สโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลนครปฐมยูไนเต็ด | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | เสือป่าราชา | |||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999 ) | |||
สนาม | สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม, ประเทศไทย | |||
ความจุ | 6,000 ที่นั่ง | |||
เจ้าของ | บริษัท สโมสรฟุตบอลนครปฐม จำกัด | |||
ประธาน | พาณุวัฒณ์ สะสมทรัพย์ | |||
ผู้จัดการ | พิมพ์ชาญา สะสมทรัพย์ | |||
ผู้ฝึกสอน | ธงชัย สุขโกกี | |||
ลีก | ไทยลีก | |||
2566–67 | อันดับที่ 12 | |||
|
สโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดนครปฐม ปัจจุบันเล่นอยู่ในระดับไทยลีก โดยมีสนามเหย้า คือ สนามกีฬาโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม เคยแข่งขันในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2551 ซึ่งจบฤดูกาลในอันดับ 9 (สูงสุดในประวัติศาสตร์สโมสร)
ประวัติสโมสร
[แก้]การก่อตั้งและยุคแรกเริ่ม
[แก้]สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2542 โดยเริ่มเล่นในโปรวินเชียลลีก ใน พ.ศ. 2547 สโมสรจบฤดูกาลโดยอยู่กลางตารางของลีก ในปีต่อมา สโมสรจบฤดูกาลในสามอันดับแรก และได้รับสิทธิ์เข้าไปเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก ติดต่อกันใน พ.ศ. 2548-49 โดยใน พ.ศ. 2549 สโมสรได้รับสิทธิ์เข้าไปเล่นในลีกสูงสุดของประเทศไทย โดยเป็นทีมสำรองลำดับที่สองของสโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย สโมสรนครปฐมไม่ได้นำมาซึ่งเฉพาะความเป็น "ทีมภูมิภาค" ในลีกเท่านั้น แต่ยังมีกระแสแฟนบอลที่เดินทางไปเชียร์ทั้งนัดเยือนและนัดเหย้า สโมสรนครปฐมเป็นอีกทีมหนึ่งเช่นเดียวกับสโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรีและสโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรีที่แข่งขันในระดับพรีเมียร์ลีก โดยไม่ใช่ทีมจากกรุงเทพมหานคร
ยุคลีก
[แก้]ในฤดูกาลแรกในพรีเมียร์ลีก สโมสรจบฤดูกาลในลำดับที่ 11 และเพิ่มขึ้นเป็นลำดับที่ 9 ในปีต่อมา สำหรับฤดูกาล 2552 เป็นครั้งแรกที่ ไมเคิล แอสพิน และไมเคิล ทอมัส เบิร์น เป็นนักกีฬาจากสหราชอาณาจักรเข้ามาทำสัญญานักเตะ ซึ่งทั้งสองได้เคยเล่นด้วยกันแล้วที่นอร์ทวิช วิกตอเรีย ในอังกฤษ
ใน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุอื้อฉาวแฟนบอลทำร้ายผู้ตัดสินระหว่างเล่นรอบเพลย์ออฟขึ้นไทยพรีเมียร์ลีก 2554 ทำให้ทีมได้รับโทษปรับ 160,000 บาท และห้ามแข่งขันในรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 2 ปี เพราะมีข้อกังขาในการตัดสินของกรรมการ ที่ตัดสินเข้าข้าง อีสาน ยูไนเต็ด มีจังหวะที่กังขาหลายครั้ง จังหวะที่นครปฐมควรจะได้จุดโทษ และในช่วงทดเวลา 4 นาที กรรมการเป่านกหวีดจบเกมใน 2 นาที ไม่ครบ 4 นาทีตามที่ผู้ตัดสินที่ 4 ชูป้าย ด้านไชยา สะสมทรัพย์ ออกมายืนยันว่าผู้ตัดสินตัดสินไม่เหมาะสม และยืนยันไม่ขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต่อมาได้ประกาศว่าอาจจะยุบทีม
ยุคนครปฐม ยูไนเต็ด
[แก้]หลังจากที่โดนแบนไป 2 ปี สโมสรได้เปลี่ยนชื่อใหม่ โดยใช้ชื่อว่า นครปฐม ยูไนเต็ด และเปลี่ยนโลโก้ใหม่ โดยมีความหมายดังนี้[1]
- ██ สีแดง หมายถึง ความเข้มแข็งของความเป็นนักสู้ เฉกเช่น สีแดงบนธงชาติไทย
- ██ สีทอง หมายถึง ความรุ่งโรจน์บนดินแดนพระพุทธศาสนา ที่มีองค์พระปฐมเจดีย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในจังหวัดนครปฐม
- ██ สีน้ำเงิน หมายถึง ความสงบนิ่ง สงบร่มเย็น ยามแข็งขันไม่ก่อความเดือดร้อนให้ใคร ซึ่งตรงกับ Concept ของทีมว่าจะเป็นทีมที่มีน้ำใจนักกีฬา
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโลโก้ใหม่อีกครั้ง ในปี 2559 โดยมีฉายาว่า เสือป่าราชา
ในการแข่งขันไทยลีก 2 ฤดูกาล 2560 ทางสโมสรถูกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยปรับตกชั้นไปสู่ไทยลีก 4 เนื่องจากไม่สามารถส่งเอกสารเกี่ยวกับคลับไลเซนซิงได้ตามเวลาที่กำหนด
ตราสัญลักษณ์
[แก้]ทีมงาน
[แก้]ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
ประธานสโมสร | พาณุวัฒณ์ สะสมทรัพย์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร | ชุตินันศ์ สะสมทรัพย์ |
ผู้อำนวยการกีฬา | ณรงค์ ห้วยหงษ์ทอง |
ผู้จัดการทั่วไป | กันตพัฒน์ กิติพงษ์สิริภัค |
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด | ชญาดา สะสมทรัพย์ |
ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ | โญธญา สะสมทรัพย์ |
ผู้จัดการทีม | พิมพ์ชาญา สะสมทรัพย์ |
ประธานเทคนิค | ศิริศักดิ์ ยอดญาติไทย |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | ธงชัย สุขโกกี |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | วรวุฒิ วังสวัสดิ์ |
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู | ประกอบสุข พึ่งกุล |
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
เกียรติประวัติ
[แก้]- ไทยลีก 2
- ชนะเลิศ (ระดับประเทศ): ฤดูกาล 2565–66
- ไทยลีก 3
- ชนะเลิศ (ตอนล่าง) : ฤดูกาล 2562
- รองชนะเลิศ (ระดับประเทศ) : ฤดูกาล 2562
- ไทยลีก 4
- ชนะเลิศ (โซนภาคตะวันตก) : ฤดูกาล 2561
- ชนะเลิศ (ระดับประเทศ) : ฤดูกาล 2561
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ผู้ยิงประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | |||
2564–65 | ไทยลีก 2 | 34 | 10 | 12 | 12 | 42 | 47 | 42 | อันดับที่ 10 | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | โอสวัลดู แนตู | 9 |
2565–66 | ไทยลีก 2 | 34 | 16 | 12 | 6 | 32 | 20 | 60 | อันดับที่ 1 | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | ปีเตอร์ เนอร์การ์ด | 8 |
2566–67 | ไทยลีก | 30 | 8 | 9 | 13 | 37 | 53 | 33 | อันดับที่ 12 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | เลสลี อับโลห์ | 10 |
2567–68 | ไทยลีก |
แชมป์ | รองแชมป์ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-05. สืบค้นเมื่อ 2013-04-19.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2013-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สโมสรฟุตบอลนครปฐม ยูไนเต็ด ที่เฟซบุ๊ก