ข้ามไปเนื้อหา

มกรสังกรานติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มกรกรานติ
กิจกรรมต่าง ๆ เนื่องในมกรสังกรานติ เช่น การทำบูชา ก่อกองไฟ ชักว่าว
ชื่ออื่นอุตตรายัน
สังกรานติ
มาฆะ
โมโกระโสงกรานติ
เมลา
มาฆี
ฆุฆูติ
โภคี
ประเภทศาสนา & วัฒนธรรม, เทศกาลการเก็บเกี่ยว, สุรยะบูชา
การเฉลิมฉลองชักว่าว, ก่องกองไฟ, เทศกาล, บูชาพระอาทิตย์ในแม่น้ำ, อาหาร, ศิลปะ, ร่ายรำ, พบปะ, โคบูชา
เริ่มJanuary 13 or 14
วันที่14 หรือ 15 มกราคม (ตามปฏิทินฮินดู)
ความถี่Annual
ส่วนเกี่ยวข้องโปงคัล, มาเฆสังกรานติ, มาฆพิหู, มาฆี, เทศกาลตูสู

มกรสังกรานติ หรือ อุตตรายัน หรือ มาฆี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า สังกรานติ เป็นเทศกาลในปฏิทินฮินดูที่บูชาพระสุรยะ มีการเฉลิมฉลองทุกปีในเดือนตามจันทรคติ เดือนมาฆะซึ่งเทียบเท่าเดือนมกราคมในปฏิทินกริกอเรียน มกรสังกรานติเป็นวันเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวในอินเดียและเนปาล[1][2][3] และเป็นวันที่ที่ฉลองการโยกย้ายของดวงอาทิตย์เข้าสู่มกรราศี (ราศีมังกร), และเป็นวันสิ้นสุดของทักษิณายัน อันเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาที่เวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืน[1][4]

มกรสังกรานติ เป็นหนึ่งในเทศกาลโบราณ[5] ของอินเดียและเนปาลไม่กี่เทศกาลที่มีการฉลองตามวัฏจักรของดวงอาทิตย์ ในขณะที่เทศกาลส่วนใหญ่จะอิงตามวัฏจักรดวงจันทร์ตามในปฏิทินแบบสุริยจันทรคติของฮินดู[4] เนื่องด้วยเป็นเทศกาลตามสุริยคติจึงทำให้ตรงกับช่วงวันเดียวกันตามปฏิทินเกรเกอเรียนทุกปี ซึ่งคือวันที่ 14 หรือ 15 มกราคม[2] ยกเว้นในบางปีเท่านั้น[6]

มกรสังกรานติยังมีเทศกาลเทียบเท่าอื่น ๆ ทั่วทั้งในแถบอนุทวีปอินเดีย เช่น มาฆะสังกรานติในเนปาล, มาฆพิฆุในรัฐอัสสัม, มาฆี (ซึ่งต่อเนื่องจากโลหรี) ในปัญจาบ หรยาณา และหิมาจัลประเทศ, Sukarat ในอินเดียตอนกลาง, ไตโปงคัล ในทมิฬนาฑู, อุตตรายัน ในคุชราต อุตตราขัณฑ์ และอุตตรประเทศ, Ghughuti ในอุตตรขัณฑ์, มกรสังกรานติ ในโอริสา กรณาฏกะ มหาราษฏระ กัว และแถบเบงกอล (ที่ซึ่งเรียกว่าปูศสังกรานติ) และสังกรานติ ในอานธรประเทศกับเตลังคานา[7][8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Tumuluru2015p30
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Melton2011p547
  3. Henderson, Helene (2005). Holidays, festivals, and celebrations of the world dictionary Third edition. Electronic edition: Detroit: Omnigraphics. p. xxix. ISBN 0-7808-0982-3.
  4. 4.0 4.1 James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A–M. Rosen Publishing Group. p. 411. ISBN 978-0-8239-2287-1.
  5. "Makar Sankranti 2019: क्यों मनाई जाती है मकर संक्रांति, महत्व, पूजा विधि और मंत्र". PujaBooking. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
  6. Jain Chanchreek; K.L. Chanchreek; M.K. Jain (2007). Encyclopaedia of Great Festivals. Shree Publishers. pp. 36–38. ISBN 978-81-8329-191-0.
  7. "After a 100 years, Makar Sankranti gets a new date", The Hindustan Times (Jan 14, 2017)
  8. Nikita Desai (2010). A Different Freedom: Kite Flying in Western India; Culture and Tradition. Cambridge Scholars Publishing. pp. 30–33. ISBN 978-1-4438-2310-4.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:Winter solstice