ฉาย วิโรจน์ศิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฉาย วิโรจน์ศิริ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448
อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
เสียชีวิต17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (61 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
พรรคการเมืองเสรีมนังคศิลา

ฉาย วิโรจน์ศิริ นักการเมืองชาวไทย เป็นอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (จอมพล แปลก พิบูลสงคราม) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 2 สมัย ในช่วงปี พ.ศ. 2495 ถึงปี พ.ศ. 2500 และเป็นอดีตเลขานุการส่วนตัวของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม[1]

ประวัติ[แก้]

ฉาย วิโรจน์ศิริ เดิมสกุล เกลี้งเกลา เป็นบุตรของนายหรอย กับนางฮวย เกลี้ยงเกลา เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 ที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี มีพี่น้อง 7 คน ในวัยเด็กเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดท่าเรือ อำเภอท่ามะกา จนต่อมาเข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ และเข้าเรียนครูที่โรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ จนจบประโยคครูประถม (ป.ป.) เมื่อ พ.ศ. 2465

การทำงาน[แก้]

ฉาย เริ่มเข้ารับราชการตอนอายุ 19 ปี เป็นครูโรงเรียนวัดราชบพิธ ในขณะนั้นเขาก็ใช้เวลาหลังจากการทำงานไปเรียนต่อประโยคครูมัธยม (ป.ม.) จนจบในปี พ.ศ. 2473 และเขาก็ได้ไปเรียนต่อวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองไปด้วย แต่ก็ไม่ได้เรียนต่อจนจบการศึกษา เนื่องจากภาระการสอนจำนวนมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 เขาได้รับแต่งตั้งให้รักษาการครูใหญ่โรงเรียนวัดสระเกศ[2] และเป็นครูใหญ่โรงเรียนมัธยมวัดสระเกศในอีก 2 ปีต่อมา และย้ายไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย จนกระทั่งเขาลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2489 และต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปีเดียวกัน

ฉาย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ในสังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ซึ่งนำโดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม

ฉาย เป็นหนึ่งในสามคนที่ได้ติดตามจอมพล ป.พิบูลสงคราม หลบหนีโดยเดินทางไปโดยรถยนต์ประจำตัวนายกรัฐมนตรียี่ห้อฟอร์ด รุ่นธันเดอร์เบิร์ดไปทางจังหวัดตราด และว่าจ้างเรือประมงลำหนึ่งเดินทางไปที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา[3] เมื่อครั้งเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500[4] ส่วนอีกสองคนที่ติดตามไปในครั้งนั้น พล.ต.บุลศักดิ์ วรรณมาศ นายทหารคนสนิท, และ พ.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ นายตำรวจรักษาความปลอดภัย[5]

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

ฉาย ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 รวมอายุ 61 ปี เขามีบุตรธิดา 10 คน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ฉาย วิโรจน์ศิริ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 87ปี ประชาธิปไตย ยุคสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม "เลือกตั้งสกปรกที่สุด"
  2. "ประวัติโรงเรียนวัดสระเกศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2020-04-09.
  3. เลียววาริณ, วินทร์ (2540). ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน. ดอกหญ้า. ISBN 974-85854-7-6. หน้า 421
  4. เพื่อนร่วมตาย คืนปฏิวัติ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐[ลิงก์เสีย]
  5. อดีตกำนันบ้านหาดเล็ก เล่าเหตุการณ์พา “จอมพล ป.” หนีไปกัมพูชา
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๔, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๒, ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙๖, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๑๓๐, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๙๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๑๓๕, ๑๐ มกราคม ๒๔๙๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]