ทางรถไฟสายมรณะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทางรถไฟสายตะวันตก)
ทางรถไฟสายมรณะ
State Railway of Thailand Logo 2019.svg
Burma Railway (I).jpg
ภาพทางรถไฟสายมรณะ ช่วงระหว่างสถานีรถไฟลุ่มสุ่มและป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ปลายทาง
จำนวนสถานี53 (สงครามโลกครั้งที่ 2)
30 (เปิดให้บริการ)
23 (ยุบเลิกแล้ว)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟระหว่างเมือง
ระบบรถไฟทางไกล
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประวัติ
เปิดเมื่อ25 ธันวาคม พ.ศ. 2486
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง194.84 กม. (121.07 ไมล์) (จากสถานีธนบุรี)
303.95 กม. (188.87 ไมล์) (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2)
รางกว้างราง 1 เมตร ทางเดี่ยว
แผนที่เส้นทาง
Death Railway.png
ช่องเขาขาด
เส้นทางสถานีตาน-พยูซะยะ ประเทศพม่า
จุดเริ่มต้นในประเทศพม่า

ทางรถไฟสายมรณะ (ทางรถไฟสายพม่า หรือ ทางรถไฟสายกาญจนบุรี) เป็นเส้นทางรถไฟสายหนึ่งที่เริ่มต้นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ โดยสะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อให้ถึงปลายทางที่เมืองตาน-พยูซะยะ ประเทศพม่า

ทางรถไฟสายมรณะมีความยาวจากหนองปลาดุกถึงสถานีตาน-พยูซะยะ รวม 415 กิโลเมตร แบ่งเป็นทางรถไฟที่อยู่ในเขตประเทศไทยประมาณ 303.95 กิโลเมตร และอยู่ในเขตพม่า 111.05 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีทั้งหมด 37 สถานี ทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า

ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือป้ายหยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินรถบนเส้นทางนี้ทุกวัน และมีการจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ-น้ำตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากคือช่วงสะพานข้ามแม่น้ำแคว และช่วงโค้งมรณะ หรือช่วงระหว่างสถานีรถไฟลุ่มสุ่มและป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการสร้างสะพานเลียบริมหน้าผาและแม่น้ำแควน้อย มีความยาวประมาณ 400 เมตร

ประวัติ[แก้]

ทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัฐบาลญี่ปุ่น ขอยืมเงินจากรัฐบาลไทย จำนวน 4 ล้านบาท การก่อสร้างใช้เวลาในการสร้างเสร็จเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า หลังสงครามทางรถไฟบางส่วนถูกรื้อทิ้ง บางส่วนจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์ ทางรถไฟสายนี้ถือเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงเหตุการณ์สงครามในครั้งนั้น เนื่องจากน้ำพักน้ำแรงของการบุกเบิกก่อสร้าง เป็นของทหารเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มา

เหตุที่ทางรถไฟสายนี้ได้ชื่อว่า ทางรถไฟสายมรณะ ก็เพราะว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดาและนิวซีแลนด์ ประมาณ 61,700 คนและกรรมกรชาวชาวจีน ญวน ชวา มลายู พม่า อินเดีย อีกจำนวนมาก และคนไทยที่ถูกเกณฑ์เป็นทาสอีกนับแสนราย มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งกำลังพล เพื่อจะไปโจมตีพม่าและอินเดียต่อไป ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ เส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัยตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกจำนวนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง ทางรถไฟสายนี้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2486 และเปิดใช้ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ปีเดียวกัน

หลังสิ้นสุดสงครามรัฐบาลไทยได้จ่ายเงินจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อซื้อทางรถไฟสายนี้[1]จากอังกฤษ และทำการซ่อมบำรุงบางส่วนของเส้นทางดังกล่าว เพื่อเปิดการเดินรถตั้งแต่สถานีหนองปลาดุกจนถึงสถานีน้ำตก โดยอยู่ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน

เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงครามด้วย

การท่องเที่ยว[แก้]

ขณะที่รถไฟลัดเลาะตามเชิงผาเลียบไปกับลำน้ำแควน้อย และถ้ำกระแซ

ทิวทัศน์ตลอดเส้นทางนี้สวยงามมาก โดยเฉพาะบริเวณถ้ำกระแซ ที่เส้นทางรถไฟจะลัดเลาะไปตามเชิงผาเลียบไปกับลำน้ำแควน้อย ปัจจุบันทางรถไฟสายนี้สุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร

การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถไฟขบวนปกติ ธนบุรี - น้ำตก ทุกวัน และจัดขบวนพิเศษสายกรุงเทพ - น้ำตกไทรโยคน้อย ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ

โครงการในอนาคต[แก้]

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากเมืองย่างกุ้งว่าทางการพม่าประกาศจะรื้อฟื้นเส้นทางรถไฟสายมรณะของไทย โดยนายอ่อง มิน รัฐมนตรีกระทรวงการรถไฟพม่าซึ่งรับผิดชอบโครงการ เผยว่าได้ศึกษาความเป็นไปได้ของการบูรณะเส้นทางรถไฟ ความยาว 105 กิโลเมตรจากด่านเจดีย์สามองค์ในพม่าไปยังเขตแดนไทย ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนี้ และทางการไทยได้รับปากที่จะให้ความช่วยเหลือ สำหรับการรื้อฟื้นเชื่อมต่อการเดินรถไฟข้ามแดนอีกครั้ง[2]แต่ยังไม่มีการเริ่มดำเนินการจากฝั่งไทย

รายชื่อสถานี[แก้]

สถานีปัจจุบัน[แก้]

ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ ระยะทาง ที่ตั้ง
จากชุมทางหนองปลาดุก จากสถานีธนบุรี (เก่า) ตำบล อำเภอ จังหวัด
ชุมทางหนองปลาดุก - น้ำตกไทรโยคน้อย
ชุมทางหนองปลาดุก 0+000 64 + 046.551 หนองกบ บ้านโป่ง ราชบุรี
ถนนทรงพล 3.71 67.90 บ้านโป่ง
สระโกสินารายณ์ 9.96 74.25 ท่าผา
ลูกแก 13 + 380 ดอนขมิ้น ท่ามะกา กาญจนบุรี
ท่าเรือน้อย 25 + 890 ท่าเรือ ท่าม่วง
บ้านหนองเสือ วังศาลา
ทุ่งทอง 36 + 900 วังขนาย
ปากแพรก 50 + 320 114.36 ท่าม่วง
กาญจนบุรี 53+000 117.04 ท่าล้อ เมืองกาญจนบุรี
สะพานแควใหญ่ 56 + 255.1 120+069.50 บ้านใต้
เขาปูน 57 + 545 121.55 ท่ามะขาม
วิทยาลัยเกษตร 65 + 685 129.69 หนองหญ้า
วังลาน 68 + 454 132.459
นากาญจน์ วังเย็น
วังเย็น
วังตะเคียน
โป่งเสี้ยว
บ้านเก่า 87 + 904 บ้านเก่า
ท่าตาเสือ สิงห์ ไทรโยค
ท่ากิเลน 97 + 904
วังสิงห์
ลุ่มสุ่ม 108 + 140 172.414 ลุ่มสุ่ม
สะพานถ้ำกระแซ 109.66 173+934.00
วังโพ 114 + 040 178.10
เกาะมหามงคล ท่าเสา
ช่องแคบ
วังใหญ่
บ้านพุพง
น้ำตก 130 + 300 194.24
น้ำตกไทรโยคน้อย 130 + 900 194.84

สถานีสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2[แก้]

  1. กงม้า (คอนม้า) กม. 2 + 000 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  2. บ้านโป่งใหม่ กม. 5 + 180 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  3. เขาดิน กม. 43 + 154 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  4. ท้องช้าง กม. 139 + 050 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  5. ถ้ำผี กม. 147 + 520 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  6. หินตก กม. 155 + 030 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  7. แคนนิว กม. 161 + 400 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  8. ไทรโยค.. กม. 167 + 660 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  9. กิ่งไทรโยค กม. 171 + 720 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  10. ลิ่นถิ่น กม. 180 + 530 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  11. กุยแหย่ กม. 190 + 480 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  12. รถจักรไอน้ำแปซิฟิค ซีเอ็กซ์ 50 (CX50) หมายเลข 824 เมื่อคราวไปเยือนทางรถไฟสายมรณะ ที่สะพานถ้ำกระแซ
    หินดาด กม. 197 + 750 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  13. ปรังกาสี กม. 208 + 110 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  14. ท่าขนุน กม. 218 + 150 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  15. น้ำโจนใหญ่ กม. 229 + 140 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  16. ท่ามะยอ กม. 236 + 800 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  17. ตำรองผาโท้ กม. 244 + 190 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  18. บ้านเกริงไกร กม. 250 + 130 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  19. คุริคอนตะ
  20. กองกุยตะ กม. 262 + 580 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก (สถานีแก่งคอยท่า)
  21. ทิมองตะ กม. 273 + 060 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  22. นิเกะ กม. 281 + 880 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  23. ซองกาเลีย กม. 294 + 020 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
  24. ด่านเจดีย์สามองค์ กม. 303 + 630 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก (สถานีจันการายา - ด่านพระเจดีย์สามองค์ฝั่งพม่า)

สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับทางรถไฟสายมรณะ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

^ กม. 80+096.55 จากสถานี กรุงเทพ

  1. ทางรถไฟสายมรณะเก็บถาวร 2008-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรื่องไทยในอดีต
  2. "พม่ารื้อฟื้นเชื่อมทางรถไฟสายมรณะ" (Press release). เดลินิวส์. 20 พฤษภาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-21. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°02′27″N 99°30′11″E / 14.040833°N 99.503056°E / 14.040833; 99.503056