีมา และได้มีการขยายเส้นทางนครราชสีมา-ร้อยเอ็ด-อุดรธานี โดยสนามบินที่ทำการขึ้น-ลง อยู่ในเขตเทศบาลอุดรธานี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโครงการชลประทาน

- ปี พ.ศ. 2475 ย้ายมาสร้างสนามบินใหม่บริเวณตำบลหนองขอนกว้าง(ที่ตั้งกองบินที่ 23 ในปัจจุบัน) โดยมีทางวิ่งเป็นดินลูกรังยาวประมาณ 500 เมตร

- ปี พ.ศ. 2495 สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม (กรมการบินพลเรือนในปัจจุบัน) ได้สร้างอาคารวิทยุ และหอบังคับการบิน โดยมีการพัฒนาปรับปรุงเรื่อยมา

- ปี พ.ศ. 2500 ได้สร้างทางวิ่งใหม่เป็นคอนกรีต ยาว 3,048 เมตร กว้าง 38 เมตร เป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา

- ปี พ.ศ. 2505 กรมการบินพาณิชย์ (กรมการบินพลเรือนในปัจจุบัน) สร้างอาคารท่าอากาศยานอุดรธานี พร้อมหอบังคับการบิน ระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการบริการเครื่องบินทั้งหมด ของท่าอากาศยานอุดรธานีสมบูรณ์เป็นไปตามมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)

- ปี พ.ศ. 2533 กรมการบินพาณิชย์ ได้ซื้อที่ดินประมาณ 400 ไร่ บริเวณถนนอุดร-เลย สร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและหอบังคับการบิน พร้อมลานจอดอากาศยาน สามารถจอดเครื่องบินแบบ Airbus ได้ 2 ลำ พร้อมกัน

- ปี พ.ศ. 2543 - 2545 กรมการบินพาณิชย์ได้ขยายทางวิ่งจากความกว้าง 38 เมตร เป็น 45 เมตร ทางขับกว้าง 23 เมตร ลานจอดอากาศยานพื้นที่ 47,250 ตารางเมตร สามารถจอดเครื่องบินแบบ Airbus ได้ 3 ลำ เครื่องบินแบบ Boeing 737 ได้ 2 ลำ เครื่องบินแบบ ATR ได้ 1 ลำ

การบินไทยสมายล์ Landing ท่าอากาศยานอุดรธานี

-ปี พ.ศ.2556 - 2558 กรมการบินพลเรือน ได้รับงบประมาณ 296 ล้านบาท ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังเก่า เพื่อใช้เป็น อาคารผู้โดยสารต่างประเทศ สูง 3 ชั้น ติดตั้งระบบทันสมัยที่สุดของกรมการบินพลเรือน ทั้งระบบรักษาความปลอดภัย , ระบบดับเพลิงในอาคาร , สัญญาเตือนภัย และระบบป้องกันควัน ป้องกันไฟลาม ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ อาคารนี้มีพื้นที่ใช้สอย 8,536 ตรม. รองรับผู้โดยสารขาเข้า-ออก ได้พร้อมกัน 400 คน/ชม. ใช้เป็นสถานทีทำงานท่าอากาศยาน มีห้องรับรองบุคคลสำคัญ ห้องรับรองผู้โดยสารพิเศษ ภัตตาคาร ร้านค้า โดยเฉพาะห้องบริการตรวจหนังสือเดินทาง ศุลกากร ตรวจพืช และด่านตรวจโรค โดยมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ผู้โดยสารปกติและผู้พิการ ลิฟต์ 2 ตัว , บันไดเลื่อน 3 ชุด , สะพานขนส่งสัมภาระ และสะพานเทียบเครื่องบิน(งวงช้าง) 1 ชุด อาคารผู้โดยสารต่างประเทศ หลังใหม่ จะช่วยแบ่งเบาความแออัด ของผู้โดยสารในประเทศ มักจะเกิดขึ้นช่วงเครื่องบินเตรียมขึ้น-ลงพร้อมกันมากกว่า 2 ลำ ซึ่งทั้งสองอาคารรับผู้โดยสารเข้า-ออกได้ 1,200 คน/ชม. โดยมีแผนจะให้สายการบินบางกอกแอร์เวย์ และแอร์เอเชีย ซึ่งใช้ระบบ CIQ อยู่แล้วมาใช้อาคารผู้โดยสารต่างประเทศ นอกจากนี้กรรมการบินพลเรือน เตรียมสร้างลานจอดเครื่องบินจาก 7 ลำ เพิ่มขึ้นเป็น 11 ลำ และให้ภาคเอกชนมาสร้างลานจอดรถเพิ่มเติม [5]

รายชื่อสายการบิน

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทยสมายล์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, เชียงใหม่ ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, ภูเก็ต ภายในประเทศ
บางกอกแอร์เวย์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ, เชียงใหม่ ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, หาดใหญ่ ภายในประเทศ
กานต์แอร์ อู่ตะเภา ภายในประเทศ
สกู๊ต สิงคโปร์ (CIQ) ระหว่างประเทศ

สายการบินที่เคยทำการบิน

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[6]
ชื่อไทย ชื่ออังกฤษ
การบินไทย (TG) Thai Airways International กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง, เชียงใหม่, กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ
การบินลาว (QV) Lao Airlines หลวงพระบาง
เดินอากาศไทย (TH) Thai Airways กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง, สกลนคร
ไทเกอร์แอร์เวย์ (TR) Tiger Airways สิงคโปร์
นกแอร์ (DD) Nok Air เลย
พีบีแอร์ (9Q) PB Air กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง, เชียงใหม่
ภูเก็ตแอร์ (9R) Phuket Air กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง, เชียงใหม่
วัน-ทู-โก (OG) One-Two-Go กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง
แองเจิลแอร์ไลน์ (8G) Angel Airlines เชียงใหม่
โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ (OX) Orient Thai Airlines กรุงเทพมหานคร-ดอนเมือง
นกมินิ (5E) Nok Mini เชียงใหม่

ตารางสายการบิน

Time From Airline หมายเหตุ
07.00 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง นกแอร์ ทุกวัน
07.25 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ไทยไลอ้อนแอร์ ทุกวัน
07.55 เชียงใหม่ บางกอกแอร์เวย์ ทุกวัน
08.10 กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ การบินไทยสมายล์ ทุกวัน
08.30 กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ บางกอกแอร์เวย์ ทุกวัน
08.40 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ไทยแอร์เอเชีย ทุกวัน
09.05 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง นกแอร์ ทุกวัน
10.50 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ไทยไลอ้อนแอร์ ทุกวัน
11.20 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง นกแอร์ ทุกวัน
12.00 กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ การบินไทยสมายล์ ทุกวัน
13.25 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง นกแอร์ ทุกวัน
13.45 กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ บางกอกแอร์เวย์ ทุกวัน
14.40 กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ การบินไทยสมายล์ ทุกวัน
15.05 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง นกแอร์ ทุกวัน
15.15 หาดใหญ่ ไทยไลอ้อนแอร์ ทุกวัน
15.15 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ไทยไลอ้อนแอร์ ทุกวัน
16.25 ภูเก็ต ไทยแอร์เอเชีย ทุกวัน
16.30 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง นกแอร์ ทุกวัน
16.50 อู่ตะเภา กานต์แอร์ อา. จ. พ. ศ.
17.15 เชียงใหม่ นกแอร์ ทุกวัน
17.20 เชียงใหม่ บางกอกแอร์เวย์ ทุกวัน
18.05 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง นกแอร์ ทุกวัน
18.20 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ไทยแอร์เอเชีย ทุกวัน
18.50 กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ การบินไทยสมายล์ ทุกวัน
20.00 กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ บางกอกแอร์เวย์ ทุกวัน
21.10 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง นกแอร์ ทุกวัน
21.35 กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ไทยไลอ้อนแอร์ ทุกวัน
  • หมายเหตุ ทุกเส้นทางอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

อ้างอิง