เจ้าพระยามหาเสนา (น้อย)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เจ้าพระยามหาเสนา (น้อย) | |
---|---|
สมุหพระกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2373 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาอัครมหาเสนา (สังข์) |
ถัดไป | เจ้าพระยาพระคลังที่สมุหกลาโหม (ดิศ บุนนาค) |
เสนาบดีกรมพระนครบาล | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2356 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยายมราช (น้อย บุณยรัตพันธุ์) |
ถัดไป | เจ้าพระยายมราช (ฉิม) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | น้อย |
ศาสนา | พุทธ |
เจ้าพระยามหาเสนา นามเดิม น้อย เป็นสมุหพระกลาโหมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติ
[แก้]เจ้าพระยามหาเสนาเป็นบุตรขุนนางสมัยกรุงศรีอยุธยา บิดาท่านเป็นญาติกับบิดาของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. 2310 ได้หนีไปอยู่กัมพูชา เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาอาณาจักรธนบุรีขึ้น จึงกลับมารับราชการอยู่ ณ กรุงธนบุรี
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้เป็นพระยาศรีสุริยพาห กรมม้า ท่านสนิทสนมกับองเชียงสือ เมื่อองเชียงสือไปครองราชย์เป็นจักรพรรดิซา ล็อง ท่านได้ทำหน้าที่ราชทูตไปเมืองญวน เมื่อเจ้าพระยามหาเสนา (สังข์) ถึงแก่อสัญกรรมในรัชกาลที่ 3 ท่านจึงได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยามหาเสนาแทน จนถึงแก่อสัญกรรมในรัชกาลนั้น
ครอบครัว
[แก้]เจ้าพระยามหาเสนา (น้อย) ไม่มีบุตรหลานรับราชการ แต่สมัยอยู่กัมพูชาท่านมีธิดาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นบรรพชนของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงนับเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ว่าร่วมสายสกุลเดียวกันมาแต่เดิม
อ้างอิง
[แก้]- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์. เรื่องตั้งเจ้าพระยากรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๓. ๓๐๐ หน้า. หน้า ๒๒-๒๓. [คณะรัฐมนตรีจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงชูชาติ กำภู]