ข้ามไปเนื้อหา

กฤษณชนมาษฏมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กฤษณชนมาษฏมี
เทวรูปแสดงพระกฤษณะครั้นเยาว์
ชื่ออื่นกฤษณาษฏมี, SaatamAatham, โคกุลาษฏมี, ยทุกุลาษฏมี, ศรีกฤษณชยันตี, ศรีชยันตี
จัดขึ้นโดยชาวฮินดู
ประเภทในทางศาสนา (1–2 วัน), ในทางวัฒนธรรม
การเฉลิมฉลองทหิหันที (วันถัดมา), เล่นว่าว, งานเทศกาล, อดอาหาร, ขนมหวานพื้นบ้าน ฯลฯ
การถือปฏิบัติการแสดงดนตรี, พิธีบูชา, การเฝ้ายามนามค่ำคืน, อดอาหาร
วันที่26 สิงหาคม 2567

กฤษณชนมาษฏมี (อักษรโรมัน: Krishna Janmashtami) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ชนมาษฏมี (อักษรโรมัน: Janmashtami) หรือ โคกุลาษฏมี (อักษรโรมัน: Gokulashtami) เป็นเทศกาลประจำปีในศาสนาฮินดูที่เฉลิมฉลองประสูติกาลของพระกฤษณะ อวตารปางที่แปดของพระวิษณุ[1] วันที่ของกฤษณชนมาษฏมีตรงกับในปฏิทินฮินดู ในวันที่แปด (อัษฏมี) ของกฤษณปักษ์ (ปักษ์มืด) ในศราวน หรือภัทรปัท (ขึ้นอยู่กับปฏิทิน) ซึ่งตรงกับช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายนตามปฏิทินเกรกอเรียน[1]

กฤษณชนมาษฏมีถือเป็นเทศกาลสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในลัทธิไวษณพของศาสนาฮินดู[2] ระหว่างเทศกาลมีการแสดงร่ายรำประกอบดนตรีแสดงถึงพระชนมชีพของพระกฤษณะตามที่ระบุไว้ใน ภาควตปุราณะ (เช่น รสลีลา หรือ กฤษณลีลา), การขับร้องบทสรรเสริญในช่วงเที่ยงคืน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นกาลประสูติของพระศิวะ, อดอาหาร (อุปวส; upavasa), การเฝ้ายามยามค่ำคืน (ราตรี ชครัน; Jagaran), และเทศกาล (มโหตสว; Mahotsav) ในวันถัดไป[3] ชนมาษฏมีเป็นที่ฉลองกันมากเป็นพิเศษในมถุรา และ วฤนทาวัน และในประเทศอินเดีย[1][4]

ถัดจากเทศกาลชนมาษฏมีคือเทศกาลนันโทตสว (Nandotsav) ที่ซึ่งเฉลิมฉลองเหตุการณ์เมื่อนันทะ บาบา ได้แจกจ่ายของขวัญไปทั่วแก่ชุมชนเพื่อเป็นเกียรติแห่งประสูติกาล[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. The Rosen Publishing Group. pp. 314–315. ISBN 978-0823931798.
  2. J. Gordon Melton (2011). Religious Celebrations: An Encyclopedia of Holidays, Festivals, Solemn Observances, and Spiritual Commemorations. ABC-CLIO. p. 396. ISBN 978-1-59884-205-0.
  3. Edwin Francis Bryant (2007). Sri Krishna: A Sourcebook. Oxford University Press. pp. 224–225, 538–539. ISBN 978-0-19-803400-1.
  4. "In Pictures: People Celebrating Janmashtami in India". สืบค้นเมื่อ 10 August 2012.
  5. Cynthia Packert (2010). The Art of Loving Krishna: Ornamentation and Devotion. Indiana University Press. p. 169. ISBN 978-0-253-00462-8.

บรรณานุกรม

[แก้]